หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548

วีซ่า

วีซ่า หรือหนังสือลงตรา

ด้ายแดง


....ในหลายๆ ความเชื่อเกี่ยวกับความรัก และคู่ชีวิต ..
ความเชื่ออันนึงที่เชื่อว่า.. คู่ชีวิตที่แท้จริง
จะมีด้ายสีแดงผูกที่นิ้วก้อยข้างซ้าย เชื่อมกันไว้
รอจนวันนึง..ด้ายสีแดงนี้จะนำให้เขาทั้งสองมาพบกัน
และรักกันในที่สุด..


.....หลายๆ คนอาจจะเชื่อ
แต่คงไม่เชื่อมากเท่าผมแน่ๆ..
เพราะผมเห็น...
เห็นด้ายสีแดงที่นิ้วก้อยข้างซ้ายของผม..
ด้ายที่ผูกติดตัวมาตั้งแต่จำความได้..
ซึ่งผมเองก็ไม่รู้ว่าปลายอีกข้างนึงของมัน จะผูกติดกับใคร

นั่นแหละคือสาเหตุที่ผมเดินทางหาปลายอีกด้านนึงของมัน..


.....เด็กหนุ่มคนนึงที่ต้องการตามหาสิ่งที่ท้าทายที่สุดในชีวิตของเขา..
ไม่มีใครรู้ว่าสิ่งที่เค้าตามหาจะอยู่ไกลขนาดไหน..
และไม่รู้ว่าจะมีหรือไม่..
แต่เค้าก็เริ่มเดินทาง..


การเดินทางไปตามด้ายสีแดงตรงปลายนิ้วก้อย..การเดินทางที่รู้ทางเดิน..
แต่ไม่รู้จุดหมาย..
.....ผมเดินทางไปตามเมืองต่างๆ ที่ด้ายสีแดงของผมพาดผ่าน.
ได้พบ ได้เห็นอะไรหลายๆ อย่างที่ไม่มีทางจะได้เจอในเมืองของผม
ใจนึงก็คิดว่าเป็นการเรียนรู้ที่ดี..
แต่มันก็ไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง..
เป้าหมายของผมคือ.. ปลายด้ายสีแดง...
.....และแล้วผมก็ได้เพื่อนร่วมเดินทาง..


เมื่อวันนึงผมพบกันผู้หญิงที่ตามหาปลายอีกด้านนึงของด้ายแดงเหมือนกัน..
แต่เธอคงไม่ใช่ปลายด้ายแดงของผมหรอก..
เพราะด้ายแดงของผมยังไปอีกไกล...
.....เราพบกันโดยไม่ได้ตั้งใจ
และก็ไม่ได้เป็นการพบกันที่ทำให้ผมพอใจมากนัก..
บอกตรงๆ เธอไม่ใช่ผู้หญิงในสเปคของผมเลย..
แถมเราทะเลาะกันตั้งแต่เจอกันครั้งแรก
แต่เราก็ร่วมเดินทางด้วยกัน


เพราะด้ายสีแดงของเธอกับของผมมันไปทางเดียวกันน่ะสิ.
.....ก็ยังดีนะ ที่ผมไม่ได้เดินทางคนเดียว
อย่างน้อยก็มีเพื่อนร่วมทาง
ที่เห็นและตามหาปลายอีกข้างนึงของด้ายแดงเหมือนกัน..
....การเดินทางร่วมกันของเราทำให้
ผมเห็นตัวจริงของผู้หญิงคนนี้มากขึ้น..
เป็นตัวจริงที่น่าเคารพ น่าให้เกียรติในฐานะผู้หญิงคนนึง..
จะว่าไปเธอก็นิสัยดีนะ
ตอนที่ทะเลาะกันครั้งแรกคงเป็นการเข้าใจผิดซะมากกว่า

ความรู้สึกของผมที่มีต่อเธอเริ่มดีมากขึ้นเรื่อยๆ..

มีอยู่ครั้งนึงที่ผมคิดว่าถ้าปลายด้ายแดงอีกข้างนึงของผม
ไปหยุดอยู่ที่นิ้วก้อยของเธอก็คงจะดี..
มันก็ไม่แน่นะ..
ถ้าเป็นจริงผมก็คงมีความสุข.. แต่ถ้าไม่ใช่ ..

ผู้หญิงคนนั้นคงเป็นผู้หญิงที่วิเศษกว่าเธอคนนี้แน่ๆ ..


ยิ่งผมได้รู้ว่าเพื่อนร่วมเดินทางของผมเป็นผู้หญิงที่วิเศษเพียงใด
ผมก็ยิ่งอยากให้ผมเจอปลายด้ายแดงของผมไวๆ ..
ผู้หญิงที่ดีกว่าผู้หญิงคนนี้
ผู้หญิงที่เป็นเนื้อคู่ของผมจะเป็นยังไงน๊า..

.....นานขนาดไหนก็ไม่รู้ที่เราร่วมเดินทางด้วยกัน..
ผมยอมรับว่าเธอเป็นเพื่อนร่วมเดินทางที่ดีที่สุด..
เราช่วยเหลือกันมาตลอด..
แต่มันก็คงจะสิ้นสุดแล้วล่ะ.. เพราะด้ายแดงของผมกับเธอ มันแยกกัน..
ตรงทางแยกพอดี..
ทางแยกนี้มันแยกไปสู่เมืองสองเมือง ..
ด้ายของผมแยกไปทางขวา..
มุ่งสู่เมืองบนยอดเขา
ซึ่งผมเชื่อว่าคงเป็นปลายด้ายของผมแล้วล่ะ ..
เพราะเมืองนี้อยู่ยอดเขาพอดี..
ส่วนของเธอแยกออกไปที่เมืองข้างล่าง..
.....เรายืนคุยกันตรงทางแยกซักพักนึง
เพื่อกล่าวคำอำลาและแสดงความยินดีซึ่งกันและกัน
เราจะได้เจอจุดหมายของเราซักที..


