หน้าเว็บ

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เบอร์เบิ้น (Bourbon)

เบอร์เบิ้น เป็นวิสกี้ต้นตำรับที่มาจากอเมริกา โดยเริ่มจากนักกลั่นเหล้าในรัฐเคนตั๊กกี้ ได้ดัดแปลงกรรมวิธี ในการผลิกโดยใช้หม้อทองแดง อย่างชาวสก็อตซ์ แต่เนื่องจากไม่มีไม้พีตใช้รมควัน จึงอาศัยแหล่งน้ำพื้อนเมืองซึ่งไหลผ่านหินปูนทำให้มีรสชาติหวาน โดยธรรมชาติเป็นหลัก ซึ่งมีผลทำให้วิสกี้มีรสชาดเป็นเอกลักษณ์ของตัวมันเอง

ต่อมาเกิดความขาดแคลนข้าวไรย์ซึ่งเป็นธัญชาติหลักในการหมัก ทำให้ชาวเคนตั๊กกี้ ในมณฑลเบอร์เบิ้นหันมาใช้ข้าวโพดแทน จนเกิดเป็นลักษณะใหม่ของตัวเหล้าเบอร์เบิ้นขึ้นมาแทน โดยการผลิตในรูปแบบใหม่นี้จะใช้ ข้าวโพดอย่างต่ำ 50-60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือจะใช้ข้าวไรย์ หรือข้าวบาเลย์เป็นตัวเพิ่มความเข้มข้นตามต้องการ ชาวเคนตั๊กกี้คนแรกที่หันมาใช้ข้าวโพดแทนข้าวไรย์

ยังเป็นที่ถกเดียวกันว่า เป็น นายจอห์น ริตชี่ แห่งเมืองบาร์ดทาวน์ ในปี 1777 หรือ บาทหลวง เอลีจา เครก แห่งเมืองยอร์ชทาวน์ในปี 1789 หรือปู่ของนายเจมส์ เปปเปอร์ แห่งเมืองเล็กซิงตัน ในปี 1780 กันแน่ อย่างไรก็ตามบุคคลทั้งสามล้วนแต่เป็นคนจากรัฐเคนตั๊กกี้ทั้งสิ้น

กรรมวิธีในการผลิตเบอร์เบิ้นนั้น จะใช้ธัญพืชหมักในถังไม้โอ๊คเผา โดยเติมยีสต์ลงไประหว่างการหมัก (Sweet-Mash-Process) หรือจะอาศัยเชื้อยีสต์จากการหมักครั้งที่แล้วที่เหลืออยู่เป็นตัวเร่งก็ได้ (Sour-Mash-Process) แต่วิธีหลังนี้จะเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานานกว่า แต่จะคุ้มค่าสมกับการรอคอย เพราะสามารถให้เบอร์เบิ้นทีมีรสชาดหอมและราคาสูงกว่าเหล้าเบอร์เบิ้นราคาปานกลางทั่วไป ซึ่งมักจะใช้กรรมวิธีในการผลิตแบบแรก

ถึงกระนั้นก็ตาม จาก กรรมวิธีการผลิตเหล้าเบอร์เบิ้นทั้งสองวิธี จะต้องเริ่มด้วยการบดข้าวโพดที่ล้างสะอาดแล้วให้เป็นแป้ง จากนั้นจึงใส่น้ำร้อนในมาตราส่วน 18-20 แกลลอนต่อข้าวโพดหนึ่งหาบ (30 กิโลกรัม) แล้วค่อย ๆ ทำให้เย็นลงด้วยวิธีสุญญากาศ เพื่อที่จะเติมข้าวบาร์เลย์ ข่าวไรย์ต่อไป ซึ่งข้าวทั้งสองชนิดนี้จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแป้งเป็นแอลกอฮอล์ใน ที่สุด จากนั้นจึงนำไปผ่านกระบวนการกลั่นเพื่อให้ได้เหล้าเบอร์เบิ้นที่สมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น: