1. รับฟังและไม่ขัดจังหวะ เชื่อเถอะว่าไม่มีใครชอบที่จะถูกขัดจังหวะในขณะที่เขาพูดหรอก ลองเปลี่ยนบทบาทเป็นฝ่ายนั่งฟังเขาพูดตั้งแต่ต้นจนจบ ๆ ดูสิ นอกจากเขาจะรู้สึกที่ดีที่คุณรับฟังแล้วยังจะช่วยลดอารมณ์ร้อนในตัวเขาให้ เย็นลงได้อีกด้วยนะ
2. ทำความเข้าใจในสิ่งที่เขาพูด นอกจากการรับฟังแล้วสิ่งที่คุณควรทำต่อมา คือ พยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่เขาพูด แม้ว่ามันจะดูไม่มีเหตุผลก็ตาม แต่เชื่อเถอะว่าถ้าเขารู้สึกว่าคุณเข้าใจเขา การทะเลาะก็ย่อมจะจบลงเร็วกว่าที่คุณคิดไว้แน่นอน
3.เก็บถ้อยคำอันร้ายกาจไว้ บ่อยครั้งในยามโมโหเรามักจะลืมตัวหลุดถ้อยคำที่ไม่ทันคิดออกไป แล้วก็ต้องมานั่งเสียใจภายหลัง อย่าปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับคุณเชียว เพราะเมื่อพูดไปแล้วมันก็เป็นการยากที่จะเรียกคำนั้น กลับคืนมา ทำใจเย็นๆ และเตือนสติตัวเองทุกครั้งก่อนที่จะปล่อยถ้อยคำรุนแรงออกไป เรื่องที่ว่าแย่ จะได้ไม่ดูแย่ไปกว่านี้ไงล่ะคะ
4. ลืมอดีตซะบ้าง อดีตก็คืออดีต ปล่อยมันทิ้งไปซะ เพราะหากว่าคุณยังจมอยู่กับเรื่องราวความผิดพลาดในคร ั้งก่อนๆ แล้วหยิบมาโต้แย้งในยามที่ทะเลาะกัน นอกจากจะทำให้คุณไม่สามารถแก้ปัญหาของคุณกับเขาได้แล้วยังจะทำให้การทะเลาะ บานปลายขึ้นไปอีก ให้นึกซะว่าไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิดพลาด ให้โอกาสเขาได้ปรับปรุงตัว และทำลืมๆ ที่จะพูดถึงมันย่อมจะดีกว่านะ
5. เรียนรู้ที่จะประนีประนอม ลองเปลี่ยนมาใช้วิธีการประนีประนอมแทนการพยายามที่จะ เอาชนะกันดู แล้วคุณจะพบว่าความขัดแย้งนั้นลดน้อยลงอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ถ้ายังมีบางสิ่งที่ยังไง ยังไงคุณก็ไม่เห็นด้วย ก็ให้ลองใช้วิธีพบกันครึ่งทาง คงไม่ทำให้คุณเสียศักดิ์ศรีเท่าไรหรอก
6. รับฟังความคิดเห็นของอีกฝ่าย การโต้เถียงกันส่วนใหญ่มักเป็นการโต้เถียงที่ต้องการให้อีกฝ่ายเห็นด้วยกับ ความคิดของตน ซึ่งก็คงเป็นไปไม่ได้ที่คนอื่นจะมีความคิดเห็นเหมือน กับคุณซะทุกเรื่องไป แม้ว่าคุณจะพยายามแล้วพยายามอีกที่จะอธิบายให้เขาคล้อยตามไปกับคุณ
ในทางกลับกันถ้าคุณลองเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายรับเอาความคิดเห็นของเขามาทำ ความเข้าใจ นอกจากคุณจะได้แสดงให้เขาเห็นถึงการรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นของคุณแล้ว ยังจะทำให้ลดปัญหาที่จะนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งได้อี ีกต่างหาก
7. นึกถึงความสัมพันธ์อันดีเข้าไว้ บางครั้งอารมณ์ในยามทะเลาะกันมักทำให้คุณลืมเลือนความสัมพันธ์ของอีกฝ่าย ทิ้งไปชั่วขณะ โดยมุ่งแต่จะสรรหาถ้อยคำดุเด็ดเผ็ดร้อนมาโต้ตอบกันแทน
ลองเปลี่ยนเป็นนำความสัมพันธ์อันดีที่เคยมีระหว่างเขากับคุณมานึกถึง เป็นอันดับแรกในยามที่ทะเลาะกันดูสิคะ ถึงจะดูเหมือนคุณต้องเป็นฝ่ายยอมเขา แต่มันก็จะดูมีค่ากว่าการต้องมานั่งทำร้ายจิตใจของกันและกันนะ
วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550
วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2550
การบินไทยยันพร้อมบินต่อ เส้นทางตรงนิวยอร์ก-แอลเอ
การบินไทย ‘ไม่ปิดรูต’ นิวยอร์ค-แอลเอ ยันตลาดเริ่มดี-ขาดทุนน้อยลง มั่นใจลูกค้ากลุ่มนี้เป็นระดับพรีเมียม หวังดันสุวรรณภูมิเป็นฮับ เอเชียสู่อเมริกา
แหล่งข่าว ระดับสูงจากการบินไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารนโยบายบริษัทฯ (EMM) ได้พิจารณาทบทวนแผนการบินตรง (Non-Stop) ในเส้นทางนิวยอร์คและแอลเอแล้ว มีมติไม่ยกเลิก การบินในเส้นทางดังกล่าว และยังคงใช้เครื่องบินแอร์บัส A340-500 สาเหตุเพราะยอดผู้โดยสาร ของ 2 เส้นทางนี้มีจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้การขาดทุนน้อยลง และลูกค้าในเส้นทางนี้ เป็นกลุ่มลูกค้าระดับพรีเมี่ยม ซึ่งจะส่งผลดีสำหรับการรักษาตลาดซึ่งจะมีศักยภาพในระยะยาว พร้อมแผนเป็นฮับ ระหว่างเอเชียสู่อเมริกา ด้วยการเพิ่มเที่ยวบินตรงสู่นิวยอร์คและแอลเอทุกวัน เริ่ม พ.ค. 50 นี้
แหล่งข่าวกล่าวถึงเหตุผลที่ไม่ยกเลิกเที่ยวบินดังกล่าวว่า เนื่องมาจากจำนวนผู้โดยสาร (Cabin Factor) ของทั้ง 2 เส้นทาง มีตัวเลขเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ในช่วงเดือนเมษายน-พฤศจิกายน 2549 ที่ผ่านมา จำนวนผู้โดยสารบนเส้นทาง กรุงเทพ-นิวยอร์ค เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 83 ต่อเดือน สามารถทำรายได้เฉลี่ยเพิ่มสูงเป็นกว่า 240 ล้านบาทต่อเดือน ในขณะที่จำนวนผู้โดยสารเส้นทาง กรุงเทพ-แอลเอ สามารถรักษา Cabin Factor โดยเฉลี่ยในระดับร้อยละ 79 ซึ่งนับเป็นระดับที่สูงมาก และทำรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงกว่า 183 ล้านบาทต่อเดือน ทิศทางดังกล่าวทำให้ตัวเลขการขาดทุนของ 2 เส้นทางลดลง จากเดิม และส่งผลให้แนวโน้มการทำกำไรจาก 2 เส้นทางนี้มีมากขึ้นอย่างแน่นอน
สำหรับปัญหาการใช้เครื่องบิน A340-500 ที่ต้องเติมเชื้อเพลิงเป็นจำนวนมาก ในการบินระยะยาว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การบินไทย ต้องประสบปัญหาขาดทุนจากการบินเส้นทาง กรุงเทพ-นิวยอร์ค ในช่วงปีแรกนั้น การบินไทย ได้วางแผนการเตรียมซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาราคาน้ำมันได้ในระดับหนึ่ง ตลอดจนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก มีแนวโน้มลดลง ทำให้การบินไทยยังสามารถใช้เครื่อง A340-500 บินในเส้นทาง กรุงเทพ-นิวยอร์ค และ กรุงเทพ-แอลเอ ได้ต่อไป
นอกจากนี้ยังเล็งเห็นว่าลูกค้าที่บินเส้นทาง กรุงเทพ-นิวยอร์ค และ กรุงเทพ-แอลเอ เป็นลูกค้าระดับพรีเมี่ยม ซึ่งมีศักยภาพในระยะยาวต่อการบินไทย จึงถือเป็นการลงทุนที่ดีที่ทำการตลาดกับลูกค้ากลุ่มนี้ อีกทั้งเส้นทางบินตรง (Non-stop) ระหว่างกรุงเทพและนิวยอร์คและแอลเอ ของการบินไทยนั้น เป็นเส้นทางที่เปิดขึ้นเพื่อเพิ่มเน็ทเวิร์ค (Network Coverage) ให้กับการบินไทย ตลอดจนสร้างความได้เปรียบและศักยภาพด้านการแข่งขันกับคู่แข่ง ซึ่งปัจจุบันนี้ ผู้โดยสารจะเลือกใช้บริการสายการบินใด มักจะเน้นความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการเดินทาง
