หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

มะละกา

มะละกา : พันเรื่องถิ่นแผ่นดินไทย บทความโดย อัครเดช สุภัคกุล


ภาพที่ได้นำมาแสดงในคราวนี้ เป็นภาพเมื่อครั้งที่ผู้เขียนเดินทางไปทัศนศึกษาที่เมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย เมื่อปีพ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา โบสถ์ที่เป็นฉากอยู่เบื้องหลังนั้น เป็นโบสถ์คริสต์มะละกา ที่สร้างมาจากอิฐซึ่งนำมาจากประเทศฮอลันดา แล้วฉาบด้วยดินแดงท้องถิ่น โบสถ์แห่งนี้ตั้งอยู่กลางจัตุรัสดัตช์ ใช้เวลาในการสร้าง 12 ปี แล้วเสร็จเมื่อปีพ.ศ.2296 ชาวดัตช์สร้างโบสถ์แห่งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์ในโอกาสที่ ประเทศฮอลันดาได้ปกครองเมืองมะละกา มาครบ 100 ปี


ชาวดัตช์ หรือชาวฮอลันดานั้น นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ดังนั้นโบสถ์นี้จึงสร้างเพื่อเป็นโบสถ์โปรเตสแตนต์ มาแต่เดิมที ครั้นภายหลังที่อังกฤษได้เข้ามาปกครองมะละกาแทนชาวดัตช์ โบสถ์แห่งนี้ก็ได้กลายเป็นศาสนสถานของนิกายแองกลิกันของชาวอังกฤษไป ที่ภายในโบสถ์มีแผ่นจารึกเหนือหลุมฝังศพของชาวดัตช์ มีพระคัมภีร์ทองเหลือง จารึกอักษรอาร์เมเนียน ปัจจุบันโบสถ์แห่งนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของมะละกา จึงมีผู้มาถ่ายรูปกันมาก

สำหรับตำนานเมืองของมะละกา ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อราวพุทศตวรรษที่ 20 ยังมีเจ้าชายปรเมศวร เจ้าผู้ครองเกาะเทมาเส็ก (สิงคโปร์ในปัจจุบัน) ทรงถูกกองทัพชวาโจมตี และเสด็จหนีมาขึ้นฝั่งทางตอนเหนือ ในที่นั้นทรงพบสุนัขป่า 2 ตัว กำลังรุมทำร้ายกระจงซึ่งตัวเล็กนิดเดียว แต่กระจงก็ต่อสู้สุนัขป่านั้นเป็นสามารถ จนสุนัขป่าทั้ง 2 ตัว แพ้แล้วหนีไป ทรงเห็นเป็นนิมิตมงคล จึงโปรดให้สร้างเมืองขึ้น ให้ชื่อเมืองว่า “มะละกา” เป็นภาษามาเลย์ แปลว่า ต้นมะขามป้อม

ด้วยบริเวณทั่วไปของมะละกาในเวลานั้น มีต้นมะขามป้อมอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันนี้หากใครจะดูต้นมะขามป้อม ก็สามารถดูได้ที่ตรงข้ามป้อม เอ-ฟาโมซา ซึ่งมีอยู่เพียงต้นเดียว ส่วนกระจงน้อยก็ได้รับเกียรติเป็นตราสัญลักษณ์ของรัฐมะละกา ส่วนชาติแรกที่เข้ามาอยู่ที่เมืองมะละกาคือ ชาวจีน ที่ได้ติดตามกองเรือของ นายพลเจิ้งเหอ มาเมื่อราวพ.ศ. 2033 และเนื่องจากช่องแคบมะละกาเป็นเมืองท่าการค้าเครื่องเทศนานาชาติที่สำคัญ ผู้คนจึงมาอยู่ที่มะละกากันมาก

ผู้ที่มาค้าขายนอกจากจะมีชาวจีนแล้วยังมีชาวอินเดียอีกเป็นจำนวนมากด้วย จนท้ายที่สุดทำให้มะละกามีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อครั้งสมัยอยุธยา เมืองมะละกาเคยตกเป็นของสยาม ครั้นอยุธยามีศึกกับหัวเมืองฝ่ายเหนือ จึงตีตนออกห่าง จนกระทั่งฝรั่งชาติแรกคือชาวโปรตุเกสได้เข้ามายึดครองในปีพ.ศ.2052 ต่อมาฮอลันดาได้แย่งชิงไปปกครองในปีพ.ศ.2184 ครั้นปีพ.ศ.2340 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 ของสยาม อังกฤษก็เข้ามาทำการยึดครอง และในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ตนกู อับดุล ราห์มัน นายกรัฐมนตรีมาเลเซียท่านแรก ซึ่งมีมารดาเป็นชาวไทยแห่งสกุล “นนทนาคร” ได้ประกาศอิสรภาพของประเทศมาเลเซียจากอังกฤษ ณ เมืองมะละกาแห่งนี้ครับ

“เซอลามัท ติงกัล” ภาษามาเลย์แปลว่า ลาไปก่อนครับท่านผู้อ่าน วันจันทร์หน้าพบกันที่ “อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์” ครับ

รวมภาพน้ำท่วม

บ้านริมแม่น้ำลพบุรี บริเวณสะพานหน้าวัดมณีชลขัณฑ์
via Reporter_Js5@twitter 29-09-2554

ถ.ลพบุรี-สิงห์บุรี มุ่งหน้าไปอ.ท่าวุ้ง น้ำยังไหลท่วมบนถนนแรงอยู่
via Reporter_Js5@twitter 30-09-2554
บ้านข่อยอ.เมืองจ.ลพบุรี จุดที่ได้รับผลกระทบต่อจากทางในเมือง ท่วมเมื่อคืนนี้และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
via Reporter_Js5@twitter 30-09-2554
เรือท้องแบนติดเครื่องยนต์ มทบ.13 จ.ลพบุรี นำมาช่วยเหลือชาวบ้านข่อย อ.ลพบุรี
via Reporter_Js5@twitter 30-09-2554
ชาวบ้านบ้านข่อย เร่งเก็บข้าวทั้งที่ยังไม่แก่ เตรียมรับมือน้ำที่จะเข้ามาท่วม
via Reporter_Js5@twitter 30-09-2554
นาข้าวบ้างส่วนที่เริ่มออกรวง กำลังจะนมน้ำ ที่บ้านข่อย อ.เมือง จ.ลพบุรี
via Reporter_Js5@twitter 30-09-2554
ทล.311เขตอ.เมืองจ.ลพบุรี น้ำท่วมผ่านถนนเป็นช่วงๆ กระแสน้ำไหลแรง และบางช่วงทางชำรุด
via Reporter_Js5@twitter 30-09-2554
ชาวบ้านนำรถจยย.และอพยพตัวเองมาตั้งเต้นท์อยู่บนถนนแต่น้ำยังมาอยู่เรื่อยๆ
via Reporter_Js5@twitter 30-09-2554

น้ำที่ท่วมบ้านชาวบ้านที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำลพบุรี บริเวณวัดมณีชลขัณฑ์
via Reporter_Js5@twitter 30-09-2554

ที่หน้าวัดมณีชลขัณฑ์ ฝนตกระดับ1-2 น้ำในแม่น้ำลพบุรียังไหลแรงอยู่
via Reporter_Js5@twitter 30-09-2554

17.00น. ในอ.เมือง จ.ลพบุรี ฝนตกฟ้าร้อง ลมแรง
via Reporter_Js5@twitter 30-09-2554

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

ปีนัง

ปีนัง : พันเรื่องถิ่นแผ่นดินไทย โดยศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์



ครั้ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงขึ้นครองราชย์ และสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี ในปีพ.ศ.2325 นั้น ภายหลังได้เกิดสงคราม 9 ทัพ โดยครั้งนั้นพม่าได้เข้าตีประชิดถึงหัวเมืองทางภาคใต้ ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรสุรสีหนาทเสด็จไปปราบพม่าปัจจามิตรถึงภาคใต้ ครั้นมีชัยเหนือพม่าแล้วได้ผนวกหัวเมืองภาคใต้ไว้เป็นเมืองประเทศราช ซึ่งขณะนั้น เกาะปีนัง หรือที่คนไทยเรียกว่า เกาะหมาก ขึ้นกับเมืองไทรบุรี



ทางฝ่ายเจ้าเมืองไทรบุรี หรือที่ในปัจจุบันคือรัฐเคดาห์ ของประเทศมาเลเซีย ภายหลังมีใจออกห่างจากรัฐสยาม จึงยื่นข้อเสนให้อังกฤษเช่าเกาะหมาก หรือเมืองปีนัง เพื่อเป็นเกราะป้องกันตนเองให้พ้นจากอิทธิพลของรัฐสยามในขณะนั้น โดยในครั้งนั้น ชาวอังกฤษชื่อ เซอร์ฟรานซิส ไลท์ ได้เป็นผู้ทำการแทนรัฐบาลอังกฤษ ในนามบริษัทบริติชอีสต์อินเดีย ทำการเช่าเกาะปีนังนับแต่ปีพ.ศ.2329 การณ์ครั้งนั้นเท่ากับทำให้รัฐสยามเสียดินแดน ซึ่งคือเมืองปีนัง เป็นครั้งแรก

อันที่จริงแล้วการเช่าเกาะปีนังของอังกฤษ เป็นกุศโลบายที่จะสร้างเมืองท่าคู่แฝด อันมีเกาะปีนัง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และเกาะสิงคโปร์อยู่ทางทิศใต้ เพื่อเป็นจุดรับส่งสินค้าระหว่างทะเลอินเดีย และทะเลจีนใต้ ทั้งนี้เพื่อลดบทบาทการเป็นเมืองท่าของฮอลันดา ที่ช่องแคบเมืองมะละกา ที่มีมาช้านาน ผลจากการสร้างเมืองปีนัง และสิงคโปร์ เป็นเมืองท่าทางการค้าคู่แฝดนี้ ภายหลังได้ทำให้เมืองท่ามะละกา ที่เป็นเมืองท่าสำคัญมาแต่โบราณ ยุติบทบาทลงได้จริงในที่สุด

ซึ่งอังกฤษมีการบริหารการจัดการ ที่ชาญฉลาดกล่าวคือ ให้เกาะปีนัง และสิงคโปร์เป็นเมืองท่าเสรี มีการค้าปลอดภาษี ตลอดจนไม่เก็บค่าธรรมเนียมในการจอดเรือ จึงเป็นเหตุให้มีการค้าเกิดขึ้นอย่างหนาแน่น สร้างรายได้ให้แก่อังกฤษเป็นอันมาก สำหรับเมืองปีนังภายหลังที่ถูกครอบครองโดยชาวอังกฤษแล้ว ได้ตั้งชื่อเมืองให้เป็นอังกฤษเสียใหม่ว่า “เกาะปรินส์ออฟเวลส์” และมีเมืองหลวงชื่อว่า “เมืองจอร์จทาวน์” ตามชื่อพระเจ้าจอร์จที่ 3 กษัตริย์อังกฤษขณะนั้น

ได้มีเกร็ดเล่าว่า แต่เดิมเกาะปีนังเป็นป่ารกมาก หาคนมาแผ้วถางได้ยาก แต่แล้ว เซอร์ฟรานซิสไลท์ ได้ยิงเหรียญเงินเข้าไปในป่าเป็นจำนวนมาก แล้วประกาศว่า ใครอยากได้เงินก็ถางป่าหาเอาเอง ในเวลาไม่นานป่านั้นก็ราบเป็นหน้ากลอง และว่ากันว่า ป่าที่โยนเหรียญเข้าไปนั้น ก็คือที่ศาลาว่าการของรัฐปีนังในปัจจุบัน ตามที่ได้นำภาพมาแสดงในครั้งนี้ การเข้าไปมีอิทธิพลของอังกฤษ ทำให้เกาะปีนัง มีอาคารบ้านเรือน ตลอดจนสถานที่ราชการงดงาม ตามแบบโคโลเนียลอังกฤษ เกาะปีนังจึงเป็นเมืองอังกฤษน้อยแต่หนหลัง ที่ควรค่าแก่การทัศนาไม่น้อยทีเดียวครับ

พรุ่งนี้ไปต่อที่เมือง “มะละกา” เมืองท่าที่เคยเป็นของสยาม เมื่อครั้งอยุธยาเมืองเก่าของเราแต่ก่อนกันครับ

จ๊ะเอ๋ ... มีใครอยู่บ้างจ๊ะ!!!


ปล่อยไก่ตัวเบ้อเริ่มมม  ....  เจอภาพนี้ในทวิตเตอร์ รีบนำมาโพสต์ เพราะในทวิตเตอร์ต้นทางบอกว่าเกิดที่ลพบุรี  ก็นึกว่าเกิดขึ้นจากน้ำท่วมคราวนี้ แต่มีผู้แย้งว่าเป็นภาพเก่า อาจจะเป็นภาพตัดต่อด้วยซ้ำไป เพราะพื้นไม่เปียก เงาก็ไม่มี ...  ไปค้นดู ภาพนี้เกิดขึ้นประมาณต้นเดือนสิงหา 2551 ไม่ทราบที่ไหน อาจจะไม่ใช่เมืองไทยด้วย

น้ำท่วมเชียงใหม่ 2554

สภาพน้ำล้นตลิ่งแม่น้ำปิงไหลทะลักเข้าท่วมถนนอ.เมือง จ.เชียงใหม่
วันที่ 28 กันยายน 2554 16:51 via @กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


หลายพื้นที่อ.สัน ทราย จ.เชียงใหม ได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นลำห้วย รวมถึงน้ำล้นอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว ทำให้บริเวณสองข้างทางเกิดน้ำเอ่อท่วม
วันที่ 28 กันยายน 2554 18:13 via @กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

สภาพนํ้าท่วมบริเวณถนนเจริญราช อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ชาวบ้านต้องลงเดินจูงรถลุยน้ำที่สูงกว่า 50 ซม. เนื่องจากปริมาณนํ้ายังคงสูงขึ้น
วันที่ 29 กันยายน 2554 11:08 via @กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ภาพมุมสูงตัวเมืองจ.เชียงใหม่ยังวิกฤตมีน้ำท่วมเป็นวงกว้าง ศูนย์อุทกฯ เผยน้ำก้อนใหม่จ่อหนุนอีก 17 ชั่วโมง
วันที่ 29 กันยายน 2554 15:18 via @กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

วันที่ 29 กันยายน 2554 15:18 via @กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่วิกฤติท่วมไนท์บาซาร์1ม.