ข้อตกลงสุดท้ายของเราก่อนจะแยกจากกันคือ
เราจะกลับมาเจอกันที่ตรงทางแยกนี้
ไม่ว่าจะเจอ หรือไม่เจอปลายด้ายแดงก็ตาม..
เราตกลงกันตามนี้..
แล้วเราก็แยกทางกัน....
.....ผมรู้สึกแปลกๆ ที่ต้องกลับมาเดินทางคนเดียว


ทำให้ผมไม่ดีใจมากนักที่รู้ว่า
ปลายด้ายของผมจะไปสุดตรงที่เมืองตรงยอดเขา
ผมเดินแยกจากเธอไปช้าๆ.. ในหัวมีแต่เรื่องต่างๆ
ที่เกิดขึ้นตอนที่เราเดินทางด้วยกัน..
ความประทับใจต่างๆ
ที่เกิดขึ้นตลอดการเดินทาง.. ความรู้สึกดีๆ
ที่เรามีให้กัน..
.....และแล้วผมก็หยุดเดิน ..
หยุดห่างจากทางแยกไม่ไกลเท่าไหร่..
แล้วผมก็วิ่งกลับไปยังทางแยกนั้นอีกครั้ง..
ไม่มีเหตุผลที่ผมทำแบบนี้เลย..
แต่ก็ทำ.. ผมกลับไปถึงทางแยกนั้นอีกครั้ง..
ซึ่งเธอก็นั่งอยู่ที่นี่อยู่ก่อนแล้ว..
.....เรานั่งคุยกันซักพัก..


ผมบอกเธอไปว่าผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมผมถึงกลับมา..
ส่วนเธอ..
เธอบอกว่าเธอกลัว..
กลัวว่าจะไม่มีใครตรงปลายด้ายแดงของเธอ
แล้วเธอก็ร้องไห้..
เป็นครั้งแรกที่ผมเห็นเธอร้องไห้..


.....สิ่งที่ผมภูมิใจมากกว่าตัดสินใจการออกเดินทางตามหาคู่ชีวิตของผม
..คือการตัดสินใจครั้งนี้แหละ..
ผมเช็ดน้ำตาให้เธอ .. ตัดด้ายแดงของผม และเธอออก
แล้วผูกเข้าด้วยกัน...
ผมไม่รู้หรอกว่าเธอจะโกรธผมรึเปล่าที่ผมทำแบบนี้..
อยากจะถามเธออยู่หรอก
แต่เธอก็ร้องไห้ไม่หยุด.. และกำลังกอดผมอยู่...



วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2548

น้ำท่วมกรุงเทพ

ระวัง ! กรุงเทพฯ จมน้ำ จาก สิงหาคม ถึง พฤศจิกายน 4 เดือนอันตราย

ภัยธรรมชาติปีนี้ดูน่ากลัวและรุนแรงกว่าทุกปี หลายประเทศทั่วโลกทั้งยุโรป อเมริกา ต่างประสบภาวะภัยพิบัติกันถ้วนหน้า ทั้งน้ำท่วม พายุถล่ม คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก ขณะที่เอเชียก็เพิ่งเผชิญกับภัยพิบัติครั้งรุนแรงจากพายุไซโคลนนาร์กีส หรือจีนเองก็สูญเสียอย่างหนักจากแผ่นดินไหวถึงน้ำท่วม

ประเทศไทยเอง หลังโศกนาฏกรรม สึนามิที่ภาคใต้ มีความพยายามรับมือหายนะจากภัยธรรมชาติไม่มากก็น้อย แต่ไม่มีใครให้ความมั่นใจได้ว่า เหตุการณ์ สึนามิจะเป็นการสูญเสียครั้งสุดท้าย ?


ก่อนหน้านี้ นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เจ้าของคำทำนายเตือนภัยพิบัติจากสึนามิ ออกทำนายรอบใหม่ว่า อีกไม่นานน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ !!!

คำถามคือ ถ้าเมืองหลวงที่เป็นศูนย์กลางของการบริหารราชการและ ศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศไทย จมน้ำสัก 2-3 เดือนจะเกิดอะไรขึ้น ?

จากบทวิเคราะห์ล่าสุดของนายสมิทธชี้ว่า ปลายปีนี้อาจเกิดสภาวะน้ำท่วมขังในบริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล จากอิทธิพลของการเกิดฝนตกหนัก น้ำเหนือไหลผ่าน และน้ำทะเลหนุน และจากอิทธิพลของการเกิดพายุเคลื่อนตัวผ่านพื้นที่บริเวณจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย และบริเวณพื้นที่ของกรุงเทพฯและ ปริมณฑล

นอกจากนี้ยังมีลักษณะน้ำทะเลระดับสูงไหลทะลักในลักษณะ storm surge เข้ามาในปากแม่น้ำสำคัญของกรุงเทพฯและ จังหวัดใกล้เคียง เป็นเหตุให้พื้นที่ลุ่มส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯและปริมณฑลมีน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้าง และมีผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน

ฉะนั้นที่จะหนักในปีนี้ก็คือ storm surge หมายถึงการที่ระดับน้ำมากับพายุตรงและเคลื่อนตัวมาถึงก้นอ่าวไทย อาจจะทำให้ระดับน้ำตรงก้นพายุสูงขึ้น คล้ายกับการเกิดพายุไซโคลนนาร์กีสที่พัดถล่มประเทศพม่า

