หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

ชา

ถ้าไม่นับน้ำแล้ว เครื่องดื่มที่นับว่าถูกและเป็นที่นิยมมากที่สุด เห็นจะได้แก่ ชา ซึ่งในเมืองไทยเองก็มีแหล่งผลิตชาที่ขึ้นชื่ออยู่หลายแห่ง โดยเฉพาะในแถบภาคเหนือ เช่น ชาระมิง เป็นต้น

จริง ๆ แล้วมีการรู้จักชามาตั้งนานนมแล้ว ว่ากันว่าได้เริ่มต้นขึ้นในประเทศจีนก่อนเป็นแห่งแรก และเนื่องจากชาวจีนนิยมเดินทางไปแสวงโชคในดินแดนอื่น ๆ ทั่วโลก จึงนำเอาชาติดตัวไปด้วย ทำให้ชาเริ่มแพร่หลายเข้ามายังยุโรป อเมริกา และประเทศอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว

สำหรับ การดื่มชานั้น หากเป็นชาผงสำเร็จรูปจะนิยมดื่มผสมน้ำตาล และมะนาว หรือครีม หรือนมก็ได้ ซึ่งสามารถดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น แต่ถ้าเป็นชาจีน มักจะไม่ผสมอะไรเลย

บะหมี่น้ำหนึ่งชาม

เรื่อง ที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง เราให้ชื่อเรื่องนี้ว่า "บะหมี่น้ำหนึ่งชาม" เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อ 15 ปีที่แล้ว

วันที่ 31 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่ร้านบะหมี่ "ฮอกไก" บนถนนซัปโปโรการกินบะหมี่โซบะในคืนวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่นั้นเป็น ประเพณีของชาวญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ร้านบะหมี่ขายดีในวันสิ้นปี "ร้านฮอกไก" นี้ก็เช่นกัน ในวันนี้คนแน่นร้านแทบทั้งวัน จนกระทั่งถึงเวลา 22.00 น. คนก็เริ่มน้อยลง โดยปกติแล้วบนถนนสายนี้คนจะแน่นขนัดไปจนถึงเช้าตรู่ แต่วันนี้ทุกคนจะต้องรีบกลับบ้านเพื่อไปต้อนรับปีใหม่กัน ดังนั้นถนนสายนี้จึงปิดร้านเร็วกว่าปกติ เถ้าแก่ของร้าน "ฮอกไก" เป็นคนซื่อ และเถ้าแก่เนี้ยก็เป็นคนอัธยาศัยใจคอดี ในคืนวันส่งท้ายปีเก่านี้ พอลูกค้าคนสุดท้ายกลับไป ในขณะเถ้าแก่เนี้ยก็จะปิดร้าน ประตูร้านก็ถูกเปิดออกอย่างเบา ๆ มีผู้หญิงคนหนึ่งพาเด็กชายสองคน คนหนึ่งอายุประมาณ 6 ขวบกับอีกคนหนึ่งอายุประมาณ 10 ขวบเข้ามาในร้าน เด็กชายทั้งสองคนสวมชุดกีฬาใหม่เอี่ยมเหมือนกันทั้งสองคน ส่วนหญิงคนนั้นสวมโอเวอร์โค้ทลายสก๊อตเก่า ๆ เชย ๆ

การทำหนังสือเดินทาง

หน่วยงานที่มีหน้าที่ออกหนังสือเดินทางให้คือ กระทรวงการต่างประเทศ

สถานที่ในการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทาง
1. กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ
- ที่อยู่ 123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
- โทรศัพท์ 0-2981-7171-99 โทรสาร 0-2981-7256

2. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว บางนา
- ที่อยู่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลซิตี้บางนา อาคาร "บางนาฮอลล์"(ด้านข้างศูนย์ การค้า) ชั้น B1
- โทรศัพท์ 0-2383-8402-4 โทรสาร 0-2383-8398

3. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า
- ที่อยู่ อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์(ชั้นใต้ดิน) แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. 10700
- โทรศัพท์ 0-2446-8111-2 โทรสาร 0-2446-8124

4. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว จังหวัดขอนแก่น
- ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
- โทรศัพท์ 0-4324-2707, 0-4324-3462, 0-4324-2655 โทรสาร 0-4324-3441

5. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดเชียงใหม่
- ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
- โทรศัพท์ 0-5389-1535-6 โทรสาร 0-5389-1534

6. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว จังหวัดสงขลา
- ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จ.สงขลา 90000
- โทรศัพท์ 074-326508-10 โทรสาร 074-326511

7. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว จังหวัดอุบลราชธานี
- ที่อยู่ อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
- โทรศัพท์ 045-242313-4 โทรสาร 045-242301
- E-mail : passport_ub@hotmail.com

8. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ที่อยู่ ศาลาประชาคม ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
- โทรศัพท์ 077-274940, 077-274942-3 โทรสาร 077-274941

9. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดนครราชสีมา แผนที่
- ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ถนนมหาดไทย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
- โทร 044-243-132, 044-243-124 โทรสาร 044-243-133

10. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุดรธานี
- ที่อยู่ ศูนย์อเนกประสงค์ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี(ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง) ถนนอธิบดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
- โทร 042-212827, 042-212-318 โทรสาร 042-222-810

11. สำนักงานหนังสือเดินทางชัว คราว จังหวัดพิษณุโลก
- ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ถนนเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
- โทร 055-258-173, 055-258-155, 055-258-131, โทรสาร 055-258-117

12. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว จังหวัดยะลา
- ที่อยู่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000
- หมายเลขโทรศัพท์ 073-274-526, 073-274-036, 073-274-037 โทรสาร 073-274-527

13. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว ภูเก็ต
- ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ถนนนริศร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000
- หมายเลขโทรศัพท์ 076-222-083, 076-222-080, 076-222-081 โทรสาร 076-222-082

14. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว นครสวรรค์
- ที่อยู่ ศูนย์บริการร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
- หมายเลขโทรศัพท์ 056-233-453, 056-233-454 โทรสาร 056-233-452

ยื่นคำร้องด้วยตนเอง ระหว่างวันจันทร์ - วันศุกร์
- สำหรับสำนักงานสาขาในกรุงเทพปริมณฑล ยื่นระหว่างเวลาเวลา 8.00 – 15.30 น.
- สำนักงานสาขาในต่างจังหวัด ยื่นระหว่างเวลา 08.30 -16.30 น.
โดยไม่หยุดพักกลางวัน

นอกจากนี้ มีหน่วยบริการหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ออกไปให้บริการ ประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ทุกปี

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

หนังสือเดินทาง

อยู่เมืองไทยยังต้องมีบัตรประชาชน แสดงตนว่าเป็นคนที่ไหน อยู่ที่ไหน ไปเมืองนอกก็เช่นเดียวกันก็ต้องมีเอกสารบอกว่าเป็นคนประเทศไหน นั่นคือหนังสือเดินทาง

หนังสือเดินทางคือ เอกสารสำคัญประจำตัวที่รัฐบาลประเทศหนึ่งออกให้แก่พลเมืองหรือคนชาติของตน เพื่อใช้แสดงตนในการเดินทางไปต่างประเทศ

วิวัฒนาการของหนังสือเดินทางไทย
หนังสือเดินทางคือ เอกสารสำคัญประจำตัวที่รัฐบาลประเทศหนึ่งออกให้แก่พลเมืองหรือคนชาติของตน เพื่อใช้แสดงตนในการเดินทางไปต่างประเทศ ในทางปฏิบัติ ประเทศเจ้าของหนังสือเดินทางจะร้องขอให้ประเทศอื่นๆ ให้ความสะดวก ความปลอดภัย หรือให้ความช่วยเหลือ ความคุ้มครองทางกฎหมายขณะที่พลเมืองของตนอยู่ในประเทศนั้นๆ หนังสือเดินทางต้องได้รับการประทับการตรวจลงตราหรือวีซ่าจากหน่วยงานของประเทศที่จะเดินทางไปเยือน เว้นแต่จะมีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างประเทศ

ในสมัยโบราณ การเดินทางระหว่างประเทศมีความยากลำบากและต้องใช้ระยะเวลายาวนาน ระเบียบกฏเกณฑ์การตรวจตราคนเดินทางเข้าออกนอกประเทศยังไม่มีเช่นทุกวันนี้ การเดินทางไปต่างบ้านต่างเมืองยังจำกัดขอบเขตอยู่กับดินแดนที่อยู่ใกล้ชิดกัน บุคคลที่จะเดินทางติดต่อกับต่างประเทศยังอยู่ในขอบเขตจำกัดเฉพาะชนชั้นปกครอง ขุนนาง พ่อค้า และนักสอนศาสนา พลเมืองของประเทศต่างๆ ยังไม่มีการเดินทางไปต่างประเทศมากนัก

การเดินทางของกลุ่มบุคคลดังกล่าวไปต่างรัฐ ส่วนใหญ่จะใช้หนังสือหรือสาส์นของกษัตริย์หรือผู้ปกครองของรัฐตนไปถึงกษัตริย์หรือผู้ปกครองของอีกรัฐหนึ่ง ซึ่งจะระบุถึงวัตถุประสงค์ของการเดินทางของคณะบุคคลของรัฐผู้ส่ง และขอให้รัฐผู้รับให้ความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ต่อคณะผู้เดินทาง ดังจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์ของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยมีการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงแต่งตั้งคณะราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์นไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสเป็นต้น

