หน้าเว็บ

วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551

10 ข่าวเด่นไอทีต่างแดนส่งท้ายปีหนู

ในที่สุดวันสุดท้ายของปีที่ทุกคนต่างรอคอยก็มาถึง ว่าแล้วอย่ารอช้าไปดูกันเลยว่ารอบปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นในต่างประเทศ หรือมีเทคโนโลยีอะไรใหม่มาอัปเดตให้คนไทยอย่างเราได้รับรู้ความก้าวล้ำกัน บ้าง


เจอร์รี่ หยาง ผู้ร่วมก่อตั้งยาฮู
ไมโครซอฟท์ฮุบยาฮูไม่สำเร็จ

ข่าวที่ฮือฮาที่สุดช่วงต้นปี 2550 คือข่าวไมโครซอฟท์ยื่นข้อเสนอมูลค่า 4.46 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเพื่อซื้อกิจการยาฮู เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ จากนั้นมา ข่าวการดิ้นรนของกรรมการบริหารยาฮูที่ต่อต้านการขายหุ้นให้ไมโครซอฟท์ก็ ปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทั่งดีลนี้ถูกล้มไม่เป็นชิ้นดี

แต่แล้วกรรมการบริหารยาฮูก็ถูกผู้ถือหุ้นฟ้องถึง 7 คดีใน ข้อหาทำให้บริษัทตกต่ำเพราะไม่ยอมขายบริษัทให้ไมโครซอฟท์ ผู้ถือหุ้นระบุว่าการปฏิเสธข้อเสนอซื้อยาฮูของไมโครซอฟท์คือการละเลยการ ปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการบริหาร ซึ่งไม่ยอมเจรจาให้บรรลุข้อตกลงที่ดีกว่า ขณะที่บางส่วนมองว่าการตัดสินใจของกรรมการบริหารยาฮูไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือ หุ้น ใช้กฏหมู่เหนือเหตุและผล

แม้ซีอีโอผู้ร่วมก่อตั้งยาฮูอย่าง "เจอร์รี่ หยาง" จะเป็นตัวตั้งตัวตีในการต่อสู้ไม่ให้ไมโครซอฟท์เทกโอเวอร์บริษัทได้สำเร็จ แต่หยางก็ประกาศลาออกจากตำแหน่งซีอีโอของยาฮูช่วงเดือนพฤศจิกายน บอร์ดระบุว่าเวลานี้คือช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนตัวซีอีโอเพื่อนำ พายาฮูให้เติบโตต่อไป ยืนยันว่าตลอดเวลา 18 เดือนที่หยางดำรงตำแหน่งซีอีโอเป็นช่วงเวลาที่ดีของยาฮู ซึ่งหยางจะยังคงเป็นสมาชิกกรรมการบริหารยาฮูและเป็นผู้บริหารที่มีบทบาท สำคัญของยาฮูต่อไป

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551

ใบไม้เปลี่ยนสี ที่ มอสโก


"แสงแดดทอเป็นลำลอดช่องว่างระหว่างใบไม้ ทาทาบลงบนพื้นที่ดาษไปด้วยใบเมเปิลสีเหลืองทองที่ปลิดขั้วร่วงหล่น ใบแล้วใบเล่าราวกับปูลาดด้วยพรมสีเหลืองทอง ยาวสุดลูกหูลูกตา"

ต้นไม้ที่ยืนเรียงเป็นทิวแถว กลายเป็นเพียงองค์ประกอบ เสริมให้ภาพตรงหน้างามลึกซึ้งอย่างที่มือมนุษย์ไม่สามารถจะสร้างสรรค์ได้

"พระราชวังปีเตอร์ฮอฟ" หรือ "พระราชวังแคเธอรีน" ที่เป็นไฮไลต์สำคัญของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ต้องมาชมให้เห็นกับตานั้นถูกลืมไปชั่วขณะ


ก่อนหน้านี้ระหว่างที่เดินเข้าออกตามห้องต่างๆ แค่เพียงไม่กี่ห้องในจำนวนเป็นร้อยห้องของพระราชวังแคเธอรีน มักได้ยินเสียงบ่นลอยตามลมมาว่า

""การได้อยู่ในพระราชวังหรูเลิศ ใหญ่โตขนาดนี้มีความสุขตรงไหนนะ !""

ออกจะเห็นด้วย ประสาคนตัวเล็กๆ ใช้ชีวิตอยู่กับพ่อแม่พี่น้องและหลานๆ ใต้ชายคาบ้านหลังน้อยๆ นึกไม่ออกเหมือนกันว่าจะเป็นอย่างไรถ้าต้องมาอยู่ในพระราชวังใหญ่โตมโหฬารชนิดที่แค่เดินตามหากันก็เมื่อยแล้ว

ต่างคนต่างที่ต่างจิตใจและต่างกรรมวาระ ก็อย่างนี้แหละ

"ครั้งนั้นพระเจ้าปีเตอร์มหาราชกำลังอยู่ในระหว่างการขยายอาณาเขต การมีพระราชวังที่หรูอลังการอย่างพระราชวังแวร์ซายน์ของฝรั่งเศสที่พระองค์ทรงโปรดนัก เหมือนเป็นการแสดงแสนยานุภาพหนทางหนึ่งว่ารัสเซียก็ไม่ด้อยไปกว่าประเทศตะวันตก"

"?แม้ว่าไพร่ฟ้าประชาชนจำนวนมากแทบไม่มีจะกินอยู่ก็ตาม"

จึงไม่แปลกที่เกิดการปฏิวัติในรัสเซีย เช่นเดียวกับการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1789 ที่พระนางมารีอังตัวเน็ตทรงเสพสุขอยู่บนความอดอยากของอาณาประชาราษฎร์โดยไม่ได้สนใจอะไรอื่น

""ประชาชนไม่มีข้าวกิน ก็ให้กินขนมปังสิ""

นั่นคือวรรคทองของพระนางที่ไม่ต้องการคำอธิบายใดอื่นถึงสาเหตุของการเกิดปฏิวัติฝรั่งเศส กับรัสเซียก็ไม่ต่างกันสักเท่าใด

แต่มาจนถึงวันนี้ ระบอบสังคมนิยม ระบอบคอมมูนที่ครั้งนั้นถูกเลือกใช้เพื่อลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน เปลี่ยนไปเป็นทุนนิยมแล้ว แม้จะไม่เต็มตัวและชัดเจนเหมือนกับจีนก็ตาม

"ฤดูกาลที่ต้องเปลี่ยนผ่าน ก็เหมือนกับคนในปัจจุบันที่อยู่ภายใต้กระแสทุนนิยมที่มีพลังอันมหาศาล จนยากจะต้านทานได้"

รัสเซียวันนี้จึงเปลี่ยนไป แม้จะยังใช้ชื่อว่าเป็น "สังคมนิยม" แต่ในทางปฏิบัตินั้นเป็น "ทุนนิยม"

ถ้าจะเปรียบกับเมืองหลวงในศักดิเดียวกัน อย่างปักกิ่ง มอสโกถือว่าไม่เขี้ยว

คนที่นี่นอกจากชื่อเสียงของการเป็น "คนสองบุคลิก" อย่างที่หลายๆ คนบอกว่าเหมือนอยู่ในเปลือกถั่ว หน้าตาภายนอกเหมือนขมวดคิ้วตลอดเวลา แต่ถ้าได้ทำความคุ้นเคยแล้วจะพบว่าคนรัสเซียมีความน่ารัก มีจิตใจที่อบอุ่น ใจดี รู้จักโอภาปราศรัยเหมือนกัน

หน้าตาสวนจตุจักรของรัสเซีย

บ่าวสาวรัสเซียนนิยมเช่าลีมูซียคันยาวและไปหยุดถ่ายภาพตามสถานที่สำคัญๆ

รับจ้างถ่ายภาพตามพระราชวัง เป็นอาชีพที่รายได้งาม


"คนรัสเซียส่วนใหญ่เป็นคนคิดชั้นเดียว บริหารการจัดการไม่เป็น"

ยกตัวอย่าง ถ้าคุณมาเที่ยว ซึ่งแน่นอนว่าต้องจองผ่านทัวร์ ซึ่งทัวร์ไทยเองก็จะต้องติดต่อกับทัวร์รัสเซียให้จัดการให้อีกทอดหนึ่ง ถ้าต้องการสิ่งใดเพิ่มเติม เช่น เปิดห้องเพิ่ม หรือเพิ่มเมนูอาหารอีกสักอย่าง...เป็นเรื่องใหญ่ ถึงกับต้องมีการเรียกประชุมด่วน

"ฉะนั้น นักท่องเที่ยวที่หวังว่าจะแบ๊คแพคมาเที่ยวเอง แทบจะเป็นไปไม่ได้ถ้าไม่มีคนที่รู้จักอยู่ที่รัสเซีย เพราะนับตั้งแต่ภาษาที่ใช้ภาษารัสเซียเป็นหลัก ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ในโรงแรมหลายๆ แห่งยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้"

และการจะเดินเข้าไปจองห้องพักในโรงแรม หรือซื้อตั๋วเพื่อเข้าชมสถานที่ต่างๆ นั้น ถ้าไม่ได้ซื้อผ่านทัวร์ท้องถิ่นแล้ว ราคาแพงกว่าเท่าตัว

"เหมือนจะไม่ง้อคนต่างชาติอย่างไรอย่างนั้น"

ขนาด "ออสก้า ทัวร์" บริษัทนำเที่ยวมืออาชีพที่ทำหน้าที่ประสานงานให้กับ "การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย" พาสื่อมวลชนไปสังเกตการณ์งานส่งเสริมการขายทางการท่องเที่ยวที่รัสเซีย ยังถึงกับปวดศีรษะ เพราะเซ็ตอาหารที่ร้านอาหารจีนในกรุงมอสโก จากที่ตกลงกันว่าขอแบบอาหารฮ่องเต้ กลับโดนลดเกรดเหลือแค่อาหารระดับร้านข้าวต้มกุ๊ย

"น่าสังเกตว่ารัสเซียเป็นประเทศยังได้ชื่อว่าสังคมนิยม แต่มีบ่อนกาสิโนอยู่กลางเมือง เช่นที่ โรงแรมคอสมอส โรงแรมระดับ 4 ดาวครึ่งถึง 5 ดาว ที่มีสาขาอยู่เป็นสิบแห่ง ที่ล็อบบี้โรงแรมมีเครื่องเล่นให้เลือกใช้บริการได้โดยไม่ต้องแอบๆ ซ่อนๆ"

หรืออย่างเซ็กซ์ ช็อป ก็สามารถหาได้ไม่ยาก ส่วนสถานบริการทางเพศนั้น ถ้าเปิดอย่างเป็นกิจจะลักษณะไม่ได้ แต่ถ้าคุณเธอจะไปยืนกันอยู่คนละเสารอลูกค้าเข้ามาใช้บริการ ถือว่าไม่ผิด เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล

"ใครๆ ก็บอกว่าคนรัสเซียดื่มวอดก้า เพราะเป็นเครื่องดื่มที่ให้ความอบอุ่นท่ามกลางอากาศอันหนาวเย็น ถึงขนาดที่บางปีอุณหภูมิติดลบ 30 องศา"

แต่พอมาเหยียบถึงถิ่นจริงๆ ประเด็นนี้ถูกแค่ครึ่งเดียว

"นับแต่ก้าวออกจากสนามบินมอสโก ป้ายบิลบอร์ดที่เห็น นอกจากขายรถยนต์หรู ขายคอนโดมิเนียมแล้ว ก็คือ ขายเบียร์สารพัดยี่ห้อ"

ในซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมอย่าง เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก มีเบียร์ให้เลือกกันจนตาลาย และตามเคาน์เตอร์โรงแรมใหญ่ๆ รวมทั้งร้านอาหารจึงมีให้บริการดราฟต์เบียร์เป็นสามัญ

วิหารเซนต์บาซิล สัญลักษณ์รัสเซีย
ภายในพิพิฑภัณฑ์เฮอมิเทจจัดแสดงศิลปะระดับมาสเตอร์พีซของพระนางแคเธอรีนมหาราช

"เหล่านี้เป็นสิ่งยืนยันอย่างชัดเจนถึงความชอบกินชอบดื่มของคนรัสเซียรุ่นใหม่ ฉะนั้นสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยที่นักท่องเที่ยวรัสเซียนิยมเข้ามาใช้บริการจึงเป็น พัทยา ภูเก็ต เกาะสมุย และล่าสุดที่กำลังมาแรงคือ เกาะช้าง"

ฉะนั้น ถ้าไก่ไม่ตื่นเสียก่อน เพราะสถานการณ์บ้านเมืองของเราที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลายลง รัสเซียเป็นตลาดใหม่ที่ยังกินได้อีกยาว

เพราะเมืองไทยเรายังมีสถานที่ที่จะแนะนำให้นักท่องเที่ยวรัสเซียได้รู้จักและเข้าไปสัมผัสมีมากมายมหาศาล ทั้งที่เป็นเพิงผา ภูเขาที่โอบล้อมไปด้วยทะเลหมอก และสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ชวนเสน่ห์อีกมากต่อมาก

รัสเซียยังปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม ที่มีประธานาธิบดีเป็นผู้บริหารประเทศ

แต่คนรัสเซียกลับพูดอย่างเต็มปากว่า ภาคภูมิกับอดีตอันรุ่งเรืองเมื่อครั้งที่ยังมีซาร์ปกครอง และเป็นเหตุผลที่กอร์บาชอฟนำเอาพระอัฐิที่เหลือของซาร์นิโคลัสที่ 2 และคนในราชวงศ์โรมานอฟที่ถูกลอบสังหาร และหายสาบสูญไปตั้งแต่ปี 1918 มาไว้ในสุสานหลวงในปี 1990

แน่นอน "พระราชวังทั้งหลายที่เป็นสัญลักษณ์อันรุ่งเรืองของราชวงศ์รัสเซียน ขณะเดียวกันก็เป็นสัญลักษณ์ของช่องว่างระหว่างชนชั้น ท่ามกลางความหิวโหยของประชาชน ในยามนี้ได้รับการพลิกฟื้นขึ้นอีกครั้ง"

เช่น ที่พระราชวังแคเธอรีน ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ที่ถูกทำลายยับเยินในช่วงสงครามโลก โดยเยอรมันถือเอาโอกาสนั้นกอบโกยเอาทรัพย์สินอันมีค่าทั้งหลายกลับประเทศของตนในฐานะผู้ชนะสงคราม