"ที่พวกเราตื่นเต้นและเป็นห่วงกันมาก เพราะเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา หรือที่อินเดียก็น้ำท่วม ด้วยสภาพที่เกิดจากสภาวะโลกร้อน ซึ่งทำให้น้ำทะเลอุ่นขึ้น เมื่อน้ำทะเลอุ่นขึ้นก็จะมีไอระเหยไปรวมกับอากาศที่อยู่รอบข้าง ก็กลายเป็นลมและไหลมาเป็นพายุ ก็จะทำให้มีอันตราย

อย่างนาร์กีส ตอนเกิดใหม่ๆ ความเร็ว 140 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ตอนขึ้นฝั่งถล่มพม่ามีความเร็วถึง 240 กิโลเมตร/ชั่วโมง นักอุตุนิยมวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ก็เริ่มสงสัยและกังวลกันว่า พายุไซโคลนที่มีมาในมหาสมุทรอินเดียไม่เคยรุนแรงแบบนี้มาก่อนเหมือนอย่างนาร์กีส นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์กันว่า ปีนี้การเกิดพายุในมหาสมุทรอินเดีย หรือมหาสมุทรแปซิฟิกก็ดี ประเทศที่ติดชายฝั่งจะได้รับผลกระทบไปด้วย



อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาเล่าว่า ช่วงนี้หากดูสถิติพายุเขตร้อนที่เคลื่อนตัว เข้าสู่ประเทศไทย ก็พบว่าประเทศไทยจะเริ่มได้ผลกระทบตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ธันวาคม เดือนสิงหาคมจะมีพายุพัดผ่าน 19 ลูก กันยายน 45 ลูก ตุลาคม 49 ลูก และพฤศจิกายน 30 ลูก

"4 เดือนนี้ผมถึงบอกว่า ประเทศไทยเราจะมีผลกระทบจากพายุในปีนี้ โอกาสที่น้ำจะท่วมกรุงเทพฯอยู่ใน 4 เดือนนี้ ทุกคนก็แตกตื่น ก็ด่าผม แล้วก็มีคนแย้งว่าน้ำก็ท่วมทุกปี แต่ผมบอกว่า ถ้าท่วมอย่างที่เคยเป็นมา วันสองวันน้ำลด ก็ดี แต่นี่ถ้าคล้ายลักษณะพายุนาร์กีส มันจะท่วมเป็นอาทิตย์ ไม่ได้ท่วมแค่วันหรือ 2 วัน แล้วมันก็จะมี ผลกระทบกับเศรษฐกิจ การสัญจรคมนาคมอย่างมาก"

ล่าสุดที่ผมและทีมงานทำสถิติไว้พบว่า เดือนสิงหาคมราววันที่ 11-20 ก็จะเริ่มมีพายุเข้ามาทางตอนเหนือของประเทศไทย จะมีฝนตกในบริเวณภาคเหนือมาก และปริมาณฝนที่ตกจะไหลมาบรรจบในกรุงเทพฯ เป็นน้ำเหนือเข้ามา

ถึงปลายเดือนสิงหาคม พายุก็ยังอยู่ในภาคเหนือ บางลูกก็ไหลเข้ามาในภาคอีสาน แล้วน้ำก็จะไหลมารวมกันในภาคกลาง ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ยิ่งเดือนกันยายน พายุจะเข้าในภาคเหนือมากขึ้น บางลูกอาจจะพัดผ่านเข้ามาถึงกรุงเทพฯก็มี

ถัดมาปลายเดือนกันยายน ร่องมรสุมก็จะลงมาทางใต้ ซึ่งตอนนี้เองโอกาสที่ภาคกลางจะได้รับปริมาณน้ำฝนมีมากที่สุด ถ้าฝนตกนานและมีกำลังแรงลมเหมือนนาร์กีส หรือน้องๆ นาร์กีส ซึ่งเรายังไม่เคยประสบเลย ก็จะทำให้มีปริมาณน้ำมาก

ถึงเดือนตุลาคม พายุก็จะลงไปทางใต้ แต่ที่ผมห่วงคือเวลาพายุพัดเข้าอ่าวแล้วทวีกำลังแรงลมขึ้นมาถึงก้นอ่าว กรุงเทพฯจะได้รับผลกระทบมาก อีกสาเหตุหนึ่งก็คือในช่วงพฤศจิกายน-ธันวาคมจะมีน้ำทะเลหนุนโดยธรรมชาติ ถ้าพายุเคลื่อนตัวเข้ามาในกรุงเทพฯ ก็จะทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาทะลักเข้ามาในกรุงเทพฯได้ เหมือนที่นาร์กีสพัดเข้าไปในปากแม่น้ำอิรวดี

นักวิชาการที่ร่วมงานด้วยบอกว่า ได้คำนวณว่าน้ำจะเข้ามาจากปากแม่น้ำถึงกรุงเทพฯลึกถึง 30 กิโลเมตร ซึ่งปัญหาของกรุงเทพฯคือการระบายออกจะช้า เมื่อผสมกับน้ำทะเลหนุนโดยธรรมชาติ ก็จะทำให้น้ำระบายออกคืนสู่ทะเลช้ายิ่งขึ้น ประกอบกับมีน้ำเหนือไหลเข้ามาสมทบ ฉะนั้นกรุงเทพฯก็จะมีน้ำท่วมขัง ถ้าโชคร้ายหน่อยก็อาจจะขัง 1-2 อาทิตย์

สาเหตุส่วนหนึ่งก็คือ กรุงเทพฯเป็นพื้นที่ที่มีดินทรุดตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะดินกรุงเทพฯเป็นดินเลนจะทรุดตัวอยู่แล้ว 5-8 เซนติเมตรต่อปี ที่รามคำแหงหรือที่เขตสวนหลวงทรุดไปแล้ว 1 เมตร หากเปิดประตูน้ำพระโขนงหรือสำโรง น้ำท่วมทันทีโดยที่ฝนไม่ตก เพราะบริเวณนั้นอยู่ใต้ระดับน้ำทะเล

หรือแถวสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ดินทรุดตัวหมด หากมีพายุเข้ามาแรง โรงงานแถวนั้นมี 3 หมื่นกว่าโรงอาจจะต้องปิดลง คน 3 แสนคนต้องหยุดทำงาน ตกงาน หากน้ำท่วมเป็นเดือน

มีนักวิชาการบางท่านเป็นห่วงว่า เมื่อ น้ำเข้ามา 30 กิโลเมตรจากปากอ่าว น้ำเค็มก็จะเข้ามาในคลองประปา คนกรุงเทพฯและคนปริมณฑล 8-10 ล้านคน อาจไม่มีน้ำจืดดื่ม จะเป็นน้ำประปาเค็มหมด ปัญหาคือเราจะเอาน้ำที่ไหนกิน

ที่พม่า คนตายเยอะ เพราะคนไม่มีน้ำดื่ม ต้องไปดื่มน้ำสกปรก ก็เป็นโรคตาย ผมก็บอกกับทาง กทม.ว่าให้เตรียมเรื่องน้ำดื่ม ไว้ด้วย

แน่นอนว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกรุงเทพฯ น้ำก็จะท่วม 1-2 เมตร ฉะนั้นวิธีการป้องกันน้ำท่วมอย่างเดียวขณะนี้คือ ต้องสร้างเขื่อนสูงสัก 5 เมตร เป็นคอนกรีต ทำแบบประเทศเนเธอร์แลนด์ สร้างให้หนา ข้างบนรถสามารถวิ่งได้ สร้างตั้งแต่นนทบุรีไปถึงปากคลองประปา เพราะน้ำทะเลจะหนุนไปถึงคลองประปา สร้างวิ่งเลียบแม่น้ำเจ้าพระยามาตลอดไปถึงสมุทรปราการ อ้อมไปถึงบางปะกง

ส่วนอีกด้านหนึ่ง สร้างจากฝั่งธนบุรี อ้อมมาถึงพระประแดง ไปสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ก็อาจจะรักษากรุงเทพฯไม่ให้จมน้ำได้ แต่ก็ต้องเริ่มคิดเริ่มสร้างกันเดี๋ยวนี้

เชื่อมั้ยว่า ทุกครั้งที่ผมพูดหรือไปบรรยายที่ไหน คนส่วนใหญ่ก็มองว่า ผมสร้างความแตกตื่น ทำให้คนตกใจ นักธุรกิจก็ด่าผมว่าทำให้ธุรกิจเขาล้มละลาย ก็ต่อว่าอย่างรุนแรง โดยเฉพาะผู้ประกอบการใหญ่ๆ

สมิทธเล่าว่า ทุกครั้งที่ผมไปพูดหรือบรรยายที่ไหน ผมจะบอกว่า ผมไม่ใช่หมอดู หรือนักวิเคราะห์วิจารณ์ แต่เอกสารหรือสถิติที่ผมนำมาอ้างอิงหรือบรรยาย มาจากวิทยาศาสตร์ล้วนๆ โอกาสถูกก็มีมากกว่าผิด

"แต่คุณฟังผมแล้ว คุณไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องเชื่อก็ได้ แต่ฟังแล้วก็วิเคราะห์เสียก่อน ผมจะเรียนว่า จริงๆ แล้วกรม อุตุนิยมวิทยาเรามีศักยภาพดีมาก เรามีเครื่องมือพร้อม หากมีพายุ ภาพจาก ดาวเทียมหรือเครื่องมือที่เรามีอยู่ สามารถบอกเตือนล่วงหน้าประชาชนได้ 3-5 วัน แต่เราจะรอให้ถึงวันนั้นหรือ"

ด้าน นายศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" เกี่ยวกับสถานการณ์ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนที่อาจจะเกิด น้ำท่วมว่า ทางกรมอุตุนิยมวิทยาต้องเฝ้าติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด เพราะเดือนสิงหาคมเป็นช่วงที่ร่องความกดอากาศ ต่ำและร่องมรสุมพัดผ่านภาคเหนือของประเทศไทย

"ร่องมรสุมและร่องความกดอากาศต่ำพัดผ่านภาคเหนือในช่วงเดือนสิงหาคม จะทำให้ภาคเหนือมีฝนตกหนัก น้ำจะไหลลงแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน แล้วไหลเข้าสู่เจ้าพระยา ช่วงนั้นต้องมีการบริหารจัดการที่ดี หลังจากนั้นร่องความกดอากาศต่ำจะเลื่อนลงมายังภาคกลางและภาคตะวันออก โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนตุลาคมที่ร่องความกดอากาศจะอยู่ที่ภาคกลางนั้น คงทำให้กรุงเทพมหานครและภาคตะวันออกมีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น"

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาให้ความเห็น เพิ่มเติมว่า เดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม หากมีพายุจากทะเลจีนใต้เข้ามายังประเทศไทยก็จะทำให้มีโอกาสที่ปริมาณน้ำภาคกลางและกรุงเทพฯเพิ่มขึ้น