ประวัติการใช้หนังสือเดินทางในสมัยก่อนมีหลักฐานปรากฏในลักษณะต่างๆ อาทิ ในรูปของตราหรือสัญลักษณ์ และต่อมาได้พัฒนามาเป็นเอกสารและเล่มหนังสือตามลำดับ โดยผู้ปกครองออกให้เพื่อคุ้มครองคนในปกครองที่เดินทางไปต่างแดน แต่ก็ยังไม่ใช่สิ่งบังคับใช้ในการเดินทาง เมื่อโลกมีความก้าวหน้าในด้านการคมนาคม การติดต่อสื่อสาร การท่องเที่ยว และพัฒนาการของเหตุการณ์ความร่วมมือและความขัดแย้งระหว่างประเทศได้มีส่วนทำให้ประเทศต่างๆ สร้างระเบียบกฏเกณฑ์ควบคุมการเดินทางเข้าออกประเทศของพลเมืองและคนต่างชาติเริ่มมีความเข้มงวดมากขึ้น หนังสือเดินทางจึงเป็นเอกสารของรัฐและเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ และเริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้หนังสือเดินทางไทยนั้น รูปแบบและการใช้หนังสือเดินทางของไทยได้เปลี่ยนแปลงตามพัฒนาการของสังคมไทยและระหว่างประเทศ จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับลักษณะ รูปแบบการออกหนังสือเดินทางสำหรับคนไทย โดยออกเป็นหนังสือราชการที่เขียนด้วยลายมือ ( ภาพประกอบ ) มีการกำหนดตราประทับเป็นรูปแบบที่แน่นอนบนหนังสือเดินทาง ตราประทับที่พบ คือ ตราพระคชสีห์น้อย ตราพระราชสีห์น้อย หรือตราสุครีบ ระบุระยะเวลาในการใช้งานซึ่งมีอายุ 1 ปี วัตถุประสงค์ในการเดินทาง และมีข้อความขอให้ข้าหลวงมณฑล ผู้ว่าราชการเมือง กรมการจังหวัด อำนวยความสะดวกในการเดินทาง

หนังสือเดินทางที่รู้จักกันในระยะแรกเป็นเอกสารเดินทางที่ทางราชการออกให้แก่บุคคลเพื่อใช้ในการเดินทางระหว่างเขต เมือง มณฑล หรือภายในพระราชอาณาเขต ยังไม่มีหนังสือเดินทางอันหมายถึงเอกสารที่ใช้เดินทางไปต่างประเทศ ต่อมาฝ่ายราชการสยามในสมัยนั้นได้เริ่มมีดำริให้ออกหนังสือสำหรับตัวให้คนฝ่ายสยามเดินทางไปเมืองต่างประเทศ จึงมีการกำหนดกฏเกณฑ์ว่า การเดินทางออกนอกพระราชอาณาเขตกำหนดให้คนสยามต้องมีจดหมายหรือหนังสือเดินทางสำหรับตัวทุกคนจากเจ้าเมือง จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า หนังสือเดินทางไทยในปัจจุบันได้พัฒนามาจากหนังสือเดินทางสำหรับตัวซึ่งใช้กันมาแต่อดีต

ในเวลาต่อมาได้มีการกำหนดให้ใช้หนังสือเดินทางไปประเทศห่างไกลในลักษณะเป็นหนังสือเดินทางที่พิมพ์ด้วยภาษาฝรั่งเศส 2 หน้า หน้าแรกมีลักษณะเป็นหนังสือราชการที่มีข้อความขออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทาง หน้าสองแสดงรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือหนังสือเดินทาง ซึ่งประกอบด้วยรูปถ่าย อายุ ความสูง สีผม ตา ใบหน้า ตำหนิ และลายมือชื่อผู้ถือหนังสือเดินทาง และมีอายุการใช้งาน 1 ปี

การออกหนังสือเดินทางในสมัยนั้นมิได้ออกให้เพียงหนังสือเดินทางสำหรับบุคคลเท่านั้น แต่ยังมีหนังสือเดินทางที่ออกให้กับคนครัวหนึ่งหรือคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งใช้เดินทางเช่นเดียวกับหนังสือเดินทางหมู่เช่นที่มีใช้ในปัจจุบัน โดยกำหนดรูปแบบที่แน่นอนและใช้ทั่วทุกมณฑล โดยระบุรายชื่อและจำนวนบุคคลที่เดินทางด้วยกัน พร้อมทั้งประเภทสัมภาระที่นำติดตัวไปด้วย ทั้งนี้ ในการกำหนดรูปแบบหรือระเบียบหนังสือเดินทางในอดีตฝ่ายปกครองต้องมีหนังสือขอหารือกับเสนาบดีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซึ่งต้องมีหนังสือขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์ก่อนด้วย

หนังสือเดินทางในสมัยนั้นยังเรียกรวมถึงเอกสารเดินทางประเภทตราเดินทาง ซึ่งทางราชการออกให้กับคนในบังคับ ( สยาม) ที่อาศัยอยู่ในประเทศ ใช้เป็นเอกสารแสดงตัว หรือออกให้แก่คนต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยการสลักท้องตราประทานหรือตราเดินทางลงในหนังสือเดินทางต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นหนังสือประจำตัวสำหรับเดินทางไปได้ในหัวเมือง ตามคำร้องขอของสถานทูตหรือสถานกงสุลต่างประเทศในไทย ซึ่งปัจจุบัน คือ การตรวจลงตรา หรือวีซ่า

