ถ้าไม่นับน้ำแล้ว เครื่องดื่มที่นับว่าถูกและเป็นที่นิยมมากที่สุด เห็นจะได้แก่ ชา ซึ่งในเมืองไทยเองก็มีแหล่งผลิตชาที่ขึ้นชื่ออยู่หลายแห่ง โดยเฉพาะในแถบภาคเหนือ เช่น ชาระมิง เป็นต้น
จริง ๆ แล้วมีการรู้จักชามาตั้งนานนมแล้ว ว่ากันว่าได้เริ่มต้นขึ้นในประเทศจีนก่อนเป็นแห่งแรก และเนื่องจากชาวจีนนิยมเดินทางไปแสวงโชคในดินแดนอื่น ๆ ทั่วโลก จึงนำเอาชาติดตัวไปด้วย ทำให้ชาเริ่มแพร่หลายเข้ามายังยุโรป อเมริกา และประเทศอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว
สำหรับ การดื่มชานั้น หากเป็นชาผงสำเร็จรูปจะนิยมดื่มผสมน้ำตาล และมะนาว หรือครีม หรือนมก็ได้ ซึ่งสามารถดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น แต่ถ้าเป็นชาจีน มักจะไม่ผสมอะไรเลย
วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
บะหมี่น้ำหนึ่งชาม
เรื่อง ที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง เราให้ชื่อเรื่องนี้ว่า "บะหมี่น้ำหนึ่งชาม" เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อ 15 ปีที่แล้ว
วันที่ 31 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่ร้านบะหมี่ "ฮอกไก" บนถนนซัปโปโรการกินบะหมี่โซบะในคืนวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่นั้นเป็น ประเพณีของชาวญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ร้านบะหมี่ขายดีในวันสิ้นปี "ร้านฮอกไก" นี้ก็เช่นกัน ในวันนี้คนแน่นร้านแทบทั้งวัน จนกระทั่งถึงเวลา 22.00 น. คนก็เริ่มน้อยลง โดยปกติแล้วบนถนนสายนี้คนจะแน่นขนัดไปจนถึงเช้าตรู่ แต่วันนี้ทุกคนจะต้องรีบกลับบ้านเพื่อไปต้อนรับปีใหม่กัน ดังนั้นถนนสายนี้จึงปิดร้านเร็วกว่าปกติ เถ้าแก่ของร้าน "ฮอกไก" เป็นคนซื่อ และเถ้าแก่เนี้ยก็เป็นคนอัธยาศัยใจคอดี ในคืนวันส่งท้ายปีเก่านี้ พอลูกค้าคนสุดท้ายกลับไป ในขณะเถ้าแก่เนี้ยก็จะปิดร้าน ประตูร้านก็ถูกเปิดออกอย่างเบา ๆ มีผู้หญิงคนหนึ่งพาเด็กชายสองคน คนหนึ่งอายุประมาณ 6 ขวบกับอีกคนหนึ่งอายุประมาณ 10 ขวบเข้ามาในร้าน เด็กชายทั้งสองคนสวมชุดกีฬาใหม่เอี่ยมเหมือนกันทั้งสองคน ส่วนหญิงคนนั้นสวมโอเวอร์โค้ทลายสก๊อตเก่า ๆ เชย ๆ
วันที่ 31 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่ร้านบะหมี่ "ฮอกไก" บนถนนซัปโปโรการกินบะหมี่โซบะในคืนวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่นั้นเป็น ประเพณีของชาวญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ร้านบะหมี่ขายดีในวันสิ้นปี "ร้านฮอกไก" นี้ก็เช่นกัน ในวันนี้คนแน่นร้านแทบทั้งวัน จนกระทั่งถึงเวลา 22.00 น. คนก็เริ่มน้อยลง โดยปกติแล้วบนถนนสายนี้คนจะแน่นขนัดไปจนถึงเช้าตรู่ แต่วันนี้ทุกคนจะต้องรีบกลับบ้านเพื่อไปต้อนรับปีใหม่กัน ดังนั้นถนนสายนี้จึงปิดร้านเร็วกว่าปกติ เถ้าแก่ของร้าน "ฮอกไก" เป็นคนซื่อ และเถ้าแก่เนี้ยก็เป็นคนอัธยาศัยใจคอดี ในคืนวันส่งท้ายปีเก่านี้ พอลูกค้าคนสุดท้ายกลับไป ในขณะเถ้าแก่เนี้ยก็จะปิดร้าน ประตูร้านก็ถูกเปิดออกอย่างเบา ๆ มีผู้หญิงคนหนึ่งพาเด็กชายสองคน คนหนึ่งอายุประมาณ 6 ขวบกับอีกคนหนึ่งอายุประมาณ 10 ขวบเข้ามาในร้าน เด็กชายทั้งสองคนสวมชุดกีฬาใหม่เอี่ยมเหมือนกันทั้งสองคน ส่วนหญิงคนนั้นสวมโอเวอร์โค้ทลายสก๊อตเก่า ๆ เชย ๆ
การทำหนังสือเดินทาง
หน่วยงานที่มีหน้าที่ออกหนังสือเดินทางให้คือ กระทรวงการต่างประเทศ
สถานที่ในการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทาง
1. กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ
- ที่อยู่ 123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
- โทรศัพท์ 0-2981-7171-99 โทรสาร 0-2981-7256
2. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว บางนา
- ที่อยู่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลซิตี้บางนา อาคาร "บางนาฮอลล์"(ด้านข้างศูนย์ การค้า) ชั้น B1
- โทรศัพท์ 0-2383-8402-4 โทรสาร 0-2383-8398
3. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า
- ที่อยู่ อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์(ชั้นใต้ดิน) แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. 10700
- โทรศัพท์ 0-2446-8111-2 โทรสาร 0-2446-8124
4. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว จังหวัดขอนแก่น
- ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
- โทรศัพท์ 0-4324-2707, 0-4324-3462, 0-4324-2655 โทรสาร 0-4324-3441
5. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดเชียงใหม่
- ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
- โทรศัพท์ 0-5389-1535-6 โทรสาร 0-5389-1534
6. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว จังหวัดสงขลา
- ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จ.สงขลา 90000
- โทรศัพท์ 074-326508-10 โทรสาร 074-326511
7. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว จังหวัดอุบลราชธานี
- ที่อยู่ อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
- โทรศัพท์ 045-242313-4 โทรสาร 045-242301
- E-mail : passport_ub@hotmail.com
8. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ที่อยู่ ศาลาประชาคม ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
- โทรศัพท์ 077-274940, 077-274942-3 โทรสาร 077-274941
9. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดนครราชสีมา แผนที่
- ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ถนนมหาดไทย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
- โทร 044-243-132, 044-243-124 โทรสาร 044-243-133
10. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุดรธานี
- ที่อยู่ ศูนย์อเนกประสงค์ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี(ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง) ถนนอธิบดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
- โทร 042-212827, 042-212-318 โทรสาร 042-222-810
11. สำนักงานหนังสือเดินทางชัว คราว จังหวัดพิษณุโลก
- ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ถนนเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
- โทร 055-258-173, 055-258-155, 055-258-131, โทรสาร 055-258-117
12. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว จังหวัดยะลา
- ที่อยู่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000
- หมายเลขโทรศัพท์ 073-274-526, 073-274-036, 073-274-037 โทรสาร 073-274-527
13. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว ภูเก็ต
- ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ถนนนริศร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000
- หมายเลขโทรศัพท์ 076-222-083, 076-222-080, 076-222-081 โทรสาร 076-222-082
14. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว นครสวรรค์
- ที่อยู่ ศูนย์บริการร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
- หมายเลขโทรศัพท์ 056-233-453, 056-233-454 โทรสาร 056-233-452
ยื่นคำร้องด้วยตนเอง ระหว่างวันจันทร์ - วันศุกร์
- สำหรับสำนักงานสาขาในกรุงเทพปริมณฑล ยื่นระหว่างเวลาเวลา 8.00 – 15.30 น.
- สำนักงานสาขาในต่างจังหวัด ยื่นระหว่างเวลา 08.30 -16.30 น.