น้ำท่วมเชียงใหม่ยังวิกฤติ ท่วมไนท์บาซาร์ 1เมตร เจ้าของร้านประเมินสูญเสียโอกาสทางการค้าไม่ต่ำกว่า 100 ล้าน ชลประทาน แจง น้ำปิง ขึ้นสูงสุด 4.90 เมตร เที่ยงคืน ใกล้เคียงน้ำท่วมใหญ่ปี 49 นายกฯ รับ ระบบเตือนภัย เป็นจุดอ่อน ด้าน ศภช. เตือน 10 อำเภอ 'เชียงใหม่-ลำพูน' รับมือน้ำล้นตลิ่ง 28-29 ก.ย.นี้


ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมตัวเมืองเชียงใหม่ว่า ภายหลังนายวินัย พงษ์จินดา ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 1 คาดการณ์ว่าระดับแม่น้ำปิงที่ จุด P 1 สะพานนวรัฐ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จะถึงจุดสูงสุดที่ 4.90 เมตร ในเวลาเที่ยงคืนวันที่ 28 ก.ย.นี้ อันจะส่งผลให้น้ำทะลักเข้าท่วมในพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่เพิ่มขึ้นหลายจุด ปรากฎว่าในช่วงค่ำที่ผ่านมา ต่างมีประชาชนชาวเชียงใหม่ เดินทางมาดูป้ายบอกระดับน้ำที่บริเวณเชิงสะพานนวรัฐไม่ขาดสาย

ทั้งนี้ ส่วนใหญ่สนใจที่จะเกาะสถานการณ์น้ำท่วม ขณะที่บางรายได้มาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ทำให้บริเวณทั้งบนสะพานนวรัฐและเชิงสะพานเนืองแน่นไปด้วยประชาชนและรถราที่จอดจนจราจรติดขัดพอสมควร ไม่เว้นแม้แต่พ่อค้าแม่ค้าที่ขับรถจักรยานยนต์พ่วงข้างนำอาหารการกินมาค้าขายจนคึกคัก

ขณะที่ทางหน่วยทหารจากค่ายกาวิละ จ.เชียงใหม่ ได้นำรถยนต์ขนาดใหญ่ พร้อมกำลังพล และอาหารกล่อง ลุยไปแจกจ่ายนและสำรวจความเดือดร้อน รวมถึงความต้องการของประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม ไม่สามารถออกมาจากบ้าน เนื่องจากมีน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ตลอดเส้นทางตั้งแต่ด้านหน้าโรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียน ค่ายกาวิละ ต่อเนื่องหลายกิโลเมตรไปจนถึงสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ ขณะเดียวกันร้านอารหารริมแม่น้ำปิงชื่อดัง ต้องปิดให้บริการโดยปริยาย เนื่องจากน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็นเฮือนโบราณ ไวท์เฮ้าท์ ธาราบาร์

ทางด้านไนท์บาร์ซ่าร์ สถานที่ท่องเที่ยวและชอบปิงชื่อดังของเชียงใหม่ ก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน หลังจากน้ำเริ่มหลากเข้าท่วมตั้งแต่ช่วงเย็นที่ผ่านมา กระทั้งเวลาประมาณ 23.00 น.ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร ร้านค้าต้องปิดบริการโดยปริยาย ไม่เว้นแม้แต่โรงแรมชื่อดังย่านดังกล่าวก็ได้รับผลกระทบ บรรดาลูกค้าไม่สามารถเข้าไปใช้บริการได้อย่างสะดวกสะบาย ทางโรงแรมต้องจัดรถบัสขนาดใหญ่ลุยน้ำเข้าไปส่ง โรงแรมบางแห่งถูกลูกค้ายกเลิกเพราะน้ำท่วม

เช่นเดียวกันถนนช้างคลาน ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจของเชียงใหม่ ก็ถูกน้ำท่วมสูง รถเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้ และระดับน้ำยังไม่แนวโน้มว่าจะลดลงแต่อย่างใด โดยล่าสุดได้มีฝนตกปรอยๆมาเป็นระยะๆ โดยล่าสุดน้ำในคลองแม่ข่ามีระดับสูงและไหลแรง และน้ำได้ดันท่อระบ่ายน้ำเอ่อเข้าท่วมถนนย่านวิทยาลัยนาฎศิลป์แล้ว

น้ำปิงทะลัก!ไนท์บาซาร์สูญ100ล.

นายสิทธิพร เตชะจงจินตนา กรรมการผู้จัดการ บริษัทเชียงใหม่ไนท์บาซาร์ จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้น้ำปิงได้ไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่แล้ว โดยอยู่ระดับไม่ต่ำกว่า 50-70เซ็นติเมตร และมีสภาพน้ำที่ขุ่นแดง ส่งผลให้ผู้ประกอบการค้าในย่านไนท์บาซาร์ทั้งร้านค้าที่เป็นรถเข็น และร้านค้าในศูนย์การค้าต่างๆ ทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ไม่ต่ำกว่า 7-8 แห่งต้องปิดให้บริการเป็นการชั่วคราว

ทั้งนี้ แม้ว่า บางแห่งจะไม่มีการปิดให้บริการ แต่ก็คาดว่านักท่องเที่ยวจะเข้ามาในพื้นที่อย่างลำบาก เพราะสภาพน้ำได้เพิ่มระดับสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ในวันแรกที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเช่นนี้ ส่งผลให้เกิดการสูญเสียโอกาสทางการค้าไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

ส่วนความเสียหายทางทรัพย์สินยังไม่มี เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้าแล้ว


ชลประทาน แจง น้ำปิงขึ้นสูงสุด 4.90 ม.เที่ยงคืน ใกล้เคียงน้ำท่วมใหญ่ปี 49

นายวินัย พงษ์จินดา ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 1 กล่าวว่า คาดว่าระดับแม่น้ำปิงที่ จุด P1 สะพานนวรัฐ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จะถึงจุดสูงสุดที่ 4.90 เมตร ในเวลาเที่ยงคืนนี้ ซึ่งจะส่งผลให้น้ำทะลักเข้าท่วมในพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่เพิ่มขึ้นหลายจุด รวมทั้งที่ตลาดต้นลำไยย่านเศรษฐกิจที่สำคัญอีกแห่งของจ.เชียงใหม่ จากนั้นน้ำปิงจะเริ่มทรงตัวและในเวลาใกล้รุ่งเช้าของวันที่ 29 กันยายนจะเริ่มลดระดับลง

ส่วนระดับน้ำปิงตอนเหนือที่อ.เชียงดาว ยังมีปริมาณสูงอยู่เพราะมีในตกในพื้นที่ก่อนหน้านี้จึงมีน้ำสะสมอยู่มาก แต่น้ำแม่แตงเริ่มทรงตัวแล้ว คาดว่าหากไม่มีฝนตกลงมาในพื้นที่ซ้ำอีกเชื่อว่าในวันพรุ่งนี้ ( 29 กันยายน) ระดับน้ำในแม่น้ำปิงจะเริ่มลดลง แต่คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 - 2 วันจึงจะกลับสู่ภาวะปกติและต่ำกว่าจุดวิกฤติที่ 3.70 เมตร ณ จุด P1 สะพานนวรัฐ อ.เมือง

นายกฯ รับ ระบบเตือนภัย เป็นจุดอ่อน

เวลา 14.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่หน่วยงานด้านการเตือนภัย ไม่สามารถทำงานไม่มีประสิทธิภาพทำให้ประชาชน จ.เชียงใหม่ ไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริงล่วงหน้า ก่อนน้ำทะลักเข้าท่วมตัวเมืองว่า ได้ประชุมผ่านทางวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ กับ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผวจ.เชียงใหม่แล้ว ขณะนี้ มีการชี้แจงขั้นตอนการเตือนภัยมีหลายหน่วยงาน อาจจะทำให้เกิดความสับสน ซึ่งม.ล.ปนัดดาได้เร่งชี้แจงข่าวสารให้ถูกต้องแล้ว และจะมีหน่วยงานการเตือนภัยต่าง ๆ ให้มีระบบมากขึ้น

“ยอมรับว่าการเตือนภัยยังเป็นจุดอ่อน เพราะเรามีหลายหน่วยในการประมวล เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดังนั้นทุกอย่างมีกลไกในการบูรณาการรวม เพื่อใช้ประมวลผลให้แม่นยำถูกต้อง ให้ข้อมูลกับประชาชน ที่สำคัญเรายังไม่มีระบบเตือนภัยถาวร ซึ่งจะให้คณะกรรมการบูรณาการและการจัดการเรื่องน้ำดูแล”นายกฯ กล่าว

ลำพูน เตือนปปช. รับมือน้ำกวงหนุน

นายสกล หาญพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน จ.ลำพูน เปิดเผยว่าสถานการณ์น้ำในพื้นที่ จ.ลำพูน ในวันที่ 28 ก.ย. ตลอดทั้งวัน น้ำในลำน้ำแม่ทามีระดับสูงขึ้น ณ สถานีวัดน้ำ P.77 บ้านแม่สะป๊วด ต.ทาสบเส้า อ.แม่ทา จ.ลำพูน เท่ากับ 4.10 เมตร ซึ่งอยู่ในระดับวิกฤต

เนื่องจากปริมาณฝนตกในพื้นที่ตอนเหนือของ จ.ลำพูน มีปริมาณมากและตกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำปิงเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน จากการตรวจวัดที่สถานี P.76 บ้านแม่แต อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ มีระดับน้ำอยู่ที่ระดับวิกฤต โดยวัดระดับน้ำได้ 4.20 เมตร ปริมาณน้ำ 440 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คาดว่าปริมาณน้ำดังกล่าวจะเข้าสู่ จ.ลำพูนภายในค่ำคืนวันนี้

ทั้งนี้จังหวัดได้วางแผนการระบายน้ำเพื่อลดระดับน้ำปิง น้ำแม่กวง และน้ำแม่ทา พร้อมด้วยฝายหนองสลีกซึ่งปริมาณน้ำที่ระบายปัจจุบัน 476 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที พร้อมเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย บริเวณที่ลุ่มต่ำใกล้ลำน้ำ ทางน้ำไหลผ่าน ระมัดระวังอันตรายจากระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เนื่องจากสภาวะฝนตกหนักด้านเหนือของจังหวัดลำพูน ให้เตรียมเก็บทรัพย์สิน สิ่งของต่าง ๆ ไว้ในที่ปลอดภัย และระมัดระวังเกี่ยวกับภัยอันเกิดจากน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลันด้วย

ศภช.เตือน 10 อำเภอภาคเหนือ รับมือน้ำล้นตลิ่ง 28-29 ก.ย.นี้

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) แจ้งว่า ในวันที่ 28 - 29 ก.ย.นี้ จะเกิดน้ำล้นตลิ่งในบริเวณสองฝั่งลุ่มน้ำแม่กวง ได้แก่ อ.ดอยสะเก็ด อ.สันทราย อ.สันกำแพง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ อ.เมืองลำพูน อ.แม่ทา อ.สารภี อ.บ้านโฮ่ง อ.เวียงหนองร่อง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ขอให้ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ นอกคันกั้นน้ำ และริมแม่น้ำสาขาเฝ้าระวังรับสถานการณ์น้ำท่วม ควรเคลื่อนย้ายไปยังที่ปลอดภัย และขอให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัย และติดตามข้อมูลจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติต่อไป

เชียงราย น้ำป่าดอยห้วยหลวงทะลัก ท่วมบ้าน-วัด-โรงเรียน จมนับพันหลัง

ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวว่าหลังจากเกิดฝนตกหนักในช่วงคืนที่ผ่านมาได้ทำให้เกิดน้ำป่าจากเทือกเขาห้วยหลวงพื้นที่ อ.พาน จ.เชียงราย ไหลบ่าลงมาจากเทือกเขาเข้าท่วมบ้านเรือนในพื้นที่ ต.ทรายขาว หลายหมู่บ้าน โดยน้ำได้เข้าท่วมหมู่บ้านร่องธารใหม่ บ้านร่องธาร บ้านร่องธารกลาง บ้านท่าอ้อ และ บ้านดงลาน ต.ทรายขาว รวมกันทั้งหมดประมาณ 1,000 หลังคาเรือน โดยน้ำมีความเชี่ยวกรากและลึกตั้งแต่ 30-50 ซ.ม.ขณะที่บางจุดน้ำลึกกว่า 1 เมตร ส่งผลให้ประชาชนประสบความเดือดร้อนอย่างหนักเพราะน้ำไหลเชี่ยวกรากจนขนย้ายข้าวของกันไม่ทัน ต้องช่วยกันเก็บของสำคัญไปไว้บนพื้นที่สูงอย่างอลหม่าน

ขณะเดียวกันน้ำที่ไหลเข้าท่วมอย่างรวดเร็วดังกล่าวยังส่งผลกระทบไปยังวัดต่างๆ โดยเฉพาะวัดร่องธารที่น้ำไหลเข้าท่วมทั้งวิหาร กุฏิ ศาลาวัด ชาวบ้านต้องนำเรือท้องแบนเข้าไปช่วยพระสงฆ์และสามเณรขนย้ายข้าวของไปไว้บนพื้นที่สูงอย่างเร่งด่วน เช่นเดียวกันโรงเรียนตามหมู่บ้านต่างๆ ที่ต้องหยุดทำการเรียนการสอนเป็นการชั่วคราว อย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีรายงานเรื่องการเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บของประชาชน ซึ่งทางฝ่ายปกครอง อ.พาน และอบต.ทราย ขาวอยู่ระหว่างสำรวจและรวบรวมข้อมูลความเสียหาย

แต่เบื้องต้นได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายปกครอง อบต.ทรายขาว และทหารจังหวัดทหารบกเชียงราย ค่ายเม็งรายมหาราช นำเรือท้องแบนและรถยนต์เข้าช่วยเหลือประชาชนในการขนย้ายข้าวของไปไว้บนพื้นที่สูงเป็นการชั่วคราว โดยรอจนกว่าระดับน้ำจะลดต่ำลงหรือเข้าสู่ภาวะปกติขณะเดียวกันได้ออกแจกจ่ายอาหารและน้ำดื่มเพราะประชาชนเริ่มเดือดร้อนเนื่องจากไม่สามารถทำมาหากินได้ตามปกติ เพราะมั่ววุ่นกับการขนย้ายข้าวของตลอดทั้งวันด้วย

ทั้งนี้ มีบ้านเรือนจำนวนมากที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มและห่างไกลถนนหรือพื้นที่สูงทำให้ถูกตัดขาดจากภายนอกและต้องอาศัยอยู่บ้านเรือนบนที่สูงตามลำพัง ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องนำเรือท้องแบนเข้าให้การช่วยเหลือตลอดทั้งวันแล้ว

สุโขทัย น้ำป่าหลากท่วมศรีสัชนาลัย เดือดร้อน 100 หลังคาเรือน

กรณีน้ำป่าที่ไหลหลากจากแนวเทือกเขาในอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัยและปริมาณน้ำที่เอ่อล้นสปริงเวย์จากอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ท่าแพซึ่งไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่สองตำบลในอำเภอศรีสัชนาลัยเมื่อคืนวันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา ล่าสุดตลอดทั้งที่ 28 ก.ย.ระดับน้ำที่ท่วมพื้นที่ขยายวงกว้างในหลายหมู่บ้านระดับน้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้นรวมทั้งยังไหลบ่าสู่พื้นที่ทางการเกษตรเสียหายจำนวนมาก

โดยชาวบ้านหมู่ที่ 9 บ้านคุกเหนือ และ หมู่ที่ 12 บ้านคุกพัฒนา ต.สารจิต อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุดจากกรณีน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมโดยล่าสุดวันนี้ระดับน้ำเข้าท่วมพื้นที่สูงถึง 80-1.50 เมตร มีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนกว่า 100 ครัวเรือน อย่างไรก็ตามระดับน้ำป่าที่ไหลหลากได้ขยายวงกว้างเข้าท่วมพื้นที่รวม 14 หมู่บ้านใน 2 ตำบลคือ ต.สารจิต และ ต.บ้านแก่ง อ.ศรีสัชนาลัย โดยมีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน 600 ครัวเรือน มีพื้นที่ทางการเกษตรทั้งไร่นาและพืชสวนเสียหายกว่า 2,000 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นนาข้าว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจความเสียหายและช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่แล้ว

อย่างไรก็ตามในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยตลอดทั้งวัน ยังคงมีฝนตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัยจึงมีการออกประกาศเตือนชาวบ้านสองฝั่งคลองแม่ท่าแพให้ติดตามสถานะการณ์อย่างต่อเนื่องเพราะปริมาณน้ำฝนตกเพิ่มในพื้นที่ให้ประชาชนระมัดระวังภาวะน้ำล้นตลิ่งต่อเนื่องไปตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา : คมชัดลึก
---------------------------------------------------
'น้ำปิง'ละลักท่วมย่านการค้าสำคัญ