การออกหนังสือเดินทางในระยะนี้มิได้จำกัดอยู่กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่บ้านเมืองหลายระดับ นับตั้งแต่กระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการเมือง รวมทั้งกรมการจังหวัด หรือแม้แต่กำนันก็เป็นผู้มีอำนาจในการออกหนังสือเดินทาง หากได้รับคำสั่งจากเจ้าเมือง

อย่างไรก็ดี แม้ว่าตามประเพณีแต่เดิมมา ผู้ใดจะเดินทางไปนอกพระราชอาณาเขต ก็มีธรรมเนียมที่ต้องรับหนังสือเดินทางสำหรับตัวซึ่งเจ้าพนักงานออกให้ก็ตาม แต่บุคคลโดยทั่วไป ส่วนมาก ก็ยังไม่ได้ถืออย่างเคร่งครัดว่า หนังสือเดินทางเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเดินทาง เพราะในอดีตยังไม่มีการตรวจตราการเดินทางเข้าออกประเทศอย่างเข้มงวด ประชาชนสามารถเดินทางออกนอกพระราชอาณาเขตได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องมีหนังสือเดินทาง การละเลยในการตรวจตราการเดินทางออกนอกประเทศดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาแก่ผู้เดินทางในระยะต่อมาเมื่อสถานการณ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลประเทศต่างๆ เริ่มบัญญัติการตรวจตราหนังสือเดินทางของคนต่างชาติอย่างเข้มงวด ทำให้ผู้เดินทางออกจากพระราชอาณาเขตของไทยซึ่งมิได้มีหนังสือเดินทางหรือตราเดินทาง (วีซ่า) ของประเทศที่จะเดินทางไป ต้องประสบปัญหาเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ เนื่องจากต้องถูกกักกันไม่ให้เข้าประเทศ หรือถูกจับกุมกักขังหรือถูกส่งกลับประเทศ

ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของคนไทยในการเดินทางไปต่างประเทศ ในวันที่ 17 กันยายน 2460 รัฐบาลไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงได้กำหนดกฏเกณฑ์อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับการออกหนังสือเดินทาง โดยการออก “ ประกาศว่าด้วยผู้เดินทางไปนอกพระราชอาณาเขตร์ ให้มีหนังสือเดินทาง ” ซึ่งได้ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 23 กันยายน 2460 เพื่อให้คนไทยทุกคนที่จะเดินทางออกไปประเทศที่อยู่ห่างไกล จำเป็นต้องขอหนังสือเดินทางกับกระทรวงการต่างประเทศ และหากเดินทางไปยังประเทศใกล้เคียงติดต่อกับพระราชอาณาเขต ก็ขอให้ขอหนังสือเดินทางจากผู้ว่าราชการจังหวัด หรือสมุหเทศาภิบาลในมณฑลของตน

ผลมาจากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงในระดับระหว่างประเทศหลายประการดังกล่าว และผลการประชุมขององค์การสันนิบาติชาติเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2463 ซึ่งเรียกร้องให้ทุกประเทศกำหนดรูปแบบหนังสือเดินทางในลักษณะเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลไทยได้ส่งคณะผู้แทนเดินทางเข้าร่วมประชุมและลงนามรับรองข้อมติของที่ประชุมดังกล่าวด้วย และการประกาศใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฉบับแรกของไทยในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2470 น่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการกำหนดกฏเกณฑ์และการปรับเปลี่ยนลักษณะและรูปแบบของหนังสือเดินทางที่มีลักษณะเป็นรูปเล่ม ซึ่งน่าจะเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หรือประมาณภายหลังปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา

สำหรับหนังสือเดินทางที่มีลักษณะเป็นรูปเล่มซึ่งพบหลักฐานในขณะนี้ เป็นหนังสือเดินทางประเทศสยามซึ่งออกใช้ในช่วงระยะปี พ.ศ.2482 เป็นหนังสือเดินทางปกแข็งซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน




ภายในประกอบด้วยรายการข้อมูลภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศสกำกับอยู่ และติดรูปถ่ายผู้ถือหนังสือเดินทางพร้อมลายมือชื่อ ประกอบด้วยหน้าหนังสือเดินทางจำนวน 32 หน้าเช่นหนังสือเดินทางในปัจจุบัน เป็นหนังสือเดินทางในพระราชอาณาเขตสยามออกที่แผนกหนังสือเดินทาง ณ กระทรวงการต่างประเทศ แต่แผนกหนังสือเดินทางจะออกหนังสือเดินทาง หรือต่ออายุหนังสือเดินทางสำหรับบุคคลผู้ใด ซึ่งมิได้อยู่ในพระราชอาณาเขตสยามในเวลานั้น ไม่ได้เลย