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า การบินไทยตั้งเป้าหมายที่จะใช้สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ เป็นศูนย์กลางระหว่างอเมริกา-ยุโรป และเอเชีย เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้โดยสารจากทั้งฝั่งอเมริกาและเอเชีย ผ่านกรุงเทพฯ อีกทั้งยังมีแผนการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินตรงสู่นิวยอร์คและแอลเอ จากเดิมสัปดาห์ละ 5เที่ยวบิน เป็นบินตรงทุกวันตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550 นี้เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้อัตราการเพิ่มของรายได้สูงขึ้น มีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น สามารถตอบสนองและรองรับความต้องการของผู้โดยสารที่ต้องการเที่ยวบินตรง (Non-stop Flight) ได้ทุกวัน ในขณะที่ต้นทุนด้านเครื่องบิน และค่าใช้จ่ายต่อเที่ยวบินโดยเฉลี่ยจะลดลง จากการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้เครื่องบินที่ดีขึ้น
ทั้งนี้การบินไทยได้เริ่มเปิดเส้นทางบินตรงกรุงเทพฯ –นิวยอร์ค อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2548 ด้วยเครื่องบิน แอร์บัส A340-500 จุผู้โดยสาร 215 ที่นั่ง แบ่งที่นั่งเป็น 3 คลาส คือ รอยัลซิลค์ มี 60 ที่นั่ง พรีเมียร์อีโคโนมี มี 42 ที่นั่งและ อีโคโนมี มี 113 ที่นั่ง
@ASTVผู้จัดการออนไลน์
27 มีนาคม 2550
แหล่งข่าว ระดับสูงจากการบินไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารนโยบายบริษัทฯ (EMM) ได้พิจารณาทบทวนแผนการบินตรง (Non-Stop) ในเส้นทางนิวยอร์คและแอลเอแล้ว มีมติไม่ยกเลิก การบินในเส้นทางดังกล่าว และยังคงใช้เครื่องบินแอร์บัส A340-500 สาเหตุเพราะยอดผู้โดยสาร ของ 2 เส้นทางนี้มีจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้การขาดทุนน้อยลง และลูกค้าในเส้นทางนี้ เป็นกลุ่มลูกค้าระดับพรีเมี่ยม ซึ่งจะส่งผลดีสำหรับการรักษาตลาดซึ่งจะมีศักยภาพในระยะยาว พร้อมแผนเป็นฮับ ระหว่างเอเชียสู่อเมริกา ด้วยการเพิ่มเที่ยวบินตรงสู่นิวยอร์คและแอลเอทุกวัน เริ่ม พ.ค. 50 นี้
แหล่งข่าวกล่าวถึงเหตุผลที่ไม่ยกเลิกเที่ยวบินดังกล่าวว่า เนื่องมาจากจำนวนผู้โดยสาร (Cabin Factor) ของทั้ง 2 เส้นทาง มีตัวเลขเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ในช่วงเดือนเมษายน-พฤศจิกายน 2549 ที่ผ่านมา จำนวนผู้โดยสารบนเส้นทาง กรุงเทพ-นิวยอร์ค เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 83 ต่อเดือน สามารถทำรายได้เฉลี่ยเพิ่มสูงเป็นกว่า 240 ล้านบาทต่อเดือน ในขณะที่จำนวนผู้โดยสารเส้นทาง กรุงเทพ-แอลเอ สามารถรักษา Cabin Factor โดยเฉลี่ยในระดับร้อยละ 79 ซึ่งนับเป็นระดับที่สูงมาก และทำรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงกว่า 183 ล้านบาทต่อเดือน ทิศทางดังกล่าวทำให้ตัวเลขการขาดทุนของ 2 เส้นทางลดลง จากเดิม และส่งผลให้แนวโน้มการทำกำไรจาก 2 เส้นทางนี้มีมากขึ้นอย่างแน่นอน