"ประเด็นต่อมาคือ แผ่นดินกรุงเทพฯยุบตัว สูงกว่าระดับน้ำทะเลเล็กน้อย บางส่วนก็ใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล เพราะในอดีตเราใช้น้ำบาดาลเยอะ แผ่นดินจึงต่ำ สำคัญที่ 2 ฝั่งเจ้าพระยาที่น้ำลงมา และประชากรเพิ่มมากขึ้น ถนนหนทางและการสร้างเขื่อนเจ้าพระยาที่ จ.อ่างทองจะทำให้น้ำไหล เร็วขึ้น

ถ้าน้ำจากทะเลหนุน กรุงเทพฯก็จะได้รับผลกระทบ การบริหารจัดการน้ำกับปริมาณน้ำฝนจากภาคกลางและภาคตะวันออกจะส่งผลกระทบกับกรุงเทพฯ อาจจะต้องมีการเตรียมการเครื่องสูบน้ำ ระบายน้ำ โดยเฉพาะลักษณะพื้นที่กรุงเทพฯ เรามีการก่อสร้าง ปัญหาระบายน้ำต้องเตรียมการ ให้ดี การจราจรจะมีผลกระทบ"

นอกจากนี้ นายศุภฤกษ์ยังกล่าวว่า ที่บางขุนเทียนมีปัญหาคลื่นซัด หากการระบายน้ำไม่ดีจะเกิดน้ำท่วมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยในขณะนั้นว่ามีฝนตกต่อเนื่องหรือไม่ มีพายุหรือไม่ น้ำเหนือไหลบ่าหรือไม่ และจะมีปริมาณมากในช่วงไหน มีน้ำทะเลหนุนด้วยหรือไม่ ซึ่งคงต้องมองอีกทีหนึ่ง

"ภาพรวมของประเทศไทยมีปริมาณฝนเพิ่ม ช่วงนี้ปรากฏการณ์ลานินญาค่อยๆ หายไป จึงทำให้เกิดฝนตก เราประมาท ไม่ได้เรื่องของฝน อยู่ที่ช่วงเวลานั้นว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้น้ำเพิ่มขึ้นมาก แค่ไหน ซึ่งกรุงเทพมหานครเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน ฝนตกค่อนข้างมาก ประกอบกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกค่อนข้างมากและรุนแรง ในส่วนของกรมอุตุนิยมวิทยาก็จะมีการแจ้งเตือนปริมาณ น้ำฝนในพื้นที่เขตประเทศไทย แจ้งว่ามีพายุเข้ามาหรือไม่

ดังนั้นเรื่องการบริหารจัดการก็ต้องให้หน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบร่วมกันประสานให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำฝน กรุงเทพฯต้องเตรียมพร้อม แก้ปัญหาน้ำท่วมเพราะ ผู้อาศัยมาก หากจราจรติดขัดก็จะเสียหายต่อเศรษฐกิจ"

ขณะที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กภช.) เชื่อมั่นว่า ระบบเตือนภัยจะทำให้คนกรุงเทพฯรู้ล่วงหน้าว่าพายุจะเข้ามาเมื่อใด และมีเวลาเตรียมรับมือ

แต่ที่ยากจะรับมือก็คือ หากกรุงเทพฯต้องเจอน้ำท่วมนานเป็นเดือน งานนี้ตัวใครตัวมัน...

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

ย้อนรอย'น้ำท่วม'บางกอกปี2485-2539กรุงเทพฯจมบาดาล

เดือดร้อนไปตามๆ กันสำหรับ "พิบัติภัยน้ำท่วม" ที่ณ เวลานี้ เมืองฟ้าอมร นาม "กรุงเทพมหานคร" น้ำได้เอ่อล้นกระสอบทรายเข้าท่วมหลายพื้นที่แล้ว...

แม้เหตุน้ำท่วมครั้งนี้ ไม่มีผู้ใดอยากให้เกิดขึ้น แต่ทว่าความเป็นจริงก็คือ เมืองหลวงแห่งนี้ เคยถูกน้ำท่วมซ้ำซากหลายครั้ง หลายคราว นับตั้งแต่มีการสถาปนาเป็นราชธานี


"...ด้วยปรากตว่า ฝนตอนต้นรึดู พุทธสักราช 2485 ตกมากทางภาคพายัพ และภาคอิสาน เปนเหตไห้น้ำท่วมเรือกสวนไร่นา และบ้านเรือนราสดร ทั้งภาคเหนือ ภาคกลางและภาคอิสาน ไนระหว่างเดือนกันยายน ตุลาคม และพรึสจิกายน เปนอุทกภัยครั้งสำคันไนประวัติการน์น้ำท่วมของเมืองไทยที่ทำความเสียหายไห้แก่ประชาชนพลเมืองเปนหย่างมาก..."

ข้อความข้างต้น เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ ในหนังสือ"เหตุการณ์น้ำท่วม พ.ส.2485" ของ กระทรวงมหาดไทยซึ่งเหตุการณ์ครานั้น เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และมีนายกรัฐมนตรีคือ จอมพลป.พิบูลสงคราม

ในปี พ.ศ.2485 เกิดเหตุน้ำท่วมครั้งร้ายแรงของเมืองไทย หลายจังหวัดที่มีชัยภูมิอยู่ในที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาล้วนได้รับความเดือดร้อนไปตามๆ กัน โดยเฉพาะชาวบางกอกเดือดร้อนหนักถึงขั้นต้องนำเรือออกมาพายแทนจักรยาน ครานั้นเมืองหลวง ต้องจมอยู่ใต้บาดาลนานนับเดือน

"...ไนตอนปลายเดือนกันยายน พ.ส. 2485 ระดับน้ำไนแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นเปนลำดับ ทั้งนี้วัดจากระดับน้ำที่กองรังวัดที่ดิน กรมที่ดิน เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า น้ำเริ่มท่วมล้นฝั่งขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 12 ตุลาคม มีระดับน้ำสูงสุด2.27 เมตร แล้วก็ลดลง โดยลำดับจนแห้งไปหมด ราวกลางเดือนพรึสจิกายน..."