น้ำปิงเริ่มทะลักท่วมตลาดวโรรส-ตลาดเมืองใหม่ ย่านการค้าสำคัญ ทน.เชียงใหม่ เปิดศูนย์ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน


วันนี้ 29 ก.ย.54 ล่าสุดระดับแม่น้ำปิงที่จุดวัด P1 สะพานนวรัฐ อ.เมืองเชียงใหม่ เมื่อเวลา 07.00 น.อยู่ที่ 4.93 เมตร ปริมาณน้ำไหล 851 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ลดลงจากชั่วโมงก่อนที่ 4.94 เมตร ปริมาณน้ำไหล 856 ลูกบาศก์เมตร/วินาที อย่างไรก็ตามระดับน้ำปิงที่เพิ่มสูงขึ้น ในช่วงเช้าวันนี้ได้ล้นตลิ่งแนวกำแพงบริเวณถนนเลียบแม่น้ำใกล้ตลาดวโรรสกลางเมืองเชียงใหม่ น้ำเริ่มทะลักเข้าท่วมย่านตลาดวโรรส ตลาดต้นลำไย และตลาดเมืองใหม่ รวมทั้งหน้าเทศบาลนครเชียงใหม่แล้ว

ทางด้านเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้เปิดศูนย์ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมที่สุสานหายยา ต.หายยา อ.เมืองเชียงใหม่ โดยนอกจากเป็นศูนย์อำนวยการและให้ความช่วยเหลือประชาชนในเขตเทศบาลที่ได้รับความเดือดร้อน ยังเป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและช่วยเหลือประชาชนที่ติดค้างอยู่ในบ้านเรือนด้วย โดยมีนายทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีเป็นประธานในพิธีเปิด



"ตลาดต้นลำไย-วโรรส-เมืองใหม่" สำลักน้ำ

ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ว่า หลังน้ำแม่น้ำปิงเพิ่มขึ้นและเริ่มล้นตลิ่งก่อนไหลเข้าท่วมตลาดต้นต้นลำไย ตลาดวโรรส ตลาดเมืองใหม่ ถนนเจริญราษฎร์ ถนนเจริญเมือง อเมือง จ.เชียงใหม่ ส่งให้พ่อค้าแม่ค้า ร้านค้า ร้านอาหารต้องปิดไปโดยปริยาย

นางปราณี นาคชัย ร้านต้อยปราณีดอกไม้สด ย่านตลาดวโรส ติดกับแม่น้ำปิง กล่าวว่า น้ำท่วมปีนี้มาเร็วมาก การป้องกันไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมตลาดบางส่วนแล้ว ส่งผลให้ได้รับกระทบ ลูกค้าไม่สามารถเข้ามาซื้อสินค้าได้ทำให้สินค้าที่สั่งมาเสียหาย เพราะส่วนใหญ่เป็นดอกไม้สด จากเดิมขายได้วันละหมื่นกว่าบาท แต่ขณะนี้ 5 พันบา ยังขายไม่ได้

นางนิชรัตน์ แก้วประดิษฐ์ ผู้จัดการ ฝ่ายปฎิบัติการ โรงแรมรรินจินดา ถนนเจิญราษฎร์ ต.วัดเกตุ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า เมื่อวานที่ผ่านมาทางเทศบาลนครเชียงใหม่ได้นำรถขยายเสียมาแจ้งเตือน ว่าน้ำจะเริ่มท่วมตั้งแต่ช่วงเที่ยง จึงสั่งการให้พนักงานเร่งย้ายข้าวของจากร้านอาหารเดควัน ที่อยู่ติดริมน้ำปิง ตรงข้ามโรงแรม แต่ก็เก็บไม่ทันทำให้ข้าวของได้รับความเสียหายบางส่วน


นอกจากนี้ในส่วนของโรงแรม ก็ได้รับผลกระทบ เพราะว่ามีลูกค้าไม่สามารถเดินทางเข้ามาพักได้ แม้วาทางโรงแรมจะได้นำรถเข้าไปรับส่งเพื่ออำนวยความสะดวก ล่าสุดมีนักท่องเที่ยวและลูกค้าได้โทรศัพท์เข้ามาสอบถามและยกเลิกไปแล้ว 3ราย

นางพิสุดา ศิริปัญญา ฝ่ายจัดซื้อและแคชเชียร์ ร้านอาหารริเวอร์ไซด์ ผับและเรสเตอร์รองด์ กล่าวว่า มีการเตรียมตัวเก็บข้าวของทันบางส่วน แต่บางส่วนเก็บไม่ทันเพราะไม่คาดคิดว่าน้ำจะมาถึง ปีนี้น้ำมาเร็ว แม้ว่าทางเทศบาลจะมีการแจ้งเตือนไว้ก่อน โดยน้ำได้เข้าท่วมตั้งแต่บ่ายวานนี้ทำให้ต้องปิดร้านไปโดยปริยาย

น้ำจากลำพานและปาวหลงทะลักท่วมบ้านประชาชนกว่า 80 หลังคาเรือน

สถานการณ์น้ำ จ.กาฬสินธุ์ ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างล่าสุดน้ำจากลำน้ำพานปาวหลงที่ได้รับอิทธิพลจากการเร่งระบายน้ำของเขื่อนลำปาววันละกว่า 30 ล้านลูกบาศก์เมตรเพื่อรักษาสภาพตัวอ่างเก็บน้ำซึ่งเป็นเขื่อนดินทำให้น้ำทะลักเข้าท่วม 2 หมู่บ้านใน ต.ลำพาน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ โดยมีบ้านเรือนของราษฎรกว่า 80 หลังคาเรือน ถูกน้ำท่วมระดับน้ำสูงกว่า 30 ซม. และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ นายนิคม ปัญจวัฒน์ นายอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ด.ต.สมคิด นันทสมบูรณ์ นายกเทศมนตรีตำบลลำพาน ได้อพยพชาวบ้านทั้งหมดมาอาศัยยังบริเวณที่พักที่ปลอดภัยแล้ว

นายประหยัด เรเชียงแสน ปศุสัตว์จังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยอาสาสมัครปศุสัตว์ ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยง โดยมีนายสำนัก กายาผาด เกษตรและสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมลงพื้นที่สอบถามข้อมูลพื้นที่การเกษตร ที่ได้รับความเสียหายจากวิกฤติน้ำท่วม

นายประหยัด กล่าวว่า ผลกระทบจากสถานการณ์พายุที่ตกหนักต่อเนื่องหลายสัปดาห์ นอกจากจะทำให้พื้นที่การเกษตร บ้านเรือน ที่พักอาศัย ของราษฎรใน จ.กาฬสินธุ์ ได้รับความเสียหายแล้ว ด้านสัตว์เลี้ยงก็ได้รับผลกระทบและมีอัตราเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อเป็นอย่างมาก เนื่องจากสภาพอากาศที่ชื้นแฉะทำให้สัตว์ประเภทกีบ เช่น โค กระบือ เสี่ยงกับการเกิดโรคปาก เท้าเปื่อย และสุนัข แมว เป็ด ไก่ เสี่ยงกับการป่วยเป็นโรคพยาธิ

ทั้งนี้ จึงได้ระดมเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครปศุสัตว์ ทั้งระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพสัตว์ให้ครบทุกหมู่บ้าน โดยจะให้คำแนะนำด้านการดูแลสุขภาพสัตว์ ตลอดทั้งแจกยารักษาโรค และมีการตั้งอาสาสมัครเฝ้าระวัง ที่หากเกิดพบเบาะแสการเกิดโรค ก็ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ได้ทันที

นอกจากนี้ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกาฬสินธุ์ ยังได้เตรียมการช่วยเหลือเฉพาะหน้า โดยสำรองเสบียงสัตว์เลี้ยงไว้กว่า 140,000 ก.ก.และเวชภัณฑ์จำนวนหนึ่ง


4 จังหวัดอีสาน ชาวบ้านเดือดร้อนจากน้ำท่วมเสียชีวิตแล้ว 6 คน

จากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างหนักอย่างต่อเนื่องตลอดในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ประกอบกับปริมาณน้ำในเขื่อนหลายแห่งมีปริมาณน้ำเต็มอ่าง ทำให้หลายพื้นที่เกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลันนั้น

นายวัลลภ เทพภักดี ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 5นครราชสีมา กล่าวว่า สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ซึ่งประกอบด้วย นครราชสีมา , ชัยภูมิ , สุรินทร์ และบุรีรัมย์ อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต5 นครราชสีมา มี 2 จังหวัดคือจังหวัดชัยภูมิ และสุรินทร์ ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติรวม 2 จังหวัด จำนวน 20 อำเภอ 114 ตำบล 1,076 หมู่บ้าน ประชาชนเดือดร้อน 68,792 ครัวเรือน รวม137,584 คน เสียชีวิตแล้ว 6 ราย

อีกทั้ง จ.ชัยภูมิ ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติจากเหตุอุทกภัย รวม 15อำเภอ 98 ตำบล 987 หมู่บ้าน ประชาชนเดือดร้อน 63,487 ครัวเรือน รวม 126,974 คน เสียชีวิต 6 คน ขณะที่จังหวัดสุรินทร์ ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากเหตุอุทกภัย รวม 5 อำเภอ 16 ตำบล 89 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวน 5,305 ครัวเรือน รวมผู้เดือดร้อน 10,610 คน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เสียหายของทั้ง 2 จังหวัดยังอยู่ในระหว่างการประเมินความเสียหาย

ในขณะนี้ทางศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 5 นครราชสีมา ได้จัดส่งอุปกรณ์ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอุทกภัยที่จำเป็นทั้งเรือท้องแบน เต๊นท์ที่พักชั่วคราว และรถผลิตน้ำดื่มออกช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยเป็นการเร่งด่วนแล้ว

นอกจากนี้ได้ระดมอุปกรณ์ให้ความช่วยเหลือที่มีอยู่ภายในศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 5 นครราชสีมา ส่งไปช่วยเหลือในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศที่กำลังประสบกับปัญหาอุทกภัยอย่างหนักอยู่ในขณะนี้ ทั้งในจังหวัดสระบุรี ,ชัยนาท , ปทุมธานี , นครสวรรค์ เป็นต้น รวมการส่งอุปกรณ์ให้ความช่วยเหลือทั้งหมด เป็น เรือท้องแบนจำนวน182 ลำ , เครื่องยนต์เรือท้องแบน 28 เครื่อง , เต๊นท์ที่พักชั่วคราว 50 หลัง , สุขาเคลื่อนที่ 20 หลัง และรถผลิตน้ำดื่มอีก 1 คัน



คลองรังสิต เอ่อล้นฝั่งเอ่อท่วมถนนซ่อมสร้าง ทำการจารจรติดขัดหลาย กม.

ระดับน้ำในคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ได้เอ่อล้นฝั่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน รวมทั้งถนนสายซ่อมสร้าง ม.5 ต.บางพูน อ.เมือง จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นถนนเชื่อมต่อระหว่างถนนรังสิต-ปทุมธานี และถนนติวานนท์ เป็นระยะทางยาวกว่า 2 กม.ทำ ให้การจราจรติดขัดเป็นอย่างมาก โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องทำการปิดถนนขาออกจากรังสิตให้รถวิ่งสวนทางในฝั่งขา เข้ารังสิต ทำให้เกิดการติดขัดยาวหลายกิโลเมตร

นางรุ่งฤดี นวลจันทร์ อายุ 56 ปี อยู่บ้านเลขที่ 66/7 ต.บางพูน อ.เมือง จ.ปทุมธานี กล่าวว่า ระดับน้ำจากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ได้เอ่อท่วมขึ้นมามากตั้งแต่เมื่อเวลาประมาณ 06.00 น.ซึ่งระดับน้ำได้เอ่อขึ้นอย่างรวดเร็วจนตั้งตัวไม่ทัน และเก็บข้าวของหนีน้ำไม่ทัน น้ำได้ท่วมเข้าในบ้านอย่างรวดเร็ว ซึ่งก่อนหน้านี้น้ำก็เคยเอ่อท่วมขึ้นมาแล้วครั้งหึ่งและเพิ่งลดลงไปจนปกติ เมื่อประมา10 วัน ที่ผ่านมา ที่สำคัญตอนนี้นอกจากถูกน้ำท่วมเข้าบ้านแล้ว ยังต้องมาเดือดร้อนเพราะรถทิ่วื่งลุยน้ำผ่านไปมาทำให้คลื่นซัดเข้าบ้านสร้าง ความเสียหายเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย


ตรวจประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์หวั่นน้ำล้นทะลักตลาดรังสิต


นายธีรวุฒ กลิ่นกุสุม นายกเทศมนตรีนครรังสิต ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองช่างจากเทศบาลนครรังสิต ได้ออกตรวจสอบสภาพประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นประตูน้ำที่กั้นระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จะไหลผ่านเข้ามาในคลองรังสิตประยูรศักดิ์ พร้อมทั้งตรวจสอบระดับน้ำ โดยพบว่าระดับน้ำสูงขึ้นปริ่มแนวคันกั้นกระสอบทรายที่เสริมไว้เหนือประตูน้ำที่ทำไว้แต่เดิม จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งเสริมกระสอบทรายเพิ่มสูงขึ้นอีก

สำหรับปริมาณระดับน้ำวันนี้( 29 ก.ย.)เพิ่มสูงขึ้นกว่าเมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา (ระดับน้ำเจ้าพระยาเหนือนกว่าระดับน้ำคลองรังสิต 50 เซนติเมตร) อีกทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วมตลาดรังสิต บ้านเรือน หมู่บ้าน และห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ในเมืองเศรษฐกิจของปทุมธานี โดยมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบเฝ้าเวรยามประตูระบายน้ำดังกล่าวตลอด 24 ชั่วโมง

คมชัดลึก
------------------------------------
น้ำท่วมเชียงใหม่ยังวิกฤต!