5 ปีก่อน พระราชวังแห่งนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ตามแบบเดิมมากที่สุดเท่าที่จะมากได้

อย่างเช่น ในห้องอำพัน ซึ่งนำเอาอำพันน้ำงามชิ้นโตเท่าฝ่ามือมาแต่งผนังห้อง ทั้งหมดถูกลอกหายไปหมด แต่ผู้ปกครองรัสเซียก็ยังอุตส่าห์ให้หาอำพันของแท้ แม้จะได้เพียงแค่ชิ้นไม่ถึงครึ่งของเดิม มาแต่งผนังให้มีลักษณาการเช่นเดิม

"อดีตอันรุ่งเรืองเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวรัสเซียเหล่านี้ ปัจจุบันกลายเป็นทุนทางการท่องเที่ยวที่สำคัญ"

นอกจากจะสามารถเก็บสตังค์ค่าเข้าชมจากนักท่องเที่ยวได้แล้ว ภายในพระราชวังแต่ละแห่งยังเกิดอาชีพหนึ่ง คือ รับจ้างเป็นแบบถ่ายรูปด้วย โดยจะมีชายหนุ่มหญิงสาวในเครื่องแต่งกายย้อนยุคยืนโพส์ตรอท่านักท่องเที่ยวทั้งหลาย

"ถ่ายรูปคู่ด้วยแชะละ 70 รูเบิล (1 รูเบิลเท่ากับ 1.50 บาท โดยประมาณ) ถ้า 2 แชะลดให้เหลือ 100 รูเบิล"

สถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งที่นักท่องเที่ยวควรจะมาเยี่ยมชมคือ "พระราชวังเซนต์นิโคลัส" ที่นี่ ณ ปัจจุบันเป็นสถานที่จัดการแสดงวัฒนธรรมพื้นเมืองของรัสเซีย โดยโปรแกรมจะเริ่มในราว 1 ทุ่ม แต่นักท่องเที่ยวจะทยอยไปจบจองที่นั่งตั้งแต่ 6 โมงเย็น เพราะใครมาก่อนได้ที่นั่งก่อน

ประสาพระราชวัง บันไดทางขึ้นปูลาดด้วยพรมแดง พอถึงกึ่งกลางบันได ฝั่งซ้ายมีนักดนตรีคลาสสิคบรรเลงเพลงระหว่างรอเวลาการแสดง ส่วนทางฝั่งขวาเป็นโต๊ะตั้งแชมเปญเป็นเวลคัมดริ๊งก์

ส่วนการแสดงนั้นหรือ จะเป็นการร้องเพลง เต้นระบำในแบบพื้นถิ่น นาน 40 นาที ก่อนจะพักครึ่งให้รับเครื่องดื่มและคานาเป้

"การแสดงครึ่งหลังจะเป็นการเต้นระบำและสอดแทรกด้วยการโชว์ "ผ้าคลุมไหล่พื้นเมือง" สินค้าหนึ่งในหลายๆ อย่างที่คนที่มารัสเซียต้องซื้อกลับไปฝากคนทางบ้าน"

สามารถหาซื้อได้จากบู๊ธที่มาออกร้านอยู่ด้านหน้าห้อง ราวกับจะการันตีว่าเห็นมั้ยเหมือนกับที่นักแสดงคลุมไหล่เต้นอยู่เมื่อกี้นี้เปี๊ยบเลยนะ

"แม่ค้าบอกว่า เป็นผ้าเนื้อดีทอด้วยวู ชายทำด้วยไหม ราคาผืนขนาดกลาง 1,100 รูเบิล ซึ่งราคานี้เป็นราคาที่รับมาจากโรงงาน ไม่สามารถลดราคาให้ได้อีกแล้ว"

อย่างไรก็ตาม สามารถไปหาซื้อผ้าคลุมไหล่ชนิดเดียวกันนี้ที่ตลาดนัดจตุจักรของกรุงมอสโก (Izmailovo Market) ได้ในราคาประมาณ 7,000 รูเบิล

รวมทั้งของที่ระลึกของฝากอื่นๆ ในราคาที่ถูกกว่าที่อื่น และยังสามารถต่อรองราคาได้

ถามว่ารัสเซียมีเสน่ห์มั้ย ต้องยอมรับว่ามีเสน่ห์ไม่น้อย โดยเฉพาะกับคนที่รักอากาศหนาวเย็น เพราะไก๊ด์บอกว่าที่รัสเซียมีเพียง 2 ฤดูคือ ไวท์ วินเทอร์ กับ กรีน วินเทอร์ ก็เหมือนกับที่หลายๆ คนพูดกระเซ้าว่าเมืองไทยก็มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูร้อนกว่า และฤดูร้อนที่สุด

ฉะนั้น "ถ้าคุณมีงบประมาณ 1 แสนบาท สำหรับการเที่ยวรัสเซีย ไม่รวมพ็อกเก็ตมันนี่ และไม่เหนื่อยหน่ายกับรถติด โดยเฉพาะที่มอสโก" จากสนามบินมอสโกไปที่พักระยะทาง 35 กิโลเมตร โชเฟอร์บอกว่าไม่สามารถบอกได้ว่าจะใช้ระยะเวลานานแค่ไหน เราจึงใช้เวลาราว 2 ชั่วโมงบนรถ

ซึ่งภาวะรถติดหนึบแบบไม่ค่อยยอมขยับนี้ไม่ใช่แค่ช่วงชั่วโมงเร่งด่วน แต่เกิดขึ้นตั้งแต่เช้ากระทั่งเที่ยงคืนก็ยังติดอยู่เช่นนั้น

"ถ้ารับได้ รัสเซียเป็นที่น่าไปเปิดหูเปิดตา"

คอลัมน์ บันทึกเดินทาง@มติชน
โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช
09-11-2008

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

เพื่อน

การจะอยู่รวมกันในสังคมนั้น
ต้องใช้เหตุและผล เป็นสำคัญ
การเป็นคนที่มีเหตุผล
ทำให้เรารู้จักและยอมรับในกฎเกณฑ์ของสังคม
และอยู่ร่วมกันในสังคมได้ ...

แต่ระหว่าง "เพื่อน" ...
ถ้าใช้แค่เพียง "เหตุผล" อาจจะไม่พอ ...
เพราะแต่ละคนก็มีเหตุผลของตัวเองด้วยกันทั้งนั้น ...
และเมื่อต่างยึดมั่น ถือมั่น
ในเหตุผลของตนเอง
ทัศนคติก็จะไม่ตรงกัน
ทำให้เพื่อนลืมไปว่า ...
เราเป็นอะไรที่มากกว่า แค่ "คนรู้จัก" กัน ...

สิ่งที่สำคัญกว่าเหตุผลคือ "ความเข้าใจ" ...
แม้ทัศนคติจะไม่ตรงกัน แต่เพื่อนก็อยู่ด้วยกันได้ ...
แค่ทำความเข้าใจในตัวตนของกันและกัน ...
และสิ่งนี้แหละ ทำให้เกิดคำว่า "เพื่อน"
ทำให้เราเป็นมากกว่า ... ... แค่ "คนรู้จัก" กัน

ข้อคิดดีๆ

ทุกวันนี้เรามีตึกสูงขึ้น มีถนนกว้างขึ้นแต่ความอดกลั้นน้อยลง

เรามีบ้านใหญ่ขึ้น แต่ครอบครัวของเรากลับเล็กลง

เรามียาใหม่ ๆ มากขึ้น แต่สุขภาพกลับแย่ลง

เรามีความรักน้อยลง แต่มีความเกลียดมากขึ้น

เราไปถึงโลกพระจันทร์มาแล้ว แต่เรากลับพบว่า

แค่การข้ามถนนไปทักทายเพื่อนบ้านกลับยากเย็น.....

เราพิชิตห้วงอวกาศมาแล้ว แต่แค่ห้วงในหัวใจกลับไม่อาจสัมผัสถึง

เรามีรายได้สูงขึ้น แต่ศีลธรรมกลับตกต่ำลง

เรามีอาหารดี ๆ มากขึ้นแต่สุขภาพแย่ลง

ทุกวันนี้ทุกบ้านมีคนหารายได้ได้ถึง 2 คน แต่การหย่าร้างกลับเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น……จากนี้ไป……ขอให้พวกเรา อย่าเก็บของดี ๆ ไว้โดยอ้างว่าเพื่อโอกาสพิเศษ

เพราะทุกวันที่เรายังมีชีวิตอยู่คือ ……โอกาสที่พิเศษสุด……แล้ว

จงแสวงหา การหยั่งรู้

จงนั่งตรงระเบียงบ้านเพื่อชื่นชมกับการมีชีวิตอยู่ โดยไม่ใส่ใจกับความ…..อยาก…

จงใช้เวลากับครอบครัว เพื่อนฝูงคนที่รักให้มากขึ้น…….

กินอาหารให้อร่อย ไปเที่ยวในที่ที่อยากจะไป

ชีวิตคือโซ่ห่วงของนาทีแห่งความสุขไม่ใช่เพียงแค่การอยู่ให้รอด

เอาแก้วเจียระไนที่มีอยู่มาใช้เสีย

น้ำหอมดี ๆ ที่ชอบ จงหยิบมาใช้เมื่ออยากจะใช้

เอาคำพูดที่ว่า…….สักวันหนึ่ง……..ออกไปเสียจากพจนานุกรม

บอกคนที่เรารักทุกคนว่าเรารักพวกเขาเหล่านั้นแค่ไหน

อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง ที่จะทำอะไรก็ตามที่ทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้น

ทุกวัน ทุกชั่วโมง ทุกนาที มีความหมาย

เราไม่รู้เลยว่าเมื่อไรมันจะสิ้นสุดลง

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

“กรุงเทพ-นิวยอร์ก” ผลาญหมื่นล้าน

บินไป“กรุงเทพ-นิวยอร์ก” สำหรับเส้นทางบินตรงแบบนอนสต็อปไม่เกิน 17 ชั่วโมง ควรเป็น “จุดขาย” สร้างรายได้ให้ “การบินไทย” ตรงกันข้ามกลับเป็นจุดเริ่มต้นของ “สินบนเครื่องบิน” ทำให้การบินไทยถึงขั้น “โคม่า” ในปัจจุบัน


3 ปีอาจเป็นความทรงจำที่ดีของกัปตันและลูกเรือหลายคนที่ให้บริการผู้โดยสารในเที่ยวบินตรง TG 972 กรุงเทพ-นิวยอร์ก แต่หลังจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา TG 972 กลายเป็นประวัติศาสตร์ และเป็น 3 ปีที่สร้างบทเรียนทำให้ “จำปี” ช้ำหนัก เพราะตัวเลขขาดทุนมหาศาล จนการบินไทยหมดทางเลือกต้อง “หยุดบิน”


ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2548 ที่สนามบินนานาชาติ “JFK” มหานครนิวยอร์ก มีโอกาสต้อนรับเที่ยวบินปฐมฤกษ์ ซึ่งมีทั้งแขกวีไอพีและสื่อมวลชนบนเครื่องบินแอร์บัส A340-500 ของการบินไทย ด้วยความหวังเต็มเปี่ยมของผู้บริหารการบินไทยว่าจะเป็นเส้นทางใหม่ที่เป็นจุดขายของการสายการบินแห่งชาติในการบินตรงแบบ “นอนสต็อป” ไม่แวะพักระหว่างทาง ในเวลาเพียง 17 ชั่วโมง และที่สำคัญเที่ยวบินนี้เป็นเครื่องบินใหม่เอี่ยม มีเพียง 26 ลำในโลกที่ให้บริการเท่านั้น

3 ปีผ่านไป การลงทุนนับหมื่นล้านบาท ทั้งการฝึกนักบิน ลูกเรือสำหรับเครื่องบินใหม่ ขณะที่ค่าเครื่องบินที่สั่งซื้อมากกว่า 16,000 ล้านบาทยังไม่ได้ทุนคืน ตรงกันข้ามแต่ละวันที่บิน มีแต่ตัวเลขขาดทุน ออกอาการเลือดไหลไม่หยุด จนกระทั่งกลางเดือนมิถุนายน 2551 บอร์ดมีมติให้วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 หยุดบิน หลังพบตัวเลขขาดทุนสูงกว่าปีละ 1,000-3,000 ล้านบาท รวมประมาณ 3 ปีขาดทุนจากบริการเกือบ 7,000 ล้านบาท และหากบินต่อไปจะถึงหลักหมื่นล้านอย่างรวดเร็ว

5 เหตุผลกรุงเทพ-นิวยอร์กขาดทุน

ทั้งนี้จากบันทึกการประชุมบอร์ดการบินไทย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551 “วรเนติ หล้าพระบาง” ผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและประเมินผลกลยุทธ์ รายงานว่า เส้นทางบินตรงทวีปอเมริกาเหนือ

ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน “ประสบการขาดทุนมาโดยตลอด” หากต้องการมีรายได้คุ้มค่าใช้จ่าย (Break Even) ต้องมีผู้โดยสาร (Cabin Factor) สูงกว่า 100% นั่นหมายถึงการมีผู้โดยสารเกินจำนวนเก้าอี้ที่มีไว้บริการ

สาเหตุการขาดทุนมี 5 ข้อคือ 1.ราคาน้ำมันที่สูงกว่า 50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งแพงขึ้นจากที่เคยทำแผนวิสาหกิจ 2545 ไว้ 82 USC/USG (US Cents a gallon) เมื่อบินจริงในปี 2548 ราคาน้ำมันปรับตัวเป็น 162 USC/USG และในเดือนพฤษภาคม 2551 ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 349 USC/USG หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่า

2.ความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยน ที่เงินบาทแข็ง เงินเหรียญสหรัฐอ่อน ทำให้รายได้ลดลง เพราะรายได้ส่วนใหญ่จากเส้นทางนี้เป็นเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อแปลงเป็นเงินบาททำให้ได้ลดลง

3.ปัญหาแบบเครื่องบินที่เป็น A340-500 มี 4 เครื่องยนต์ เพื่อบินพิสัยไกลพิเศษ แบบบินข้ามทวีป (Super หรือ Ultra Long Range) มีจำนวนที่นั่งบนเครื่องบินเพียง 215 ที่นั่ง เพื่อไม่ให้แออัดจนเกินไป เพราะต้องบินแบบนอนสต็อป ในเวลา 16-17 ชั่วโมง แบ่งที่นั่งเป็น 3 คลาส คือ รอยัลซิลค์ 60 ที่นั่ง พรีเมียร์อีโคโนมี 42 ที่นั่ง และอีโคโนมี 113 ที่นั่ง