โดยไม่หยุดพักกลางวัน
นอกจากนี้ มีหน่วยบริการหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ออกไปให้บริการ ประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ทุกปี
สถานที่ในการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทาง
1. กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ
- ที่อยู่ 123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
- โทรศัพท์ 0-2981-7171-99 โทรสาร 0-2981-7256
2. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว บางนา
- ที่อยู่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลซิตี้บางนา อาคาร "บางนาฮอลล์"(ด้านข้างศูนย์ การค้า) ชั้น B1
- โทรศัพท์ 0-2383-8402-4 โทรสาร 0-2383-8398
3. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า
- ที่อยู่ อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์(ชั้นใต้ดิน) แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. 10700
- โทรศัพท์ 0-2446-8111-2 โทรสาร 0-2446-8124
4. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว จังหวัดขอนแก่น
- ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
- โทรศัพท์ 0-4324-2707, 0-4324-3462, 0-4324-2655 โทรสาร 0-4324-3441
5. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดเชียงใหม่
- ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
- โทรศัพท์ 0-5389-1535-6 โทรสาร 0-5389-1534
6. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว จังหวัดสงขลา
- ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จ.สงขลา 90000
- โทรศัพท์ 074-326508-10 โทรสาร 074-326511
7. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว จังหวัดอุบลราชธานี
- ที่อยู่ อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
- โทรศัพท์ 045-242313-4 โทรสาร 045-242301
- E-mail : passport_ub@hotmail.com
8. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ที่อยู่ ศาลาประชาคม ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
- โทรศัพท์ 077-274940, 077-274942-3 โทรสาร 077-274941
9. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดนครราชสีมา แผนที่
- ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ถนนมหาดไทย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
- โทร 044-243-132, 044-243-124 โทรสาร 044-243-133
10. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุดรธานี
- ที่อยู่ ศูนย์อเนกประสงค์ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี(ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง) ถนนอธิบดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
- โทร 042-212827, 042-212-318 โทรสาร 042-222-810
11. สำนักงานหนังสือเดินทางชัว คราว จังหวัดพิษณุโลก
- ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ถนนเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
- โทร 055-258-173, 055-258-155, 055-258-131, โทรสาร 055-258-117
12. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว จังหวัดยะลา
- ที่อยู่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000
- หมายเลขโทรศัพท์ 073-274-526, 073-274-036, 073-274-037 โทรสาร 073-274-527
13. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว ภูเก็ต
- ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ถนนนริศร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000
- หมายเลขโทรศัพท์ 076-222-083, 076-222-080, 076-222-081 โทรสาร 076-222-082
14. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่ว คราว นครสวรรค์
- ที่อยู่ ศูนย์บริการร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
- หมายเลขโทรศัพท์ 056-233-453, 056-233-454 โทรสาร 056-233-452
ยื่นคำร้องด้วยตนเอง ระหว่างวันจันทร์ - วันศุกร์
- สำหรับสำนักงานสาขาในกรุงเทพปริมณฑล ยื่นระหว่างเวลาเวลา 8.00 – 15.30 น.
- สำนักงานสาขาในต่างจังหวัด ยื่นระหว่างเวลา 08.30 -16.30 น.
โดยไม่หยุดพักกลางวัน
นอกจากนี้ มีหน่วยบริการหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ออกไปให้บริการ ประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ทุกปี
วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
หนังสือเดินทาง
อยู่เมืองไทยยังต้องมีบัตรประชาชน แสดงตนว่าเป็นคนที่ไหน อยู่ที่ไหน ไปเมืองนอกก็เช่นเดียวกันก็ต้องมีเอกสารบอกว่าเป็นคนประเทศไหน นั่นคือหนังสือเดินทาง
หนังสือเดินทางคือ เอกสารสำคัญประจำตัวที่รัฐบาลประเทศหนึ่งออกให้แก่พลเมืองหรือคนชาติของตน เพื่อใช้แสดงตนในการเดินทางไปต่างประเทศ
วิวัฒนาการของหนังสือเดินทางไทย
หนังสือเดินทางคือ เอกสารสำคัญประจำตัวที่รัฐบาลประเทศหนึ่งออกให้แก่พลเมืองหรือคนชาติของตน เพื่อใช้แสดงตนในการเดินทางไปต่างประเทศ ในทางปฏิบัติ ประเทศเจ้าของหนังสือเดินทางจะร้องขอให้ประเทศอื่นๆ ให้ความสะดวก ความปลอดภัย หรือให้ความช่วยเหลือ ความคุ้มครองทางกฎหมายขณะที่พลเมืองของตนอยู่ในประเทศนั้นๆ หนังสือเดินทางต้องได้รับการประทับการตรวจลงตราหรือวีซ่าจากหน่วยงานของประเทศที่จะเดินทางไปเยือน เว้นแต่จะมีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างประเทศ
ในสมัยโบราณ การเดินทางระหว่างประเทศมีความยากลำบากและต้องใช้ระยะเวลายาวนาน ระเบียบกฏเกณฑ์การตรวจตราคนเดินทางเข้าออกนอกประเทศยังไม่มีเช่นทุกวันนี้ การเดินทางไปต่างบ้านต่างเมืองยังจำกัดขอบเขตอยู่กับดินแดนที่อยู่ใกล้ชิดกัน บุคคลที่จะเดินทางติดต่อกับต่างประเทศยังอยู่ในขอบเขตจำกัดเฉพาะชนชั้นปกครอง ขุนนาง พ่อค้า และนักสอนศาสนา พลเมืองของประเทศต่างๆ ยังไม่มีการเดินทางไปต่างประเทศมากนัก
การเดินทางของกลุ่มบุคคลดังกล่าวไปต่างรัฐ ส่วนใหญ่จะใช้หนังสือหรือสาส์นของกษัตริย์หรือผู้ปกครองของรัฐตนไปถึงกษัตริย์หรือผู้ปกครองของอีกรัฐหนึ่ง ซึ่งจะระบุถึงวัตถุประสงค์ของการเดินทางของคณะบุคคลของรัฐผู้ส่ง และขอให้รัฐผู้รับให้ความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ต่อคณะผู้เดินทาง ดังจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์ของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยมีการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงแต่งตั้งคณะราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์นไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสเป็นต้น