น้ำท่วมเชียงใหม่ยังวิกฤตเรือขาดแคลนทำขนย้ายผู้ป่วย-นักท่องเที่ยว ยากลำบาก ศูนย์อุทกฯ เผยน้ำก้อนใหม่จ่อหนุนอีก 17 ชั่วโมง

29 ก.ย.54 สถานการณ์น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ยังไม่คลี่คลาย แม้ระดับน้ำจะเริ่มลดลงเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 เซ็นติเมตร โดยล่าสุดในเวลา 11.00 น. ที่จุดวัดระดับน้ำ P1 เชิงสะพานนวรัฐ อ.เมืองเชียงใหม่ วัดได้ 4.88 เมตร ลดลงจากจุดสูงสุดในช่วงคืนที่ผ่านมาที่ 4.94 เมตร โดยยังคงมีน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง บริเวณย่านชุมชนเลียบสองฝั่งแม่น้ำปิง ทั้ง ถนนเจริญประเทศ ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ย่านไนท์บาร์ซ่า และย่านการค้าสำคัญอีกหลายแห่ง

ทั้งนี้ รายงานแจ้งว่า การช่วยเหลือผู้ประสบภัยยังคงเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากเรือ ที่อยู่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากมีผู้สูงอายุ เด็ก รวมทั้งผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ต้องการ ออกจากพื้นที่ นอกจากนี้ยังต้องขนย้ายนักท่องเที่ยวที่ติดค้าอยู่ในโรงแรมย่านถนนช้างคลานอีก จำนวนมาก และยังมีรายงานว่ามีนักเรียนกว่า 100 คน ที่เข้าพักและยังติดอยู่ในโรงแรมเดอะปาร์ค ถนนช้างคลาน ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ส่งรถบรรทุกขนาดใหญ่เข้าช่วยเหลือออกมาอย่างปลอดภัย

ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ต้องเร่งแจกอาหารและน้ำดื่มให้กับประชาชนที่ไม่ยอมออกจาก บ้านให้ทั่วถึงที่สุด โดยล่าสุดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างอำเภอที่ไม่ถูกน้ำท่วมกำลังส่งเรือท้อง แบนเข้าสมทบ ขณะที่โครงการหลวงได้ส่งผักสดหลายชนิดจำนวน 1 รถบรรทุก เพื่อมอบให้กับเจ้า หน้าที่นำไปประกอบอาหารแจกจ่ายผู้ประสบภัย

ด้านศูนย์อุทกวิทยาและบริหารน้ำภาคเหนือตอนบน คาดการว่า หลังจากนี้ระดับน้ำในแม่น้ำ ปิงจะลดลงต่อเนื่องไปอีก 17 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะมีมวลน้ำจากอำเภอทางตอนเหนืออีกประมาณ 300 คิวบิกเมตร ไหลผ่านจุดวัดระดับน้ำ P67 อ.สันทราย หลังจากนั้นจึงจะประเมินได้อีกครั้งว่า ระดับน้ำปิงใน อ.เมืองเชียงใหม่ จะเพิ่มขึ้นเป็นระลอกสองหรือไม่

ผู้สูงอายุไม่ยอมออกจากบ้าน ห่วงทรัพย์สิน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำท่วมตัวเมืองเชียงใหม่ยังน่าเป็นห่วง โดยน้ำจากแม่น้ำปิงได้ไหลทะลักเข้าท่วมเมืองหลายพื้นที่ ซึ่งหลายหน่วยงานได้ระดมกำลังออกช่วยเหลือประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้าภูมิภาค (กฟภ.) ได้นำรถนำอาหารมาแจกจ่ายให้ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในย่านชุมชนหนองหอย ชุมชนท่าสะต๋อย ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ รวมทั้งสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 1 จ. จ.เชียงหม่ ได้นำเรือท้องแบนนมารับส่งส่งประชาชนที่ติดอยู่ตามตรอก ซอย ซึ่งมีชาวบ้านหลายคนยังติดอยู่ในบ้านเรือน โดยเฉพาะผู้สูงอายุไม่ยอมอออกจากบ้านเพราะห่วงทรัพย์สิน

นางจตุพร โพธิเต็ง อายุ 52 ปี กล่าวว่า วันนี้ได้เตรียมอาหารและเสบียง มาเพื่อขนไปให้นายหลง โพธิเต็ง อายุ 77 ปี บิดา ที่ติดอยู่ในบ้าน เพราะไม่ยอมออกจากบ้านเพราะห่วงทรัพยน์สิน รวมทั้ง บิดาป่วยเป็นโรคสะเก็ดเงิน จึงไม่สามารถลุยน้ำออกมาได้ ขณะที่ลูกหลานจะพยายามขอร้องให้ออกมา ก็ไม่ยอมออกมา ทำให้รู้สึกเป็นห่วง ทั้งนี้หากระดับน้ำลดลงจะไปหารถยนต์ขนาดใหญ่ไปรับบิดามาอยู่บ้านญาติข้างนอกแทน เพราะเกรงว่าหากมีน้ำท่วมซ้ำอีกระลอกจะรุนแรงกว่านี้

ที่มา : คมชัดลึก

น้ำท่วมถนนมหิดล via. twitter

ใจดี สู้น้ำ

โดย : ทีมข่าวจุดประกาย
Life Style@กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 29 กันยายน 2554

บ้านนี้อยู่กับน้ำมาตั้งแต่จำความได้ ท่วมเมื่อไหร่ก็เปลี่ยนมาใช้เรือแทนรถ ยกชีวิตมาไว้บนชั้นสอง มีวิถียังชีพโดยไม่ต้องพึ่งถุงยังชีพ



"น้ำไม่มา ใจมันก็ไม่ดี" ชายชราวัย 87 ปี พูดขึ้นมาในวันที่น้ำเจ้าพระยาเข้าท่วมบ้านจนความสูงแทบมิดอก


"น้ำมาสิ ใจไม่ดี" หลายคนคงอยากเถียงออกไปอย่างนี้ ในช่วงที่น้ำหลากกำลังพรากสมบัติไปเกือบหมดชีวิต

แต่ที่ชายชราพูดออกไปอย่างน้ำ ก็เพราะแกเคยชินกับน้ำมาตั้งแต่จำความได้ ปีไหนไม่ได้เห็นน้ำท่วม เป็นต้องใจหายทุกครั้ง เพราะหมายความว่า แกจะไม่ได้ยิงนก ตกปลา และพายเรือแข่ง อย่างที่ชอบอีก

แสง เทียนทอง วัย 87 ปี ผู้ไม่ได้เป็นญาติโยมอะไรกับนักการเมืองขาใหญ่ ถือเป็นสมาชิกอาวุโสอันดับ 2 ของบ้านศาลาแดงเหนือ หมู่ 2 ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ที่เฉลี่ยทุกๆ 2-3 ปี จะได้ใช้เรือแทนรถและเดินเท้าอยู่ราว 2 เดือน เพราะน้ำจะเข้าท่วมหมู่บ้าน จนทุกเรือนชานต้องมีเรือติดไว้ทุกหลัง แถมแต่ละหลัง "ยกสูง" ผิดปกติ



จริงๆ แล้ว แสง เทียนทอง เป็นคนบ้านใกล้เคียง มาเป็นเขยของบ้านศาลาแดงเหนือ ตอนนี้ตกพุ่มม่าย อยู่บ้านคนเดียวซึ่งเป็นบ้านทรงมอญอายุกว่า 150 ปี ที่ตอนนี้โอนเอนเต็มที ไม่มีคนมาดูแล ลูกชายคนเดียวก็ไปทำงานต่างถิ่น ไม่กลับมาเยี่ยมหลายเดือนแล้ว

ภายในบ้านเต็มไปด้วย "ของยังชีพ" ที่ได้รับแจกมา ทั้งข้าวสาร อาหารแห้ง ปลากระป๋อง รวมทั้งยาทาแก้น้ำกัดเท้า

สามอย่างแรกเหลือพอกินไปถึงปีหน้า เพราะอยู่คนเดียวไม่ได้กินอะไรมาก ส่วนอย่างหลัง แทบไม่ได้ใช้...จนหยากไย่ขึ้น

"โอ๊ย ไม่ต้องใช้หรอก (เสียงสูง) สมัยก่อนตาทำนา ยิ่งกว่านี้อีก"


สมัยยังมีเรี่ยวมีแรง ตาแสงทำนาปี ซึ่ง "น้ำหลาก" ทำอะไรข้าวตาไม่ได้ เพราะแต่ละพันธุ์ล้วนสูงกว่าน้ำ ชนิดที่ว่า น้ำมาเท่าไหร่ ข้าวก็บ่ยั่น

"พุดดาด เจ๊กเฉย ขาวตาแห้ง" ตาแสง สาธยายพันธุ์ข้าวที่น้ำท่วมไม่ถึง

แต่วันนี้ชายชราใช้ "ข้าวสารแจก" ประทังชีวิตไปวันๆ สลับกับฟังข่าวทุกๆ 3 มื้อ แต่ที่เงี่ยหูฟังเป็นพิเศษคือ ข่าวน้ำท่วม


ชายผู้โตมากับน้ำท่วม ฟังด้วยความรู้สึกธรรมดา แต่ในใจก็สงสารคนไม่ชินน้ำอีกค่อนประเทศ

"เราไม่ได้ลำบากอะไร ชินแล้ว สงสารก็แต่คนอื่นเค้า" ชายชราบอกด้วยน้ำเสียงเรียบๆ แถมยังยก "ยาแก้น้ำกัดเท้า" ให้คนแปลกหน้าไปเสียเกือบหมด




น้ำมา อย่ากั๊ก

เพราะบรรพบุรุษชาวมอญเลือกที่จะตั้งถิ่นฐานอยู่ริมน้ำ ทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านศาลาแดงเหนือ คุ้นชินกับภาวะน้ำท่วมจนดูแลจัดการตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งรัฐก็ยังอยู่ไหว



นภดล แสงปลั่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่สอง เล่าถึงสถานการณ์น้ำท่วมของบ้านศาลาแดงเหนือว่า ปีนี้เก็บของช้า รอจนน้ำท่วมแล้วค่อยได้เก็บของ สาเหตุไม่ใช่เพราะไม่ได้เตรียมการ แต่เพราะคาดไม่ถึงว่าจะท่วมหนักอีกในปีนี้

"คือ นึกว่าไม่ท่วมไง มันมีเคล็ดอยู่ว่าปีไหนน้ำท่วมหนักปีหลังจะไม่ค่อยท่วม มันจะเว้นสี่ปีที สามปีทีหนึ่ง บางทีก็ห้าปีท่วมหนักทีหนึ่ง แต่เดี๋ยวนี้ท่วมทุกปีเลย บางบ้านโชคดีหน่อย เพราะของที่ยกสูงไว้ตั้งแต่ปีกลาย เคยอยู่ยังไงก็ยังอย่างนั้น"


น้ำท่วมบ้านศาลาแดงเหนือปีนี้ ถึงแม้จะราวอก แต่ยังถือว่าน้อยกว่าปีกลาย หนำซ้ำในบางจุดท่วมแค่เข่า ไม่ก็ตาตุ่ม แจะน้ำอยู่อย่างนั้นล่วงเลยมาราวครึ่งเดือนแล้ว


ถามว่าลำบากไหม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านตอบทันทีเลยว่า "ไม่ลำบาก" ในเมื่อเลือกอยู่ริมน้ำ ก็ต้องอยู่กับน้ำท่วมให้ได้ ฉะนั้นน้ำท่วมถือเป็นเรื่องปกติ แต่ที่เปลี่ยนไปบ้างตามยุคตามสมัย คือ อาจจะมีคนรุ่นใหม่บ่นกันบ้าง กับความไม่สะดวกสบายอย่างเก่า ขณะที่ถ้าย้อนกลับไปในอดีต พอน้ำขึ้น ชาวบ้านเป็นต้องรีบฉวยโอกาสนี้ออกมาขัดฝาบ้านบ้าง ถูพื้นบ้านโดยไม่ต้องไปตักน้ำ ทำความสะอาด ปัดกวาดหยากไย่กันเป็นการใหญ่

"สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป ผมว่ามันเกี่ยวกับทางรัฐนี่แหละที่ทำให้เปลี่ยนแปลง สมัยก่อนไม่มีถนน น้ำมาก็ท่วมเหมือนกันหมด ไม่มีการแบ่งแยก ว่าน้ำไม่มีกับน้ำมี บางสายมีถนนกั้น น้ำไม่ข้ามมา ก็ทำนาได้ บ้านไหนมีตังค์หน่อยก็จ้างรถแบ็คโฮมาทำคันนาก็ทำนาได้ คนไม่มีทุนก็ทำไม่ได้ พอหลวงมีงบประมาณมาจะช่วยชาวนา ป้องให้ทางโน้น แต่ทางนี้ไม่ได้ป้องก็โวยวาย

รัฐบาลเขาช่วยก็ถือว่าดี มาช่วยป้องกันไม่ให้น้ำท่วม ชาวนาจะได้มีรายได้ แต่เมื่อทำไปแล้วเกิดการแข่งขัน เหมือนที่เห็นในข่าว ไอ้ทางนี้ก็น่าเห็นใจ ปีหนึ่งเขามีรายได้แค่นาปีละครั้ง น้ำท่วมทีเดียวหมดเลย เป็นหนี้ไว้ก็ไม่ได้ใช้ ดอกก็ขึ้น พอทางโน้นจะให้ปล่อยน้ำมาให้เขา เราก็เห็นอยู่แล้วว่าเขาลำบากแน่ จะให้เขาแช่น้ำไว้อีก เขาก็บอกว่าเขาลำบาก แต่ทางนี้สบาย คนก็มีความคิดว่า ถ้าจะท่วมก็ท่วมให้เหมือนกัน ลำบากก็ลำบากให้เหมือนกัน"

ปัญหากระทบกระทั่งกันเรื่องหลวงปล่อยน้ำ ใครโดนมาก โดนน้อย จนกลายเป็นเรื่องกระทบกระทั่งกันในหลายๆ ชุมชน แต่สำหรับชาวบ้านศาลาแดงเหนือไม่ได้สนใจกับเรื่องนี้เท่าใด เพราะชาวบ้านบางนี้ถอยห่างจากอาชีพเกษตรกรแทบหมดแล้ว โดยหันไปทำงานรับจ้าง กินเงินเดือนเป็นหลัก เรื่องรายได้จึงไม่กระทบเพราะยังทำงานได้เหมือนเดิม จะเหลือก็เพียงความขลุกขลักเล็กน้อยในการใช้ชีวิต ที่ไม่ได้เหลือบ่ากว่าแรงอะไร



"เรื่องกินอยู่ก็ปกติ ไม่ต่างอะไรกับหน้าแล้ง การขาดแคลนไม่มี เพราะมีรถกับข้าวมาจอดขายตรงถนน พอมาถึงเขาก็ประกาศเรียก ขอแค่มีเงินก็ไม่อดตาย ส่วนของแจก ถึงหมู่บ้านเราไม่ได้ของแจกผมก็ไม่ว่าหรอกนะ แต่ชาวบ้านเขาอยากได้ เขากดดันว่าทำไมหมู่อื่นได้ ทำไมเราไม่ได้ หาว่าผู้ใหญ่ไม่ตื่นตัว ไม่แจ้งทางการ แต่ถ้าเอามาเปรียบกัน ของเราไม่มีอะไรเลยที่จะสู้ได้ ความลำบากของเราก็ไม่มี ปัญหาอดอยากของเราก็ไม่มี" ลุงผู้ช่วยผู้ใหญ่บอก

ถึงปากจะบอกว่า อยู่ได้ไม่มีปัญหา แต่ถ้าให้เลือกระหว่างท่วมกับไม่ท่วม แน่นอนว่าคำตอบคือ ไม่ท่วม แต่ถ้า "ต้องท่วม" ชาวบ้านบางนี้ขอแบบจัดหนัก น้ำมาแค่ตาตุ่ม ขอที.. อย่ามาจะดีกว่า





............................................