แม้การบินไทยจะขายตั๋วได้ 79.0% จากจำนวนที่นั่งโดยสารทั้งหมด ซึ่งในระดับนี้ในเส้นทางปกติก็ถึงจุดคุ้มทุน แต่สำหรับกรุงเทพ-นิวยอร์ก ยังไม่เพียงพอ และต้องขายตั๋วถึง 100.9% เมื่อเจอปัจจัยราคาน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้แลกได้เงินบาทลดลง จุดคุ้มทุนต้องถึง 120% และแม้การบินไทยจะแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มที่นั่งเป็น 229 ที่แล้วก็ยังมีรายได้ไม่เพียงพอ

4.ความนิยมการใช้เครื่องบิน A340-500 ที่ใช้สำหรับบินพิสัยไกลพิเศษ เหมาะกับตลาด เฉพาะเจาะจง (Niche Market) ปัจจุบันจึงมีเครื่องนี้ใช้อยู่ในอุตสาหกรรมการบินเพียง 26 ลำ ทำให้โอกาสที่จะขาย “ค่อนข้างยากมาก”

5.ราคาขาย และสภาวะการแข่งขันในเส้นทางอเมริกาเหนือที่มีสายการบินคู่แข่งบินผ่านจุดบินต่างๆ โดยเฉพาะการบินตรงไปยังนิวยอร์ก มีจุดแวะเปลี่ยนเครื่อง ทำให้การบินไทยไม่สามารถปรับราคาค่าโดยสารบินตรงได้สูงนัก เพราะการใช้บริการสายการบินที่แวะเปลี่ยนเครื่อง จะเสียเวลาในการต่อเที่ยวบินอีกประมาณ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น หากการบินไทยเพิ่มค่าโดยสาร ผู้โดยสารอาจยอมเสียเวลาเลือกสายการบินที่แวะพักมากกว่า

มีการประเมินด้วยว่าหากการบินไทยยังคงบินกรุงเทพ-นิวยอร์ก ต่อไปจนถึงช่วงกรกฎาคม-ธันวาคม 2551 จะขาดทุนอีก 2,235.19 ล้านบาท

จากตัวเลขที่ฝ่ายบริหารรายงานต่อบอร์ดนั้น ชัดเจนว่าการขาดทุนของ “กรุงเทพ-นิวยอร์ก” ไม่ใช่เกิดจากน้ำมันเป็นจุดเริ่มต้น เพราะปี 2548 เส้นทางบินในอเมริกาเหนือ ซึ่งมีกรุงเทพ-ลอสแองเจลิส และกรุงเทพ-นิวยอร์ก ก็ขาดทุนถึง 1,592.7 ล้านบาท แต่จากเหตุผลในข้อ 3 แล้วสะท้อนให้เห็นถึงความผิดพลาดในการตัดสินใจซื้อเครื่องบิน A340-500 ที่เป็นรุ่นที่ต้องใช้น้ำมันจำนวนมาก และแบบเครื่องบินที่ไม่สามารถเพิ่มจำนวนที่นั่งให้มากพอที่จะคุ้มทุน

เพียงแต่ว่าเมื่อมาเจอวิกฤตราคาน้ำมันแพงขึ้น จึงทำให้แผลของกรุงเทพ-นิวยอร์กยิ่งสาหัสมากยิ่งขึ้น โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2551 ระหว่างมกราคม-มีนาคม การบินไทยขาดทุนไปแล้วถึง 980.4 ล้านบาท

สาเหตุที่แท้จริงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารชุดปัจจุบันอย่าง “ร.อ.ท.อภินันท์ สุมนะเศรณี” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือดีดีหลีกเลี่ยงที่จะกลับไป “แฉ” ผู้บริหารรุ่นพี่ ความเป็นดีดี ณ ปัจจุบันทำได้แต่เพียงการอธิบายถึงราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจนยากที่จะควบคุมว่าเป็นสาเหตุหลักเท่านั้น ซึ่งการบินไทยไม่มีทางเลือกนอกจากต้องหยุดบินกรุงเทพ-นิวยอร์ก และลดเที่ยวบินเส้นทางกรุงเทพ-ลอสแองเจลิส และเปลี่ยนเครื่องบินมาเป็นโบอิ้ง 777-200ER ยอมเลิกจุดขาย “บินตรง” และแวะโอซากาก่อน พร้อมให้ขายเครื่องบิน A340-500 ทั้ง 4 ลำ ภายใน ปี 2552

โละเครื่องบินสูญอีก 4 พันล้าน


การตัดสินใจหยุดบินกรุงเทพ-นิวยอร์กครั้งนี้ นอกจากสะท้อนถึงความผิดพลาดในการเปิดเส้นทางบิน และเลือกซื้อเครื่องบินในอดีตแล้ว ยังทำให้ปัจจุบันการบินไทยต้องสูญเสียจากการขายเครื่องบิน A340-500 ทั้ง 4 ลำ เป็นการเสีย “ค่าโง่” ถึง 4,237.4 ล้านบาท เพราะต้องขายทิ้งแบบขาดทุน ได้มูลค่าตลาดรวม 4 ลำ เพียง 12,553.2 ล้านบาท ขณะที่การบินไทยซื้อเครื่องบินมาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว บันทึกตามมูลค่าทางบัญชีอยู่ที่ 16,796.6 ล้านบาท ทั้งที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 3 ปี และลำสุดท้ายเพียง 1 ปีเศษ

จากรายงานการประชุมคณะกรรมการ ได้ระบุชัดเจนว่าเมื่อหยุดบินกรุงเทพ-นิวยอร์ก ตามมาด้วยปลดระวางและจำหน่ายเครื่องบิน A340-500 จะทำให้ขาดทุนในปี 2551 จำนวน 1,963.8 ล้านบาท และปี 2552 อีก 2,279.6 ล้านบาท แต่เมื่อชดเชยจากที่ไม่ต้องบินกรุงเทพ-นิวยอร์กแล้ว มีผลทำให้การบินไทยมีกำไรลดลง โดยปี 2551 กำไรสุทธิลด 726.1 ล้านบาท และปี 2552 จะกำไรสุทธิลด 698.3 ล้านบาท ปี 2553-2555 จะไม่ได้รับผลกระทบจาการขายเครื่องบิน แต่จะมีกำไรในปี 2553-2555 รวมกว่า 10,000 ล้านบาท

สรุปว่านี่คือทางเลือกที่ดีที่สุด เพื่อให้ภายใน 5 ปี หรือปี 2551-2555 ผลประกอบการดีขึ้น 15,225.9 ล้านบาท

นี่คือบทเรียน ซึ่งระหว่างการประชุม “วิกรม คุ้มไพโรจน์” อดีตเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงลอนดอน ในฐานะบอร์ดคนหนึ่งให้ความเห็นว่า การซื้อเครื่องบิน (A340-500) มาใช้เพียง 3 ปี และต้องปลดระวาง แสดงให้เห็นว่าการวางแผนวิสาหกิจไม่เป็นไปตามแผน แม้จะมีสาเหตุที่ไม่คาดคิดและควบคุมไม่ได้ เช่นราคาน้ำมัน เพราะฉะนั้น “ในการวางแผนต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนไม่คำนึงถึงความจำเป็นเฉพาะหน้า หรือต้องการได้เครื่องบินใหม่ จึงหวังว่าในอนาคตจะไม่เกิดกรณีเช่นนี้อีก”

ในประเด็นนี้ “ร.อ.ท.อภินันท์” ได้ชี้แจงต่อบอร์ดว่า คณะทำงานจะทบทวนแผน 10 ปีของบริษัทใหม่ทั้งหมด ตามสมมติฐานที่เปลี่ยนแปลงไปมากในปัจจุบัน

ดูเหมือนจะสมเหตุสมผล ที่จะมีผลประกอบการดีขึ้น หากทำตามอย่างที่บอร์ดอนุมัติเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551 ในการปิดเส้นทาง และโละเครื่องบิน แต่หากพิจารณาอย่างละเอียดแล้ว ผลประกอบการของการบินไทยจะดีขึ้นกว่านี้ หรืออาจมากกว่า 15,225.9 ล้านบาท ถ้าในปี 2546 ไม่มีการซื้อ A340-500 จำนวน 4 ลำ และไม่ฝืนทนบินขาดทุนมานานถึง 3 ปี

เบ็ดเสร็จผลเสียจากการทำตาม “ใบสั่ง” ทางการเมือง การบินไทยต้องสูญเสียเกือบ 20,000 ล้านบาท


แก๊ง “กรุงเทพ-นิวยอร์ก”


เส้นทางกรุงเทพ-นิวยอร์ก สะท้อนให้เห็นความต้องการซื้อเครื่องบินมากกว่าการพิจารณาเรื่องความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ โดยเกิดขึ้นอย่างเป็นกระบวนการตั้งแต่รัฐบาลจนมาถึงบอร์ด และดีดีการบินไทย ที่เป็น “พรรคพวก” เดียวกัน ทำให้การจัดซื้อแอร์บัส A340-500 มูลค่ากว่า 16,000 ล้านบาท สำหรับเส้นทางบินตรงกรุงเทพ-นิวยอร์ก เกิดขึ้นอย่างราบรื่น

เริ่มจากเดือนเมษายน 2546 ช่วงที่รัฐบาล “ทักษิณ ชินวัตร” กำลังผุดนโยบายรายวัน มี “สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” เลขาธิการพรรคไทยรักไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งกำกับดูแลการบินไทย มี “ทนง พิทยะ” เป็นประธานบอร์ดการบินไทย และมี “กนก อภิรดี” เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือดีดี

ช่วงต้นเดือนเมษายน 2546 บอร์ดอนุมัติซื้อเครื่องบินทั้งหมด 8 ลำ คือมีทั้ง A 340-500 และ A340-600 สำหรับบินพิสัยไกลพิเศษ กรุงเทพ-นิวยอร์ก และกรุงเทพ-ลอสแองเจลิส ท่ามกลางโลกที่กำลังเจอวิกฤตการณ์ภาวะเศรษฐกิจ และการเมืองที่ไม่มีความแน่นอน หลังจากสหรัฐอเมริกาโดยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู เปิดฉากสงครามถล่มอิรัก และไข้หวัดนกกำลังระบาด ซึ่งในเวลาเดียวกันนี้แม้กระทั่งสิงคโปร์แอร์ไลน์สยังลดเที่ยวบินในช่วงนั้นถึง 125 เที่ยวบิน รวมทั้งปลายทางนิวยอร์ก

ปลายปี 2547 ก่อนที่รัฐบาลทักษิณจะหมดวาระการเป็นรัฐบาล ได้อนุมัติทิ้งทวนซื้อเครื่องบินล็อตใหญ่ มูลค่ารวม 96,355 ล้านบาท ซึ่งรวม A340-500 ในฝูงบิน

2 ปีสำหรับการเตรียมการ และสานต่อนโยบายด้านอื่นๆ ของรัฐบาลสมเหตุสมผลและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ไม่กี่เดือนรัฐบาล “ทักษิณ ชินวัตร” กลับมาอีกครั้ง ช่วงต้นปี 2548 กระทรวงพาณิชย์ ได้เช่าอาคาร ในย่าน Fifth Avenue เพื่อเปิด “ไทยแลนด์พลาซ่า” นำสินค้าโอท็อปจากเมืองไทยมาจำหน่าย เพื่อเพิ่มความคึกคักให้กับกรุงเทพ-นิวยอร์ก ที่จะมีทั้งเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ และสินค้าโอท็อปโดยสาร

1 พฤษภาคม 2548 จึงเป็นวันเริ่มต้นของการสูญเสียของการบินไทยอีกครั้ง หลังเทกออฟบินตรงกรุงเทพ-นิวยอร์ก

ผลงานบินตรง กรุงเทพ-นิวยอร์ก และกรุงเทพ-ลอสแองเจลิส


ผลงาน 2547/2548 2548/2549 2549/2550 ต.ค.-ธ.ค. 2550 ม.ค.-มี.ค. 2551
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------จำนวนเที่ยวบินไป-กลับ 339.5 402 595.5 184 182
รายได้รวมค่าธรรมเนียมน้ำมัน (ล้านบาท) 4,808.2 5,050.7 7,190.0 2,196.8 2,213.7
ค่าใช้จ่ายรวม (ล้านบาท) 6,400.9 7,124.3 8,836.8 2,946.0 3,194.1
ผลขาดทุน (ล้านบาท) 1,592.7 2,073.6 1,646.9 731.9 980.4
ค่าใช้จ่ายด้านน้ำมัน (ล้านบาท) 2,4180.0 2,985.0 3,894.5 1,421.5 1,495.7
% สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านน้ำมัน 37.8 41.9 44.1 48.3 46.8
จุดคุ้มทุน (%) 105.7 115.7 100.3 100.7 110.4
(Break Even Cabin Factor)
เฉลี่ยจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการ (%) 74.0 76.3 78.4 72.9 71.1
ราคาน้ำมัน (USC/USG) 162 203 202 255 276
อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/เหรียญสหรัฐ) 40.17 39.30 35.50 34.03 32.59

ที่มา : การประชุมบอร์ดการบินไทย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551

สุกรี แมนชัยนิมิต
@Positioning Magazine
26 สิงหาคม 2551

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551

"กุฎีจีน"ฝั่งธนฯ

เยือน"กุฎีจีน"ฝั่งธนฯ ยลชุมชนนานาชาติ

โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
@ ผู้จัดการออนไลน์ 19 มิถุนายน 2550

 โบสถ์ซางตาครู้สอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์

นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ฉันได้มามีโอกาสเดินทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งธนบุรีที่ย่าน "ชุมชนกุฎีจีน" เพื่อท่องเที่ยวเยี่ยมเยือนชาวชุนชนเก่าแก่หลากหลายเชื้อชาติ ต่างศาสนา ต่างวัฒนธรรม แต่ว่าก็สามารถอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวอย่างสมานฉันท์สันติสุขมาเป็นเวลากว่า 100 ปีแล้ว

ไหนๆเมื่อมาเที่ยวชุมชนที่มีความหลากหลายแล้ว ฉันก็ขอเลือกรูปแบบการท่องเที่ยวที่หลากหลายด้วยเช่นกัน โดยแรกเริ่มฉันขอเปิดประเดิมทริปด้วยการล่องเรือท่อง "คลองบางกอกใหญ่" กันก่อน