ประวัติการใช้หนังสือเดินทางในสมัยก่อนมีหลักฐานปรากฏในลักษณะต่างๆ อาทิ ในรูปของตราหรือสัญลักษณ์ และต่อมาได้พัฒนามาเป็นเอกสารและเล่มหนังสือตามลำดับ โดยผู้ปกครองออกให้เพื่อคุ้มครองคนในปกครองที่เดินทางไปต่างแดน แต่ก็ยังไม่ใช่สิ่งบังคับใช้ในการเดินทาง เมื่อโลกมีความก้าวหน้าในด้านการคมนาคม การติดต่อสื่อสาร การท่องเที่ยว และพัฒนาการของเหตุการณ์ความร่วมมือและความขัดแย้งระหว่างประเทศได้มีส่วนทำให้ประเทศต่างๆ สร้างระเบียบกฏเกณฑ์ควบคุมการเดินทางเข้าออกประเทศของพลเมืองและคนต่างชาติเริ่มมีความเข้มงวดมากขึ้น หนังสือเดินทางจึงเป็นเอกสารของรัฐและเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ และเริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้หนังสือเดินทางไทยนั้น รูปแบบและการใช้หนังสือเดินทางของไทยได้เปลี่ยนแปลงตามพัฒนาการของสังคมไทยและระหว่างประเทศ จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับลักษณะ รูปแบบการออกหนังสือเดินทางสำหรับคนไทย โดยออกเป็นหนังสือราชการที่เขียนด้วยลายมือ ( ภาพประกอบ ) มีการกำหนดตราประทับเป็นรูปแบบที่แน่นอนบนหนังสือเดินทาง ตราประทับที่พบ คือ ตราพระคชสีห์น้อย ตราพระราชสีห์น้อย หรือตราสุครีบ ระบุระยะเวลาในการใช้งานซึ่งมีอายุ 1 ปี วัตถุประสงค์ในการเดินทาง และมีข้อความขอให้ข้าหลวงมณฑล ผู้ว่าราชการเมือง กรมการจังหวัด อำนวยความสะดวกในการเดินทาง
หนังสือเดินทางที่รู้จักกันในระยะแรกเป็นเอกสารเดินทางที่ทางราชการออกให้แก่บุคคลเพื่อใช้ในการเดินทางระหว่างเขต เมือง มณฑล หรือภายในพระราชอาณาเขต ยังไม่มีหนังสือเดินทางอันหมายถึงเอกสารที่ใช้เดินทางไปต่างประเทศ ต่อมาฝ่ายราชการสยามในสมัยนั้นได้เริ่มมีดำริให้ออกหนังสือสำหรับตัวให้คนฝ่ายสยามเดินทางไปเมืองต่างประเทศ จึงมีการกำหนดกฏเกณฑ์ว่า การเดินทางออกนอกพระราชอาณาเขตกำหนดให้คนสยามต้องมีจดหมายหรือหนังสือเดินทางสำหรับตัวทุกคนจากเจ้าเมือง จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า หนังสือเดินทางไทยในปัจจุบันได้พัฒนามาจากหนังสือเดินทางสำหรับตัวซึ่งใช้กันมาแต่อดีต
ในเวลาต่อมาได้มีการกำหนดให้ใช้หนังสือเดินทางไปประเทศห่างไกลในลักษณะเป็นหนังสือเดินทางที่พิมพ์ด้วยภาษาฝรั่งเศส 2 หน้า หน้าแรกมีลักษณะเป็นหนังสือราชการที่มีข้อความขออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทาง หน้าสองแสดงรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือหนังสือเดินทาง ซึ่งประกอบด้วยรูปถ่าย อายุ ความสูง สีผม ตา ใบหน้า ตำหนิ และลายมือชื่อผู้ถือหนังสือเดินทาง และมีอายุการใช้งาน 1 ปี
การออกหนังสือเดินทางในสมัยนั้นมิได้ออกให้เพียงหนังสือเดินทางสำหรับบุคคลเท่านั้น แต่ยังมีหนังสือเดินทางที่ออกให้กับคนครัวหนึ่งหรือคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งใช้เดินทางเช่นเดียวกับหนังสือเดินทางหมู่เช่นที่มีใช้ในปัจจุบัน โดยกำหนดรูปแบบที่แน่นอนและใช้ทั่วทุกมณฑล โดยระบุรายชื่อและจำนวนบุคคลที่เดินทางด้วยกัน พร้อมทั้งประเภทสัมภาระที่นำติดตัวไปด้วย ทั้งนี้ ในการกำหนดรูปแบบหรือระเบียบหนังสือเดินทางในอดีตฝ่ายปกครองต้องมีหนังสือขอหารือกับเสนาบดีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซึ่งต้องมีหนังสือขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์ก่อนด้วย
หนังสือเดินทางในสมัยนั้นยังเรียกรวมถึงเอกสารเดินทางประเภทตราเดินทาง ซึ่งทางราชการออกให้กับคนในบังคับ ( สยาม) ที่อาศัยอยู่ในประเทศ ใช้เป็นเอกสารแสดงตัว หรือออกให้แก่คนต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยการสลักท้องตราประทานหรือตราเดินทางลงในหนังสือเดินทางต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นหนังสือประจำตัวสำหรับเดินทางไปได้ในหัวเมือง ตามคำร้องขอของสถานทูตหรือสถานกงสุลต่างประเทศในไทย ซึ่งปัจจุบัน คือ การตรวจลงตรา หรือวีซ่า
การออกหนังสือเดินทางในระยะนี้มิได้จำกัดอยู่กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่บ้านเมืองหลายระดับ นับตั้งแต่กระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการเมือง รวมทั้งกรมการจังหวัด หรือแม้แต่กำนันก็เป็นผู้มีอำนาจในการออกหนังสือเดินทาง หากได้รับคำสั่งจากเจ้าเมือง
อย่างไรก็ดี แม้ว่าตามประเพณีแต่เดิมมา ผู้ใดจะเดินทางไปนอกพระราชอาณาเขต ก็มีธรรมเนียมที่ต้องรับหนังสือเดินทางสำหรับตัวซึ่งเจ้าพนักงานออกให้ก็ตาม แต่บุคคลโดยทั่วไป ส่วนมาก ก็ยังไม่ได้ถืออย่างเคร่งครัดว่า หนังสือเดินทางเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเดินทาง เพราะในอดีตยังไม่มีการตรวจตราการเดินทางเข้าออกประเทศอย่างเข้มงวด ประชาชนสามารถเดินทางออกนอกพระราชอาณาเขตได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องมีหนังสือเดินทาง การละเลยในการตรวจตราการเดินทางออกนอกประเทศดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาแก่ผู้เดินทางในระยะต่อมาเมื่อสถานการณ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลประเทศต่างๆ เริ่มบัญญัติการตรวจตราหนังสือเดินทางของคนต่างชาติอย่างเข้มงวด ทำให้ผู้เดินทางออกจากพระราชอาณาเขตของไทยซึ่งมิได้มีหนังสือเดินทางหรือตราเดินทาง (วีซ่า) ของประเทศที่จะเดินทางไป ต้องประสบปัญหาเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ เนื่องจากต้องถูกกักกันไม่ให้เข้าประเทศ หรือถูกจับกุมกักขังหรือถูกส่งกลับประเทศ
ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของคนไทยในการเดินทางไปต่างประเทศ ในวันที่ 17 กันยายน 2460 รัฐบาลไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงได้กำหนดกฏเกณฑ์อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับการออกหนังสือเดินทาง โดยการออก “ ประกาศว่าด้วยผู้เดินทางไปนอกพระราชอาณาเขตร์ ให้มีหนังสือเดินทาง ” ซึ่งได้ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 23 กันยายน 2460 เพื่อให้คนไทยทุกคนที่จะเดินทางออกไปประเทศที่อยู่ห่างไกล จำเป็นต้องขอหนังสือเดินทางกับกระทรวงการต่างประเทศ และหากเดินทางไปยังประเทศใกล้เคียงติดต่อกับพระราชอาณาเขต ก็ขอให้ขอหนังสือเดินทางจากผู้ว่าราชการจังหวัด หรือสมุหเทศาภิบาลในมณฑลของตน
ผลมาจากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงในระดับระหว่างประเทศหลายประการดังกล่าว และผลการประชุมขององค์การสันนิบาติชาติเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2463 ซึ่งเรียกร้องให้ทุกประเทศกำหนดรูปแบบหนังสือเดินทางในลักษณะเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลไทยได้ส่งคณะผู้แทนเดินทางเข้าร่วมประชุมและลงนามรับรองข้อมติของที่ประชุมดังกล่าวด้วย และการประกาศใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฉบับแรกของไทยในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2470 น่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการกำหนดกฏเกณฑ์และการปรับเปลี่ยนลักษณะและรูปแบบของหนังสือเดินทางที่มีลักษณะเป็นรูปเล่ม ซึ่งน่าจะเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หรือประมาณภายหลังปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา
สำหรับหนังสือเดินทางที่มีลักษณะเป็นรูปเล่มซึ่งพบหลักฐานในขณะนี้ เป็นหนังสือเดินทางประเทศสยามซึ่งออกใช้ในช่วงระยะปี พ.ศ.2482 เป็นหนังสือเดินทางปกแข็งซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ภายในประกอบด้วยรายการข้อมูลภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศสกำกับอยู่ และติดรูปถ่ายผู้ถือหนังสือเดินทางพร้อมลายมือชื่อ ประกอบด้วยหน้าหนังสือเดินทางจำนวน 32 หน้าเช่นหนังสือเดินทางในปัจจุบัน เป็นหนังสือเดินทางในพระราชอาณาเขตสยามออกที่แผนกหนังสือเดินทาง ณ กระทรวงการต่างประเทศ แต่แผนกหนังสือเดินทางจะออกหนังสือเดินทาง หรือต่ออายุหนังสือเดินทางสำหรับบุคคลผู้ใด ซึ่งมิได้อยู่ในพระราชอาณาเขตสยามในเวลานั้น ไม่ได้เลย
หนังสือเดินทางที่ออกให้ในสมัยนั้น ถ้ามิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น ก็มีกำหนดอายุการใช้งานเพียงสองปี เมื่อหมดอายุก็สามารถให้ต่ออีกตั้งแต่หนึ่งถึงสองปีก็ได้ แต่เมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี โดยหนังสือเดินทางใช้ได้แต่สำหรับการเดินทางไปยังประเทศที่ระบุไว้ในหนังสือเดินทางเท่านั้น แต่จะสลักเพิ่มเติมเพื่อเดินทางไปประเทศอื่นด้วยก็ได้ โดยคิดค่าธรรมเนียมออกหนังสือเดินทางฉบับละ 12 บาท และค่าธรรมเนียมต่ออายุปีละ 6 บาท หนังสือเดินทางดังกล่าวนี้ยังคงใช้สืบต่อกันมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะบางอย่าง อาทิ สี ตราครุฑบนปกนอก และลักษณะการจัดวางข้อมูลภายใน จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ.2520 มีการเปลี่ยนแปลงรายการข้อมูลผู้ถือหนังสือเดินทางจากการตีพิมพ์ด้วยภาษาไทยกับภาษาฝรั่งเศสมาเป็นข้อมูลภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
หลังจากนั้น หนังสือเดินทางไทยได้รับการพัฒนาตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการผลิต และประโยชน์ในการใช้สอยตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมของสังคม โดยกองหนังสือเดินทางพยายามพัฒนาระบบการผลิตเล่มหนังสือเดินทางอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้บริการหนังสือเดินทางดำเนินไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และป้องกันการปลอมแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยลำดับ
ในปี 2536 กองหนังสือเดินทางได้นำระบบหนังสือเดินทางแบบใหม่มาใช้ เรียกว่า ระบบ Digital Passport System (DPS ) ซึ่งเป็นวิธีการพิมพ์รูปผู้ถือหนังสือเดินทางลงในหนังสือเดินทางด้วยระบบดิจิตอลแทนการติดรูปตามระบบเดิม และอ่านได้ด้วยเครื่อง ( Machine Readable Passport ) และต่อมาได้ปรับเปลี่ยนการผลิตเล่มหนังสือเดินทางที่สามารถจัดเก็บข้อมูลในเล่มหนังสือเดินทาง ไว้ด้วยระบบข้อมูลหน้าเดียว เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ตั้งแต่ พ.ศ.2538 เป็นต้นมา
ในปี 2543 กองหนังสือเดินทางได้พัฒนาหนังสือเดินทางไทยโดยการนำเทคโนโลยีการถ่ายรูป การบันทึกข้อมูล และการพิมพ์ข้อมูลลงในเล่มโดยตรง รวมทั้งการสร้างระบบหนังสือเดินทางซึ่งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนราษฎรด้วยระบบคอมพิวเตอร์จากฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้สามารถตรวจสอบสถานะของผู้ขอหนังสือเดินทางโดยอาศัยหมายเลขประจำตัวประชาชน ซึ่งทำให้สามารถให้บริการรับคำร้องจากประชาชนผู้ขอใช้ให้บริการหนังสือเดินทางได้ในเวลาอันรวดเร็ว และทำการผลิตหนังสือเดินทางได้ภายในเวลา 3 วันทำการ
ในด้านการพัฒนารูปเล่มหนังสือเดินทาง กองหนังสือเดินทางได้ให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงรูปแบบและมาตรฐานของเล่มหนังสือเดินทางไม่น้อยไปกว่าการปรับปรุงด้านบริการ เนื่องจากรูปแบบและมาตรฐานดังกล่าวเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการป้องกันการปลอมแปลง และความน่าเชื่อถือของหนังสือเดินทางตามมาตรฐานสากล การพัฒนาหนังสือเดินทางจึงต้องคำนึงถึงรูปแบบที่สวยงามทันสมัยในราคาเหมาะสม และจะต้องประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สามารถป้องกันการปลอมแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปด้วย
ในปี 2545 กองหนังสือเดินทางได้พัฒนารูปแบบของหนังสือเดินทางแบบใหม่ ที่มีคุณลักษณะป้องกันการปลอมแปลง ( Security Features ) เพิ่มมากขึ้น และใช้เทคโนโลยีระดับสูงหลายอย่างเช่นเดียวกับการพิมพ์ธนบัตร เพื่อยกระดับมาตรฐานหนังสือเดินทางไทยให้ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำของโลก คุณสมบัติพิเศษที่ใส่ไว้ในหนังสือเดินทาง บางอย่างไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจสอบ และบางอย่างก็แฝงไว้อย่างแนบเนียน ทำให้ยากในการ
ปลอมแปลง นอกจากนั้นคุณลักษณะบางประการผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีและสารเคมีที่ไม่อาจหาได้ในท้องตลาดทั่วๆ ไป ทำให้มั่นใจได้ว่า หนังสือเดินทางไทยจะมีความปลอดภัย และปลอดจากการปลอมแปลง
ทิศทางในอนาคต หนังสือเดินทางไทยยังคงได้รับการพัฒนาและปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนโดยคำนึงถึงความมั่นคงของประเทศ นอกจากนี้ กองหนังสือเดินทางยังได้พัฒนาระบบข้อมูลหนังสือเดินทางไทยให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ถือ
หนังสือเดินทางผ่านระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเดินทาง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมศุลกากร และกระทรวงมหาดไทย สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์จากการตรวจสอบข้อมูลและให้บริการประชาชนด้วยความรวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนคนไทยได้รับความสะดวกสบายในการติดต่อกับหน่วยราชการ ไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใดของโลกก็ตาม
ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ
หนังสือเดินทางคือ เอกสารสำคัญประจำตัวที่รัฐบาลประเทศหนึ่งออกให้แก่พลเมืองหรือคนชาติของตน เพื่อใช้แสดงตนในการเดินทางไปต่างประเทศ
วิวัฒนาการของหนังสือเดินทางไทย
หนังสือเดินทางคือ เอกสารสำคัญประจำตัวที่รัฐบาลประเทศหนึ่งออกให้แก่พลเมืองหรือคนชาติของตน เพื่อใช้แสดงตนในการเดินทางไปต่างประเทศ ในทางปฏิบัติ ประเทศเจ้าของหนังสือเดินทางจะร้องขอให้ประเทศอื่นๆ ให้ความสะดวก ความปลอดภัย หรือให้ความช่วยเหลือ ความคุ้มครองทางกฎหมายขณะที่พลเมืองของตนอยู่ในประเทศนั้นๆ หนังสือเดินทางต้องได้รับการประทับการตรวจลงตราหรือวีซ่าจากหน่วยงานของประเทศที่จะเดินทางไปเยือน เว้นแต่จะมีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างประเทศ