หนังสือ "เหตุการณ์น้ำท่วม พ.ส. 2485" ยังได้บันทึกเหตุ อุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ ไว้อีกหลายครั้ง...

พ.ศ.2328 ช่วงรัชกาลที่ 1 เกิดน้ำท่วมใหญ่ปีมะเส็งซึ่งเป็นปีที่สร้างกำแพงพระนครและพระราชวังกรุงรัตนโกสินทร์เสร็จนั้นเอง ได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ ปรากฏว่าระดับน้ำที่สนามหลวงลึกถึง 8 ศอก 10 นิ้ว

พ.ศ.2362 ในรัชกาลที่ 2 น้ำท่วมเดือน ตุลาคมข้าวยากหมากแพงเหมือนครั้งแรก

พ.ศ.2374 ในรัชกาลที่ 3 น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายนคราวนี้น้ำท่วมทั่วพระราชอาณาจักร และมากกว่าปีมะเส็ง

พ.ศ.2402 ในรัชกาลที่ 4 น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายนและปีพ.ศ. 2410 น้ำท่วมเดือน พฤศจิกายนอีกเช่นกัน แต่เสียหายไม่มาก เพียงท่วมภายนอกกำแพงพระราชวังเท่านั้น

พ.ศ.2422 ในรัชกาลที่ 5 น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายนน้ำท่วมเพียงประตูพิมานไชยศรี

พ.ศ.2460 ในรัชกาลที่ 6 น้ำท่วมลานพระบรมรูปทรงม้าถึงกับมีการแข่งเรือกันได้

พ.ศ.2485 ในรัชการที่ 8 น้ำท่วมใหญ่ ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 น้ำท่วมมากกว่าปี พ.ศ.2460 เกือบเท่าตัว เนื่องจากฝนตกหนักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ระดับน้ำ ในแม่น้ำเจ้าพระยา มีระดับสูงมากไหลล้นคันกั้นน้ำ ทั้งสองฝั่งแม่น้ำตลอดแนว โดยวัดระดับน้ำท่วมที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ 2.27 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง

ขณะที่ข้อมูลจาก สำนักระบายน้ำกรุงเทพมหานคร ก็ได้มีการบันทึกสถิติ น้ำท่วมครั้งสำคัญในเขตกรุงเทพฯ ไว้หลายครั้ง...

น้ำท่วม

พ.ศ.2518 เกิดน้ำท่วม เนื่องจากพายุดีเปรสชั่นพาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำสูงทางภาคกลางตอนบน เป็นเหตุให้น้ำไหลล้นเข้าท่วมกรุงเทพฯ

พ.ศ.2521 พายุ 2 ลูก คือ "เบส" และ "คิท" พาดผ่านขณะเดียวกันมีปริมาณน้ำไหลบ่าจากแม่น้ำป่าสักเป็นจำนวนมากทำให้เกิดน้ำไหลบ่าจากทุ่งด้านตะวันออก และ เข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ

พ.ศ.2523 ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา มีระดับสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ2.00 เมตร ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพฯ ในช่วง 4 วันทำให้เกิดน้ำท่วมขัง

พ.ศ.2526 น้ำท่วมในปีนี้มีสภาพรุนแรงมาก เนื่องจากมีพายุพัดผ่านภาคเหนือ และภาคกลางในช่วงเดือนกันยายน- ตุลาคมประกอบกับมีพายุหลายลูกพัดผ่านกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนตุลาคม

พ.ศ.2529 เกิดฝนตกหนักมาก และตกติดต่อกันตั้งแต่วันที่ 8-10 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากได้มีพายุ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ในกรุงเทพฯ

พ.ศ.2533 ในเดือนตุลาคม พายุโซนร้อน "อีรา" และ"โลล่า" พัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมที่กรุงเทพฯ

พ.ศ.2537 เกิดพายุฝนฤดูร้อนถล่มกรุงเทพฯ และปริมณฑลเมื่อวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2537 วัดปริมาณฝน ได้มากที่สุดในประวัติการณ์ เรียกได้ว่าเป็น "ฝนพันปี" ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่สร้างความเดือดร้อนไปทั่วกรุงเทพฯ

พ.ศ.2538 มีฝนตกในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพายุหลายลูกพัดผ่าน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เป็นต้นมา และมีสภาพฝนตกหนัก ในช่วงเดือนสิงหาคม- ตุลาคม เนื่องจากพายุ "โอลิส" ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา มีระดับสูง โดยวัดที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 มีค่าระดับสูงถึง2.27 เมตร (รทก.) ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (เท่าน้ำท่วมปีพ.ศ. 2485) ทำให้น้ำล้นคันป้องกันน้ำท่วมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำในระดับสูงถึง 50-100 ซม.

พ.ศ.2539 มีน้ำท่วมขังตั้งแต่เดือน พฤศจิกายนธันวาคม 2539 ตั้งแต่หลังปี 2539 เป็นต้นมา ยังไม่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงในเขตกรุงเทพมหานคร มีเพียงน้ำท่วมขังในเวลาไม่นานก็ระบายออกได้สู่ภาวะปกติ

นับเป็นเวลามากกว่า 200 ปี ที่เมืองฟ้าอมรแห่งนี้ต้องผจญกับพิบัติภัยน้ำท่วม...การเรียนรู้อดีต เพื่อใช้เป็นแนวทางป้องกันปัญหาน้ำท่วมในอนาคต จึงนับเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2548

น้ำท่วม

เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งสำคัญในกรุงเทพฯ นับแต่เริ่มตั้งกรุงรัตนโกสินทร์

เหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2539 ที่ย่านถนนจรัญสนิทวงศ์

สาเหตุที่กรุงเทพฯ ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากมาโดยตลอด เป็นเพราะสภาพภูมิศาสตร์ของเมืองเป็นพื้นที่ราบลุ่มตอนปลายอ่าวไทย ด้วยเหตุนี้กรุงเทพฯในอดีตจึงมากไปด้วยคูคลอง จนไดรับการเรียกขานกันว่าเป็น "เวนิชตะวันออก"

แต่เมื่อความเจริญเติบโตถาโถมเข้าสู่กรุงเทพฯ เมืองจำเป็นต้องขยายตัว ทำให้มีการปรับเปลี่ยนและถมพื้นที่จาก บึง สระ คู คลอง ให้กลายสภาพเป็นถนนหนทาง อาคารบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ จึงทำให้กรุงเทพฯระบายน้ำได้ยากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุที่สำคัญคือ น้ำฝนที่ตกลงมาในปริมาณที่มากเกินไป เมื่อน้ำเหนือไหลหลาก น้ำทะเลจะหนุน และแผ่นดินทรุดตัว ด้วยเหตุนี้กรุงเทพฯจึงประสบกับปัญหาน้ำท่วมมาโดยตลอด
เพียงแต่ว่าปัญหาน้ำท่วมในอดีต กับปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบันนั้นแตกต่างกันออกไป เพราะบ้านเมืองเปลี่ยนไป และวิถีชีวิตผู้คนในกรงเทพฯก็เปลี่ยนไป

สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งสำคัญในกรุงเทพฯ ตั้งแต่อดีตตั้งกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบันก็มีดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2548

การออกเอกสารเดินทางฉุกเฉิน (Emergency Certificate - E.C.)

I. คุณสมบัติคนต่างด้าวที่สามารถยื่นคำร้องขอเอกสาร E.C.
  • ผู้ลี้ภัยทางการเมือง
  • เด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์
  • คนต่างด้าวที่ทำหนังสือเดินทางสูญหาย ซึ่งไม่มีสถานทูตหรือสถานกงสุลของคนชาตินั้นในประเทศไทย
  • ทารกของคนต่างด้าว ซึ่งไม่มีสถานทูตหรือสถานกงสุลของคนชาตินั้นในประเทศไทย
II. เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง
แบบฟอร์มคำร้องกรอกข้อความสมบูรณ์

หนังสือแจ้งความ (กรณีเป็นคนต่างด้าวที่ทำหนังสือเดินทางสูญหายและไม่มีสถานทูต/สถานกงสุลของ คนชาตินั้นในประเทศไทย) พร้อมสำเนาภาพถ่าย 2 ชุด

บัตรโดยสารเครื่องบินระบุวันที่จะเดินทางออกจากประเทศไทย พร้อมสำเนาภาพถ่าย 2 ชุด

รูปถ่ายขนาด 2-2 นิ้วครึ่ง จำนวน 3 รูป หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำถ่ายมานานไม่เกิน 6 เดือน

หนังสือแจ้งจากกระทรวงมหาดไทย (กรณีเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมือง) พร้อมสำเนาภาพถ่าย 2 ชุด

สูติบัตร (กรณีเด็กเกิดใหม่) พร้อมสำเนาภาพถ่าย 2 ชุด


หนังสือจากกรมประชาสงเคราะห์ (กรณีชาวต่างชาติรับเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์) พร้อมสำเนาภาพถ่าย 2 ชุด
III. ค่าธรรมเนียม
300 บาท
IV. สถานที่ยื่นคำร้อง
กรมการกงสุล กองตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว ชั้น 3 (ช่อง 102-109) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพ 10210 โทร 981-7171 ต่อ 3201 หรือ 3202 หรือ 0-2575-1062 โทรสาร 0-2575-1066

ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ

จง...



จงบินสูงกว่าที่คิด
เพราะชีวิตสั้นกว่าที่หวัง

จงพูดให้น้อยกว่าที่ฟัง
และทำให้มากกว่าที่พูด

จงรักให้น้อยกว่าที่รัก
เพราะอาจอกหักหัวใจสลาย

จงดีให้มากกว่าที่ร้าย
และอภัยให้มากกว่าที่ชัง

จงกลัวให้น้อยกว่าที่กล้า
และศรัทธาให้มากกว่าที่เห็น

จงปล่อยวางให้มากกว่าที่เป็น
และ...ละเว้นในฐานที่ไม่เข้าใจ



การออกเอกสารเดินทางสำหรับคนต่างด้าว (Travel Document for Aliens - T.D.)

 I. คุณสมบัติคนต่างด้าวที่สามารถยื่นคำร้องขอเอกสาร T.D.

คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทย หรือบุคคลที่ไม่อาจขอรับหรือถูกปฏิเสธการออกหนังสือเดินทางหรือเอกสารเดิน ทางจากทางการของประเทศที่ตนเคยได้รับสัญชาติเดิม

บุคคลไร้สัญชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย

คนต่างด้าวที่ได้รับถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยภายใต้โครงการให้ถิ่นที่อยู่ ถาวรแก่คนต่างด้าวภายใต้โครงการลงทุนเป็นกรณีพิเศษ 10 ล้านบาท


II. เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง

แบบฟอร์มคำร้องกรอกข้อความสมบูรณ์

ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ฉบับจริง (กรณีผู้ร้องไม่นำตัวจริงมาแสดง เจ้าหน้าที่จะไม่รับเรื่อง) พร้อมสำเนาภาพถ่ายหน้า 1-5 / หน้าย้ายที่อยู่ครั้งสุดท้ายซึ่งตรงกับทะเบียนบ้านปัจจุบัน / หน้าต่ออายุครั้งสุดท้าย อย่างละ 1 ชุด

ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาภาพถ่าย 1 ชุด
( หมายเหตุ กรณีชื่อบิดา / มารดา / หรือ พ.ศ. เกิด ผิด ไม่ตรงกับที่ระบุในใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวเจ้าหน้าที่จะอนุโลมรับเรื่อง โดยให้ผู้ร้องไปแก้ไขให้ถูกต้องและนำมาแสดงในวันที่รับเล่มได้ )
ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (ถ้ามี) พร้อมสำเนาภาพถ่าย หน้า 1-5 และหน้าอื่นๆ ที่มีการประทับตรา หรือ สลักหลังของกองตรวจคนเข้าเมือง อย่างละ 1 ชุด กรณีใบสำคัญถิ่นที่อยู่สูญหาย ให้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และใช้ใบแจ้งความเป็นหลักฐานแทนใบสำคัญถิ่นที่อยู่
( หมายเหตุ คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2480-2485 ไม่ได้ใบสำคัญ ถิ่นที่อยู่ จึงไม่ต้องแสดงหลักฐานในข้อนี้ )


รูปถ่ายขนาด 2 นิ้วครึ่ง จำนวน 3 รูป หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายมานานไม่เกิน 6 เดือน
III. ค่าธรรมเนียม

500 บาท สำหรับการทำเล่มใหม่ หรือ ต่ออายุเล่มเดิม

IV. อายุเอกสาร

1 ปี

สถานที่ยื่นคำร้อง

กรมการกงสุล กองตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าว ชั้น 3 (ช่อง 102-109) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพ 10210 โทร 981-7171 ต่อ 3201 หรือ 3202 หรือโทร 0-2575-1062 โทรสาร 0-2575-1066

ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ

จงคิดถึง - อย่าคิดถึง




จงคิดถึงความหวังที่คอยอยู่ข้างหน้า
อย่าไปคิดถึงความสูญเสียที่ผ่านไปแล้ว

จงคิดถึงสิ่งที่คุณหามาได้แล้ว
อย่าไปคิดถึงสิ่งที่ไม่สามารถจะได้มา

จงคิดว่าคุณจะช่วยเหลือใครได้บ้าง
จงอย่าคิดถึงแต่จะให้ตัวเองได้อย่างเดียว

จงคิดถึงความสุขของคนอื่น
แลล้วการจะทำนี้ คุณจะพบความสุขของคุณ
ก่อนที่คุณจะขอความช่วยเหลือจากใคร



รับน้อง

โดย : นิธิ เอียวศรีวงศ์
มติชนสุดสัปดาห์ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2548

ตามตำนานการรับน้องใหม่ที่พวกจุฬาฯ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่มีประเพณีรับน้องเล่า ว่ากันว่าเริ่มจากนิสิตในหอพักก่อน (ตั้งแต่สมัยที่ยังมี "หอวัง" ซึ่งอยู่ในสนามกีฬาศุภชลาศัยปัจจุบัน) โดยนำเอาประเพณีทำนองเดียวกันซึ่งมหาวิทยาลัยของอังกฤษทำมา "เล่น" บ้าง

ประเพณีพิธีกรรมคือเครื่องมือการสร้างและ/หรือตอกย้ำแบบแผนความสัมพันธ์ ทางสังคม แม้ว่าอังกฤษและพวกจุฬาฯ รุ่นแรกๆ ทำพิธีแกล้งน้องเพียงวันเดียว (ที่จริงคืนเดียว) แต่ที่จริงก็คือการสร้าง/และหรือตอกย้ำความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรุ่นพี่ และรุ่นน้องต่อจากนั้นนั่นเอง

แน่นอนครับ ด้วยความหวังว่า ความเหลื่อมล้ำของอำนาจระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง ซึ่งแสดงให้เห็นในพิธีกรรมนี้ จะดำรงอยู่อย่างถาวร

ส่วนพิธีกรรมจะได้ผลแค่ไหนขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางสังคม ในอังกฤษพิธีกรรมรับน้องล้มเหลว เพราะเงื่อนไขทางสังคมที่จะทำให้คนยอมรับอำนาจของคนอื่นเพียงเพราะเขาเป็น "รุ่นพี่" มีน้อย หรือแทบไม่มีเลย จึงยากที่จะทำให้เกิดแบบแผนความสัมพันธ์ชนิดที่พิธีกรรมรับน้องสร้างขึ้น อย่างถาวร

ตรงกันข้าม สังคมไทยสมัยใหม่ (คือหลัง ร.5 เป็นต้นมา) มีเงื่อนไขหลายอย่างที่ทำให้แบบแผนความสัมพันธ์เช่นนี้เป็นความสัมพันธ์ กระแสหลัก จึงทำให้การรับน้องขยายตัวอย่างแพร่หลายในสถาบันการศึกษาทุกแห่งและทุกระดับ รวมทั้งขยายตัวออกไปสู่พิธีกรรมอื่นๆ ในชีวิตน้องใหม่ทั้งปี เช่น การประชุมเชียร์และการออกกำลังกายทุกเย็น เพื่อตอกย้ำความเหลื่อมล้ำของอำนาจ และการยอมรับในความเหลื่อมล้ำนั้น

มีเรื่องที่ผมอยากสะกิดให้คิดเพื่อเข้าใจประเด็นตรงนี้อยู่สองเรื่อง