มัสยิดบางหลวง ดูด้านนอกคล้ายโบสถ์ของศาสนาพุทธ

สำหรับคลองบางกอกใหญ่ เดิมนั้นก็คือแม่น้ำเจ้าพระยานั่นเอง แต่หลังจากที่ขุดคลองลัดบางกอกในรัชสมัยพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยาแล้ว แม่น้ำเจ้าพระยาช่วงนี้ก็เริ่มเล็กลง มีบ้านเรือนปลูกอาศัยเพิ่มมากขึ้นจนล้น และในที่สุดก็กลายเป็นเพียงคลองที่ชื่อว่าคลองบางกอกใหญ่ โดยในสมัยก่อนคลองบางกอกใหญ่จะเป็นเส้นทางหลักของพ่อค้าแม่ขายทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่ใช้สัญจรไปมาเพื่อทำการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน

คลองบางกอกใหญ่ถึงแม้จะไม่ใหญ่สมชื่อ แต่ก็มีสิ่งสวยงามมากมายให้ฉันได้ชม อย่างเช่นวัดโมลีโลกยาราม ที่มีความสำคัญมากในสมัยกรุงธนบุรี คือเป็นวัดที่นำพระศพของพระเจ้ากรุงธนบุรีผ่านทางท่าน้ำวัด และเมื่อออกจากคลองบางกอกใหญ่เราก็จะพบกับป้อมวิชัยประสิทธิ์ ป้อมแห่งนี้มีอายุราว 327 ปี ซึ่งมีความเก่าแก่มาก จึงทำให้การมาล่องเรือในครั้งนี้เปรียบได้กับการย้อนไปในประวัติศาสตร์ เพื่อเรียนรู้ความเป็นมาของฝั่งธนฯอย่างชัดเจนและถ่องแท้

ศาลเจ้าเกียนอันเกง ย่านกุฎีจีน

หลังใช้เวลากับการล่องเรืออยู่พักใหญ่ ฉันก็เปลี่ยนบรรยากาศมาเดินเที่ยวทางบกกันบ้าง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้สัมผัสวิธีชีวิตคนฝั่งธนฯอย่างลึกซึ้ง ที่แรกที่ฉันได้เดินมาสัมผัสคือ โบสถ์วัดซางตาครู้ส คำว่าซางตาครู้สในภาษาโปรตุเกสหมายถึง กางเขนศักดิ์สิทธิ์ โบสถ์แห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่พระราชทานจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ลักษณะของอาคารจะเป็นแบบผสมผสาน และที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็นหอคอยทรงโดมที่มีความงดงาม ภายในโบสถ์ยังตกแต่งด้วยกระจกหลากสีสันถึง 39 บาน ซึ่งกระจกทุกบานผลิตที่ประเทศฝรั่งเศสและส่งตรงมายังโบสถ์แห่งนี้โดยเฉพาะ และยังเป็นวัดคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกแห่งแรกในฝั่งธนฯฯอีกด้วย

เมื่อออกจากโบสถ์ซางตาครู้สฉันก็เดินต่อไปบ้านขนมฝรั่งกุฎีจีน ขนมชนิดนี้เป็นชื่อที่ใช้เรียกตามฝรั่งชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นผู้นำวัฒนธรรมเรื่องอาหารโดยเฉพาะขนมหวานเข้ามาเผยแพร่ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และไม่เฉพาะขนมฝรั่งกุฎีจีนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงขนมกุดสลัง และขนมกวยตัส ซึ่งในปัจจุบันบ้านที่จะทำขนมฝรั่งกุฎีจีนเริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ จนเหลือเพียง 2 หลังเท่านั้น

หลวงพ่อโต (ซำปอกง) แห่งวัดกัลยาณมิตร

หลังกินขนมเพิ่มพลังกันแล้วสถานที่ต่อไปที่ฉันต้องเดินทางไปต่อ คือ ศาลเจ้าเกียนอันเกง เป็นศาลเจ้าของชาวจีนฮกเกี้ยน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ด้วยสถาปัตยกรรมจีนในสมัยราชวงศ์เชง เพื่อประดิษฐานองค์พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม

การได้มาที่ศาลเจ้าเกียนอันเกงทำให้ฉันรู้ว่าชาวจีนได้เข้ามามีบทบาทต่อประเทศไทยของเราตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ทำให้กุฎีจีนแห่งนี้มีความสำคัญต่อชาวกรุงธนฯ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวคนหลายเชื้อชาติเข้าไว้รวมกัน และสันนิษฐานว่ากุฎีจีนที่เรียกกันมานานนั้น ได้มาจากชาวจีนที่มาตั้งรกรากอาศัยอยู่ก่อนแล้ว

ห่างจากศาลเจ้าเกียนอันเกงไปไม่กี่เมตรฉันก็พบกับ วัดกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นพระอารามหลวงขนาดใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา การก่อสร้างจะคล้ายกับวัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา ที่มีพระขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์ พระขนาดใหญ่ที่ว่านั้น คือ "หลวงพ่อโต" หรือที่ชาวจีนเรียกว่า "ซำปอกง" หรือ "ซำปอฮุดกง" ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานนามพระองค์นี้ให้สอดคล้องกับพระประธานในวิหารหลวงวัดพนัญเชิงว่า "พระพุทธไตรรัตนนายก"

วัดกัลยาณมิตรแห่งนี้มีสถาปัตยกรรมที่มีส่วนผสมของความเป็นจีนและไทยเอาไว้อย่างลงตัว เพราะจะมีรูปปั้นเทพเจ้าองค์ต่างๆ ของทางประเทศจีนประดิษฐานอยู่ จึงไม่แปลกเลยถ้าเราไปวัดนี้แล้วจะเห็นคนจีนเดินเข้าออกวัดเพื่อมานมัสการหลวงพ่อโตอย่างคับคั่ง


ในย่านกุฎีจีนแห่งนี้นอกจากจะมีวัดของคนไทย โบสถ์ของฝรั่ง และศาลเจ้าของชาวจีนแล้ว ยังมีมัสยิดที่เป็นของมุสลิมอีกด้วย ชื่อว่า มัสยิดบางหลวง (กุฎีขาว) เป็นมัสยิดแห่งเดียวที่สร้างเป็นอาคารแบบโบสถ์ในพุทธศาสนา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานทางวัฒนธรรมของไทยและมุสลิม และอาจจะเรียกได้ว่าเป็นมัสยิดแห่งเดียวในโลกที่สร้างในลักษณะโบสถ์ของไทย ภายในมัสยิดจะปูพื้นด้วยหินอ่อน หน้าต่างแต่ละบานจะตกแต่งด้วยจานสีขาวที่เขียนบรรยายเกี่ยวกับคัมภีร์ทางศาสนาอิสลาม ความรู้สึกที่ฉันสัมผัสได้จากมัสยิดแห่งนี้ คือ ความมีน้ำใจของชาวมุสลิมที่ต้อนรับเราเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะต่างศาสนาก็ตาม

ที่มัสยิดบางหลวงนี้ฉันได้พบกับคุณลุงทำเนียบ แสงเงิน ที่ปรึกษาด้านประวัติศาสตร์มัสยิดต้นสน ซึ่งเล่าให้ฉันฟัง ชุมชนกุฎีจีนและกุฎีขาวมีความรักใคร่กลมเกลียวกันเป็นอย่างดี และเป็นอย่างนี้มาหลายร้อยปีแล้ว เพราะว่าชาวบ้านในบริเวณนี้จะเป็นเครือญาติกัน คนต่างศาสนาก็สามารถแต่งงานกันได้ จึงทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง อยู่กันอย่างสันติสุข พึ่งพาอาศัยกัน บ้านไหนมีงานก็จะไปช่วยกัน แต่ถ้ามีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาชาวมุสลิมก็จะไม่เข้าร่วม เนื่องชาวมุสลิมจะถือเรื่องนี้มาก

ลุงทำเนียบเล่าให้ฉันฟังต่ออีกว่า คนต่างศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ถ้าเราเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน และการศึกษาก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนเข้าใจกัน เราต้องศึกษาให้ถ่องแท้ ให้ตรงกัน จึงจะเกิดความเข้าใจร่วมกัน การศึกษาที่ว่านั้นไม่ใช่แต่ที่ห้องเรียนเท่านั้น ต้องศึกษาศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียบประเพณี และต้องยอมรับหรือรับเอาวัฒนธรรมของต่างศาสนามาบ้าง เพื่อมาปรับใช้กับศาสนาของเรา และให้ได้ประโยชน์สูงสุด ในอนาคตข้างหน้าชุมชน 2 ชุมชนนี้จะจัดกิจกรรมร่วมกัน คือ เปิดชุมชนเพื่อแสดงให้คนต่างชุมชนได้รู้จักขนบธรรมเนียมประเพณี และการสร้างชุมชนเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดี

แล้วฉันก็เดินออกจากมัสยิดบางหลวงด้วยใจที่เบิกบานอิ่มเอิบ เพราะได้รับรู้เรื่องราวที่ทำให้สุขใจ จากปากคำบอกเล่าของคนในชุมชน

สถานที่ต่อไปที่ฉันจะต้องไปดูและสัมผัสกับอีกอารยธรรม คือ วัดมอญ หรือวัดประดิษฐาราม วัดแห่งนี้เองเป็นจุดที่ฉันลงเรือก่อนจะล่องเรือไปในแม่น้ำเจ้าพระยา จุดที่สังเกตได้ว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดของชาวมอญ ก็คือเสาหงส์ที่ตั้งอยู่บริเวณริมรั้วของวัด ถ้าวัดไหนมีเสาหงส์ตั้งอยู่นั่นก็แสดงว่าวัดแห่งนั้นเป็นวัดมอญ และที่เด่นไม่แพ้กันอีกอย่าง คือ เจดีย์คู่ทรงมอญ ซึ่งจะประดิษฐานอยู่หน้าวัดใกล้ๆกับประตูวัด รูปร่างของเจดีย์คู่ทรงมอญนี้จะมีฐานเหลี่ยมและมีฉัตรอยู่ด้านบนสุดของเจดีย์ ในอดีตนั้นชาวมอญส่วนใหญ่จะได้รับเลือกให้เป็นฝีพายหลวง เพราะชาวมอญมีความสามารถทางด้านการพายเรือ

และวัดมอญก็เป็นวัดสุดท้ายที่ฉันได้มาศึกษาวัฒนธรรม การเดินทางอาจจะจบลงพร้อมกับพระอาทิตย์ที่ตกดินในวันนี้ แต่ความทรงจำและความอิ่มเอมใจยังคงไม่จบลงไปพร้อมกับพระอาทิตย์ เพราะความสุขและความประทับใจในวันนี้ยังคงอยู่ แต่ถ้าวันไหนมีเวลามากกว่านี้ และต้องการจะศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมต่างเชื้อชาติที่สามารถรวมกันอยู่อย่างสงบสุขได้ แน่นอนว่าฉันต้องเลือกมาที่นี่อีกครั้งแน่ๆ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ชุมชนกุฎีจีน ตั้งอยู่บนถนนเทศบาลสาย 1 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี มีรถเมล์สาย 3, 6, 9, 40, 42, 43, 56 ผ่านหน้าโรงเรียนศึกษานารี จากนั้นเดินเข้าซอยกุฎีจีน จะพบโรงเรียนซางตาครู้สศึกษาและโบสถ์ซางตาครูสอยู่ข้างกัน แล้วเดินลัดเลาะริมแม่น้ำเจ้าพระยาไปที่ศาลเจ้าเกียนอันเกง ต่อไปอีกไม่กี่ร้อยเมตรก็จะพบกับวัดกัลยาณมิตร มัสยิดบางหลวงย่านกุฎีขาว จากนั้นก็เดินข้ามถนนอิสรภาพ 35 ไปที่วัดมอญ

==============================================

เที่ยวฝั่งธนฯ ชมชุมชนสามัคคี…กุฎีจีน

@ ผู้จัดการออนไลน์ 22 มีนาคม 2548


โบสถ์ซางตาครูส โบสถ์ของนิกายโรมันคาทอลิกแห่งแรกในย่านฝั่งธนบุรี

หากเอ่ยถึงชุมชน “กุฎีจีน” ในย่านฝั่งธนฯ ภาพของขนมกุฎีจีนจะลอยเด่นหรามาในความคิดคำนึงของฉัน แต่ว่าอันที่จริงแล้ว หลังจากที่ฉันไปเดินซอกแซกสัมผัสชุมชนนี้มา ทำให้รู้ว่าชุมชนกุฎีจีนนับเป็นชุมชนที่มีของดีที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยทีเดียว

...............................................

“…กุฎีจีน หรือกะดีจีน เป็นย่านชุมชนชาวจีนเก่าแก่ที่อาศัยอยู่ริมน้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับปากคลองตลาด ซึ่งมีศาลเจ้าเกียนอันเกง เป็นที่เคารพสักการะของคนในชุมชนตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน

ร่องรอยทางประวัติศาสตร์ของชุมชนกุฎีจีนแห่งนี้ยังมีเรื่องให้เล่าขานอีกมากมาย โดยเฉพาะสัมพันธภาพภายใต้ความแตกต่างของเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมของคนในชุมชนที่ประกอบไปด้วยชาวจีน อินเดีย และยุโรป ที่อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์มาเป็นเวลากว่า 200 ปี แล้ว...”