ในสมัยโบราณ การเดินทางระหว่างประเทศมีความยากลำบากและต้องใช้ระยะเวลายาวนาน ระเบียบกฏเกณฑ์การตรวจตราคนเดินทางเข้าออกนอกประเทศยังไม่มีเช่นทุกวันนี้ การเดินทางไปต่างบ้านต่างเมืองยังจำกัดขอบเขตอยู่กับดินแดนที่อยู่ใกล้ชิดกัน บุคคลที่จะเดินทางติดต่อกับต่างประเทศยังอยู่ในขอบเขตจำกัดเฉพาะชนชั้นปกครอง ขุนนาง พ่อค้า และนักสอนศาสนา พลเมืองของประเทศต่างๆ ยังไม่มีการเดินทางไปต่างประเทศมากนัก
การเดินทางของกลุ่มบุคคลดังกล่าวไปต่างรัฐ ส่วนใหญ่จะใช้หนังสือหรือสาส์นของกษัตริย์หรือผู้ปกครองของรัฐตนไปถึงกษัตริย์หรือผู้ปกครองของอีกรัฐหนึ่ง ซึ่งจะระบุถึงวัตถุประสงค์ของการเดินทางของคณะบุคคลของรัฐผู้ส่ง และขอให้รัฐผู้รับให้ความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ต่อคณะผู้เดินทาง ดังจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์ของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยมีการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงแต่งตั้งคณะราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์นไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสเป็นต้น
ประวัติการใช้หนังสือเดินทางในสมัยก่อนมีหลักฐานปรากฏในลักษณะต่างๆ อาทิ ในรูปของตราหรือสัญลักษณ์ และต่อมาได้พัฒนามาเป็นเอกสารและเล่มหนังสือตามลำดับ โดยผู้ปกครองออกให้เพื่อคุ้มครองคนในปกครองที่เดินทางไปต่างแดน แต่ก็ยังไม่ใช่สิ่งบังคับใช้ในการเดินทาง เมื่อโลกมีความก้าวหน้าในด้านการคมนาคม การติดต่อสื่อสาร การท่องเที่ยว และพัฒนาการของเหตุการณ์ความร่วมมือและความขัดแย้งระหว่างประเทศได้มีส่วนทำให้ประเทศต่างๆ สร้างระเบียบกฏเกณฑ์ควบคุมการเดินทางเข้าออกประเทศของพลเมืองและคนต่างชาติเริ่มมีความเข้มงวดมากขึ้น หนังสือเดินทางจึงเป็นเอกสารของรัฐและเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ และเริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้หนังสือเดินทางไทยนั้น รูปแบบและการใช้หนังสือเดินทางของไทยได้เปลี่ยนแปลงตามพัฒนาการของสังคมไทยและระหว่างประเทศ จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับลักษณะ รูปแบบการออกหนังสือเดินทางสำหรับคนไทย โดยออกเป็นหนังสือราชการที่เขียนด้วยลายมือ ( ภาพประกอบ ) มีการกำหนดตราประทับเป็นรูปแบบที่แน่นอนบนหนังสือเดินทาง ตราประทับที่พบ คือ ตราพระคชสีห์น้อย ตราพระราชสีห์น้อย หรือตราสุครีบ ระบุระยะเวลาในการใช้งานซึ่งมีอายุ 1 ปี วัตถุประสงค์ในการเดินทาง และมีข้อความขอให้ข้าหลวงมณฑล ผู้ว่าราชการเมือง กรมการจังหวัด อำนวยความสะดวกในการเดินทาง
หนังสือเดินทางที่รู้จักกันในระยะแรกเป็นเอกสารเดินทางที่ทางราชการออกให้แก่บุคคลเพื่อใช้ในการเดินทางระหว่างเขต เมือง มณฑล หรือภายในพระราชอาณาเขต ยังไม่มีหนังสือเดินทางอันหมายถึงเอกสารที่ใช้เดินทางไปต่างประเทศ ต่อมาฝ่ายราชการสยามในสมัยนั้นได้เริ่มมีดำริให้ออกหนังสือสำหรับตัวให้คนฝ่ายสยามเดินทางไปเมืองต่างประเทศ จึงมีการกำหนดกฏเกณฑ์ว่า การเดินทางออกนอกพระราชอาณาเขตกำหนดให้คนสยามต้องมีจดหมายหรือหนังสือเดินทางสำหรับตัวทุกคนจากเจ้าเมือง จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า หนังสือเดินทางไทยในปัจจุบันได้พัฒนามาจากหนังสือเดินทางสำหรับตัวซึ่งใช้กันมาแต่อดีต
ในเวลาต่อมาได้มีการกำหนดให้ใช้หนังสือเดินทางไปประเทศห่างไกลในลักษณะเป็นหนังสือเดินทางที่พิมพ์ด้วยภาษาฝรั่งเศส 2 หน้า หน้าแรกมีลักษณะเป็นหนังสือราชการที่มีข้อความขออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทาง หน้าสองแสดงรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือหนังสือเดินทาง ซึ่งประกอบด้วยรูปถ่าย อายุ ความสูง สีผม ตา ใบหน้า ตำหนิ และลายมือชื่อผู้ถือหนังสือเดินทาง และมีอายุการใช้งาน 1 ปี
การออกหนังสือเดินทางในสมัยนั้นมิได้ออกให้เพียงหนังสือเดินทางสำหรับบุคคลเท่านั้น แต่ยังมีหนังสือเดินทางที่ออกให้กับคนครัวหนึ่งหรือคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งใช้เดินทางเช่นเดียวกับหนังสือเดินทางหมู่เช่นที่มีใช้ในปัจจุบัน โดยกำหนดรูปแบบที่แน่นอนและใช้ทั่วทุกมณฑล โดยระบุรายชื่อและจำนวนบุคคลที่เดินทางด้วยกัน พร้อมทั้งประเภทสัมภาระที่นำติดตัวไปด้วย ทั้งนี้ ในการกำหนดรูปแบบหรือระเบียบหนังสือเดินทางในอดีตฝ่ายปกครองต้องมีหนังสือขอหารือกับเสนาบดีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซึ่งต้องมีหนังสือขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์ก่อนด้วย
หนังสือเดินทางในสมัยนั้นยังเรียกรวมถึงเอกสารเดินทางประเภทตราเดินทาง ซึ่งทางราชการออกให้กับคนในบังคับ ( สยาม) ที่อาศัยอยู่ในประเทศ ใช้เป็นเอกสารแสดงตัว หรือออกให้แก่คนต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยการสลักท้องตราประทานหรือตราเดินทางลงในหนังสือเดินทางต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นหนังสือประจำตัวสำหรับเดินทางไปได้ในหัวเมือง ตามคำร้องขอของสถานทูตหรือสถานกงสุลต่างประเทศในไทย ซึ่งปัจจุบัน คือ การตรวจลงตรา หรือวีซ่า
การออกหนังสือเดินทางในระยะนี้มิได้จำกัดอยู่กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่บ้านเมืองหลายระดับ นับตั้งแต่กระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการเมือง รวมทั้งกรมการจังหวัด หรือแม้แต่กำนันก็เป็นผู้มีอำนาจในการออกหนังสือเดินทาง หากได้รับคำสั่งจากเจ้าเมือง
อย่างไรก็ดี แม้ว่าตามประเพณีแต่เดิมมา ผู้ใดจะเดินทางไปนอกพระราชอาณาเขต ก็มีธรรมเนียมที่ต้องรับหนังสือเดินทางสำหรับตัวซึ่งเจ้าพนักงานออกให้ก็ตาม แต่บุคคลโดยทั่วไป ส่วนมาก ก็ยังไม่ได้ถืออย่างเคร่งครัดว่า หนังสือเดินทางเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเดินทาง เพราะในอดีตยังไม่มีการตรวจตราการเดินทางเข้าออกประเทศอย่างเข้มงวด ประชาชนสามารถเดินทางออกนอกพระราชอาณาเขตได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องมีหนังสือเดินทาง การละเลยในการตรวจตราการเดินทางออกนอกประเทศดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาแก่ผู้เดินทางในระยะต่อมาเมื่อสถานการณ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลประเทศต่างๆ เริ่มบัญญัติการตรวจตราหนังสือเดินทางของคนต่างชาติอย่างเข้มงวด ทำให้ผู้เดินทางออกจากพระราชอาณาเขตของไทยซึ่งมิได้มีหนังสือเดินทางหรือตราเดินทาง (วีซ่า) ของประเทศที่จะเดินทางไป ต้องประสบปัญหาเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ เนื่องจากต้องถูกกักกันไม่ให้เข้าประเทศ หรือถูกจับกุมกักขังหรือถูกส่งกลับประเทศ
ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของคนไทยในการเดินทางไปต่างประเทศ ในวันที่ 17 กันยายน 2460 รัฐบาลไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงได้กำหนดกฏเกณฑ์อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับการออกหนังสือเดินทาง โดยการออก “ ประกาศว่าด้วยผู้เดินทางไปนอกพระราชอาณาเขตร์ ให้มีหนังสือเดินทาง ” ซึ่งได้ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 23 กันยายน 2460 เพื่อให้คนไทยทุกคนที่จะเดินทางออกไปประเทศที่อยู่ห่างไกล จำเป็นต้องขอหนังสือเดินทางกับกระทรวงการต่างประเทศ และหากเดินทางไปยังประเทศใกล้เคียงติดต่อกับพระราชอาณาเขต ก็ขอให้ขอหนังสือเดินทางจากผู้ว่าราชการจังหวัด หรือสมุหเทศาภิบาลในมณฑลของตน
ผลมาจากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงในระดับระหว่างประเทศหลายประการดังกล่าว และผลการประชุมขององค์การสันนิบาติชาติเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2463 ซึ่งเรียกร้องให้ทุกประเทศกำหนดรูปแบบหนังสือเดินทางในลักษณะเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลไทยได้ส่งคณะผู้แทนเดินทางเข้าร่วมประชุมและลงนามรับรองข้อมติของที่ประชุมดังกล่าวด้วย และการประกาศใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฉบับแรกของไทยในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2470 น่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการกำหนดกฏเกณฑ์และการปรับเปลี่ยนลักษณะและรูปแบบของหนังสือเดินทางที่มีลักษณะเป็นรูปเล่ม ซึ่งน่าจะเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หรือประมาณภายหลังปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา
สำหรับหนังสือเดินทางที่มีลักษณะเป็นรูปเล่มซึ่งพบหลักฐานในขณะนี้ เป็นหนังสือเดินทางประเทศสยามซึ่งออกใช้ในช่วงระยะปี พ.ศ.2482 เป็นหนังสือเดินทางปกแข็งซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ภายในประกอบด้วยรายการข้อมูลภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศสกำกับอยู่ และติดรูปถ่ายผู้ถือหนังสือเดินทางพร้อมลายมือชื่อ ประกอบด้วยหน้าหนังสือเดินทางจำนวน 32 หน้าเช่นหนังสือเดินทางในปัจจุบัน เป็นหนังสือเดินทางในพระราชอาณาเขตสยามออกที่แผนกหนังสือเดินทาง ณ กระทรวงการต่างประเทศ แต่แผนกหนังสือเดินทางจะออกหนังสือเดินทาง หรือต่ออายุหนังสือเดินทางสำหรับบุคคลผู้ใด ซึ่งมิได้อยู่ในพระราชอาณาเขตสยามในเวลานั้น ไม่ได้เลย
หนังสือเดินทางที่ออกให้ในสมัยนั้น ถ้ามิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น ก็มีกำหนดอายุการใช้งานเพียงสองปี เมื่อหมดอายุก็สามารถให้ต่ออีกตั้งแต่หนึ่งถึงสองปีก็ได้ แต่เมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี โดยหนังสือเดินทางใช้ได้แต่สำหรับการเดินทางไปยังประเทศที่ระบุไว้ในหนังสือเดินทางเท่านั้น แต่จะสลักเพิ่มเติมเพื่อเดินทางไปประเทศอื่นด้วยก็ได้ โดยคิดค่าธรรมเนียมออกหนังสือเดินทางฉบับละ 12 บาท และค่าธรรมเนียมต่ออายุปีละ 6 บาท หนังสือเดินทางดังกล่าวนี้ยังคงใช้สืบต่อกันมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะบางอย่าง อาทิ สี ตราครุฑบนปกนอก และลักษณะการจัดวางข้อมูลภายใน จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ.2520 มีการเปลี่ยนแปลงรายการข้อมูลผู้ถือหนังสือเดินทางจากการตีพิมพ์ด้วยภาษาไทยกับภาษาฝรั่งเศสมาเป็นข้อมูลภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
หลังจากนั้น หนังสือเดินทางไทยได้รับการพัฒนาตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการผลิต และประโยชน์ในการใช้สอยตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมของสังคม โดยกองหนังสือเดินทางพยายามพัฒนาระบบการผลิตเล่มหนังสือเดินทางอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้บริการหนังสือเดินทางดำเนินไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และป้องกันการปลอมแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยลำดับ
ในปี 2536 กองหนังสือเดินทางได้นำระบบหนังสือเดินทางแบบใหม่มาใช้ เรียกว่า ระบบ Digital Passport System (DPS ) ซึ่งเป็นวิธีการพิมพ์รูปผู้ถือหนังสือเดินทางลงในหนังสือเดินทางด้วยระบบดิจิตอลแทนการติดรูปตามระบบเดิม และอ่านได้ด้วยเครื่อง ( Machine Readable Passport ) และต่อมาได้ปรับเปลี่ยนการผลิตเล่มหนังสือเดินทางที่สามารถจัดเก็บข้อมูลในเล่มหนังสือเดินทาง ไว้ด้วยระบบข้อมูลหน้าเดียว เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ตั้งแต่ พ.ศ.2538 เป็นต้นมา
ในปี 2543 กองหนังสือเดินทางได้พัฒนาหนังสือเดินทางไทยโดยการนำเทคโนโลยีการถ่ายรูป การบันทึกข้อมูล และการพิมพ์ข้อมูลลงในเล่มโดยตรง รวมทั้งการสร้างระบบหนังสือเดินทางซึ่งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนราษฎรด้วยระบบคอมพิวเตอร์จากฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้สามารถตรวจสอบสถานะของผู้ขอหนังสือเดินทางโดยอาศัยหมายเลขประจำตัวประชาชน ซึ่งทำให้สามารถให้บริการรับคำร้องจากประชาชนผู้ขอใช้ให้บริการหนังสือเดินทางได้ในเวลาอันรวดเร็ว และทำการผลิตหนังสือเดินทางได้ภายในเวลา 3 วันทำการ
ในด้านการพัฒนารูปเล่มหนังสือเดินทาง กองหนังสือเดินทางได้ให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงรูปแบบและมาตรฐานของเล่มหนังสือเดินทางไม่น้อยไปกว่าการปรับปรุงด้านบริการ เนื่องจากรูปแบบและมาตรฐานดังกล่าวเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการป้องกันการปลอมแปลง และความน่าเชื่อถือของหนังสือเดินทางตามมาตรฐานสากล การพัฒนาหนังสือเดินทางจึงต้องคำนึงถึงรูปแบบที่สวยงามทันสมัยในราคาเหมาะสม และจะต้องประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สามารถป้องกันการปลอมแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปด้วย
ในปี 2545 กองหนังสือเดินทางได้พัฒนารูปแบบของหนังสือเดินทางแบบใหม่ ที่มีคุณลักษณะป้องกันการปลอมแปลง ( Security Features ) เพิ่มมากขึ้น และใช้เทคโนโลยีระดับสูงหลายอย่างเช่นเดียวกับการพิมพ์ธนบัตร เพื่อยกระดับมาตรฐานหนังสือเดินทางไทยให้ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำของโลก คุณสมบัติพิเศษที่ใส่ไว้ในหนังสือเดินทาง บางอย่างไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจสอบ และบางอย่างก็แฝงไว้อย่างแนบเนียน ทำให้ยากในการ