อยู่กับน้ำแบบ 'ตลาดเก้าห้อง'

เป็นธรรมดาของพื้นที่ริมน้ำที่ต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมทุกๆ ปี เช่นเดียวกับ เก้าห้อง ตลาดโบราณร้อยปี ที่ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำท่าจีน อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งชาวบ้านต้องพับขากางเกงเดินลุยน้ำกันมาตั้งแต่เด็ก


ศิริพรรณ ตันศักดิ์ดา ประธานคณะกรรมการพัฒนาตลาดเก้าห้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เล่าถึงสถานการณ์น้ำท่วมในตลาดเก้าห้อง ณ เวลาปัจจุบันว่า พื้นที่บริเวณชายน้ำที่ติดกับแม่น้ำท่าจีนยังมีน้ำท่วมขังอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของตลาดกลาง เลยไปจนถึงหอดูโจร ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำกว่าส่วนอื่นๆ จึงมีน้ำท่วมขัง แต่ได้ทำแนวกระสอบทรายกั้นน้ำไว้แล้ว

"ปกติจะมาช่วงเดือนตุลาคม พฤศจิกายน แต่ปีนี้มาเร็ว มาตั้งแต่สิงหาคม คือเราอยู่ติดน้ำ เราก็จะเดินดูระดับน้ำกันอยู่ตลอดเวลา พอระดับน้ำสูงขึ้นก็จะมาบอกต่อๆ กัน เพื่อให้ทุกคนค่อยๆ เตรียมขนของยกขึ้นสูง น้ำมาก็จะค่อยๆ เอ่อจากแม่น้ำท่าจีนลงมาที่ตลาด เข้าท้องร่องไหลไปตามถนน แต่คราวนี้มาไวมาก เราไม่ทันได้เตรียมตัว ก็ทะลักเข้าท่วมตลาดมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม"

ระดับน้ำปกติที่ศิริพรรณเคยเจอมาตั้งแต่เด็กจะอยู่ราวๆ ครึ่งน่อง หรือมากที่สุดก็ไม่เกินสะโพก แต่ปีนี้เธอว่า น้ำท่วมหนักที่สุดเท่าที่จำความได้ คืออยู่ราวๆ 1 เมตร ส่วนหน้าบ้านของศิริพรรณที่อยู่ทางฝั่งถนนท่วมสูงที่สุดราว 61 เซนติเมตร

"ตอนปี 2549 นั่นก็เยอะนะ แต่ปีนี้เยอะกว่า เยอะกว่าตอนปี 2549 ประมาณ 1 คืบ คือมันท่วมทุกปี มันก็ชินแล้วนะ ไม่ได้เห็นว่าเป็นปัญหาอะไร แต่ชินไม่ได้แปลว่าไม่เครียดนะ ก็เครียด คือน้ำท่วมก็ท่วมไป เพราะเราอยู่กับน้ำ แต่ที่เป็นปัญหาอาจจะเรื่องความช่วยเหลือ เพราะเข้ามาไม่ถึงสักที คนเจอน้ำท่วมเขาเครียด แล้วเขาก็จะหงุดหงิดไง ทำไมบ้านเรายังไม่ได้ ทำไมช่วยเหลือไม่ทั่วถึง น่าจะเอาเครื่องสูบน้ำมาตั้งที่จุดนี้ อะไรแบบนี้"

สำหรับบ้านเรือนในตลาดเก้าห้องมีลักษณะเป็นเรือนแถว 2 ชั้น สร้างด้วยไม้ ชั้นล่างจัดเป็นพื้นที่ขายของ ส่วนชั้นบน หรือที่ศิริพรรณ เรียกว่า "เหล่าเต๊ง" จะเป็นพื้นที่สำหรับการพักผ่อนของแต่ละครอบครัว

"เวลาน้ำท่วมก็แค่ยกของให้สูงขึ้น แล้วก็นอนบนเหล่าเต๊งเหมือนเดิม อย่างที่บ้านพี่ขายน้ำขวด น้ำแข็ง ก็ต้องเอาลังโค้ก 2 ลังมาซ้อนกัน แล้วเอากระดานพาด เอาของวาง ก็ต้องหนุนให้สูงไว้ก่อน ส่วนการเดินทางสมัยก่อนเราจะใช้กระดานทำทางเดินเชื่อม แผ่นกระดานก็จะมีกันทุกบ้าน เป็นไม้กระดานหน้ากว้าง 1-2 เมตร มันเป็นอุปกรณ์ที่ต้องมี

อีกส่วนก็...เวลามีงานเทศกาล มีงิ้ว เราก็เอาไม้กระดานของโรงงิ้วนั่นแหละเอามาปูเป็นทางเดิน พาดต่อๆ กันไป เพราะน้ำมันไม่ได้ท่วมเยอะ ส่วนเรื่องไฟฟ้าไม่มีปัญหา ที่ตลาดนี้เดินสายไฟไว้สูง บ้านสมัยใหม่เขาจะเดินสายไฟไว้ต่ำ เอาไว้ข้างล่าง แต่ที่ตลาดเก้าห้องจะเดินสายไฟสูง อยู่เหนือหัวขึ้นไป"

ในส่วนของห้องน้ำ ศิริพรรณ ว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่จะใช้ห้องน้ำเทศบาล แต่ประสบการณ์จากน้ำท่วมปี 2549 ทำให้ที่บ้านของเธอต้องทำห้องน้ำใหม่ โดยยกให้สูงขึ้นกว่าเดิม ปีนี้จึงไม่มีปัญหาเรื่องห้องน้ำ


ถามว่า น้ำท่วมแบบนี้ส่งผลอย่างไรกับบ้านส่วนใหญ่ที่สร้างด้วยไม้ ประธานคณะกรรมการพัฒนาตลาดเก้าห้อง บอก น้ำช่วยให้ไม้ขยายตัวแน่นขึ้น ถึงตอนน้ำท่วมไม้จะพองตัวจนปิดประตูหน้าต่างไม่ได้ แต่พอแห้งแล้ว เนื้อไม้จะแน่น ทนทาน และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ส่วนการคมนาคมในช่วงน้ำท่วมโดยมากจะเดินเท้าเปล่า เพราะน้ำค่อนข้างสะอาด ถึงขนาดที่เด็กๆ สามารถกระโดดเล่นน้ำท่วมกันได้ แต่ถ้าชาวบ้านคนไหนไม่สะดวกจะเดินเท้าเปล่า ก็อาจจะใช้เรือพายช่วย

"มันไม่เยอะไงก็ไม่จำเป็นต้องมีเรือกันทุกบ้าน ยกเว้นใครไม่ชินเดินน้ำก็จะใช้เรือ แต่พี่ชินแล้ว เดินลุยน้ำจนเท้าเปื่อยทุกวัน ในตลาดเขาก็ใช้เรือกันนะ น้ำท่วมแค่เข่าก็ใช้เรือได้แล้ว เอาไว้ขนของบ้าง อะไรบ้าง ตอนน้ำท่วมก็ขายของปกติ ชาวบ้านฝั่งโน้นใช้เรือพายมาซื้อของ บางคนใส่ผ้าถุงมา แต่ก็เอากางเกงมาเปลี่ยนด้วย"

ถึงสถานการณ์น้ำในตลาดเก้าห้องจะดีขึ้น แต่ถ้านับตามฤดูกาลปกติที่น้ำควรจะมาในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน คนเก้าห้องก็ยังต้องเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วมกันต่อไป

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

เชียงใหม่..วิกฤติ


ชาวบ้านอพยพและเคลื่อนย้ายสิ่งของเท่าที่ทำได้ หลังแม่น้ำปิง ที่ไหลผ่านตัวเมืองเชียงใหม่เพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว จนเกิดวิกฤติ คาดว่าจะลดลง 29ก.ย.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำท่วม จ.เชียงใหม่ ขณะที่ จุด สะพานนวรัฐ อ.เมืองเชียงใหม่ ระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดเมื่อเวลา 23.00 น.วันที่ 28 ก.ย.อยู่ที่ระดับ 4.88 เมตร ปริมาณน้ำ 826 .ม/วินาที ขณะที่จุดวิกฤติอยู่ที่ 3.70 เมตร ปริมาณน้ำ 440 ลบ.ม/วินาที

ปรากฎว่าในช่วงค่ำที่ผ่านมา ต่างมีประชาชนชาวเชียงใหม่ เดินทางมาดูป้ายบอกระดับน้ำที่บริเวณเชิงสะพานนวรัฐไม่ขาดสาย



ทั้งนี้ ส่วนใหญ่สนใจที่จะเกาะสถานการณ์น้ำท่วม ขณะที่บางรายได้มาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ทำให้บริเวณทั้งบนสะพานนวรัฐและเชิงสะพานเนืองแน่นไปด้วยประชาชนและรถราที่จอดจนจราจรติดขัดพอสมควร ไม่เว้นแม้แต่พ่อค้าแม่ค้าที่ขับรถจักรยานยนต์พ่วงข้างนำอาหารการกินมาค้าขายจนคึกคัก

ขณะที่ทางหน่วยทหารจากค่ายกาวิละ จ.เชียงใหม่ ได้นำรถยนต์ขนาดใหญ่ พร้อมกำลังพล และอาหารกล่อง ลุยไปแจกจ่ายนและสำรวจความเดือดร้อน รวมถึงความต้องการของประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม ไม่สามารถออกมาจากบ้าน เนื่องจากมีน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ตลอดเส้นทางตั้งแต่ด้านหน้าโรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียน ค่ายกาวิละ ต่อเนื่องหลายกิโลเมตรไปจนถึงสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ ขณะเดียวกันร้านอารหารริมแม่น้ำปิงชื่อดัง ต้องปิดให้บริการโดยปริยาย เนื่องจากน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็นเฮือนโบราณ ไวท์เฮ้าท์ ธาราบาร์

ทางด้านไนท์บาร์ซ่าร์ สถานที่ท่องเที่ยวและชอบปิงชื่อดังของเชียงใหม่ ก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน หลังจากน้ำเริ่มหลากเข้าท่วมตั้งแต่ช่วงเย็นที่ผ่านมา กระทั้งเวลาประมาณ 23.00 น.ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร ร้านค้าต้องปิดบริการโดยปริยาย ไม่เว้นแม้แต่โรงแรมชื่อดังย่านดังกล่าวก็ได้รับผลกระทบ บรรดาลูกค้าไม่สามารถเข้าไปใช้บริการได้อย่างสะดวกสะบาย ทางโรงแรมต้องจัดรถบัสขนาดใหญ่ลุยน้ำเข้าไปส่ง โรงแรมบางแห่งถูกลูกค้ายกเลิกเพราะน้ำท่วม


เช่นเดียวกันถนนช้างคลาน ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจของเชียงใหม่ ก็ถูกน้ำท่วมสูง รถเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้ และระดับน้ำยังไม่แนวโน้มว่าจะลดลงแต่อย่างใด โดยล่าสุดได้มีฝนตกปรอยๆมาเป็นระยะๆ โดยล่าสุดน้ำในคลองแม่ข่ามีระดับสูงและไหลแรง และน้ำได้ดันท่อระบ่ายน้ำเอ่อเข้าท่วมถนนย่านวิทยาลัยนาฎศิลป์แล้ว

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 28 กันยายน 2554 20:43

ตนกู อับดุล ราห์มัน

พันเรื่องถิ่นแผ่นดินไทย 
โดยศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ และคณะ


ตนกู อับดุล ราห์มัน นายกรัฐมนตรีท่านแรกของประเทศมาเลเซีย นับเป็นบุคคลท่านหนึ่งที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 13 ให้ความเคารพนับถือเป็นอันมาก ตลอดจนเป็นผู้ที่รู้จักมักคุ้น ไปมาหาสู่กันอยู่ตลอดเวลา ยามใดที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ว่างเว้นจากภารกิจการงาน ก็มักจะพาคณะศิษย์ไปเยี่ยมตนกูถึงที่บ้านในเมืองอลอร์สตาร์ รัฐเคดาห์ ซึ่งเป็นสวนผลไม้ โดยที่คณะศิษย์ผู้ติดตามไป สามารถเด็ดผลไม้ในสวนของตนกู กินเองได้อย่างสบายใจ


ตนกู อับดุล ราห์มัน กำเนิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ปีพ.ศ.2446 ที่วังอิสตานาเปอลามิน เมืองอลอร์สตาร์ รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ช่วงเวลาที่ตนกูเกิดนั้น มาเลเซีย ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่ บิดาของตนกูคือ เจ้าพระยาไทรบุรี (อับดุลฮามิด) สุลต่านองค์ที่ 24 แห่งรัฐเคดาห์ ส่วนมารดาของตนกูนั้นเป็นชาวไทยชื่อ หม่อมเนื่อง สกุลเดิม “นนทนาคร” ซึ่งเป็นบุตรีของหลวงบุรานุรักษ์ เจ้าเมืองนนทบุรี ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช รัชกาลที่ 5

ภายหลังที่ตนกูได้จบการศึกษาในชั้นประถมศึกษาที่บ้านเกิดแล้ว ในปีพ.ศ.2456 ได้เดินทางมาศึกษาต่อชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ร่วมกับพี่ชายอีก 3 คน โดยศึกษาอยู่เป็นเวลา 2 ปี หลังจากนั้นได้เดินทางกลับไปศึกษาที่เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย ครั้นต่อมาท่านเป็นนักเรียนคนแรกที่ได้รับทุนจากรัฐบาลรัฐเคดาห์ ให้ไปศึกษาต่อทางศิลปศาสตร์ ที่ประเทศอังกฤษ ณ วิทยาลัยเซนต์แคททรีน มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และภายหลังได้ศึกษาต่อทางกฎหมาย

หลังจบการศึกษา ได้กลับมารับราชการที่สำงานนักกฎหมายเมืองอลอร์สตาร์บ้านเกิด ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัยการ และได้ย้ายไปรับราชการที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานศาล ระหว่างที่รับราชการในกัวลาลัมเปอร์ ได้เกิดเหตุการณ์การต่อต้านเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเอง ตนกูได้ตัดสินใจเข้าสู่แวดวงทางการเมือง โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าสาขาพรรคแนวร่วมสหพันธ์มลายา หรือพรรคอัมโน ที่รัฐเคดาห์

ครั้นปีพ.ศ.2494 ตนกูได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานพรรคอัมโน ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย ต่อมาในปีพ.ศ.2497 ได้เป็นตัวแทนผู้แทนคณะเจรจาขอเอกราชคืนจากอังกฤษ ในปีถัดมาเมื่อพ.ศ.2498 ตนกูได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศมาเลเซีย และได้รณรงค์เรียกร้องเอกราชมาอย่างต่อเนื่อง จนประเทศมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2500 ตนกูจึงนับเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศมาเลเซีย ตลอดจนได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งประเทศมาเลเซีย” นับแต่นั้นเป็นต้นมา

รถไฟใต้ดินจีนชนกันบาดเจ็บเกือบ 300

เกิดเหตุรถไฟใต้ดินของจีน 2 ขบวน ชนประสานงานกันในเซี่ยงไฮ้ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บเกือบ 300 คน 


เจ้าหน้าที่ชี้สัญญาณทำงานผิดพลาด สำนักข่าวต่างประเทศรายงานวานนี้ (27 ก.ย.)ว่า เกิดเหตุรถไฟใต้ดิน 2 ขบวน ในนครเซี่ยงไฮ้ จีน ชนประสานงากัน ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 271 ราย ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัวราว 20 คน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นราว 2 เดือน หลังจากเกิดอุบัติเหตุรถไฟความเร็วสูงชนกัน ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

ศรีอยุธยา (7)

ผมไปเที่ยวพม่าเคยถามคนพม่าว่าประวัติศาสตร์พม่าเขียนถึงสมเด็จพระนเรศวรไว้อย่างไร ได้คำตอบว่าเขียนถึงเหมือนกัน แต่ออกไปในทางว่าเป็นเจ้าประเทศราชเป็นขบถ แยกตนออกไปเป็นอิสระ ที่จริงพงศาวดารพม่าไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องสงครามพม่ากับไทยเท่าไรนัก เพราะพม่ามีเรื่องรบกับมอญ ไทยใหญ่มากกว่า ก็คงเหมือนที่เราเขียนถึงเจ้าอนุวงศ์ของลาวคราววีรกรรมท้าวสุรนารีแต่พงศาวดารลาวยกย่องเจ้าอนุวงศ์มากว่าเป็นวีรบุรุษของเขา

มอญสิ กลับให้ความสำคัญแก่สมเด็จพระนเรศวรเพราะบทบาทของพระองค์ดูจะสะใจมอญอยู่มาก ผมไปเที่ยวหงสาวดี ไกด์ชาวมอญอธิบายเรื่อง “พระนเรศ” เป็นฉาก ๆ ว่าเก่งอย่างนั้นดีอย่างนี้ บางเรื่องเรายังไม่เคยรู้ด้วยซ้ำ