ลวดลายที่สวยงามของกระจกสีที่ประดับอยู่บกรอบหน้าต่างของโบสถ์ซางตาครูส

จากคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ในชุมชนกุฎีจีน แสดงให้เห็นว่าบริเวณชุมชนกุฎีจีนนี้เป็นย่านชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแตก และสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้น ท่านก็ทรงรวบรวมผู้คนที่กระจัดกระจายให้มาอยู่ในราชธานี ซึ่งก็รวมไปถึงชาวต่างชาติเช่น จีน โปรตุเกส โดยท่านได้พระราชทานที่ดินเพื่อให้คนเหล่านี้ได้สร้างที่อยู่อาศัยขึ้นมา

ในบริเวณชุมชนกุฎีจีนนี้ก็เป็นที่หนึ่งที่พระเจ้าตากสินทรงพระราชทานที่ให้ชาวต่างชาติเข้ามาอยู่ จนกลายเป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติอีกแห่งหนึ่ง

ในวันที่ฉันไปเดินเที่ยวย่านกุฎีจีน สิ่งแรกที่ฉันได้เจอก็คือโบสถ์ซางตาครูส ซึ่งเป็นโบสถ์เก่าแก่ของย่านฝั่งธนฯ มีอายุเกือบจะร้อยปีแล้ว และถือเป็นวัดแห่งคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกแห่งแรกในย่านฝั่งธนบุรี บาทหลวงยาโกเบ กอรร์ ซึ่งเป็นเหมือนผู้นำกลุ่มชาวโปรตุเกสขณะนั้น ได้สร้างโบสถ์หลังแรกขึ้นในที่ดินพระราชทานแห่งนี้และให้ชื่อว่าโบสถ์ซางตาครูส

ศาลเจ้าเกียงอันเกง ที่มาของชื่อชุมชนกุฎีจีน

สำหรับโบสถ์ที่ฉันเห็นอยู่ตรงหน้านี้ เป็นหลังที่ 3 ที่สร้างขึ้นมาเมื่อประมาณ พ.ศ.2456 โดยบาทหลวงกูเกียลโม กิ๊น ดาครู้ส จนถึงปัจจุบันโบสถ์นี้ก็มีอายุ 92 ปีพอดี ตัวโบสถ์เป็นสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิคผสมกับเรเนอซองส์ ตัวอาคารเป็นแบบก่ออิฐฉาบปูนตกแต่งด้วยปูนปั้นเป็นลวดลายใบไม้สวยงาม ใครที่ผ่านไปผ่านมาในแม่น้ำเจ้าพระยาก็คงจะได้เคยเห็นกันบ้าง เพราะโบสถ์ตั้งอยู่ริมน้ำเจ้าพระยาพอดี

ส่วนภายในโบสถ์เป็นเหมือนห้องโถงใหญ่เพดานสูง มีแท่นสำหรับให้บาทหลวงยืนเทศน์ และมีรูปปั้นพระเยซูถูกตรึงกางเขนอยู่ด้านหลัง มีม้านั่งยาวเป็นแถวสำหรับให้คนมานั่งฟังเทศน์ ก็เหมือนกับที่เคยดูในหนังฝรั่งอยู่บ่อยๆ นั่นแหละ

พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต หรือหลวงพ่อซำปอกงแห่งวัดกัลยาณมิตร

แต่สิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างจะพิเศษก็คือกระจกสีที่ประดับอยู่ตามกรอบหน้าต่างและประตูทุกบาน ซึ่งลวดลายของกระจกก็คือเรื่องราวในช่วงชีวิตของพระเยซูนั่นเอง แม้ภายในโบสถ์จะมืดไปสักหน่อย แต่ฉันว่ามันยิ่งช่วยขับให้กระจกสีเหล่านี้ดูโดดเด่นสวยงามขึ้นมาอย่างมากเลยทีเดียว

บริเวณใกล้ๆ นี้ก็มีโรงเรียนที่ชื่อเหมือนกันกับโบสถ์ก็คือโรงเรียนซางตาครูสคอนแวนต์ มีอายุเก่าแก่รุ่นราวคราวเดียวกับตัวโบสถ์ และภายในโรงเรียนยังมีอาคารไม้สักเก่าแก่ชื่อว่าตึกยอเซฟ ซึ่งเคยเป็นสถานที่ศึกษาของนักเรียนมาเกือบ 90 ปีแล้ว โดยปีหน้านี้โรงเรียนก็จะมีอายุ 99 ปีพอดี ใครเป็นศิษย์เก่าก็อย่าลืมกลับไปเยี่ยมโรงเรียนบ้างล่ะ

ในชุมชนนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ ขนมฝรั่งกุฎีจีน ซึ่งเป็นขนมเก่าแก่โบราณกว่า 200 ปีมาแล้ว เจ้าของต้นตำรับก็มาจากชาวโปรตุเกสที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในชุมชนกุฎีจีนนี่เอง ปัจจุบันนี้เหลือบ้านที่ยังทำขนมฝรั่งกุฎีจีนนี้เพียง 2-3 เจ้าเท่านั้น

เมื่อฉันออกจากชุมชนชาวคริสต์บริเวณโบสถ์ซางตาครูสมา แล้วเดินเลียบแม่น้ำเจ้าพระยามาทางซ้ายมือ ใกล้ๆ กันนั้นก็คือ ศาลเจ้าเกียนอันเกง ศาลเจ้าของชุมชนชาวจีนที่มีองค์พระประธานเป็นเจ้าแม่กวนอิม ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวจีนในแถบนั้นมาก และสันนิษฐานกันว่า ศาลเจ้านี้เองที่เป็นที่มาของคำว่า “กุฎีจีน”

มิมบัรและมิหรอบ (แท่นแสดงธรรมและซุ้มที่ครอบ) ของมัสยิดบางหลวง
ลวดลายอ่อนช้อยแบบศิลปะไทย

ฉันพอจะสรุปความเป็นมาของศาลเจ้าเกียนอันเกงนี้ได้ว่า แต่ก่อนนั้น ชาวจีนที่ตามเสด็จพระเจ้าตากสินมาได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณนี้ และได้สร้างศาลเจ้าขึ้น แต่เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการย้ายพระนครมาอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวจีนเหล่านั้นจึงย้ายตามมาอยู่บริเวณตลาดน้อยและสำเพ็ง ศาลเจ้านั้นจึงถูกทิ้งร้าง จนเมื่อมีชาวจีนสองคน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของสกุลตันติเวชกุล และสกุลสิมะเสถียรได้มากราบไหว้ศาลเจ้าเก่า และเห็นว่าชำรุดทรุดโทรมมาก จึงได้รื้อศาลเก่าลง และสร้างศาลเจ้าเกียนอันเกงขึ้นมาใหม่ ซึ่งยังอยู่มาจนถึงปัจจุบัน

ห่างจากศาลเจ้าเกียนอันเกงไปไม่กี่เมตร ก็คือวัดกัลยาณมิตร ซึ่งมีหลวงพ่อโต หรือพระพุทธไตรรัตนนายก หรือเรียกแบบจีนว่าซำปอกง เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง วัดกัลยาณมิตรนี้สร้างขึ้นมาตั้งแต่พ.ศ.2368 โดยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) ได้อุทิศที่ดินของตนสร้างขึ้นเป็นวัด และได้น้อมเกล้าฯ ถวายแด่รัชกาลที่ 3 ซึ่งท่านก็ได้พระราชทานนามให้ว่า วัดกัลยาณมิตร และทรงสร้างพระวิหารหลวงและพระประธานสำหรับพระวิหารหลวง โดยทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นพระพุทธรูปใหญ่อยู่ริมแม่น้ำแบบเดียวกันกับที่วัดพนัญเชิง ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

มัสยิดบางหลวง มัสยิดทรงไทยแห่งแรกและแห่งเดียวของโลก

เท่าที่ฉันเดินผ่านมานี่ก็เป็นชุมชน 3 เชื้อชาติเข้าไปแล้ว แต่ยังไม่หมดแค่นั้น เพราะหากเดินไปทางด้านหลังวัดกัลยาณมิตร ลอดใต้สะพานอนุทินสวัสดิ์ไป ก็จะเจอชุมชนกุฎีขาว ชุมชนของชาวอิสลาม ซึ่งมีกุฎีขาว หรือมัสยิดบางหลวง เป็นศาสนสถานประจำชุมชน

มัสยิดที่นี่แปลกมากทีเดียว มองดูครั้งแรกฉันยังนึกว่าเป็นวัดของไทยเสียอีก แต่ดูไปดูมา รวมถึงได้เข้าไปชมด้านใน จึงได้รู้ว่านี่แหละ คือมัสยิดทรงไทยแห่งเดียวของโลกที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ภายในนั้นซึ่งแม้จะดูเป็นแบบไทยๆ แต่ก็ไม่ขัดกับหลักทางศาสนาอิสลาม นอกจากนั้นมัสยิดบางหลวงนี้ยังนับเป็นศาสนสถานที่กองการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร จัดให้เป็นเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภท Unseen Bangkok อีกด้วย

................................................

เป็นเวลาเย็นแล้ว ที่ฉันกำลังเดินทางกลับบ้านหลังจากได้มาเยี่ยมชมชุมชนกุฎีจีนในพื้นที่ไม่กี่ตารางกิโลเมตร แต่ประกอบไปด้วย วัด โบสถ์ ศาลเจ้า และมัสยิด ซึ่งเป็นศาสนสถานของแต่ละชาติที่แสดงให้เห็นว่า แม้จะมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกันกว่า 200 ปี แต่ว่ากลับอยู่ร่วมกันอย่างสันติ รักใคร่สามัคคีกลมเกลียว นับเป็นหนึ่งในชุมชนสามัคคี ที่หากใครมีเวลาว่างน่าจะลองไปสัมผัสกับบรรยากาศชุมชนสามัคคีที่ชุมชนกุฎีจีนแห่งนี้ดูบ้าง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *


ชุมชนกุฎีจีน ตั้งอยู่บนถนนเทศบาลสาย 1 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี มีรถเมล์สาย 56,9,43,3,6,40,42 ผ่านหน้าโรงเรียนศึกษานารี จากนั้นเดินเข้าซอยกุฎีจีน จะพบโรงเรียนซางตาครูสศึกษาและโบสถ์ซางตาครูสอยู่ข้างกัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร โทร.0-2225-7612 ถึง 4

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การบินไทยปิดบินตรง กรุงเทพฯ-นิวยอร์ก

มติคณะกรรมการบริษัทฯ ปี 2551
............
วันนี้ (6 มิถุนายน 2551) ณ สำนักงานใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ โดยมี นายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ ประธานกรรมการบริษัทฯ เป็นประธานในการประชุม โดยมีวาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

• คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติให้บริษัทฯ ยกเลิกเส้นทางบินกรุงเทพฯ - นิวยอร์ก มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 เนื่องจากเป็นมาตรการปรับแผน การบินเพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย อันมีผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง

• คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติให้บริษัทฯ ปรับ-ลด ความถี่เส้นทางบินตรง กรุงเทพฯ-ลอสแองเจลิส จาก 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เหลือ 5 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ให้มีผลตั้งแต่เดือน 1 กรกฎาคม 2551 สำหรับในตารางบินฤดูหนาวนี้ จะปรับเปลี่ยนเที่ยวบินดังกล่าว จากเที่ยวบินตรงเป็นแบบบินผ่านจุดบินอื่น โดยจะทำการบินเป็น เส้นทาง กรุงเทพฯ-โอซาก้า-ลอสแองเจลิส ด้วย เครื่องแบบโบอิ้ง 777-200 อีอาร์

การปรับแผนการบินในครั้งนี้ จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินในปัจจุบัน ทั้งนี้บริษัทฯ จะพิจารณาเส้นทางบินนี้อีกครั้ง หากสถานการณ์ราคาน้ำมันคลี่คลาย
....................
Thaiairways.Com

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2551

The Three Queens Meet in New York

สามควีนเจอกัน
โดย มติชน วัน อังคาร ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 09:51 น.

นิวยอร์ก - เรือสำราญที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นเรือที่ชาวโลกรู้จักกันดีมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วยเรือควีน แมรี ที่ 2, เรือควีน อลิซาเบธ ที่ 2 และเรือควีน วิกตอเรีย ได้เดินทางออกจากท่าเรือในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาพร้อมกัน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกและเป็นครั้งสุดท้ายที่เรือสำราญ 3 ลำดังกล่าวมาชุมนุมกันพร้อมหน้าพร้อมตา 

ทั้งนี้ เรือควีน วิกตอเรีย เพิ่งเปิดให้บริการเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมานี้เอง ส่วนเรือควีน อลิซาเบธที่ 2 กำลังจะถูกปลดประจำการในเดือนพฤศจิกายนนี้ และกำลังจะถูกนำไปใช้เป็นโรงแรมลอยน้ำในเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยช่วงที่เรือทั้ง 3 ลำ แล่นผ่านรูปปั้นเทพีเสรีภาพในนิวยอร์กเมื่อค่ำวันที่ 13 มกราคม มีการจุดดอกไหม้ไฟเหนือเรือสำราญทั้ง 3 ลำที่แล่นผ่านพร้อมๆ กันด้วย (เอเอฟพี)



13 มกราคม 2551



Clip From Youtube

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2551

คำถาม - คำตอบ เกี่ยวกับเอกสารการเดินทาง

การตรวจลงตรา (Visa)
ถาม : visa คืออะไรครับ คนไทยต้องใช้หรือไม่ครับ
ตอบ : เวลาที่จะเดินทางไปต่างประเทศ สิ่งที่จำเป็นต้องมีก็คือ (1) หนังสือเดินทาง (2) visa เข้าประเทศนั้นในหนังสือ เดินทาง (3) ตั๋วเครื่องบิน (4) เงินสำหรับใช้จ่าย เป็นเงินสกุลท้องถิ่นหรือเงินสกุลหลักที่ประเทศนั้นๆ ยอมรับค่ะ

สรุปอย่างง่ายๆ visa คือการขออนุญาตเข้าประเทศอื่นค่ะ คนไทย ต้องมี visa ก่อนที่จะเดินทางไปประเทศต่างๆ ค่ะ

ถาม : ทราบมาว่ามีบางประเทศที่คนไทยไม่ต้องขอ visa ก่อนเข้าประเทศของเขา ใช่ไหมครับ
ตอบ : ถูกต้องค่ะ มีหลายประเทศที่รัฐบาลเราไปทำความตกลงเอาไว้เพื่อให้เดิน ทางไปมากันได้สะดวก และมีอีกหลายประเทศที่เขาอำนวย ความสะดวกให้คนไทยเป็นพิเศษ ปัจจุบัน (เมษายน 2551) มีอยู่ 19 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ที่ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทยสามารถเดินทางเข้าไป ท่องเที่ยวได้โดยไม่ต้องใช้ visa ได้แก่
1. อาร์เจนตินา (อยู่ได้ 90 วัน)
2. บาห์เรน (อยู่ได้ 14 วัน)
3. บราซิล (90 วัน)
4. บรูไน (14 วัน)
5. ชิลี (90 วัน)
6. ฮ่องกง (30 วัน)
7. อินโดนีเซีย (30 วัน)
8. เกาหลีใต้ (90 วัน)
9. ลาว (30 วัน)
10. มาเก๊า (30 วัน)
11. มองโกเลีย (30 วัน)
12. มาเลเซีย (30 วัน)
13. มัลดีฟส์ (30 วัน)
14. เปรู (90 วัน)
15. ฟิลิปปินส์ (21 วัน)
16. รัสเซีย (30 วัน)
17. สิงคโปร์ (30 วัน)
18. แอฟริกาใต้ (30 วัน)
19. เวียดนาม (30 วัน)

สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ ปัจจุบัน รัฐบาลไทยก็มีความตกลงกับ 42 ประเทศ ให้สามารถเดินทางไปราชการได้โดยไม่ต้องใช้ visa ราย ชื่อประเทศดูได้ใน www.consular.go.th ในหน้าของกองตรวจลงตราฯ ค่ะ

ถาม : ตรวจดูรายชื่อประเทศแล้ว การไปหลายๆ ประเทศยังต้องขอ visa ก่อน เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญีปุ่น อังกฤษ จะต้องทำอย่างไรเพื่อจะได้ visa ครับ
ตอบ : ที่ที่เราจะไปขอ visa ก็คือสถานทูตของประเทศที่เราจะไป เช่น จะไปสหรัฐฯ ก็ต้องขอ visa ที่สถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงเทพฯ หรือสถานกงสุลสหรัฐที่เชียงใหม่ เป็นต้น ต้อง ใช้เอกสารหลักฐานอะไรบ้าง ก็ต้องสอบถามกับสถานทูตของประเทศนั้นๆ ค่ะ

ถาม : ไปเที่ยวอย่างเดียวกับไปทำอย่างอื่น visa แตก ต่างกันไหมครับ
ตอบ : วัตถุ ประสงค์ของการเดินทางก็เป็นปัจจัยสำคัญค่ะ เช่น การไปเที่ยวกับการไปเรียน ก็ต้องใช้ visa คนละประเภท และเอกสารหลักฐานในการขอก็ไม่เหมือนกัน ค่าธรรมเนียมไม่เท่ากัน และระยะเวลา ที่จะได้รับอนุญาตให้อยู่ใน ประเทศของเขาก็แตกต่างกันด้วยค่ะ ต้องขอให้จำไว้เสมอนะคะว่า การไปอยู่ในประเทศอื่นนั้น หากไม่ได้พำนักอยู่โดยมีวัตถุประสงค์ แบบเดียวกับที่ตอนที่ขอ visa ไว้ เป็นการผิดกฎหมายนะคะ เช่น ขอ visa ไปเที่ยว แต่จริงๆ ไปทำงาน

ถาม : ผมเป็นนักธุรกิจ ต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยมาก โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้านและจีน มีคำแนะนำไหมครับ
ตอบ : ไทยเป็นสมาชิกของ APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) ซึ่งในกรอบความร่วมมือนี้ ก็มีการทำความตกลงให้นักธุรกิจเดินทางไปมาภาย ใน APEC ได้ โดยสะดวกค่ะ นักธุรกิจไทยสามารถยื่นคำร้องขอ มี ABTC (APEC Business Travel Card) ซึ่งจะอำนวยความ สะดวกในการเดินทางไปประกอบ ธุรกิจในอีก 17 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ คือ ออสเตรเลีย บรูไน ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี สิงคโปร์ ไต้หวัน และเวียดนาม โดยไม่ต้องไปขอ visa กับสถานทูตแต่ละประเทศ
เลยค่ะ

นักธุรกิจที่สนใจสามารถยื่นคำร้องและสอบ ถามรายละเอียดได้จากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) ได้ที่หมายเลข 0-2225-5474 หรือ 0-2622-1111 ต่อ 649 ค่ะ

ถาม : เพื่อนผมบอกว่า ถ้าไปยุโรป ขอ visa ครั้งเดียว เข้าได้หลายประเทศ
ตอบ : ประเทศ ในยุโรป จำนวน 24 ประเทศ มีการทำความตกลงกันโดยการออก visa พิเศษ ที่มีชื่อว่า “Schengen Visa” เพื่อ อำนวยความสะดวกให้คนประเทศต่างๆ ค่ะ คนไทยก็มีสิทธิ ขอ visa นี้ค่ะ ผู้ที่มี Schengen Visa สามารถเดินทางเข้าประเทศเหล่านี้โดยไม่ต้องขอ visa กับทุกประเทศอีก : ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอซ์แลนด์ อิตาลี กรีซ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน เช็ค เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิธัวเนีย ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวาเกีย

คุณจะสามารถพำนักอยู่ได้รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 90 วัน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ขอทราบรายละเอียดและยื่นคำ ร้องขอ Schengen Visa ได้ที่สถานทูตประเทศดังกล่าวค่ะ ทั้งนี้ การยื่นขอ Schengen Visa จะต้องเป็นการขอที่สถานทูต ของประเทศที่คุณจะไปพำนักอยู่นานที่สุด แต่หากไม่สามารถ ระบุได้ชัดเจน ก็ต้องไปขอที่สถานทูตของประเทศแรกที่จะเดินทางเข้าค่ะ

ถาม : ผมถือหนังสือเดินทางราชการ กำลังจะไปประชุมที่กรุงเวียนนา โดยจะไปเปลี่ยนเครื่อง ที่สนามบินกรุงเอเธนส์ ทราบมาว่าถ้าเดินทางผ่านกรีซเพื่อเปลี่ยนเครื่องอย่างเดียว ไม่ต้องขอ visa และไทยก็มีความตกลงกับออสเตรียในการยกเว้นการตรวจลงตรา หนังสือเดินทางทูตและ ราชการ ดังนั้น การเดินทางของผมครั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องขอ visa เลยใช่ไหมครับ?
ตอบ : กรณีนี้ ต้องขอ Schengen Visa ก่อนค่ะ แม้ว่าคุณถือหนังสือเดินทางราชการก็ตาม ทางการกรีซแจ้ง ว่า ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยทุกประเภท หากเดินทางผ่านกรีซไปประเทศ Schengen อื่น โดยกรีซเป็นประเทศแรกของ Schengen ที่เดินทางเข้า บุคคลผู้นั้นจะต้องขอ Schengen Visa ก่อนการเดินทาง ไม่ว่าประเทศ Schengen ที่เดินทางเข้าต่อจากนั้น จะมีความตกลง ในการยกเว้นการตรวจลงตรากับไทยหรือไม่ก็ ตามค่ะ ในขณะ เดียวกัน หากเป็นการเดินทางผ่านกรีซเพื่อขึ้นเครื่องบินต่อไปประเทศอื่นที่ไม่ใช่ Schengen โดยไม่ออกไปนอกท่าอากาศยานกรุง เอเธนส์ ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยทุกประเภทไม่จำ เป็นต้องขอ visa เข้า กรีซก่อนการเดินทางค่ะ

ประเทศ Schengen มี 24 ประเทศ : ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอซ์แลนด์ อิตาลี กรีซ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน เช็ค เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิธัวเนีย ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวาเกีย
Ø ประเทศ Schengen ที่มีความตกลง ยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง ทูตและราชการกับไทย 10 ประเทศ : ออสเตรีย เบลเยียม เยอรมนี อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ เช็ค ฮังการี โปแลนด์ และสโลวาเกีย

Ø ประเทศ Schengen ที่ประกาศยกเว้น การตรวจลงตราหนังสือ เดินทางทูต และราชการให้ไทยฝ่ายเดียว 4 ประเทศ : เดนมาร์ก ฟินแลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน

Ø ประเทศ Schengen ที่ผู้ถือหนังสือทูตและราชการของไทยต้องขอรับการ ตรวจ ลงตรา 10 ประเทศ : ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ กรีซ โปรตุเกส สเปน เอสโตเนีย ลัต เวีย ลิธัวเนีย มอลตา และสโลวีเนีย

ถาม : กองตรวจลงตราฯ ที่กรมการกงสุล มีหน้าที่อะไรเกี่ยวกับ visa ครับ
ตอบ : หน้าที่หลักของกองตรวจลงตราฯ คือการดูแลการออก visa ของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลของไทยในต่างประเทศสำหรับ คนต่างชาติที่จะเดินทางเข้าเมืองไทยค่ะ

นอกจากนี้ กองตรวจลงตราฯ ก็มีหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้คนต่างชาติที่เป็นนักการทูต หรือเจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศที่ พำนักอยู่ในเมืองไทย เดินทางกลับเข้าเมืองไทยได้อีก (Re-entry)

หากคนต่างชาติทั่วไปที่อยู่ในเมืองไทย ต้องการติดต่อเรื่อง visa ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเปลี่ยนประเภท visa หรือการขอขยายเวลา การพำนักในเมืองไทย ต้องติดต่อที่สำนักงาน ต.ม. ค่ะ โทรศัพท์ ไปสอบถามก่อนได้ค่ะที่หมายเลข 0-2287-3101 ถึง 10

อนึ่ง กองตรวจลงตราฯ ก็สามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการขอ visa ไปต่างประเทศของคนไทย ได้ค่ะ แต่ข้อมูลในรายละเอียดจะต้องไปสอบถามจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ ในเมืองไทย เพราะเป็นอำนาจของแต่ละประเทศ ในการออก visa ให้คนต่างชาติเข้าประเทศของเขา

ถาม : ถ้าอย่างนั้น คนต่างชาติที่จะเข้ามาในเมืองไทย ก็ต้องขอ visa ก่อนใช่ไหมครับ
ตอบ : ใช่แล้วค่ะ คน ต่างชาติที่จะเข้ามาในเมืองไทยก็ต้องขอ visa ที่ สถานทูตหรือสถานกงสุลของไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศนั้นๆ ก่อน แต่ ก็มีหลายประเทศค่ะที่สามารถเข้าเมืองไทยได้โดยไม่ต้องขอ visa หรือขอ visa ที่สนามบินก็ได้ สามารถตรวจสอบรายชื่อประเทศดังกล่าวได้ จาก www.consular.go.th หรือ www.mfa.go.th นะคะ

ถาม : เพื่อนผมเป็นคนนิวซีแลนด์มีธุรกิจส่วนตัวอยู่ที่นิวซีแลนด์ ชอบเมืองไทยมากเลยเดินทางเข้ามาเที่ยวบ่อย เพราะไม่ต้องใช้ visa ด้วย บางครั้ง ใน 1 ปี เดินทางเข้า-ออกเมืองไทยบ่อยครั้งมากจนนับได้ว่าอยู่ในเมืองไทยมากกว่าอยู่ ในนิวซีแลนด์เสียอีก แต่ตอนนี้ ทราบว่า ต.ม.มี ระเบียบใหม่เกี่ยวกับระยะเวลาที่อนุญาตให้คนต่างชาติพำนักอยู่หากเข้ามาโดย ไม่มี visa ใช่ ไหมครับ?
ตอบ : ถูก ต้องค่ะ เพื่อไม่ให้คนต่างชาติจำนวนหนึ่งอาศัยช่องทางในการได้รับการยกเว้น visa เดินทางเข้าออกหลายครั้งเพื่อลักลอบทำงานในเมือง ไทยอย่างผิดกฎหมาย สำนักงาน ต.ม. จึงออกมาตรการป้องกันไว้ ปัจจุบัน คนต่างชาติ 42 ประเทศ รวมถึงนิวซีแลนด์ สามารถเดินทางเข้าประเทศ ไทยเพื่อการท่องเที่ยวโดยได้ รับการยกเว้น visa (เรียกว่า ผ. 30) ซึ่งเจ้าหน้าที่ ต.ม. จะอนุญาต ให้อยู่ได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน และรวมแล้วต้องไม่เกิน 90 วันภายใน 6 เดือนนับจากวันที่เดินทางเข้าครั้งแรกค่ะ

ในกรณีอย่างเพื่อนของคุณนี้ ถ้าประสงค์จะท่องเที่ยวระยะยาวจริงๆ ขอแนะนำให้ขอ visa นักท่องเที่ยว จากสถานทูตไทยที่กรุงเวลลิงตัน หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ที่เมืองโอ๊คแลนด์ ก่อนที่จะเดินทางเข้าเมืองไทย เพราะจะได้รับอนุญาตให้อยู่ได้นานกว่าการเข้ามาโดยไม่มี visa ค่ะ

ถาม : อาจารย์ของผมเป็นคนญี่ปุ่น เข้ามาเที่ยวเมืองไทยโดยได้รับการยกเว้น visa ได้รับอนุญาตจาก ต.ม. ให้อยู่ได้ 30 วัน สัปดาห์ หน้าก็จะครบกำหนดแล้ว แต่บังเอิญว่า ท่านประสบอุบัติเหตุเล็กน้อย ต้องพักรักษาตัวอีกระยะหนึ่งก่อนจะเดินทางกลับญี่ปุ่นได้ทำอย่างไรดีครับ
ตอบ : ขอแนะนำให้อาจารย์ของคุณขอใบรับรอง แพทย์ไปแสดงกับสำนักงาน ต.ม. ที่ไหนก็ได้ค่ะ แต่ต้องดำเนินการก่อนที่จะครบ 30 วันนะคะ สำนักงาน ต.ม. จะพิจารณาอนุญาตให้อยู่ต่อได้ ตามความจำเป็นค่ะ

การที่คนต่างชาติอยู่เกินกำหนด โดยที่ไม่ขออนุญาตก่อน เมื่อเดินทางออกจากเมืองไทย จะถูกปรับตามจำนวนวันที่อยู่เกินกำหนดค่ะ (ค่าปรับวันละ 500 บาท หรือรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000 บาท)

ถาม : ผมทำธุรกิจส่งออก กำลังขยายกิจการ อยากจะจ้างคนจีนไว้ช่วยทำตลาดจีนควรทำอย่างไรบ้างครับ
ตอบ : ขอแนะนำให้ปรึกษากรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานก่อนค่ะ เพราะมีกฎหมายและระเบียบต่างๆ กำหนดไว้สำหรับการจ้างคนต่างชาติ (www.doe.go.th) สิ่งที่จำเป็นสำหรับนายจ้างก็คือการยื่นขอใบอนุญาตทำงาน (work permit หรือ ต.ท. 2) ให้คนต่างชาติ นั้นๆ ขอแนะนำให้คุณยื่นขอใบอนุญาตทำงานล่วงหน้า (แบบฟอร์ม ต.ท. 3) หากกรมการจัดหางานพิจารณาแล้วเห็นควร อนุมัติ ก็จะออกหนังสือรับรองให้ ซึ่งคุณก็สามารถ

ส่งเอกสารที่ว่านี้และเอกสารประกอบคำร้องต่างๆ ที่คุณสามารถตรวจสอบได้จาก www.mfa.go.th หรือ www.consular.go.th ให้คนต่างชาตินั้นไปยื่นขอ Non-Immigrant visa ที่ สถานทูตหรือสถานกงสุลของไทย ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทยค่ะ