ปลอมแปลง นอกจากนั้นคุณลักษณะบางประการผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีและสารเคมีที่ไม่อาจหาได้ในท้องตลาดทั่วๆ ไป ทำให้มั่นใจได้ว่า หนังสือเดินทางไทยจะมีความปลอดภัย และปลอดจากการปลอมแปลง
ทิศทางในอนาคต หนังสือเดินทางไทยยังคงได้รับการพัฒนาและปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนโดยคำนึงถึงความมั่นคงของประเทศ นอกจากนี้ กองหนังสือเดินทางยังได้พัฒนาระบบข้อมูลหนังสือเดินทางไทยให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ถือ
หนังสือเดินทางผ่านระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเดินทาง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมศุลกากร และกระทรวงมหาดไทย สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์จากการตรวจสอบข้อมูลและให้บริการประชาชนด้วยความรวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนคนไทยได้รับความสะดวกสบายในการติดต่อกับหน่วยราชการ ไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใดของโลกก็ตาม
ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ
วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
คำทำนายคนเกิดวันต่าง ๆ
S u n d a y
คนเกิดวันอาทิตย์ เป็นคนชอบเสี่ยงกล้าได้กล้าเสีย เช่นเดียวกันกับในเรื่องของความรัก เมื่อหลงรักใครแล้วจะตามติดตื้อให้สำเร็จจนได้ เป็นคนรักสนุก ชอบคนที่ดูดีมีเสน่ห์ ไม่เรียบง่ายหรือเชยจนเกินไปหรือก็ไม่ห้าวสุดสุด่อง เกินไปก็ไม่เอา เป็นคนมีเชื่อมั่นในตนเองสูง มีความสดใจทำให้มีเสน่ห์ต่อเพศตรงข้าม ใครเห็นใครก็ชอบ แต่ก็มีนิสัยที่ค่อนข้างดื้อรั้น และหัวเแข็ง ซึ่งบางครั้งทำให้ไม่ยอมอง ประนีประนอมกันบ้างทำให้ความรักต้องสิ้นสุดลง ไปเพราะมีทิฐิมานะเป็นคนค่อนข้างห้าวเจ้าชู้ทีเดียวและมีความโรแมนติก ชอบที่จะได้พบคนใหม่ๆที่ทำให้รู้สึกท้าทายดี
คนเกิดวันนี้จะมีดวงความรักค่อนข้างดี ถ้าคนรักเข้าใจถึงความใจร้อนไปบ้างของคุณ ก็จะสามารถคบกันได้นานเลยทีเดียว
คนเกิดวันอาทิตย์ เป็นคนชอบเสี่ยงกล้าได้กล้าเสีย เช่นเดียวกันกับในเรื่องของความรัก เมื่อหลงรักใครแล้วจะตามติดตื้อให้สำเร็จจนได้ เป็นคนรักสนุก ชอบคนที่ดูดีมีเสน่ห์ ไม่เรียบง่ายหรือเชยจนเกินไปหรือก็ไม่ห้าวสุดสุด่อง เกินไปก็ไม่เอา เป็นคนมีเชื่อมั่นในตนเองสูง มีความสดใจทำให้มีเสน่ห์ต่อเพศตรงข้าม ใครเห็นใครก็ชอบ แต่ก็มีนิสัยที่ค่อนข้างดื้อรั้น และหัวเแข็ง ซึ่งบางครั้งทำให้ไม่ยอมอง ประนีประนอมกันบ้างทำให้ความรักต้องสิ้นสุดลง ไปเพราะมีทิฐิมานะเป็นคนค่อนข้างห้าวเจ้าชู้ทีเดียวและมีความโรแมนติก ชอบที่จะได้พบคนใหม่ๆที่ทำให้รู้สึกท้าทายดี
คนเกิดวันนี้จะมีดวงความรักค่อนข้างดี ถ้าคนรักเข้าใจถึงความใจร้อนไปบ้างของคุณ ก็จะสามารถคบกันได้นานเลยทีเดียว
คำทำนายบุคลิก นิสัยตามเดือน
มกราคม
...ทะเยอทะยาน จริงจัง ชอบสั่งสอน รักการเรียนรู้ ชอบขุดคุ้ยหาจุดด้อยและความบกพร่องของคนอื่น ชอบวิพากษ์วิจารณ์ ขยันทำงานตัวเป็นเกลียวมีความคิดสร้างสรรค์ ฉลาด เจ้าระเบียบ ทำอะไร เป็นแบบแผนขั้นตอน ไม่มีนอกลู่นอกทางแม้แต่น้อย อ่อนไหว ช่างคิด รู้วิธีทำให้คนอื่นมีความสุขปกติจะเงียบขรึมถ้าไม่ได้กำลังตื่นเต้นหรือเข้า สู่ ภาวะคับขัน สงบเสงี่ยม กระตือรือร้น โรแมนติกแต่ไม่ค่อยยอมแสดงออกเท่าไร รักเด็ก ติดบ้าน ซื่อสัตย์ ไม่ค่อยชอบเข้าสังคม แถมขี้หึงอีกต่างหาก
กุมภาพันธ์
...ช่างฝัน รักทั้งโลกแห่งความเป็นจริงและโรคแห่งความฝันไหวพริบปฏิภาณดี ฉลาดหากแต่บุคลิกภาพแปรปรวนไปนิด เจ้าอารมณ์ เงียบ ขี้อาย สุภาพ ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตัวเอง ซื่อสัตย์ ชอบตั้งเป้าหมายในชีวิต รักอิสระเหนือสิ่งอื่นใด ขบถได้ง่ายถ้าถูกบีบคั้น แอบก้าวร้าวบ้างบางครั้ง แต่ที่จริงอ่อนไหวมาก เสียใจง่าย โกรธก็ง่ายไม่ชอบเรื่องไร้สาระ ชอบคบเพื่อนฝูงใหม่ๆ น่ารักๆ รักกิจการงานบันเทิงทุกชนิดโรแมนติกลึกๆ แต่ไม่แสดงออก เชื่อถือโชคลาง ใช้จ่ายเงินเก่ง
...ทะเยอทะยาน จริงจัง ชอบสั่งสอน รักการเรียนรู้ ชอบขุดคุ้ยหาจุดด้อยและความบกพร่องของคนอื่น ชอบวิพากษ์วิจารณ์ ขยันทำงานตัวเป็นเกลียวมีความคิดสร้างสรรค์ ฉลาด เจ้าระเบียบ ทำอะไร เป็นแบบแผนขั้นตอน ไม่มีนอกลู่นอกทางแม้แต่น้อย อ่อนไหว ช่างคิด รู้วิธีทำให้คนอื่นมีความสุขปกติจะเงียบขรึมถ้าไม่ได้กำลังตื่นเต้นหรือเข้า สู่ ภาวะคับขัน สงบเสงี่ยม กระตือรือร้น โรแมนติกแต่ไม่ค่อยยอมแสดงออกเท่าไร รักเด็ก ติดบ้าน ซื่อสัตย์ ไม่ค่อยชอบเข้าสังคม แถมขี้หึงอีกต่างหาก
กุมภาพันธ์
...ช่างฝัน รักทั้งโลกแห่งความเป็นจริงและโรคแห่งความฝันไหวพริบปฏิภาณดี ฉลาดหากแต่บุคลิกภาพแปรปรวนไปนิด เจ้าอารมณ์ เงียบ ขี้อาย สุภาพ ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตัวเอง ซื่อสัตย์ ชอบตั้งเป้าหมายในชีวิต รักอิสระเหนือสิ่งอื่นใด ขบถได้ง่ายถ้าถูกบีบคั้น แอบก้าวร้าวบ้างบางครั้ง แต่ที่จริงอ่อนไหวมาก เสียใจง่าย โกรธก็ง่ายไม่ชอบเรื่องไร้สาระ ชอบคบเพื่อนฝูงใหม่ๆ น่ารักๆ รักกิจการงานบันเทิงทุกชนิดโรแมนติกลึกๆ แต่ไม่แสดงออก เชื่อถือโชคลาง ใช้จ่ายเงินเก่ง
ลักษณะนิสัย ตามเวลาเกิด
เกิดเวลาตี 5 ถึง 7 โมงเช้า
ช่วงเวลานี้เป็นเวลากระต่ายจะทำให้คุณเป็นคนรักสวยรักงาม ทำอะไรละเอียดอ่อน สะอาดสะอ้าน ชอบแต่งตัวให้ดูดีเสมอ บุคลิกของคุณจะค่อนข้างสุภาพ ดูอ่อนโยนพูดจาหวานและนอบน้อมถ่อมตัว มีมารยาท เป็นเลิศ ดูแล้วผู้ดี๊ผู้ดี สงบเงียบเรียบร้อยเป็นผู้ใหญ่ ด้านนิสัยใจคอแม้จะดูเงียบนุ่มปานนั้น ลึก ๆมั่นใจและทะเยอทะยานไม่น้อย เป็นคนเข้มแข็งข้างใน รู้จักระมัดระวังรอบคอบเป็นนักการฑูต จิตวิทยาสูง มีความเข้าอกเข้าใจคนอื่นดี ใจกว้าง โกรธง่ายหายไวจิตใจดี ใจอ่อน ชอบทำบุญ ชอบช่วยเหลือ รสนิยมดี
เกิดเวลา 7 โมงเช้าถึง 9 โมงเช้า
เวลานี้เป็นเวลามังกร บุคลิกของคุณจะดูหยิ่งทะนงมาก ท่าทางสง่าผ่าเผยดูหัวสูง ติดหรู ความทะเยอทะยานจะเห็นได้ชัด คุณดูน่าเกรงใจ เข้าถึงยากมีความเป็นผู้นำสูง นิสัยของคุณจริง ๆ แล้วเป็นคนใจกว้างและเด็ดเดี่ยว รักศักดิ์ศรีโมโหร้าย บุ่มบ่าม มุทะลุ ทำอะไรต้องตรงไปตรงมา ไม่ชอบเรื่องเล่ห์เหลี่ยมในด้านดีอยู่ที่เป็นหลักพึ่งพิงได้ รับผิดชอบสูงและขี้สงสารเป็นคนที่มีประสิทธิภาพสูงทีเดียวนะอนาคตของคุณค่อน ข้างแจ่มแจ๋วด้วยความมุ่งมั่นบากบั่นของคุณนั่นแหล่ะ
ช่วงเวลานี้เป็นเวลากระต่ายจะทำให้คุณเป็นคนรักสวยรักงาม ทำอะไรละเอียดอ่อน สะอาดสะอ้าน ชอบแต่งตัวให้ดูดีเสมอ บุคลิกของคุณจะค่อนข้างสุภาพ ดูอ่อนโยนพูดจาหวานและนอบน้อมถ่อมตัว มีมารยาท เป็นเลิศ ดูแล้วผู้ดี๊ผู้ดี สงบเงียบเรียบร้อยเป็นผู้ใหญ่ ด้านนิสัยใจคอแม้จะดูเงียบนุ่มปานนั้น ลึก ๆมั่นใจและทะเยอทะยานไม่น้อย เป็นคนเข้มแข็งข้างใน รู้จักระมัดระวังรอบคอบเป็นนักการฑูต จิตวิทยาสูง มีความเข้าอกเข้าใจคนอื่นดี ใจกว้าง โกรธง่ายหายไวจิตใจดี ใจอ่อน ชอบทำบุญ ชอบช่วยเหลือ รสนิยมดี