หนังสือเดินทางที่ออกให้ในสมัยนั้น ถ้ามิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น ก็มีกำหนดอายุการใช้งานเพียงสองปี เมื่อหมดอายุก็สามารถให้ต่ออีกตั้งแต่หนึ่งถึงสองปีก็ได้ แต่เมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี โดยหนังสือเดินทางใช้ได้แต่สำหรับการเดินทางไปยังประเทศที่ระบุไว้ในหนังสือเดินทางเท่านั้น แต่จะสลักเพิ่มเติมเพื่อเดินทางไปประเทศอื่นด้วยก็ได้ โดยคิดค่าธรรมเนียมออกหนังสือเดินทางฉบับละ 12 บาท และค่าธรรมเนียมต่ออายุปีละ 6 บาท หนังสือเดินทางดังกล่าวนี้ยังคงใช้สืบต่อกันมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะบางอย่าง อาทิ สี ตราครุฑบนปกนอก และลักษณะการจัดวางข้อมูลภายใน จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ.2520 มีการเปลี่ยนแปลงรายการข้อมูลผู้ถือหนังสือเดินทางจากการตีพิมพ์ด้วยภาษาไทยกับภาษาฝรั่งเศสมาเป็นข้อมูลภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ

หลังจากนั้น หนังสือเดินทางไทยได้รับการพัฒนาตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการผลิต และประโยชน์ในการใช้สอยตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมของสังคม โดยกองหนังสือเดินทางพยายามพัฒนาระบบการผลิตเล่มหนังสือเดินทางอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้บริการหนังสือเดินทางดำเนินไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และป้องกันการปลอมแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยลำดับ

ในปี 2536 กองหนังสือเดินทางได้นำระบบหนังสือเดินทางแบบใหม่มาใช้ เรียกว่า ระบบ Digital Passport System (DPS ) ซึ่งเป็นวิธีการพิมพ์รูปผู้ถือหนังสือเดินทางลงในหนังสือเดินทางด้วยระบบดิจิตอลแทนการติดรูปตามระบบเดิม และอ่านได้ด้วยเครื่อง ( Machine Readable Passport ) และต่อมาได้ปรับเปลี่ยนการผลิตเล่มหนังสือเดินทางที่สามารถจัดเก็บข้อมูลในเล่มหนังสือเดินทาง ไว้ด้วยระบบข้อมูลหน้าเดียว เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ตั้งแต่ พ.ศ.2538 เป็นต้นมา

ในปี 2543 กองหนังสือเดินทางได้พัฒนาหนังสือเดินทางไทยโดยการนำเทคโนโลยีการถ่ายรูป การบันทึกข้อมูล และการพิมพ์ข้อมูลลงในเล่มโดยตรง รวมทั้งการสร้างระบบหนังสือเดินทางซึ่งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนราษฎรด้วยระบบคอมพิวเตอร์จากฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้สามารถตรวจสอบสถานะของผู้ขอหนังสือเดินทางโดยอาศัยหมายเลขประจำตัวประชาชน ซึ่งทำให้สามารถให้บริการรับคำร้องจากประชาชนผู้ขอใช้ให้บริการหนังสือเดินทางได้ในเวลาอันรวดเร็ว และทำการผลิตหนังสือเดินทางได้ภายในเวลา 3 วันทำการ

ในด้านการพัฒนารูปเล่มหนังสือเดินทาง กองหนังสือเดินทางได้ให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงรูปแบบและมาตรฐานของเล่มหนังสือเดินทางไม่น้อยไปกว่าการปรับปรุงด้านบริการ เนื่องจากรูปแบบและมาตรฐานดังกล่าวเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการป้องกันการปลอมแปลง และความน่าเชื่อถือของหนังสือเดินทางตามมาตรฐานสากล การพัฒนาหนังสือเดินทางจึงต้องคำนึงถึงรูปแบบที่สวยงามทันสมัยในราคาเหมาะสม และจะต้องประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สามารถป้องกันการปลอมแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปด้วย

ในปี 2545 กองหนังสือเดินทางได้พัฒนารูปแบบของหนังสือเดินทางแบบใหม่ ที่มีคุณลักษณะป้องกันการปลอมแปลง ( Security Features ) เพิ่มมากขึ้น และใช้เทคโนโลยีระดับสูงหลายอย่างเช่นเดียวกับการพิมพ์ธนบัตร เพื่อยกระดับมาตรฐานหนังสือเดินทางไทยให้ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำของโลก คุณสมบัติพิเศษที่ใส่ไว้ในหนังสือเดินทาง บางอย่างไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจสอบ และบางอย่างก็แฝงไว้อย่างแนบเนียน ทำให้ยากในการ

