ในโลกไซเบอร์ถ้าหากคนรู้จัก มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก อีกมุมหนึ่งของโลกไซเบอร์ คนก็รู้จัก จูเลียน แอสเซนจ์ แห่งวิกิลีคส์ไม่แพ้กัน
มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กได้รับรางวัลบุคคลแห่งปี ค.ศ. 2010 โดยนิตยสารไทม์ ซึ่งมักจะเป็นผู้โด่งดังของโลก ซึ่งผม เองก็เคยเขียนเรื่องของ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ไปหลายครั้ง
วิกิลีคส์เป็นเว็บไซต์ที่สามารถสร้างผลสะเทือนไปยังทั่วโลก โดยเฉพาะรัฐบาลของประเทศมหาอำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกา โดยมีการเปิดเผยเอกสารลับของทางการสหรัฐ ถึง 400,000 ชิ้น เกี่ยวกับความลับในการดำเนินการทางทหารในอิรักในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นอกจากนี้ไม่นานนักก็ยังได้มีการเปิดเผยเอกสารลับซึ่งเป็นบันทึกทางทหารที่ จัดเก็บชิ้นความลับเอาไว้ประมาณ 90,000 ชิ้น ซึ่งอธิบายรายละเอียดและทำให้เข้าใจถึงยุทธศาสตร์ทางทหารในอัฟกานิสถาน
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010 ปีนี้เอง วิกิลีคส์ได้เผยแพร่วิดีโอเกี่ยวกับเฮลิคอป เตอร์อาปาเช่ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้สังหารประชาชนไม่น้อยกว่า 12 คน ซึ่งมีนักข่าวรอยเตอร์ 2 คนด้วย ในระหว่างที่กองทัพสหรัฐบุกเข้าโจมตีกรุงแบกแดด ประเทศอิรักในปี ค.ศ. 2007 นักวิเคราะห์ทางทหารสหรัฐอเมริกาคนหนึ่งกำลังรอถูกดำเนินคดี โดยมีการกล่าวหาว่าเขาทำให้เอกสารลับรั่วไหล
วิกิลีคส์ เป็นเว็บไซต์ที่เรียกตนเองว่าเป็นผู้เป่าสัญญาณนกหวีดเตือนภัยให้กับชาวโลก เพราะมักจะป้อนความรู้ให้ประชาชนชาวเว็บโดยการเผยแพร่เอกสาร
ผู้ก่อตั้งเว็บนี้และเป็นโฆษกที่ทำให้โลกได้รู้จักวิกิลีคส์ ไม่แพ้เว็บไซต์อื่นใดในโลกคือ จูเลียน แอสเซนจ์ ซึ่งกำลังถูกรัฐบาลประเทศมหาอำนาจของโลกหลายประเทศพยายามที่จะดำเนินคดีอยู่ แต่ทางวิกิลีคส์ก็มีอาสาสมัครทั่วโลกช่วยต่อสู้ทางกฎหมายให้กับคุณแอสเซนจ์ ด้วยเช่นกัน
จูเลียน แอสเซนจ์ เป็นนักกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตเกิดวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1971 ปัจจุบันอายุ 39 ปี เป็นชาวออสเตรเลีย ได้มีโอกาสเข้าเรียนมหาวิทยาลัยถึง 6 แห่ง แต่หลัก ๆ ก็จะเรียนทางฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น รวมทั้งปรัชญาและประสาทวิทยาแต่ไม่จบ เขาเป็นนักพัฒนาโปรแกรมทางด้านซอฟต์แวร์แบบโอเพ่น ซอร์ส ได้เคยประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับเรื่องรหัสลับ สมัยเด็กเคยเป็นนักแฮกเกอร์มาก่อน
“วิกิลีคส์ นับได้ว่าเป็นองค์การข่าวสารแห่งแรกของโลกที่ไม่ได้เป็นของรัฐแต่ทรงอิทธิพล มากที่สุด ทีมงานของวิกิลีคส์เป็นอาสาสมัครมาช่วยพิจารณาตรวจสอบดูแลความถูกต้องของ ข่าวสารเพื่อดูว่าสมควรตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่หรือไม่ นอกจากนี้เว็บไซต์ของเขานั้นสร้างด้วยเทคนิคการใช้รหัสลับขั้นสูงและมีนัก กฎหมายชั้นนำช่วยกันปกป้องเว็บไซต์วิกิลีคส์ไม่ให้ถูกปิดหรือถูกทำลายจาก รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ” คุณจูเลียน แอส เซนจ์ ได้กล่าวไว้
แอสเซนจ์ เคยได้รับรางวัลเสรีภาพแห่งการแสดงออกจำนวนมาก เช่น อิคอนอมิส องค์การนิรโทษกรรมสากล และแซม อะดัมส์
ถ้าจะพูดภาษาการเมือง วิกิลีคส์นี่แหละ คือ ฝ่ายค้านตัวจริงของรัฐบาลมหาอำนาจของโลกในหลายประเทศ ซึ่งอุบัติขึ้นจากระบบไซเบอร์ของโลกยุคใหม่ ก็คอยจับตาดูและเงี่ยหูฟังเสียงนกหวีดจากเขาได้.
ที่มา : เดลินิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น