ตอนที่แล้วเล่าว่าหลังจากที่พระนเรศวรทรงทราบจากพระยาเกียรติ พระยาราม ขุนนางมอญและพระมหาเถรคันฉ่องว่า พระมหาอุปราชาล่อพระนเรศวรเข้ามาติดกับที่เมืองแครงก่อนจะยกไปสู้กับกรุงอังวะ และให้พระยาทั้งสองลอบปลงพระชนม์เสีย จึงทรงเลิกทัพกลับอยุธยา ก่อนกลับได้ทรงหลั่งน้ำเหนือแม่ธรณีเมืองแครงเป็นพยานว่าขอประกาศอิสรภาพ


พระมหาเถรคันฉ่อง พระยาเกียรติ พระยาราม และมอญอีกเป็นอันมากตามเสด็จกลับมาอยุธยาด้วย พม่าให้สุรกรรมาเป็นแม่ทัพตามไปติด ๆ จนถึงแม่น้ำสะโตง แต่พระนเรศวรข้ามไปอีกฝั่งแล้ว ต่างยิงปืนไฟข้ามแม่น้ำใส่กัน พระนเรศวรใช้พระแสงปืนต้นยาว 9 คืบ ยิงข้ามแม่น้ำถูกสุรกรรมาตายคาคอช้าง พม่าจึงเลิกทัพกลับ ครั้นถึงอยุธยา โปรดฯ ให้พระมหาเถรไปอยู่วัดมหาธาตุ พระยาทั้งสองเข้ารับราชการตั้งครอบครัวอยู่แถวบ้านขมิ้นในเกาะเมือง

จำชื่อและบทบาทพระยาเกียรติ พระยารามไว้ด้วย

พระนเรศวรเป็นคนเก่งกล้ามาก เรียกว่าชำนาญทั้งการรบทางบกและทางน้ำ บนหลังม้า หลังช้างและในเรือ เคยลงเรือทรงพระแสงปืนไล่ยิงข้าศึกคือพระยาจีนจันตุมาแล้ว

หลังประกาศอิสรภาพสองปี พระเจ้านันทบุเรงเริ่มว่างแล้วจึงนำทัพมีพระมหาอุปราชา และพระเจ้าตองอูแยกเป็นอีกสองทัพยกเข้ามาถึงบางปะอิน บางปะหัน สีกุก แต่พระนเรศวรทรงม้าออกไปตีโต้ข้าศึกนอกเกาะจนกระเจิง ทั้งทรงคาบพระแสงดาบปีนค่ายตีพม่าแตกอีกด้วย

ปี 2133 สมเด็จพระมหาธรรมราชา พระสรรเพชญสวรรคต พระนเรศวรได้ขึ้นเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 19 แห่งกรุงศรีอยุธยาทรงพระนามว่าสมเด็จพระสรรเพชญ (ที่ 2) ขณะพระชนมพรรษา 35 พรรษา เป็นพระองค์ที่ 2 ของราชวงศ์สุโขทัยหรือพระร่วง แต่ความที่ทรงเป็นนักรบไม่ใคร่อยู่ประจำกรุง จึงทรงตั้งพระราชอนุชาเป็นสมเด็จพระเอกาทศรถ พระมหาอุปราช (เรียกกันว่าพระองค์ขาวคู่กับพระนเรศวรซึ่งผิวคล้ำเรียกว่าพระองค์ดำ) แต่ให้มีพระเกียรติยศเสมือนพระมหากษัตริย์อีกพระองค์ พงศาวดารเรียกว่าพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์

ปีนั้นพม่าทราบว่าอยุธยามีการผลัดแผ่นดิน สมเด็จพระนเรศวรก็ไม่ใคร่ประทับอยู่ในกรุง จึงส่งพระมหาอุปราชาเป็นแม่ทัพเข้ามาตีอีก ไทยตอบโต้จนทัพพม่าแตกยับเยินกลับไป ความอัปยศครั้งนี้มอญยังกล่าวถึงและตีปี๊บไปถึงว่าอยุธยาหวิดจะจับพระมหาอุปราชาได้แล้ว หลังจากนั้นไทยกับพม่ายังรบกันตามชายแดนอีกหลายหนแต่ไทยชนะทุกครั้ง

ปี 2135 พระเจ้านันทบุเรงเห็นว่าสมควรที่พม่าจะยกทัพใหญ่เรือนแสนไปตีอยุธยาสั่งสอนอีกครั้ง หน็อย! เป็นเมืองขึ้นแท้ ๆ เผยอมาประกาศอิสรภาพและยังตีทัพพม่าแตกครั้งแล้วครั้งเล่า จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาเป็นแม่ทัพแก้หน้าไปล้างอาย พระมหาอุปราชายังอกสั่นขวัญแขวนจากสงครามคราวก่อน จึงทูลว่าโหรทำนายว่ามีเคราะห์ ไม่ควรออกจากเมือง

พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงกริ้วมาก ตรัสว่าเสียดายขายหน้าถึงพระเจ้าบุเรงนองปฐมกษัตริย์ ส่วนพงศาวดารไทยว่าเอาไว้ยืดยาว แต่สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงแต่งลิลิตตะเลงพ่ายพรรณนาตอนนี้ไว้ดีนัก พระเจ้านันทบุเรงทรงเอ็ดตะโรว่า

“เจ้าอยุธยามีบุตร ล้วนยงยุทธเชี่ยวชาญ หาญหักศึกบ่มิย่อ ต่อสู้ศึกบ่มิหย่อน ไป่พักวอนว่าใช้ ให้ ธ หวง ธ ห้าม แม้นเจ้าคร้ามเคราะห์กาจ จงอย่ายาตรยุทธนา เอาพัสตราสตรี สวมอินทรีย์สร่างเคราะห์” เจ็บไหมล่ะ!

พระมหาอุปราชาฟังแล้วละอายเกิดฮึกเหิมจึงนำทัพหงสาวดี เมืองแปร และตองอู ราว 240,000 คน เข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ตอนนี้ชักยุ่งเพราะพงศาวดารพม่ารักษาเหลี่ยมเขียนว่า พม่ายกเข้ามาถึงชานกรุงแล้วแปลว่าเก่งไหมล่ะ ! สมเด็จพระนเรศวรทรงช้างออกไปรบ และโรมรันพันตูชนช้างกันที่ชานเมืองเรียกว่ายุทธหัตถี “ไทยยิงปืนถูกพระมหาอุปราชา” แต่นัดจินหน่องแม่ทัพตองอูไสช้างเข้าชนสมเด็จพระนเรศวรจนถอยกลับไป รวมความคือพม่าบอกว่าพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์เพราะ “ถูกยิง” ต่างหากไม่ใช่ถูกฟัน และอยุธยาเป็นฝ่ายถอยทัพกลับเข้ากรุงก่อน

พงศาวดารมอญกลับบอกว่ามีการยุทธหัตถีกันที่สุพรรณบุรี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชฟันพระมหาอุปราชาสิ้น พระชนม์ด้วยพระแสงของ้าว

พงศาวดารไทยกล่าวว่ายุทธหัตถีเกิดที่หนองสาหร่ายแถวชายแดนไทย-พม่า สมเด็จพระนเรศวรทรงช้างต้นชื่อพระยาไชยานุภาพ เตลิดเข้าไปในหมู่ทหารพม่า ทหารไทยตามไปไม่ทัน สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้ปัญญาว่าถ้าตะลุมบอนกันทรงแพ้แน่เพราะไม่มีรี้พลจึงคิดอุบายท้าพระมหาอุปราชาให้ชนช้างตัวต่อตัว พระมหาอุปราชานั้นแม้จะขลาดแต่มีขัตติยมานะอยู่มาก เห็นใครท้าอะไรเป็นอันฟิตขึ้นมาทุกทีจึงรับคำท้าเข้ายุทธหัตถี แต่ก็ถูกสมเด็จพระนเรศวรใช้พระแสงของ้าวฟันไหล่ขวาขาดสิ้นพระชนม์ ทัพพม่าจึงแตกพ่ายไป

ตอนสมเด็จพระนเรศวรตรัสเชิญทำยุทธหัตถีนั้น ลิลิตตะเลงพ่ายแต่งไว้ไพเราะนัก ผมจำมาเกือบ 40 ปีแล้ว

พระพี่พระผู้ผ่าน ภพอุต ดมเอย
ไป่ชอบเชษฐ์ยืนหยุด ร่มไม้
เชิญราชร่วมคชยุทธ เผยอเกียรติ ไว้แฮ
สืบแต่สองเราไซร้ สุดสิ้นฤๅมี

วันทำยุทธหัตถีนั้นเคยคำนวณกันว่าเป็นวันที่ 25 มกราคม 2135 ครม.นานมาแล้วจึงมีมติให้วันที่ 25 มกราคมเป็นวันสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและวันกองทัพไทย มาสมัยที่ผมเป็นรองนายกรัฐมนตรี นักปราชญ์ราชบัณฑิตร้องมาว่าคำนวณผิดและคำนวณใหม่แล้วว่าตรงกับวันที่ 18 มกราคม 2135 ต่างหาก ผมขอให้หลายสถาบันช่วยกันตรวจสอบจนได้ความเห็นตรงกันจึงเสนอคณะรัฐมนตรีให้ประกาศว่าวันที่ 18 มกราคมเป็นวันยุทธหัตถีหรือวันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่ทางกองทัพไทยยังเหนียม ๆ ไม่ยอมเปลี่ยนวันกองทัพไทยจนอีกสองปีต่อมาจึงยอมเปลี่ยนเป็นวันที่ 18 มกราคม เรียบร้อยแล้ว

การทำยุทธหัตถีมีชัยชนะครั้งนั้นลือเลื่องไปทั่วนานาประเทศ เพราะถือเป็นวีรกรรมของยอดนักรบ คำว่า “ยุทธ” แปลว่ารบ “หัตถี” แปลว่าผู้มีมือ หมายถึงช้างซึ่งมีงวง วันนี้ยังเถียงกันอยู่ว่า การทำยุทธหัตถีเกิดขึ้นที่ไหน ส่วนใหญ่คล้อยตามพงศาวดารว่าเกิดขึ้นที่หนองสาหร่าย บัดนี้คือดอนเจดีย์อยู่ในสุพรรณบุรีเพราะมีซากอิฐที่เชื่อว่าเป็นเจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรให้ก่อครอบไว้เป็นที่ระลึก แต่ที่กาญจนบุรีก็มีร่องรอยกระดูกทับถมกันที่อำเภอพนม ทวน จึงมีบางคนเชื่อว่าเป็นสมรภูมิยุทธหัตถี สำหรับทางราชการประกาศว่าอยู่ที่ดอนเจดีย์ สุพรรณฯ ไม่เชื่อไปถามคุณบรรหารดูก็ได้!

กลับเข้ากรุงคราวนั้น สมเด็จพระนเรศวรให้ชำระความทหารที่ตามขบวนไม่ทัน เกือบให้นำไปประหารอยู่แล้ว แต่สมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว (บางคนเชื่อว่าคือวัดใหญ่ชัยมงคล) นำพระ 25 รูปเข้าบิณฑบาตขอชีวิต อุปมาว่าเป็นพระเกียรติยศที่รบโดยไม่มีทหารตามไปช่วยเสมือนคราวพระพุทธเจ้าตรัสรู้พระองค์เดียวไม่มีปัญจวัคคีย์อยู่ช่วย ถ้ามีคนอยู่ช่วยก็จะไม่ยิ่งใหญ่ นับเป็นอุปมาโวหารแยบคาย จึงพระราชทานอภัยโทษให้ไปรบแก้ตัวแทน

พระเจ้านันทบุเรงสูญเสียพระราช โอรสคราวนั้นถึงขั้น “พระสติแตก” ทั้งเจ็บทั้งอาย ตำนานกล่าวว่าทรงฆ่าพระสุพรรณกัลยาและลูกแก้แค้น (ตกทอดจากพระเจ้าบุเรงนองมาเป็นพระสนมของพระองค์) ภายหลังทรงต้องลี้ภัยไปอยู่เมืองตองอู (ราชธานีเดิมของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้) แต่นัดจินหน่องเจ้าเมืองตองอูก็ลอบปลงพระชนม์แย่งราชสมบัติ ขณะนั้นเมืองอังวะ (เคยเป็นราชธานีเก่าอาณาจักรพม่ามาแต่ต้น) มีผู้นำตั้งตนเป็นกษัตริย์ชื่อพระเจ้าสีหสุธรรมราชาตีได้ทั้งตองอูและหงสาวดีจนรวมเป็นหนึ่งเดียวชื่ออาณาจักรพม่า ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่กรุงอังวะได้ยกทัพเข้ามาตีชายแดนไทย

สมเด็จพระนเรศวรเสร็จศึกจากพม่าหนโน้นแล้ว ยังทรงแผ่พระราชอาณาจักรไปเหนือจดใต้ จนถึงเชียงใหม่ กัมพูชา ตีได้ทวาย ตะนาวศรี หัวเมืองมอญในอำนาจหงสาวดีทั้งหมด หัวเมืองไทยใหญ่และแสนหวี พอทรงทราบว่าพระเจ้ากรุงรัตนบุระอังวะองค์ใหม่ยกทัพมาตีชายแดนไทยก็ทรงกรีธาทัพ 100,000 คน ขึ้นเหนือจะไปตีกรุงอังวะแตกบ้างให้จงได้

ปี 2147 สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถนำทัพจะไปเหยียบอังวะ ผ่านเชียงใหม่ ข้ามแม่น้ำสาละวินถึงเมืองหาง (ปัจจุบันอยู่ชายแดนไทย-พม่า) แต่ประชวรด้วยไข้ทรพิษก่อนถึงอังวะ พอถึงวันจันทร์ เดือน 6 ปีมะเส็ง ตรงกับ พ.ศ.2147 สมเด็จพระนเรศวรสวรรคตที่เมืองหาง พระชนมพรรษา 50 พรรษา ครองราชย์ 15 ปี

พระราชกฤดาภินิหารยิ่งใหญ่นัก ทรงเป็นมหาราชของไทย!

สมเด็จพระเอกาทศรถได้ครองราชย์เป็นสมเด็จพระสรรเพชญ (ที่ 3) รัชกาลที่ 20 ได้ทรงตั้งเจ้าฟ้าสุทัศน์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่เป็นพระมหาอุปราช ต่อมากริ้วจนว่ากันว่า “เจ้าฟ้าสุทัศน์เสวยยาพิษสิ้นพระชนม์” แต่จดหมายเหตุฝรั่งบันทึกว่า ถูกลงโทษจนสิ้นพระชนม์ด้วยข้อหาขบถ และยังกล่าวต่อไปว่าตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถมีพระอารมณ์ไม่ปกติ เข้าทำนองแปรปรวนฟั่นเฟือน

ครองราชย์ได้ 15 ปี สมเด็จพระเอกาทศรถสวรรคต เจ้านายขุนนางยกเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ พระราชโอรสอีกพระองค์ซึ่งพิการพระเนตรบอดข้างหนึ่งขึ้นเป็นสมเด็จพระสรรเพชญ (ที่ 4) กษัตริย์รัชกาลที่ 21 พงศาวดารกล่าวว่าเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอ ไร้ความสามารถ บ้านเมืองไม่เป็นปกติสุข จดหมายเหตุฝรั่งบันทึกว่าแม้แต่โจรสลัดญี่ปุ่นยังบุกเข้าปล้นจนถึงในพระราชวังได้ ครองราชย์ได้ปีเศษ พระราชโอรสอีกพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ประสูติจากพระสนม ชื่อ พระอินทราชา ออกผนวชเป็นพระอยู่วัดระฆังมานานแล้วจนได้เป็นพระพิมลธรรม เห็นว่าบ้านเมืองไม่เรียบร้อยจึงนำผู้คนเข้ายึดวังจับสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์สำเร็จโทษแล้วนำพระศพไปฝังที่วัดโคกพระยา

พระพิมลธรรมจะสึกก่อนยึดวัง หรือยึดวังแล้วจึงค่อยสึกก็ไม่รู้ แต่ได้ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 22 ทรงพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมซึ่งตรงกับคำว่าธรรมราชานั่นเอง บ้านเมืองยุคนี้ปลอดพ้นจากสงครามพม่าแล้ว มีแต่ไทยจะรบกันเอง พลางพัฒนาสร้างชาติบ้านเมืองด้านศาสนา วรรณคดี สถาปัตยกรรมและการค้าขายไปพลาง เรียกว่าใช้ทั้งนโยบายแก้ไขและแก้แค้นปน ๆ กันไป ไอ้ที่จะเรียบร้อยจึงไม่เรียบร้อยจนได้

เรามันชอบอย่างนี้เสียด้วย ยามศึกเรารบ ยามสงบเราตีกันเอง!.