ปลอมแปลง นอกจากนั้นคุณลักษณะบางประการผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีและสารเคมีที่ไม่อาจหาได้ในท้องตลาดทั่วๆ ไป ทำให้มั่นใจได้ว่า หนังสือเดินทางไทยจะมีความปลอดภัย และปลอดจากการปลอมแปลง
ทิศทางในอนาคต หนังสือเดินทางไทยยังคงได้รับการพัฒนาและปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนโดยคำนึงถึงความมั่นคงของประเทศ นอกจากนี้ กองหนังสือเดินทางยังได้พัฒนาระบบข้อมูลหนังสือเดินทางไทยให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ถือ

หนังสือเดินทางผ่านระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเดินทาง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมศุลกากร และกระทรวงมหาดไทย สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์จากการตรวจสอบข้อมูลและให้บริการประชาชนด้วยความรวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนคนไทยได้รับความสะดวกสบายในการติดต่อกับหน่วยราชการ ไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใดของโลกก็ตาม

ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

คำทำนายคนเกิดวันต่าง ๆ

S u n d a y 
คนเกิดวันอาทิตย์ เป็นคนชอบเสี่ยงกล้าได้กล้าเสีย เช่นเดียวกันกับในเรื่องของความรัก เมื่อหลงรักใครแล้วจะตามติดตื้อให้สำเร็จจนได้ เป็นคนรักสนุก ชอบคนที่ดูดีมีเสน่ห์ ไม่เรียบง่ายหรือเชยจนเกินไปหรือก็ไม่ห้าวสุดสุด่อง เกินไปก็ไม่เอา เป็นคนมีเชื่อมั่นในตนเองสูง มีความสดใจทำให้มีเสน่ห์ต่อเพศตรงข้าม ใครเห็นใครก็ชอบ แต่ก็มีนิสัยที่ค่อนข้างดื้อรั้น และหัวเแข็ง ซึ่งบางครั้งทำให้ไม่ยอมอง ประนีประนอมกันบ้างทำให้ความรักต้องสิ้นสุดลง ไปเพราะมีทิฐิมานะเป็นคนค่อนข้างห้าวเจ้าชู้ทีเดียวและมีความโรแมนติก ชอบที่จะได้พบคนใหม่ๆที่ทำให้รู้สึกท้าทายดี

คนเกิดวันนี้จะมีดวงความรักค่อนข้างดี ถ้าคนรักเข้าใจถึงความใจร้อนไปบ้างของคุณ ก็จะสามารถคบกันได้นานเลยทีเดียว

คำทำนายบุคลิก นิสัยตามเดือน

มกราคม
...ทะเยอทะยาน จริงจัง ชอบสั่งสอน รักการเรียนรู้ ชอบขุดคุ้ยหาจุดด้อยและความบกพร่องของคนอื่น ชอบวิพากษ์วิจารณ์ ขยันทำงานตัวเป็นเกลียวมีความคิดสร้างสรรค์ ฉลาด เจ้าระเบียบ ทำอะไร เป็นแบบแผนขั้นตอน ไม่มีนอกลู่นอกทางแม้แต่น้อย อ่อนไหว ช่างคิด รู้วิธีทำให้คนอื่นมีความสุขปกติจะเงียบขรึมถ้าไม่ได้กำลังตื่นเต้นหรือเข้า สู่ ภาวะคับขัน สงบเสงี่ยม กระตือรือร้น โรแมนติกแต่ไม่ค่อยยอมแสดงออกเท่าไร รักเด็ก ติดบ้าน ซื่อสัตย์ ไม่ค่อยชอบเข้าสังคม แถมขี้หึงอีกต่างหาก

กุมภาพันธ์
...ช่างฝัน รักทั้งโลกแห่งความเป็นจริงและโรคแห่งความฝันไหวพริบปฏิภาณดี ฉลาดหากแต่บุคลิกภาพแปรปรวนไปนิด เจ้าอารมณ์ เงียบ ขี้อาย สุภาพ ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตัวเอง ซื่อสัตย์ ชอบตั้งเป้าหมายในชีวิต รักอิสระเหนือสิ่งอื่นใด ขบถได้ง่ายถ้าถูกบีบคั้น แอบก้าวร้าวบ้างบางครั้ง แต่ที่จริงอ่อนไหวมาก เสียใจง่าย โกรธก็ง่ายไม่ชอบเรื่องไร้สาระ ชอบคบเพื่อนฝูงใหม่ๆ น่ารักๆ รักกิจการงานบันเทิงทุกชนิดโรแมนติกลึกๆ แต่ไม่แสดงออก เชื่อถือโชคลาง ใช้จ่ายเงินเก่ง