ถาม : เพื่อนผมเป็นคนอินเดีย มาเที่ยวเมืองไทยแล้วติดใจครับ อยากจะอยู่ทำงานที่นี่มีคำแนะนำไหมครับ
ตอบ : ถ้าอยากจะทำงานในเมืองไทย ก็ต้องมีนายจ้างก่อนนะคะ หน่วยงานที่อนุญาตให้คน ต่างชาติทำ งานในเมืองไทยได้ก็คือกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ส่วน เรื่องการอนุญาตให้พำนัก
อยู่ในเมืองไทยเป็นอำนาจตามกฎหมายของ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

ในกรณีนี้ หากเพื่อนของคุณมีนายจ้างแล้ว ก็ควรจะกลับไปขอ visa ทำงาน (เรียกชื่อทางการว่าNon-immigrant “B” visa) จาก สถานทูตหรือสถานกงสุลของไทยในอินเดีย โดยมีเอกสารรับรองต่างๆ จากนายจ้างไปแสดง หรือหากให้นายจ้างยื่นขอใบอนุญาตทำงานให้ล่วงหน้า

(แบบฟอร์ม ต.ท. 3) ก็จะยิ่งทำให้ขอ visa ได้ง่ายมากขึ้นค่ะ และเมื่อเข้ามาแล้ว ก็ไปขอรับใบอนุญาตทำงาน จากนั้น ไปยื่นคำร้องขออนุญาตอยู่ต่อกับสำนักงาน ต.ม. ก่อนที่จะครบกำหนด 90 วันค่ะ

ถ้าเพื่อนของคุณอยู่ต่อในเมืองไทยและทำงานโดยไม่มี visa ที่ถูกต้อง และไม่มีใบอนุญาตทำงาน ถือเป็นการผิดกฎหมายนะคะ อาจถูกปรับและเนรเทศกลับประเทศได้

ถาม : ผมมีแฟนเป็นคนฮ่องกง ตอนนี้อยู่ที่ฮ่องกง อยากจะแต่งงานและพาเธอมาอยู่ ด้วยกันที่ เมืองไทย ต้องทำอะไรบ้างครับ
ตอบ : ก่อนอื่น ต้องจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนค่ะ สามารถเลือกจดทะเบียนตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายฮ่องกงก็ได้ หลังจากนั้น ก็นำหลักฐานการจดทะเบียนสมรส
ไปยื่นขอ visa คู่สมรสได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ของไทยในฮ่องกง (เรียกว่า Non-immigrant “O”)

เมื่อได้ visa แล้ว ก็สามารถอยู่ในเมืองไทยระยะยาวได้ แต่ต้องอย่าลืมไปขอต่ออายุการพำนัก ในเมืองไทยกับสำนักงาน ต.ม. แห่งไหนก็ได้เป็นประจำนะคะ

เรื่องการจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ สามารถขอคำแนะนำจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล ได้ด้วยค่ะ

ถาม : ดิฉันแต่งงานกับคนเยอรมนี จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเยอรมนีแล้วตอนนี้เราอยู่ด้วยกันที่แฟรงก์เฟิร์ต ดิฉัน เคยพาเขามาเที่ยวเมืองไทยหลายครั้งแล้ว โดย ไม่ได้ใช้ visa แต่ก็อยู่ได้ไม่นาน อยาก จะพาเขามาอยู่ระยะยาว ต้องทำอย่างไรบ้างคะ
ตอบ : สามีของคุณสามารถยื่นขอ Non-Immigrant “O” Visa ในฐานะคู่สมรสของคนไทยได้ ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ตค่ะ ในการขอ visa นั้น ก็ต้องนำทะเบียนสมรสและหลักฐานไทยของคุณไปแสดงด้วย เมื่อสามีของคุณได้รับ visa แล้ว ก็สามารถเดินทางเข้าเมืองไทย และจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในครั้งแรกไม่เกิน 90 วัน หลัง จากนั้น ก็สามารถขออยู่ต่อที่สำนักงาน ต.ม. แห่งไหนก็ได้ โดยจะได้รับอนุญาตครั้งละไม่เกิน 1 ปีค่ะ

ถาม : ขอความกระจ่างอีกนิดหนึ่งครับ แปลว่า ถ้าคนต่างชาติเข้ามาอยู่ในเมืองไทยแล้วสถานะเปลี่ยนไป เช่น แต่งงานกับคนไทย หรือเปลี่ยนจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างอื่น ต้องติดต่อเพื่อขออนุญาตกับสำนักงาน ต.ม. ใช่ไหมครับ
ตอบ : ถูก ต้องค่ะ ต.ม. จะพิจารณาตามเอกสารและความจำเป็น ในบางกรณี อาจได้รับคำแนะนำให้กลับไปประเทศของตนเพื่อขอ visa ที่ถูกต้องเข้ามา จะได้ไม่ประสบปัญหาในอนาคตค่ะ

เอกสาร เดินทางคนต่างด้าว (Travel Document for Aliens หรือ TD) และเรื่องอื่นๆ

ถาม : เอกสาร เดินทางคนต่างด้าวคืออะไรครับ ต่างจากหนังสือเดิน ทางอย่างไรครับ

ตอบ : หนังสือเดินทางเป็นเอกสารการเดินทางสำหรับผู้ที่มีสัญชาติไทยค่ะ ส่วนคนต่างด้าว

ที่พำนักอยู่ในเมืองไทย มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ที่ออกให้โดย ต.ม. แต่ไม่สามารถขอหนังสือเดินทาง

จากประเทศที่ตนเคยมีสัญชาติเดิม สามารถขอเอกสารเดินทางคนต่างด้าว (TD)

ซึ่งมีอายุการใช้งาน 1 ปี และสามารถต่ออายุ ได้ที่กองตรวจลงตราฯ เพื่อใช้เดินทาง

ไปต่างประเทศชั่วคราวได้ค่ะ

นอกจากคนต่างด้าวที่มีใบถิ่นที่อยู่แล้ว บุคคล ไร้สัญชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย

และคนต่างด้าวทีได้รับถิ่นที่อยู่ถาวรภายใต้โครงการลงทุนเป็นกรณี พิเศษ 10 ล้านบาท

ก็มีสิทธิยื่นขอ TD ได้เช่นกันค่ะ

เอกสารประกอบต่างๆ ในการขอ TD ปรากฎใน www.consular.go.th หรือ www.mfa.go.th ค่ะ


ถาม : พอได้รับ TD แล้วต้องทำอะไรบ้างครับ

ตอบ : อย่างแรกที่ต้องทำคือไปยื่นคำร้องขอ Re-entry Permit จากสำนักงาน ต.ม. ค่ะ

สำนักงาน ต.ม. จะออก Re-entry Permit ให้โดยมี อายุเท่ากับ TD จากนั้น ก็นำ TD ไปขอ visa

เข้าประเทศที่คุณจะเดินทางไปจากสถานทูต ของประเทศนั้นๆ ค่ะ


ถาม : คุณแม่ของผมเป็นคนต่างด้าว แต่ตอนนี้มีหนังสือเดินทางจีนอยู่ด้วย จะขอ TD ได้ไหมครับ

ตอบ : กรมการกงสุลไม่สามารถออก TD ให้กับบุคคล ที่มีหนังสือเดินทางของประเทศอื่นค่ะ

ในกรณีเช่นนี้ คุณแม่ของคุณสามารถใช้หนังสือเดินทางจีนเดินทางออกจากเมืองไทยได้ค่ะ

แต่ควรปรึกษากับ ต.ม. ก่อนล่วงหน้าให้แน่ใจว่าต้องดำเนินการอะไรหรือไม่ถึงจะสามารถเดินทาง

กลับเข้ามาเมืองไทยได้อย่างไม่มีปัญหา


ถาม : คุณพ่อผมเป็นคนต่างด้าว อยากให้ท่านได้รับสัญชาติไทย จะได้เปลี่ยนจากถือ TD

เป็น หนังสือเดินทางไทย ต้องทำ อย่างไรบ้างครับ

ตอบ : การได้สัญชาติไทยอยู่ในอำนาจการพิจารณาของกระทรวงมหาดไทยค่ะ คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่

ในเมืองไทยและประสงค์จะได้สัญชาติไทย ต้องไปยื่นคำร้องขอที่กองตำรวจสันติบาล

สามารถขอคำแนะนำในเบื้องต้นได้ที่กอง สัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุลค่ะ


ถาม : สามารถ ขอต่ออายุ TD ในต่างประเทศได้ ไหมครับ คุณลุงของผมเป็นคนต่างด้าว

ใช้ TD เดินทางไปเยี่ยมญาติที่เกาหลีใต้ แล้วไปล้มป่วยอยู่ที่นั่น เกรงว่า TD จะหมดอายุ

เสีย ก่อนที่ท่านจะหายป่วยและเดินทางกลับได้

ตอบ : ในหลักการแล้ว สถานทูตสถานกงสุลใหญ่ไม่สามารถต่ออายุ TD ให้ได้ค่ะ หากผู้ที่ถือ TD

ไม่เดินทางกลับประเทศไทยระหว่างที่ TD และ Re-entry Permit ยังมีอายุอยู่

สถานะของคนต่างด้าวที่ได้รับใบถิ่นที่ อยู่ก็จะได้รับผลกระทบไปด้วยนะคะ

หากเป็นกรณีที่สุดวิสัยจริงๆ เช่น เจ็บป่วยในต่างประเทศ ขอให้ติดต่อสถานทูต/สถานกงสุล ใหญ่ของไทยที่อยู่ใกล้ที่สุด พร้อมแสดงหลักฐานประจำตัวต่างๆ รวมถึงใบรับรองแพทย์ค่ะ

และสถานทูต/สถานกงสุลใหญ่จะหารือกับกอง ตรวจลงตราฯ กรมการกงสุล เพื่อช่วยหาทางออกให้ต่อไปค่ะ


ถาม : นอกจากหนังสือเดินทางและ เอกสารเดินทางคนต่างด้าวแล้ว ผมเคยได้ยินว่า

มีเอกสารที่เรียกว่า Emergency Certificate ด้วย คืออะไรครับ

ตอบ : Emergency Certificate หรือ EC คือเอกสารการเดินทางที่กองตรวจลง ตราฯ กรมการกงสุล

ออกให้กับคนต่างชาติในการเดินทางออกจากเมืองไทยแบบฉุกเฉินค่ะ กลุ่มคนต่างชาติที่มีสิทธิ

ขอ EC เป็นคนกลุ่มพิเศษที่ไม่สามารถยื่นขอหนังสือเดินทางของประเทศใดๆ ในเมืองไทยได้

เช่น (1) คนต่างชาติที่ทำหนังสือเดินทางหาย และไม่มีสถานทูตของตนตั้งอยู่ในเมืองไทย

(2) บุตรของคนต่างชาติที่เกิดในเมืองไทย แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย และไม่มีสถานทูต

ของตนตั้งอยู่ใน เมืองไทย (3) เด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยที่อยู่ในความดูแลของกรมพัฒนาสังคม

และสวัสดิการ (4) คนต่างชาติที่ลี้ภัยทางการเมืองมาอยู่ในเมืองไทย

ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ ลงวันที่ในเอกสาร April 2008

หนังสือเดินทาง

วิวัฒนาการของหนังสือเดินทางไทย
หนังสือเดินทางคือ เอกสารสำคัญประจำตัวที่รัฐบาลประเทศหนึ่งออกให้แก่พลเมืองหรือคนชาติของตน เพื่อใช้แสดงตนในการเดินทางไปต่างประเทศ ในทางปฏิบัติ ประเทศเจ้าของหนังสือเดินทางจะร้องขอให้ประเทศอื่นๆ ให้ความสะดวก ความปลอดภัย หรือให้ความช่วยเหลือ ความคุ้มครองทางกฎหมายขณะที่พลเมืองของตนอยู่ในประเทศนั้นๆ หนังสือเดินทางต้องได้รับการประทับการตรวจลงตราหรือวีซ่าจากหน่วยงานของประเทศที่จะเดินทางไปเยือน เว้นแต่จะมีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างประเทศ

ในสมัยโบราณ การเดินทางระหว่างประเทศมีความยากลำบากและต้องใช้ระยะเวลายาวนาน ระเบียบกฏเกณฑ์การตรวจตราคนเดินทางเข้าออกนอกประเทศยังไม่มีเช่นทุกวันนี้ การเดินทางไปต่างบ้านต่างเมืองยังจำกัดขอบเขตอยู่กับดินแดนที่อยู่ใกล้ชิดกัน บุคคลที่จะเดินทางติดต่อกับต่างประเทศยังอยู่ในขอบเขตจำกัดเฉพาะชนชั้นปกครอง ขุนนาง พ่อค้า และนักสอนศาสนา พลเมืองของประเทศต่างๆ ยังไม่มีการเดินทางไปต่างประเทศมากนัก

การเดินทางของกลุ่มบุคคลดังกล่าวไปต่างรัฐ ส่วนใหญ่จะใช้หนังสือหรือสาส์นของกษัตริย์หรือผู้ปกครองของรัฐตนไปถึงกษัตริย์หรือผู้ปกครองของอีกรัฐหนึ่ง ซึ่งจะระบุถึงวัตถุประสงค์ของการเดินทางของคณะบุคคลของรัฐผู้ส่ง และขอให้รัฐผู้รับให้ความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ต่อคณะผู้เดินทาง ดังจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์ของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยมีการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงแต่งตั้งคณะราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์นไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสเป็นต้น

ประวัติการใช้หนังสือเดินทางในสมัยก่อนมีหลักฐานปรากฏในลักษณะต่างๆ อาทิ ในรูปของตราหรือสัญลักษณ์ และต่อมาได้พัฒนามาเป็นเอกสารและเล่มหนังสือตามลำดับ โดยผู้ปกครองออกให้เพื่อคุ้มครองคนในปกครองที่เดินทางไปต่างแดน แต่ก็ยังไม่ใช่สิ่งบังคับใช้ในการเดินทาง เมื่อโลกมีความก้าวหน้าในด้านการคมนาคม การติดต่อสื่อสาร การท่องเที่ยว และพัฒนาการของเหตุการณ์ความร่วมมือและความขัดแย้งระหว่างประเทศได้มีส่วนทำให้ประเทศต่างๆ สร้างระเบียบกฏเกณฑ์ควบคุมการเดินทางเข้าออกประเทศของพลเมืองและคนต่างชาติเริ่มมีความเข้มงวดมากขึ้น หนังสือเดินทางจึงเป็นเอกสารของรัฐและเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ และเริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้หนังสือเดินทางไทยนั้น รูปแบบและการใช้หนังสือเดินทางของไทยได้เปลี่ยนแปลงตามพัฒนาการของสังคมไทยและระหว่างประเทศ จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับลักษณะ รูปแบบการออกหนังสือเดินทางสำหรับคนไทย โดยออกเป็นหนังสือราชการที่เขียนด้วยลายมือ ( ภาพประกอบ ) มีการกำหนดตราประทับเป็นรูปแบบที่แน่นอนบนหนังสือเดินทาง ตราประทับที่พบ คือ ตราพระคชสีห์น้อย ตราพระราชสีห์น้อย หรือตราสุครีบ ระบุระยะเวลาในการใช้งานซึ่งมีอายุ 1 ปี วัตถุประสงค์ในการเดินทาง และมีข้อความขอให้ข้าหลวงมณฑล ผู้ว่าราชการเมือง กรมการจังหวัด อำนวยความสะดวกในการเดินทาง