“ปี 2147 สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถนำทัพจะไปเหยียบอังวะ ผ่านเชียงใหม่ ข้ามแม่น้ำสาละวินถึงเมืองหาง (ปัจจุบันอยู่ชายแดนไทย-พม่า) แต่ประชวรด้วยไข้ทรพิษก่อนถึงอังวะ พอถึงวันจันทร์ เดือน 6 ปีมะเส็ง ตรงกับ พ.ศ.2147 สมเด็จพระนเรศวรสวรรคตที่เมืองหาง พระชนมพรรษา 50 พรรษา ครองราชย์ 15 ปี”

วิษณุ เครืองาม
wis.k@hotmail.com
@เดลินิวส์ 27 กันยายน 2554

ปืนพญาตาณี

พันเรื่องถิ่นแผ่นดินไทย
โดย ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์


หากใครไปเที่ยวชมพระบรมมหาราชวัง และได้สักการะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ “พระเจ้าแก้วมรกต” ที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว ก็น่าจะหาโอกาสเดินข้ามถนนไปฝั่งกระทรวงกลาโหม ซึ่งด้านหน้าได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง แสดงปืนโบราณเอาไว้เป็นจำนวนมาก มีการจัดหมวดหมู่ มีป้ายแสดงผังที่ตั้ง และชื่อของปืนต่างๆ แสดงไว้ ในบรรดาปืนใหญ่โบราณที่ตั้งไว้ทั้งหมดในจำนวนนี้ มีกระบอกที่ใหญที่สุดกระบอกเดียวคือ “ปืนพญาตาณี” เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานีในปีพ.ศ.2325 ต่อมาอีก 4 ปี คือปีพ.ศ.2329 พม่าได้บุกหัวเมืองทางภาคใต้ของสยาม การนี้โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรสุรสีหนาท เสด็จไปบัญชาการบกับพม่า ครั้นเมื่อสามารถมีชัยเหนือกองทัพพม่าแล้ว ก็สามารถผนวกหัวเมืองภาคใต้ให้เป็นประเทศราช ของกรุงเทพฯ นับแต่นั้นมา และได้นำปืนพญาตาณีมาไว้ที่กรุงเทพฯ ในคราวนั้น


ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ กล่าวไว้ว่า ปืนกระบอกใหญ่ที่ได้มาแต่เมืองปัตตานีนั้น โปรดเกล้าฯ ให้ขัดสีท้ายสังข์ปืน ตกแต่งลวดลายขึ้นใหม่ และให้แกะสลักชื่อที่ท้ายปืนว่า “พญาตาณี” และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างปืน “นารายณ์สังหาร” ขึ้นมาไว้ให้เป็นคู่ของปืนพญาตาณี นอกจากนั้นให้สร้างปืนคู่อีก 6 กระบอก ที่โรงหล่อใกล้ประตูวิเศษไชยศรี ในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังได้นำมาไว้ที่หน้ากระทรวงกลาโหม จนถึงปัจจุบัน

ประวัติการสร้างปืนพญาตาณี กล่าวกันว่า สร้างโดย “สุลต่านมุซาฟาร์ ชาห์” ราวพุทธศตวรรษที่ 22 ร่วมสมัยกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งสุลต่านพระองค์นี้ เป็นพระองค์เดียวกับผู้ที่สร้างมัสยิดกรือเซะ โดยโปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนที่หันมานับถือศาสนาอิสลาม ชื่อ “ลิ้มโต๊ะเคี่ยม” เป็นผู้สร้าง ซึ่งลิ้มโต๊ะเคี่ยมมีน้องสาวชื่อ “ลิ้มกอเหนี่ยว” ที่ผูกคอตายใกลักับมัสยิดกรือเซะ เพราะพี่ชายไม่ยอมกลับเมืองจีนด้วย ทุกวันนี้มีผู้คนนับถือกราบไหว้กันมาก

ส่วนเมืองปัตตานีแต่โบราณนั้น เป็นชุมชนการค้า อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรลังกาสุกะ ที่มีเมืองหลวงชื่อ “โกตามะลิฆัย” เนื่องจากเป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญ ภายหลังต่อมาได้มีพัฒนาการขึ้นเป็นนครรัฐ แทนลังกาสุกะ ถูกปกครองโดยสุลต่าน และรานีหลายพระองค์ที่ทรงอานุภาพ มีการปะทะสังสรรค์กับสยามมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ความยิ่งใหญ่ของนครรัฐปัตตานีในอดีตมี “ปืนพญาตาณี” เป็นวัตถุพยานที่สำคัญ ดังนั้นการแก้ปัญหา จ.ปัตตานี ในปัจจุบัน ควรยึดแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่าด้วย “การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา”

ทำเนียบรัฐบาล

ทำเนียบรัฐบาล : สัญลักษณ์การเมืองไทย
โดย : สาวิตรี เล็กมณี @เดลินิวส์
วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม 2554

ทำเนียบรัฐบาลถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่มีประวัติศาสตร์และเป็นมรดกของชาติที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ 27 ไร่ 3 งาน 44 ตาราวางของถนนพิษณุโลก ที่ก่อสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลที่ 6 โดยได้รับการออกแบบจากช่างชาวอิตาเลียน และมีการนำศิลปะแบบเวนีเชี่ยนโกธิค (Venetian Gothic) มาเป็นต้นแบบ ผสมผสานกับงานเขียนและงานปั้นทำให้สง่างามตลอดมา ทั้งนี้รัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระราชทานแก่ พลเรือเอก เจ้าพระยารามราฆพ หรือหม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ ผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก และผู้บัญชาการกรมมหรสพ และตั้งชื่อว่า “บ้านนรสิงห์“ ต่อมาในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นควรให้รัฐบาลไทยซื้อ “บ้านนรสิงห์” ไว้เพื่อใช้เป็นทำเนียบรัฐบาลและสถานที่รับรองแขกบ้านแขกเมือง ในราคา 1,000,000 บาท ซึ่งหลังจากนั้นได้ชื่อเป็น ทำเนียบสามัคคีชัย และทำเนียบรัฐบาล ตามลำดับ โดยมอบให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแล

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

ตายยกลำ19รายเหตุเครื่องบินตกยอดเขาเอเวอเรสต์

เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินนำนักท่องเที่ยวชมยอดเขาเอเวอเรสต์ตกในเนปาล ผู้โดยสารและลูกเรือเสียชีวิตรวม 19 คน



เกิดเหตุเครื่องบินเล็กบีชคราฟ-103 สายการบินพุทธแอร์ ซึ่งนำนักท่องเที่ยวไปชมความสวยงามยามเช้าบริเวณยอดเขาเอเวอเรสต์ ตกบริเวณภูเขาใกล้กับกรุงกาฐมัณฑุของเนปาล ช่วงเช้าของวันนี้ ทำให้ผู้โดยสารบนเครื่องบิน เสียชีวิตรวม 19 คน เป็นชาวอินเดีย 10 คน อีก 3 คน เป็นชาวต่างชาติ และชาวเนปาลอีก 3 คน ส่วนลูกเรือ 3 คน เป็นชาวเนปาลทั้งหมด

ลักษณะห้องนอนบอกนิสัย

ห้องนอนเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของบ้าน ที่สามารถบอกถึงนิสัยเจ้าของได้ว่าเป็นอย่างไร ถ้าอยากรู้ว่าใครมีนิสัยอย่างไรลองดูที่ห้องนอนแล้วคุณจะพบคำตอบ



เริ่มจาก ห้องนอนหรูหรา คนที่เลือกแต่งห้องนอนด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่ดูดีมีราคามา บ่งบอกว่าเป็นคนเจ้าระเบียบ จู้จี้จุกจิก ขี้บ่น ชอบวางมาดเป็นเจ้าคนนายคน แต่กลับไม่ชอบให้ใครมาสั่งสอนตัวเอง รักสบายมากเกินไป สังคมที่เหมาะสมคงไม่พ้นสังคมไฮโซที่มีความชอบคล้ายๆกัน

สำหรับ ห้องนอนเรียบง่าย คนที่เลือกตกแต่งห้องอย่างเรียบง่าย ไม่ค่อยนิยมวางของตกแต่งให้ดูรกห้อง และไม่เน้นความหรูหรา แต่ชอบความโล่ง สบายตา น่าพักผ่อนมากกว่า แสดงให้เห็นว่า คุณเป็นคนเรียบง่าย ไม่ชอบเอาเปรียบ และไม่ชอบมีปัญหาขัดแย้งกับผู้อื่น อีกทั้งยังเป็นคนจริงจังในการทำงาน และค่อนข้างวางตัวเรียบง่ายสมถะ

ห้องนอนหวานแหวว การเลือกตกแต่งห้องนอนด้วยเครื่องประดับกระจุกกระจิก น่ารักสไตล์เด็กๆ มองรอบห้องมีแต่บรรยากาศชวนฝัน บ่งบอกว่าคุณเป็นคนอ่อนโยน อ่อนหวาน ร่าเริง สนุกสนาน เข้ากับคนง่าย เป็นที่รักของเพื่อนๆและคนรอบข้าง แต่ในบางครั้งคุณจะมีข้อเสียตรงที่ค่อนข้างเอาแต่ใจตัวเอง และดื้อเหมือนเด็ก

ปิดท้ายด้วย ห้องนอนรกๆ คนที่ไม่ค่อยดูแลความเรียบร้อยของห้อง ปล่อยให้ข้าวของวางระเกะระกะ โดยไม่สนใจใยดี แสดงว่า คุณเป็นคนปุบปับ คิดอะไรได้แล้วจะทำทันที เป็นคนเฮฮาไปไหนไปกัน มีเพื่อนฝูงมากมายและรักเพื่อนมาก อีกทั้งยังเป็นคนไม่ชอบความจำเจ ชอบหาความท้าทายใหม่ให้ชีวิตอยู่เสมอ แต่มีข้อเสียที่เป็นคนไม่รอบคอบ ทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ง่ายในบางครั้ง

เดลินิวส์
24 กันยายน 2554

เที่ยวท่องต้องมนต์เสน่ห์ สุขหลากหลาย...รับร้อนที่'ญี่ปุ่น'

แสงแดดแรกของวัน สาดส่องสนามบินเซ็นแทร์ นาโงย่า ประเทศญี่ปุ่น สนามบินทันสมัยและติดอันดับ 1 ใน 10 สนามบินที่ดีที่สุดในโลก ซ้ำยังลอดเร้นแยงตา จนต้องขยับมือขึ้นขยี้ขับไล่อาการง่วงเหงาหาวนอน ดูให้ชัดเต็มสองตาว่า เราเดินทางมาถึงญี่ปุ่นแล้วหรือนี่ หลังใจอ่อนตอบรับไมตรีจาก “รายการสมุดโคจร” ชักชวนเป็นเพื่อนร่วมทาง ตามคำเชิญของ การท่องเที่ยว จังหวัดกิฟุ จังหวัดนางาโนะ และเมืองนาโงย่า ประเทศญี่ปุ่น แม้ใจลึก ๆ จะแอบหวั่นไหวกับภัยพิบัติสึนามิที่ผ่านมา จนต้องกระชับกระเป๋าเช็กความมั่นใจว่า ไม่ลืมพกของขลังกันภัยติดตัวมาด้วย



ก่อนอื่นต้องออกตัวว่าไม่ “อิน” กับญี่ปุ่นเหมือนใครเท่าไรนัก ครั้งแรกเมื่อ 3 ปีก่อนมีโอกาสมาย่ำกรุงโตเกียว ใช้สอยเวลาส่วนใหญ่หมดไปกับงาน ช้อป ชิม ซึ่งไม่ค่อยถูกโฉลกกับไลฟ์สไตล์ ซ้ำยังร่ำ ๆ ร้องอยากกลับตามประสาคนรักบ้านเกิดอีกด้วย เช้านี้หลังกล่าวคำว่า “โอฮะโยว” สวัสดีตอนเช้าเจ้าหน้าที่จังหวัดกิฟุเรียบร้อย เราก็ขึ้นรถบัสมุ่งหน้าไป เมืองกุโจ จังหวัดกิฟุ ดินแดนใจกลางเมืองปลาดิบ ซึ่งได้มีเวลาพักงีบเอาแรง ปรับตัวกับสภาพอากาศ และเวลาที่เร็วกว่าเมืองไทย 2 ชั่วโมง

ล้อรถจอดสนิทหน้าร้านอาหาร ช่วงเที่ยงพอดิบพอดี มื้อนี้ชาวกุโจภูมิใจนำเสนอ “ปลาอาหยู” สารพันเมนู ไม่ว่าจะย่างเกลือ ย่างโชยุ ทอด โดยเฉพาะซาซิมิปลาอาหยู เนื้อพราวขาวใส สดแน่นกำยำทุกคำที่คีบ ที่ว่าสดต้องขอบอกว่าสดจริง ๆ เพราะแล่กันเดี๋ยวนั้น ชนิดวางเสิร์ฟแล้วยังเห็นปลานอนอ้าปากพะงาบ ๆ ปลาอาหยู เป็นกลุ่มปลาแม่น้ำ มีแหล่งเพาะพันธุ์ในแหล่งน้ำสะอาด ถือว่าเป็นของดีมีทานเฉพาะเทศกาล ช่วงเดือน พ.ค.-พ.ย. จะว่ายทวนกระแสน้ำขึ้นมาวางไข่ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเหยื่ออันโอชะของเรา เนื้อจึงแน่นหนึบนัก

โอซาวาซัง สวมชุดตกปลาสีแดงสดคลับคล้ายสิงห์นักบิด เดินนำเราไปยังแม่น้ำวาระ พร้อมเล่าว่า ชาวเมืองกุโจจึงอาศัยช่วงนี้ซื้อใบอนุญาตตกปลาอาหยูจากรัฐบาลเป็นเรื่องเป็นราว สนนราคาอยู่ที่ 2,000 เยนต่อวัน หรือ 10,000 เยนต่อปี ซึ่งอุปกรณ์นำไปหารายได้ มีเพียงคันเบ็ดยาว 9 เมตร เหยื่อล่อ และชุดสำหรับตกปลาเท่านั้น วันไหนมือฉมังตกได้เยอะ เหลือจากแบ่งขายตัวละ 1,000 เยนแล้ว จะเผื่อแผ่แบ่งปันให้เพื่อนบ้านด้วย