ลักษณะนิสัย ตามเวลาเกิด

เกิดเวลาตี 5 ถึง 7 โมงเช้า
ช่วงเวลานี้เป็นเวลากระต่ายจะทำให้คุณเป็นคนรักสวยรักงาม ทำอะไรละเอียดอ่อน สะอาดสะอ้าน ชอบแต่งตัวให้ดูดีเสมอ บุคลิกของคุณจะค่อนข้างสุภาพ ดูอ่อนโยนพูดจาหวานและนอบน้อมถ่อมตัว มีมารยาท เป็นเลิศ ดูแล้วผู้ดี๊ผู้ดี สงบเงียบเรียบร้อยเป็นผู้ใหญ่ ด้านนิสัยใจคอแม้จะดูเงียบนุ่มปานนั้น ลึก ๆมั่นใจและทะเยอทะยานไม่น้อย เป็นคนเข้มแข็งข้างใน รู้จักระมัดระวังรอบคอบเป็นนักการฑูต จิตวิทยาสูง มีความเข้าอกเข้าใจคนอื่นดี ใจกว้าง โกรธง่ายหายไวจิตใจดี ใจอ่อน ชอบทำบุญ ชอบช่วยเหลือ รสนิยมดี


เกิดเวลา 7 โมงเช้าถึง 9 โมงเช้า
เวลานี้เป็นเวลามังกร บุคลิกของคุณจะดูหยิ่งทะนงมาก ท่าทางสง่าผ่าเผยดูหัวสูง ติดหรู ความทะเยอทะยานจะเห็นได้ชัด คุณดูน่าเกรงใจ เข้าถึงยากมีความเป็นผู้นำสูง นิสัยของคุณจริง ๆ แล้วเป็นคนใจกว้างและเด็ดเดี่ยว รักศักดิ์ศรีโมโหร้าย บุ่มบ่าม มุทะลุ ทำอะไรต้องตรงไปตรงมา ไม่ชอบเรื่องเล่ห์เหลี่ยมในด้านดีอยู่ที่เป็นหลักพึ่งพิงได้ รับผิดชอบสูงและขี้สงสารเป็นคนที่มีประสิทธิภาพสูงทีเดียวนะอนาคตของคุณค่อน ข้างแจ่มแจ๋วด้วยความมุ่งมั่นบากบั่นของคุณนั่นแหล่ะ

ทักทาย


Blogger เริ่มต้นจากบริษัทเล็กๆ ในซานฟรานซิสโกชื่อ Pyra Labs ในเดือนสิงหาคม 1999 ในยุคเฟื่องฟูของธุรกิจดอตคอม แต่เราก็ไม่ใช่กิจการที่สนับสนุนโดยนักลงทุน ชอบจัดปาร์ตี้ เล่นฟุตบอลในล็อบบี้ หรือเป็นกิจการที่แจกเบียร์ไม่อั้น (ยกเว้นเบียร์ของคนอื่น)

พวกเราเป็นกลุ่มเพื่อนสามคน สร้างรายได้จากการทำงานในโครงการเว็บไซต์ที่น่าเบื่อให้กับบริษัทใหญ่ๆ และมองหาทางก้าวเข้าสู่โลกแห่งอินเทอร์เน็ตอย่างอลังการ สิ่งที่เราพยายามทำตั้งแต่แรกนั้นไม่ค่อยมีความหมายสักเท่าไรในขณะนี้ แต่ระหว่างที่เราพยายามกันอยู่นั้น เราได้สร้าง Blogger ขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ และก็คิดว่า อืมม์ น่าสนใจนะ

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

พายุ

เมฆพายุหมุนเหนือเมือง Enschede ประเทศเนเธอร์แลนด์
พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีเนื้อหาสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วที่ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กม./ชม. ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีหน่วยวัดความรุนแรงคล้ายหน่วยริกเตอร์ของการวัดความรุนแรงแผ่นดินไหว มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ


ประเภทของพายุ
พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
- พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด

- พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน ซึ่งล้วนเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด กล่าวคือ
==> พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก
==> พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น
==> พายุไซโคลน (cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy)
==> พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง
==> พายุดีเปรสชัน (depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก

- พายุทอร์นาโด (tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง


ลมสลาตัน เป็นชื่อภาษาไทยใช้เรียกลมแรงหรือพายุช่วงปลายฤดูฝนที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ยังใช้เรียกพายุทั่วไปที่มีความรุนแรงทุกชนิด รวมทั้งพายุต่างๆ ข้างต้นที่มีความรุนแรงข้างต้น