สำหรับปัญหาการใช้เครื่องบิน A340-500 ที่ต้องเติมเชื้อเพลิงเป็นจำนวนมาก ในการบินระยะยาว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การบินไทย ต้องประสบปัญหาขาดทุนจากการบินเส้นทาง กรุงเทพ-นิวยอร์ค ในช่วงปีแรกนั้น การบินไทย ได้วางแผนการเตรียมซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาราคาน้ำมันได้ในระดับหนึ่ง ตลอดจนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก มีแนวโน้มลดลง ทำให้การบินไทยยังสามารถใช้เครื่อง A340-500 บินในเส้นทาง กรุงเทพ-นิวยอร์ค และ กรุงเทพ-แอลเอ ได้ต่อไป
นอกจากนี้ยังเล็งเห็นว่าลูกค้าที่บินเส้นทาง กรุงเทพ-นิวยอร์ค และ กรุงเทพ-แอลเอ เป็นลูกค้าระดับพรีเมี่ยม ซึ่งมีศักยภาพในระยะยาวต่อการบินไทย จึงถือเป็นการลงทุนที่ดีที่ทำการตลาดกับลูกค้ากลุ่มนี้ อีกทั้งเส้นทางบินตรง (Non-stop) ระหว่างกรุงเทพและนิวยอร์คและแอลเอ ของการบินไทยนั้น เป็นเส้นทางที่เปิดขึ้นเพื่อเพิ่มเน็ทเวิร์ค (Network Coverage) ให้กับการบินไทย ตลอดจนสร้างความได้เปรียบและศักยภาพด้านการแข่งขันกับคู่แข่ง ซึ่งปัจจุบันนี้ ผู้โดยสารจะเลือกใช้บริการสายการบินใด มักจะเน้นความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการเดินทาง
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า การบินไทยตั้งเป้าหมายที่จะใช้สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ เป็นศูนย์กลางระหว่างอเมริกา-ยุโรป และเอเชีย เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้โดยสารจากทั้งฝั่งอเมริกาและเอเชีย ผ่านกรุงเทพฯ อีกทั้งยังมีแผนการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินตรงสู่นิวยอร์คและแอลเอ จากเดิมสัปดาห์ละ 5เที่ยวบิน เป็นบินตรงทุกวันตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550 นี้เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้อัตราการเพิ่มของรายได้สูงขึ้น มีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น สามารถตอบสนองและรองรับความต้องการของผู้โดยสารที่ต้องการเที่ยวบินตรง (Non-stop Flight) ได้ทุกวัน ในขณะที่ต้นทุนด้านเครื่องบิน และค่าใช้จ่ายต่อเที่ยวบินโดยเฉลี่ยจะลดลง จากการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้เครื่องบินที่ดีขึ้น
ทั้งนี้การบินไทยได้เริ่มเปิดเส้นทางบินตรงกรุงเทพฯ –นิวยอร์ค อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2548 ด้วยเครื่องบิน แอร์บัส A340-500 จุผู้โดยสาร 215 ที่นั่ง แบ่งที่นั่งเป็น 3 คลาส คือ รอยัลซิลค์ มี 60 ที่นั่ง พรีเมียร์อีโคโนมี มี 42 ที่นั่งและ อีโคโนมี มี 113 ที่นั่ง
@ASTVผู้จัดการออนไลน์
27 มีนาคม 2550
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)