เกิดเวลา 7 โมงเช้าถึง 9 โมงเช้า
เวลานี้เป็นเวลามังกร บุคลิกของคุณจะดูหยิ่งทะนงมาก ท่าทางสง่าผ่าเผยดูหัวสูง ติดหรู ความทะเยอทะยานจะเห็นได้ชัด คุณดูน่าเกรงใจ เข้าถึงยากมีความเป็นผู้นำสูง นิสัยของคุณจริง ๆ แล้วเป็นคนใจกว้างและเด็ดเดี่ยว รักศักดิ์ศรีโมโหร้าย บุ่มบ่าม มุทะลุ ทำอะไรต้องตรงไปตรงมา ไม่ชอบเรื่องเล่ห์เหลี่ยมในด้านดีอยู่ที่เป็นหลักพึ่งพิงได้ รับผิดชอบสูงและขี้สงสารเป็นคนที่มีประสิทธิภาพสูงทีเดียวนะอนาคตของคุณค่อน ข้างแจ่มแจ๋วด้วยความมุ่งมั่นบากบั่นของคุณนั่นแหล่ะ
ทักทาย
Blogger เริ่มต้นจากบริษัทเล็กๆ ในซานฟรานซิสโกชื่อ Pyra Labs ในเดือนสิงหาคม 1999 ในยุคเฟื่องฟูของธุรกิจดอตคอม แต่เราก็ไม่ใช่กิจการที่สนับสนุนโดยนักลงทุน ชอบจัดปาร์ตี้ เล่นฟุตบอลในล็อบบี้ หรือเป็นกิจการที่แจกเบียร์ไม่อั้น (ยกเว้นเบียร์ของคนอื่น)
พวกเราเป็นกลุ่มเพื่อนสามคน สร้างรายได้จากการทำงานในโครงการเว็บไซต์ที่น่าเบื่อให้กับบริษัทใหญ่ๆ และมองหาทางก้าวเข้าสู่โลกแห่งอินเทอร์เน็ตอย่างอลังการ สิ่งที่เราพยายามทำตั้งแต่แรกนั้นไม่ค่อยมีความหมายสักเท่าไรในขณะนี้ แต่ระหว่างที่เราพยายามกันอยู่นั้น เราได้สร้าง Blogger ขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ และก็คิดว่า อืมม์ น่าสนใจนะ
วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
พายุ
เมฆพายุหมุนเหนือเมือง Enschede ประเทศเนเธอร์แลนด์ |
ประเภทของพายุ
พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
- พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด
- พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน ซึ่งล้วนเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด กล่าวคือ
==> พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก
==> พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น
==> พายุไซโคลน (cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy)
==> พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง
==> พายุดีเปรสชัน (depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก
- พายุทอร์นาโด (tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง
ลมสลาตัน เป็นชื่อภาษาไทยใช้เรียกลมแรงหรือพายุช่วงปลายฤดูฝนที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ยังใช้เรียกพายุทั่วไปที่มีความรุนแรงทุกชนิด รวมทั้งพายุต่างๆ ข้างต้นที่มีความรุนแรงข้างต้น
อันตรายที่เกิดจากพายุ
พายุไต้ฝุ่น เมื่อพายุที่มีกำลังขนาดไต้ฝุ่น คือ กำลังความเร็วของลมตั้งแต่ 65 น๊อต หรือ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไปพัดผ่านที่ใดทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงดังนี้
บนบก ทำให้ ต้นไม้ล้ม เกิดอันตรายจากต้นไม้ล้มทับบ้านเรือน บ้านเรือนพังทับผู้คนในบ้านและใกล้เคียงบาดเจ็บหรือตายสวนไร่นาเสียหาย เสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าขาด ไฟฟ้าช็อต เกิดเพลิงไหม้และผู้คนอาจเสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดได้ ผู้คนที่มีอาคารพักอาศัยอยู่ริมทะเลอาจถูกน้ำพัดพาลงทะเลจมน้ำตายได้ ดังเช่น ปรากฏการณ์ที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช ฝนตกหนักมากทั้งคืนทั้งวัน เมื่อน้ำจากป่าและภูเขาหลากลงมาอย่างมากมาย ท่วมบ้านช่อง ถนนหนทาง และเรือกสวนไร่นาล่มจมอยู่ใต้น้ำ เส้นทางคมนาคม ทางรถไฟ สะพาน ถนนทางขาด
ทะเล ในทะเลลมแรงจัดมาก คลื่นใหญ่ เรือขนาดใหญ่ ๆ อาจจะถูกพัดพาไปเกยฝั่งล่มจมได้ บรรดาเรือเล็กเป็นอันตรายไม่สามารถจะต้านความรุนแรงของพายุได้ คลื่นใหญ่ซัดขึ้นริมฝั่งจนทำให้ระดับน้ำขึ้นสูงมากจนท่วมอาคารบ้านช่องริมทะเลได้ บรรดาโป๊ะจับปลาในทะเลถูกทำลาย
พายุโซนร้อน พายุโซนร้อนมีความรุนแรงน้อยกว่าพายุไต้ฝุ่น ความเร็วของลมบริเวณใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 34 น็อต หรือ 62 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่เกิน 63 น็อต หรือ 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในทะเลลมจะแรงมากจนสามารถจมเรือขนาดใหญ่ ๆ ได้ ต้นไม้ล้ม ถ้าไม่มีกาารเตรียมรับมือที่ดีก็จะเกิดความเสียหายได้
พายุดีเปรสชั่น พายุดีเปรสชั่นเป็นพายุที่มีกำลังอ่อน ความเร็วของลมใกล้บริเวณศูนย์กลางไม่เกิน 33 น็อต หรือ 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่มีอันตรายรุนแรงแต่ทำให้มีฝนตกทั่วไปตลอดทางที่พายุดีเปรสชั่นผ่านไป และมีฝนตกหนักเป็นแห่ง ๆ พร้อมด้วยลมกรรโชกแรงเป็นครั้งคราว ซึ่งบางคราวจะรุนแรงจนทำให้เกิดความเสียหายได้บ้าง ในทะเลค่อนข้างแรงและคลื่นจัด บรรดาเรือประมงเล็กขนาดต่ำกว่า 50 ตัน ควรงดเว้นออกทะเลเพราะอาจจะล่มลงได้ และพายุดีเปรสชั่นนี้เมื่ออยู่ในทะเลได้รับไอน้ำหล่อเลี้ยงตลอดเวลา และไม่มีสิ่งกีดขวางทางลมอาจจะทวีกำลังขึ้นได้โดยฉับพลัน สำหรับพายุพัดจัดจะลดน้อยลงเป็นลำดับ มีแต่ฝนตกทั่วไปเป็นระยะนาน ๆ และตกได้มากถึง 100 มิลลิเมตร ภายใน 12 ชั่วโมงซึ่งต่อไปก็จะทำให้เกิดน้ำป่าไหลบ่าจากภูเขาและป่าใกล้เคียงลงมาท่วมบ้านเรือนได้ในระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากพายุได้ผ่านไปแล้ว
พายุฤดูร้อน พายุฤดูร้อนเป็นพายุที่ต่างกับพายุดีเปรสชั่น และเกิดบนผืนแผ่นดินที่ร้อนอบอ้าวในฤดูร้อนแต่เป็นพายุที่มีบริเวณย่อม ๆ มีอาณาเขตเพียง 20-30 ตารางกิโลเมตร แต่อาจมีลมแรงมากถึง 47 น็อต หรือ 87 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังพายุที่เกิดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 และพายุที่เกิดขึ้นที่อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2497 พายุนี้มีกำลังแรงที่จะทำให้เกิดความเสียหายได้มากเหมือนกันแต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง อันตรายที่เกิดขึ้นคือ ต้นไม้หักล้มทับบ้านเรือนผู้คน บ้านเรือนพังทะลาย ฝนตกหนักและอาจมีลูกเห็บตก
การเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุ
ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ
สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้ายแก่กรมอุตุนิยมวิทยา
ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ
ที่มา : วิกิพีเดีย
เครื่องดื่ม
เราสามารถแบ่งเครื่องดื่มออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
...................
- เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
- เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์
- เครื่องดื่มผสม
- ชา
- กาแฟ
- น้ำผลไม้
- เครื่องดื่มอัดก๊าซ
- ไวน์
- เบียร์
- รัม
...................
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)