เหน็ดเหนื่อยมาทั้งวันช่วงค่ำเห็นเพียงดาวลอยอยู่บนท้องฟ้า รูปร่างแปลกตากว่าเมืองไทย เราทยอยเดินเข้าบ้านพักคล้ายโฮมสเตย์หลังละ 2-3 คน โดยมีเจ้าของบ้านออกมาต้อนรับ พร้อมจุ๊ จุ๊ ปากส่งสัญญาณให้ทุกคนอยู่ในความสงบ โดยไม่รบกวนผู้มาเยือนคนก่อนหน้า แยกย้ายเข้าห้องพักที่มีเพียงเบาะนอน โต๊ะน้ำชา พัดลม เรียกว่าบ้านญี่ปุ่นขนานแท้ ซึ่งห้องน้ำรวมจะมีกฎกติกาให้ใช้ได้ไม่เกิน 5 ทุ่มถึงก่อน 7 โมงเช้า ส่วนออเซ็นตามธรรมชาติใคร่ใช้ได้ตามสะดวก

เวลาตั้งปลุกดังกังวานช่วงเช้าตรู่ เตือนให้ลุกขึ้นมาทานอาหารเช้า หน้าตาแปลก ๆ อย่าง “เต้าเจี้ยวหมักหมูย่างบนใบไม้” มาพร้อมเซตข้าว ผักดอง ไข่ต้ม และสาหร่าย ก่อนจะเช็กเอาต์พ้นชายคาออกมาจึงได้รู้ว่า โฮมสเตย์นี้คือ 1 ใน 110 หลังคาเรือนเรียงรายของหมู่บ้าน “มรดกโลกชิราคาวา-โก” นึกรู้ได้จากหลังคามุงข้าวฟ่างเอียงทำมุม 60 องศา ทรง “กัสโซสุคุริ” อันเป็นเอกลักษณ์ คำว่า “กัสโซ” มีความหมายว่า พนมมือ บ่งบอกรูปร่างหลังคาคล้ายสองมือพนมเข้าหากัน ภูมิปัญญาสถาปัตยกรรมดั้งเดิมในการต่อสู้กับหิมะที่ตกหนักหน่วง สูงกว่า 2-3 เมตร ซึ่งช่วยให้หลังคาและตัวบ้านไม่พังทลายลงมา

ปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้ กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิต ซึ่งเจ้าของบ้านเต็มใจเปิดบ้านให้ชม แบบไม่ต้องย่องตีท้ายครัวแต่ประการใด “วาดะซัง” สืบสานมรดกจากบรรพบุรุษ เปลี่ยนบ้าน 3 ชั้นอายุ 300 กว่าปี ให้เป็น “พิพิธภัณฑ์” แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม ยิ้มแย้มเล่าให้ฟังว่า เคล็ดลับการสร้างบ้านแบบนี้ จะใช้ไม้เป็นโครง คาน และเสา ไม่ตอกตะปูแต่ผูกรัดด้วยเชือกฟาง บางส่วนใช้เถาวัลย์หรือหวาย ซึ่งมีความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศดีเยี่ยม โดยจะมีการซ่อมแซมทุก 30-40 ปี รวมไปถึงการเปลี่ยนหลังคาเมื่อหมดอายุการใช้งานด้วย

ชีวิตอาจเดินช้าลงเพราะการใช้ใจสัมผัสวิถีชีวิตหมู่บ้านแห่งนี้ ไม่จำเป็นต้องเร่งรีบ อาจเดินทอดน่องดูร้านรวง สลายเงินเยนไปกับของที่ระลึก อาทิ ตุ๊กตาซารุโบะโบะ, โมบาย, ขนม, ไอศกรีม หรือจะเลือกนั่งจิบกาแฟ ก็มีร้านเก๋ ๆ ให้ผ่อนคลายอิริยาบถ เหมือนกับ “อาจารย์เออิจิโร่ โอดะ” นักเขียนการ์ตูนชื่อดังอย่าง “วันพีซ” ที่ถ่ายทอดความประทับใจ เขียนการ์ตูนลงสมุดบันทึกให้เจ้าของร้าน จนอดใจอวดลายเส้นที่ระลึกให้คนสั่งกาแฟแก้วต่อ ๆ มาได้ชมกันอย่างตื่นเต้นไม่ได้

เย็นนี้เราข้ามเขตมายัง เมืองมัตสึโมโต้ จังหวัดนางาโนะ ต้องขอบอกว่าครั้งนี้โชคดีจริง ๆ เพราะทันได้เที่ยว “เทศกาลมัตสึโมโต้ชิโระ ไทโกะ” วันสุดท้ายพอดี เสียงตีกลองดังระรัวเร้าใจ สลับหนัก-เบา มีจังหวะจะโคน เร่งให้รีบสาวเท้าก้าวเข้าไปชมใกล้ชิด ซึ่งพอจะแทรกร่างฝ่าฝูงชนเข้าไปดูมือตีชาย หญิง ทีมแล้วทีมเล่า สลับกันขึ้นโชว์ลีลาเข้มแข็ง เหงื่อแตกซิก ผ่านทัศนียภาพฉากหลังของ ปราสาทมัตสึโมโต้ ซึ่งเทศกาลนี้จัดขึ้นราวเดือน ก.ค. เป็นประจำทุกปี ช่วยแต่งเติมสีสันช่วงฤดูร้อนให้มีเสน่ห์อย่างเหลือล้น

มาแดนปลาดิบทั้งที ก็ต้องไปดูเครื่องเคียงดับคาวอย่าง “วาซาบิ” กันบ้าง ต้องขอบคุณ “ไดโอวาซาบิ” ไร่ปลูกวาซาบิใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ซึ่งออกสิทธิพิเศษพาไปดูไร่แบบ “มิดชิด” เพราะปกติไม่อนุญาตกรณีใด ๆ ให้นักท่องเที่ยวลงไปเชยชมโดยเด็ดขาด เมื่อมาถึงแปลงผลผลิตวาซาบิที่ลับหูลับตาคน เราก็เปลี่ยนรองเท้าบู๊ตย่ำธารน้ำสะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งละลายจากหิมะไหลลงมาจากภูเขา หล่อเลี้ยงต้นวาซาบิหล่อรวมกับดินตะกอนอันอุดมสมบูรณ์ กลายเป็นปุ๋ยชั้นดีบำรุงต้นวาซาบิให้เจริญงอกงาม

มองผิวเผินต้นวาซาบิใบสีเขียวสด ช่างละม้ายคล้ายต้นใบบัวบกไม่ปาน ทั้งที่เป็นพืชตระกูลเดียวกับบรอกโคลีและกะหล่ำ เจ้าหน้าที่ยังใจดี ดึงต้นยกลำโคน แกว่งน้ำล้างดินยื่นให้ชิมกันสด ๆ งานนี้เราจึงกัดโคนเข้าเต็มคำ เคี้ยวกรึบกรับพอออกรสซ่านลิ้นเล็กน้อย แต่เผ็ดขึ้นจมูกไม่รุนแรงเท่าวาซาบิในปลาดิบ สงสัยว่าท้องคงเสาะไม่ชินกับวาซาบิสดเช่นนี้นัก จึงทำปฏิกิริยาสร้างอาการปั่นป่วน น้ำย่อยเอ่อท้นท่วมคอ จนต้องรีบวิ่งปร๋อหนีขึ้นบนฝั่ง ด้วยเกรงว่าจะอาเจียน ทำแปลงวาซาบิเขาเสียหายเสียก่อน

คนโบราณว่า “ยิ่งสูงยิ่งหนาว” แม้จะเป็นช่วงฤดูร้อนเต็ม ๆ หากคิดขึ้นโรปเวย์ชมวิวบน เทือกเขาโคมากาตาเกะ เมืองโคมาตาเนะ ควรพกเสื้อกันหนาวมาด้วย เพราะอากาศด้านบนวัดอุณหภูมิได้ที่ 12 องศาเซลเซียส เทือกเขานี้สูงเสียดฟ้าจากระดับน้ำทะเล 2,612 เมตร ถือว่าสูงที่สุดในญี่ปุ่น เฉือนเอาชนะดอยอินทนนท์บ้านเรา ซึ่งสูง 2,565 เมตรไปเล็กน้อย แต่ระยะทางคดเคี้ยวสูงชัน เผลอทำให้นึกว่า เรากำลังนั่งรถโขยกเขยกขึ้นดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่ จนได้เห็นต้นไม้รายล้อมโอบกอดตลอดเส้นทาง หนาแน่นทึบแปลกตา ก็ช่วยดึงสติกลับออกมาจากภวังค์

โคมากาตาเกะ โรปเวย์ เป็นโรปเวย์ที่สูงที่สุด มีความยาว 1 กิโลเมตร วิ่งด้วยความเร็ว 25-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาขึ้น-ลง 7.30 นาที หลังแอบท้าทายจับเวลา ต้องขอบอกว่าตรงเป๊ะ! ขณะอยู่ในกระเช้า เจ้าหน้าที่บอกว่า เราจะได้เห็นความงดงามถึง 2 ยอดเขาด้วยกันคือ แอลป์ญี่ปุ่น และฟูจิ น่าเสียดายว่าวันนั้นอากาศไม่เอื้ออำนวย มีหมอกหนา ช่างคล้ายใครกลั่นแกล้งก่อกองไฟก้อนมหึมา บดบังทัศนียภาพเสียอย่างนั้น แต่เมื่อขึ้นมาเห็นอุทยานธรรมชาติขนาดใหญ่ มีดอกไม้นานาพันธุ์ 150 ชนิด ขึ้นสลับสับหว่างประดับภูเขา โดยเฉพาะ “ดอกโคบาย เคโซ” ซึ่งหาชมได้ยาก จะผลิบาน 4-5 ปีต่อครั้ง ความรู้สึกเสียดายก็มลายหายไป

หลงป่ามาหลายวันก่อนเดินทางกลับ เราย้ายจากป่าสู่ เมืองนาโงย่า มาชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ที่สุด (อีกแล้ว) ของญี่ปุ่น เมื่อมาถึงเราก็เห็นคนอดทน ยืนต่อแถวยาวเหยียดเป็นระเบียบ เฝ้ารอเวลาเปิด 09.00 น. ซึ่งบัตรเข้าชมเริ่มคิดตั้งแต่เด็ก ม.4 ขึ้นไป สนนราคา 400 เยน และ 800 เยนถ้าพ่วงดูท้องฟ้าจำลอง ความน่าตื่นเต้นบรรจุอยู่ทุกมุมความรู้ ไม่ว่าจะจำลองพายุทอร์นาโด ห้องจำลองสายฟ้า ซึ่งปล่อยกระแสแรงถึง 1,200,000 โวลต์ ให้ลั่นเปรี้ยงปร้าง เล่นเอาหูอื้ออึงกับเสียงฟ้าคำราม หรือห้องจำลองสภาพอากาศหนาว ติดลบถึง 30 องศาเซลเซียส เล่นเอาปากคอสั่นฟันกระทบหงึกหงักได้ใจ จึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมคนญี่ปุ่นถึงให้ความสนใจกับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้นัก

หลังกล่าวคำ “ซาโยนาระ” ร่ำลาเจ้าหน้าที่ จ.นาโงย่า ซึ่งคอยยืนโบกมือส่งจนลับตาที่สนามบินเซ็นแทร์ นาโงย่า แล้ว ช่วงเวลาเดินทางสู่เมืองไทย เรามีรอยยิ้มบาง ๆ ผุดขึ้นบนใบหน้า และจดบันทึกในความทรงจำว่า “ไดสุกิดะ” ฉันเริ่มหลงรักญี่ปุ่นเข้าแล้ว.

............................

รู้ไว้ก่อนเที่ยว

อุณหภูมิ-ช่วงหน้าร้อนเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 15-35 องศาเซลเซียส

อัตราเงินแลกเปลี่ยน-100 เยน ประมาณ 40 บาท

เวลาท้องถิ่น-เร็วกว่าเมืองไทย 2 ชั่วโมง

กระแสไฟฟ้า–ใช้ 110 โวลต์ ควรเตรียมอะแดพเตอร์แบบสองขาแบนไปด้วย

แหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจ–จังหวัดกิฟุ ยังมีเมืองโบราณอย่าง ทาคายาม่า แวะซื้อ ซารุโบะโบะ ตุ๊กตาสีแดงน่ารักได้ “ซารุ” แปลว่า ลิง “โบะโบะ” แปลว่า เด็ก ชาวญี่ปุ่นสมัยก่อนนิยมเย็บให้เด็กอ่อน เป็นตัวปกป้องจิตใจ ปัจจุบันกลายเป็นของขวัญของฝาก คล้ายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

จังหวัดนางาโนะ นอกจากไร่วาซาบิแล้ว ยังมี บลูเบอร์รี่ ให้เลือกเก็บกินสด ๆ เก็บเต็มถ้วยในไร่ เพียง 1,000 เยน และยังสนุกสนานกับคอร์สทำแยมบลูเบอร์รี่ง่าย ๆ ได้อีกด้วย

เมืองนาโงย่า มีร้านอาหารเก่าแก่ชื่อ “โฮไรเค็น” ขายเฉพาะเมนูปลาไหลมากว่า 137 ปี ขึ้นชื่อด้านความอร่อย แนะนำให้เผื่อเวลาไปต่อแถวรอ.

ทีมวาไรตี้@เดลินิวส์
วันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2554










วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

ทาสีทาบ้านอย่างไรให้คงทนสวยงาม


บ้านที่ไหนที่กำลังประสบปัญหาสีทาบ้านไม่คงทน หรือครอบครัวไหนที่กำลังคิดทาสีบ้านใหม่ ลองเข้ามาศึกษาข้อมูลการทาสีบ้านให้คงทนได้

นอกจากเรื่องของการเลือกซื้อสีที่ต้องมีคุณภาพดีมีมาตรฐานแล้ว ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิวก่อนลงมือทาสี ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ถ้าอยากให้สีที่ทาบ้านคงทนและสวยงามเป็นระยะเวลานาน เริ่มจากทำความสะอาดพื้นผิวที่ต้องการทาสีทาบ้านให้สะอาดปราศจากคราบฝุ่นหรือสิ่งสกปรกต่างๆเสียก่อน หากเป็นพื้นผิวหรือกำแพงบ้านที่มีตะไคร่น้ำ ควรกำจัดทิ้งให้หมดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อก่อน ถ้าพื้นผิวมีการชำรุดควรทำการซ่อมแซม หรือขัดสีเก่าออกให้หมด

ทำความสะอาดเสร็จแล้ว ก็เริ่มลงมือด้วยขั้นตอนการทาสีรองพื้นไปบนบริเวณพื้นผิวที่จะทำการทาสีทาบ้าน เพื่อช่วยให้สีทาบ้านยึดเกาะกับพื้นผิวได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการป้องกันความเสียหายระหว่างสีทาบ้านกับพื้นผิวอีกด้วย แนะนำว่าหากพื้นผิวที่จะทำการทาสีเป็นปูนฉาบเสร็จใหม่ ควรปล่อยทิ้งไว้เพื่อให้สภาพผิวได้ปรับตัวประมาณ 1-2 วันก่อน หากเป็นปูนเก่าควรรองพื้นเคลือบก่อนลงมือทาสี เพื่อช่วยเสริมการยึดเกาะกับสีทาบ้านได้อย่างคงทนยิ่งขึ้น

หากเป็นพื้นผิวไม้ ควรทำการทาน้ำยารักษาเนื้อไม้ และน้ำยาป้องกันปลวกหรือแมลงกัดกินเนื้อไม้ก่อนทาสี แต่หากพื้นผิวเป็นวัสดุประเภทเหล็ก ควรทาน้ำยาป้องกันสนิมก่อนลงมือทาสีทาบ้าน สำหรับขั้นตอนการทาสีทาบ้านควรทาสีอย่างน้อย 2-3 รอบ โดยทิ้งระยะเวลาในการทาสีทาบ้านแต่ละครั้งให้แห้งสนิทแล้วจึงค่อยทาสีทาบ้านรอบต่อไป เป็นเทคนิคสำคัญเพื่อเพิ่มความสวยงาม คงทน

เดลินิวส์
23 กันยายน 2554