อันตรายที่เกิดจากพายุ

พายุไต้ฝุ่น เมื่อพายุที่มีกำลังขนาดไต้ฝุ่น คือ กำลังความเร็วของลมตั้งแต่ 65 น๊อต หรือ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไปพัดผ่านที่ใดทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงดังนี้
บนบก ทำให้ ต้นไม้ล้ม เกิดอันตรายจากต้นไม้ล้มทับบ้านเรือน บ้านเรือนพังทับผู้คนในบ้านและใกล้เคียงบาดเจ็บหรือตายสวนไร่นาเสียหาย เสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าขาด ไฟฟ้าช็อต เกิดเพลิงไหม้และผู้คนอาจเสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดได้ ผู้คนที่มีอาคารพักอาศัยอยู่ริมทะเลอาจถูกน้ำพัดพาลงทะเลจมน้ำตายได้ ดังเช่น ปรากฏการณ์ที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช ฝนตกหนักมากทั้งคืนทั้งวัน เมื่อน้ำจากป่าและภูเขาหลากลงมาอย่างมากมาย ท่วมบ้านช่อง ถนนหนทาง และเรือกสวนไร่นาล่มจมอยู่ใต้น้ำ เส้นทางคมนาคม ทางรถไฟ สะพาน ถนนทางขาด
ทะเล ในทะเลลมแรงจัดมาก คลื่นใหญ่ เรือขนาดใหญ่ ๆ อาจจะถูกพัดพาไปเกยฝั่งล่มจมได้ บรรดาเรือเล็กเป็นอันตรายไม่สามารถจะต้านความรุนแรงของพายุได้ คลื่นใหญ่ซัดขึ้นริมฝั่งจนทำให้ระดับน้ำขึ้นสูงมากจนท่วมอาคารบ้านช่องริมทะเลได้ บรรดาโป๊ะจับปลาในทะเลถูกทำลาย
พายุโซนร้อน พายุโซนร้อนมีความรุนแรงน้อยกว่าพายุไต้ฝุ่น ความเร็วของลมบริเวณใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 34 น็อต หรือ 62 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่เกิน 63 น็อต หรือ 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในทะเลลมจะแรงมากจนสามารถจมเรือขนาดใหญ่ ๆ ได้ ต้นไม้ล้ม ถ้าไม่มีกาารเตรียมรับมือที่ดีก็จะเกิดความเสียหายได้
พายุดีเปรสชั่น พายุดีเปรสชั่นเป็นพายุที่มีกำลังอ่อน ความเร็วของลมใกล้บริเวณศูนย์กลางไม่เกิน 33 น็อต หรือ 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่มีอันตรายรุนแรงแต่ทำให้มีฝนตกทั่วไปตลอดทางที่พายุดีเปรสชั่นผ่านไป และมีฝนตกหนักเป็นแห่ง ๆ พร้อมด้วยลมกรรโชกแรงเป็นครั้งคราว ซึ่งบางคราวจะรุนแรงจนทำให้เกิดความเสียหายได้บ้าง ในทะเลค่อนข้างแรงและคลื่นจัด บรรดาเรือประมงเล็กขนาดต่ำกว่า 50 ตัน ควรงดเว้นออกทะเลเพราะอาจจะล่มลงได้ และพายุดีเปรสชั่นนี้เมื่ออยู่ในทะเลได้รับไอน้ำหล่อเลี้ยงตลอดเวลา และไม่มีสิ่งกีดขวางทางลมอาจจะทวีกำลังขึ้นได้โดยฉับพลัน สำหรับพายุพัดจัดจะลดน้อยลงเป็นลำดับ มีแต่ฝนตกทั่วไปเป็นระยะนาน ๆ และตกได้มากถึง 100 มิลลิเมตร ภายใน 12 ชั่วโมงซึ่งต่อไปก็จะทำให้เกิดน้ำป่าไหลบ่าจากภูเขาและป่าใกล้เคียงลงมาท่วมบ้านเรือนได้ในระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากพายุได้ผ่านไปแล้ว
พายุฤดูร้อน พายุฤดูร้อนเป็นพายุที่ต่างกับพายุดีเปรสชั่น และเกิดบนผืนแผ่นดินที่ร้อนอบอ้าวในฤดูร้อนแต่เป็นพายุที่มีบริเวณย่อม ๆ มีอาณาเขตเพียง 20-30 ตารางกิโลเมตร แต่อาจมีลมแรงมากถึง 47 น็อต หรือ 87 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังพายุที่เกิดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 และพายุที่เกิดขึ้นที่อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2497 พายุนี้มีกำลังแรงที่จะทำให้เกิดความเสียหายได้มากเหมือนกันแต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง อันตรายที่เกิดขึ้นคือ ต้นไม้หักล้มทับบ้านเรือนผู้คน บ้านเรือนพังทะลาย ฝนตกหนักและอาจมีลูกเห็บตก

การเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุ
ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ
สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้ายแก่กรมอุตุนิยมวิทยา
ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ

ที่มา : วิกิพีเดีย

เครื่องดื่ม

เราสามารถแบ่งเครื่องดื่มออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
  • เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
  • เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์
  • เครื่องดื่มผสม
เครื่องดื่มไม่ีมีแอลกอฮอล์
  • ชา
  • กาแฟ
  • น้ำผลไม้
  • เครื่องดื่มอัดก๊าซ
เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์
  • ไวน์
  • เบียร์
  • รัม
เครื่องดื่มผสม ... แบ่งออกมาเป็นหลายตระกูล เช่น
...................

เปิดโลก

สวัสดีชาวโลก

เปิด Blog แล้วจ้า