หนังสือเดินทางที่รู้จักกันในระยะแรกเป็นเอกสารเดินทางที่ทางราชการออกให้แก่บุคคลเพื่อใช้ในการเดินทางระหว่างเขต เมือง มณฑล หรือภายในพระราชอาณาเขต ยังไม่มีหนังสือเดินทางอันหมายถึงเอกสารที่ใช้เดินทางไปต่างประเทศ ต่อมาฝ่ายราชการสยามในสมัยนั้นได้เริ่มมีดำริให้ออกหนังสือสำหรับตัวให้คนฝ่ายสยามเดินทางไปเมืองต่างประเทศ จึงมีการกำหนดกฏเกณฑ์ว่า การเดินทางออกนอกพระราชอาณาเขตกำหนดให้คนสยามต้องมีจดหมายหรือหนังสือเดินทางสำหรับตัวทุกคนจากเจ้าเมือง จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า หนังสือเดินทางไทยในปัจจุบันได้พัฒนามาจากหนังสือเดินทางสำหรับตัวซึ่งใช้กันมาแต่อดีต

ในเวลาต่อมาได้มีการกำหนดให้ใช้หนังสือเดินทางไปประเทศห่างไกลในลักษณะเป็นหนังสือเดินทางที่พิมพ์ด้วยภาษาฝรั่งเศส 2 หน้า หน้าแรกมีลักษณะเป็นหนังสือราชการที่มีข้อความขออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทาง หน้าสองแสดงรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือหนังสือเดินทาง ซึ่งประกอบด้วยรูปถ่าย อายุ ความสูง สีผม ตา ใบหน้า ตำหนิ และลายมือชื่อผู้ถือหนังสือเดินทาง และมีอายุการใช้งาน 1 ปี

การออกหนังสือเดินทางในสมัยนั้นมิได้ออกให้เพียงหนังสือเดินทางสำหรับบุคคลเท่านั้น แต่ยังมีหนังสือเดินทางที่ออกให้กับคนครัวหนึ่งหรือคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งใช้เดินทางเช่นเดียวกับหนังสือเดินทางหมู่เช่นที่มีใช้ในปัจจุบัน โดยกำหนดรูปแบบที่แน่นอนและใช้ทั่วทุกมณฑล โดยระบุรายชื่อและจำนวนบุคคลที่เดินทางด้วยกัน พร้อมทั้งประเภทสัมภาระที่นำติดตัวไปด้วย ทั้งนี้ ในการกำหนดรูปแบบหรือระเบียบหนังสือเดินทางในอดีตฝ่ายปกครองต้องมีหนังสือขอหารือกับเสนาบดีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซึ่งต้องมีหนังสือขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์ก่อนด้วย

หนังสือเดินทางในสมัยนั้นยังเรียกรวมถึงเอกสารเดินทางประเภทตราเดินทาง ซึ่งทางราชการออกให้กับคนในบังคับ ( สยาม) ที่อาศัยอยู่ในประเทศ ใช้เป็นเอกสารแสดงตัว หรือออกให้แก่คนต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยการสลักท้องตราประทานหรือตราเดินทางลงในหนังสือเดินทางต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นหนังสือประจำตัวสำหรับเดินทางไปได้ในหัวเมือง ตามคำร้องขอของสถานทูตหรือสถานกงสุลต่างประเทศในไทย ซึ่งปัจจุบัน คือ การตรวจลงตรา หรือวีซ่า

การออกหนังสือเดินทางในระยะนี้มิได้จำกัดอยู่กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่บ้านเมืองหลายระดับ นับตั้งแต่กระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการเมือง รวมทั้งกรมการจังหวัด หรือแม้แต่กำนันก็เป็นผู้มีอำนาจในการออกหนังสือเดินทาง หากได้รับคำสั่งจากเจ้าเมือง

อย่างไรก็ดี แม้ว่าตามประเพณีแต่เดิมมา ผู้ใดจะเดินทางไปนอกพระราชอาณาเขต ก็มีธรรมเนียมที่ต้องรับหนังสือเดินทางสำหรับตัวซึ่งเจ้าพนักงานออกให้ก็ตาม แต่บุคคลโดยทั่วไป ส่วนมาก ก็ยังไม่ได้ถืออย่างเคร่งครัดว่า หนังสือเดินทางเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเดินทาง เพราะในอดีตยังไม่มีการตรวจตราการเดินทางเข้าออกประเทศอย่างเข้มงวด ประชาชนสามารถเดินทางออกนอกพระราชอาณาเขตได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องมีหนังสือเดินทาง การละเลยในการตรวจตราการเดินทางออกนอกประเทศดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาแก่ผู้เดินทางในระยะต่อมาเมื่อสถานการณ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลประเทศต่างๆ เริ่มบัญญัติการตรวจตราหนังสือเดินทางของคนต่างชาติอย่างเข้มงวด ทำให้ผู้เดินทางออกจากพระราชอาณาเขตของไทยซึ่งมิได้มีหนังสือเดินทางหรือตราเดินทาง (วีซ่า) ของประเทศที่จะเดินทางไป ต้องประสบปัญหาเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ เนื่องจากต้องถูกกักกันไม่ให้เข้าประเทศ หรือถูกจับกุมกักขังหรือถูกส่งกลับประเทศ

ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของคนไทยในการเดินทางไปต่างประเทศ ในวันที่ 17 กันยายน 2460 รัฐบาลไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงได้กำหนดกฏเกณฑ์อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับการออกหนังสือเดินทาง โดยการออก “ ประกาศว่าด้วยผู้เดินทางไปนอกพระราชอาณาเขตร์ ให้มีหนังสือเดินทาง ” ซึ่งได้ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 23 กันยายน 2460 เพื่อให้คนไทยทุกคนที่จะเดินทางออกไปประเทศที่อยู่ห่างไกล จำเป็นต้องขอหนังสือเดินทางกับกระทรวงการต่างประเทศ และหากเดินทางไปยังประเทศใกล้เคียงติดต่อกับพระราชอาณาเขต ก็ขอให้ขอหนังสือเดินทางจากผู้ว่าราชการจังหวัด หรือสมุหเทศาภิบาลในมณฑลของตน

ผลมาจากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงในระดับระหว่างประเทศหลายประการดังกล่าว และผลการประชุมขององค์การสันนิบาติชาติเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2463 ซึ่งเรียกร้องให้ทุกประเทศกำหนดรูปแบบหนังสือเดินทางในลักษณะเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลไทยได้ส่งคณะผู้แทนเดินทางเข้าร่วมประชุมและลงนามรับรองข้อมติของที่ประชุมดังกล่าวด้วย และการประกาศใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฉบับแรกของไทยในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2470 น่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการกำหนดกฏเกณฑ์และการปรับเปลี่ยนลักษณะและรูปแบบของหนังสือเดินทางที่มีลักษณะเป็นรูปเล่ม ซึ่งน่าจะเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หรือประมาณภายหลังปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา

สำหรับหนังสือเดินทางที่มีลักษณะเป็นรูปเล่มซึ่งพบหลักฐานในขณะนี้ เป็นหนังสือเดินทางประเทศสยามซึ่งออกใช้ในช่วงระยะปี พ.ศ.2482 เป็นหนังสือเดินทางปกแข็งซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน




ภายในประกอบด้วยรายการข้อมูลภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศสกำกับอยู่ และติดรูปถ่ายผู้ถือหนังสือเดินทางพร้อมลายมือชื่อ ประกอบด้วยหน้าหนังสือเดินทางจำนวน 32 หน้าเช่นหนังสือเดินทางในปัจจุบัน เป็นหนังสือเดินทางในพระราชอาณาเขตสยามออกที่แผนกหนังสือเดินทาง ณ กระทรวงการต่างประเทศ แต่แผนกหนังสือเดินทางจะออกหนังสือเดินทาง หรือต่ออายุหนังสือเดินทางสำหรับบุคคลผู้ใด ซึ่งมิได้อยู่ในพระราชอาณาเขตสยามในเวลานั้น ไม่ได้เลย

หนังสือเดินทางที่ออกให้ในสมัยนั้น ถ้ามิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น ก็มีกำหนดอายุการใช้งานเพียงสองปี เมื่อหมดอายุก็สามารถให้ต่ออีกตั้งแต่หนึ่งถึงสองปีก็ได้ แต่เมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี โดยหนังสือเดินทางใช้ได้แต่สำหรับการเดินทางไปยังประเทศที่ระบุไว้ในหนังสือเดินทางเท่านั้น แต่จะสลักเพิ่มเติมเพื่อเดินทางไปประเทศอื่นด้วยก็ได้ โดยคิดค่าธรรมเนียมออกหนังสือเดินทางฉบับละ 12 บาท และค่าธรรมเนียมต่ออายุปีละ 6 บาท หนังสือเดินทางดังกล่าวนี้ยังคงใช้สืบต่อกันมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะบางอย่าง อาทิ สี ตราครุฑบนปกนอก และลักษณะการจัดวางข้อมูลภายใน จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ.2520 มีการเปลี่ยนแปลงรายการข้อมูลผู้ถือหนังสือเดินทางจากการตีพิมพ์ด้วยภาษาไทยกับภาษาฝรั่งเศสมาเป็นข้อมูลภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ

หลังจากนั้น หนังสือเดินทางไทยได้รับการพัฒนาตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการผลิต และประโยชน์ในการใช้สอยตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมของสังคม โดยกองหนังสือเดินทางพยายามพัฒนาระบบการผลิตเล่มหนังสือเดินทางอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้บริการหนังสือเดินทางดำเนินไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และป้องกันการปลอมแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยลำดับ

ในปี 2536 กองหนังสือเดินทางได้นำระบบหนังสือเดินทางแบบใหม่มาใช้ เรียกว่า ระบบ Digital Passport System (DPS ) ซึ่งเป็นวิธีการพิมพ์รูปผู้ถือหนังสือเดินทางลงในหนังสือเดินทางด้วยระบบดิจิตอลแทนการติดรูปตามระบบเดิม และอ่านได้ด้วยเครื่อง ( Machine Readable Passport ) และต่อมาได้ปรับเปลี่ยนการผลิตเล่มหนังสือเดินทางที่สามารถจัดเก็บข้อมูลในเล่มหนังสือเดินทาง ไว้ด้วยระบบข้อมูลหน้าเดียว เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ตั้งแต่ พ.ศ.2538 เป็นต้นมา

ในปี 2543 กองหนังสือเดินทางได้พัฒนาหนังสือเดินทางไทยโดยการนำเทคโนโลยีการถ่ายรูป การบันทึกข้อมูล และการพิมพ์ข้อมูลลงในเล่มโดยตรง รวมทั้งการสร้างระบบหนังสือเดินทางซึ่งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนราษฎรด้วยระบบคอมพิวเตอร์จากฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้สามารถตรวจสอบสถานะของผู้ขอหนังสือเดินทางโดยอาศัยหมายเลขประจำตัวประชาชน ซึ่งทำให้สามารถให้บริการรับคำร้องจากประชาชนผู้ขอใช้ให้บริการหนังสือเดินทางได้ในเวลาอันรวดเร็ว และทำการผลิตหนังสือเดินทางได้ภายในเวลา 3 วันทำการ

ในด้านการพัฒนารูปเล่มหนังสือเดินทาง กองหนังสือเดินทางได้ให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงรูปแบบและมาตรฐานของเล่มหนังสือเดินทางไม่น้อยไปกว่าการปรับปรุงด้านบริการ เนื่องจากรูปแบบและมาตรฐานดังกล่าวเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการป้องกันการปลอมแปลง และความน่าเชื่อถือของหนังสือเดินทางตามมาตรฐานสากล การพัฒนาหนังสือเดินทางจึงต้องคำนึงถึงรูปแบบที่สวยงามทันสมัยในราคาเหมาะสม และจะต้องประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สามารถป้องกันการปลอมแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปด้วย

ในปี 2545 กองหนังสือเดินทางได้พัฒนารูปแบบของหนังสือเดินทางแบบใหม่ ที่มีคุณลักษณะป้องกันการปลอมแปลง ( Security Features ) เพิ่มมากขึ้น และใช้เทคโนโลยีระดับสูงหลายอย่างเช่นเดียวกับการพิมพ์ธนบัตร เพื่อยกระดับมาตรฐานหนังสือเดินทางไทยให้ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำของโลก คุณสมบัติพิเศษที่ใส่ไว้ในหนังสือเดินทาง บางอย่างไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจสอบ และบางอย่างก็แฝงไว้อย่างแนบเนียน ทำให้ยากในการ

ปลอมแปลง นอกจากนั้นคุณลักษณะบางประการผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีและสารเคมีที่ไม่อาจหาได้ในท้องตลาดทั่วๆ ไป ทำให้มั่นใจได้ว่า หนังสือเดินทางไทยจะมีความปลอดภัย และปลอดจากการปลอมแปลง
ทิศทางในอนาคต หนังสือเดินทางไทยยังคงได้รับการพัฒนาและปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนโดยคำนึงถึงความมั่นคงของประเทศ นอกจากนี้ กองหนังสือเดินทางยังได้พัฒนาระบบข้อมูลหนังสือเดินทางไทยให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ถือ

หนังสือเดินทางผ่านระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเดินทาง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมศุลกากร และกระทรวงมหาดไทย สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์จากการตรวจสอบข้อมูลและให้บริการประชาชนด้วยความรวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนคนไทยได้รับความสะดวกสบายในการติดต่อกับหน่วยราชการ ไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใดของโลกก็ตาม

ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