หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

“ชนวัว” อำลาหน้าหนาวของเนปาล


ภาพของวัวหนักกวาครึ่งตันที่ก้าวเข้าสู่วงล้อมก่อนที่จะพุ่งเข้าใส่กัน ท่ามกลางเสียงกรีดร้องทั้งด้วยความกลัวและสะใจของฝูงชน อาจดูไม่แตกต่างจากาภพของการชนวัวในสนามของสเปน แต่นี่คือการชนวัวในสไตล์เนปาลที่ต้องปีนป่ายขึ้นไปชมภาพอันน่าตื่นเต้นนี้บนเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในยุโรป


ทุกปีชาวเนปาลนัลพันคนจะเดินทางมาเพื่อชมการต่อสู้ของสัตว์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลมาคี ซันกราติ ในวันแรกของเดือน 10 ตามปติทินของเนปาล ซึ่งเป็นวันที่ชาวพื้นเมืองจะพากันเฉลิมฉลองฤดูหนาวที่กำลังจะสิ้นสุดลง ขณะที่ฤดูร้อนกำลังจะเริ่มต้น


แต่กรชนวัวของที่นี่จะต่างออกไปเพราะไม่มีมาทาดอร์มาทำหน้าที่บังคับ และวัวก็เป็นวัวพันธุ์พื้นเมืองซึ่งเป็นที่เคารพบูชาตามความเชื่อในศาสนาฮินดู

“การชนวัวเกิดขึ้นที่นี่นานมาแล้ว ปู่ของผมบอกว่ามันน่าจะมีมาแล้วกว่า 200 ปี การชนวัวจะมีการเปลี่ยนสถานที่จัดไปเรื่อย ๆ รอบ ๆ อำเภอนูวากต แต่ 6 ปีที่ผ่านมาเรานำการชนวัวที่มีอยู่ทั้งหมดมารวมกันเพื่อจัดเป็นการแข่งขันใหญ่เพียงหนึ่งเดียว” จานัก ราจ ดุงกานา ผู้จัดงานของหมู่บ้านทารูกาซึ่งห่างจากกรุงกาฐมัณฑุไปทางเหนือราว 80 กิโลเมตร บอกเล่า
วัวทั้ง 7 ตัวจะเข้าสู่สนามแข่งขันที่อยู่บนลานดินด้านหนึ่งของหมู่บ้านที่อุดสมบูรณ์ที่มุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผาของนูวากต โดยมีฝูงชนกว่า 5,000 นั่งชมอยู่บนสนามหญ้าและดินโคลนที่ลาดเอียงลงสู่สนามแข่งขันที่อยู่ตรงกลาง

นี่ไม่ใช่การแข่งขันที่จะทำเงินให้กับเจ้าของเหมือนอย่างในสเปน ผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัลจากกองทุนของหมู่บ้านเพียง 1,000 รูปี หรือราว 360 บาท ขณะที่ฝ่ายที่แพ้จะได้เงินรางวัลครึ่งหนึ่ง
ลูกวัวที่ได้รับการคัดเลือกจะถูกส่งเข้ารับการฝึกเพื่อเข้าร่วมแข่งขันในเทศกาลนี้ทันทีที่คลอดออกมา พวกมันจะถูกขุนให้ผิวหนังมีความเหนียวทนต่อการต่อสู้ นั่นจึงทำให้การชนวัวของเนปาลต่างจากยุโรป พวกมันไม่ต้องต่อสู้กันจนเลือดตกยางออก เพียงแค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเหนื่อยและยอมแพ้ก็เป็นอันจบ คล้ายกับการกีฬาชนวัวกับคนของสเปนที่แค่เพียงไล่ขวิดเท่านั้น แต่ไม่ถึงกับทำให้อีกฝ่ายเสียชีวิต


ผู้ชมที่มาเฝ้าดูการแข่งขันอย่างใกล้ชิดนั้นก็ต้องคอยระวังตัวด้วย เพราะแม้จะอยู่ในเขตปลอดภัยแต่หากวัวตัวนั้นเกิดหันมาพุ่งเข้าใส่ผู้ชม พวกเขาก็ต้องพร้อมที่จะหลบฉากเรื่องความบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นถือเป็นเรื่องใหญ่ของที่นี่ เจ้าของและผู้จัดการจะคอยเอาไม้ไผ่แยงเข้าไประหว่างคู่ต่อสู้เพื่อแยกพวกมันออกจากัน หากว่าเห็นอีกฝ่ายกำลังจะได้รับบาดเจ็บ แต่ใช่ว่าจะไม่เคยมีวัวที่ได้รับบาดเจ็บเลย เครือข่ายสงเคราะห์สัตว์แห่งเนปาลเคยพบว่าวัวเคยได้รับบาดเจ็บถึงขั้นกระดูกหักมาแล้ว

“เราจึงต้องสอนพวกมันให้รู้จักการต่อสู้ตั้งแต่ยังเด็ก ผมจึงไม่ค่อยกังวลว่าพวกมันจะได้รับบาดเจ็บเท่าไหร่นัก เพราะผมไม่เคยเห็นว่าพวกมันต้องเจ็บมาก่อนเลย” โทย่า ปราสาด ดาคาล เทรนเนอร์วัววัย 48 ผู้มีประสบการณ์ในการสอนกว่า 19 ปี บอกเล่าการชนวัวในเนปาลอาจจะมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน แต่สำหรับที่ทารูกานั้นเพิ่งเริ่มต้นเมื่อปี 1900 เท่านั้น โดยไจ ปริธวี บาฮาเดอร์ ซิงค์ กษัตริย์ของอาณาจักรบาจแฮงทว่าการชนวัวในสเปนมีประวัติศาสตร์มายาวนาน ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 16 แต่ปัจจุบันกลับได้รับความนิยมน้อยลง จากการสำรวจในปี 2008 มีชาวคาตาโลเนียเพียงร้อยละ 23 เท่านั้นที่ยังสนใจประเพณีโบราณนี้ ขณะที่การชนวัวในชุมชนเล็ก ๆ ของเนปาลนั้นกลับกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ


“ตอนนี้เรามีผู้ชมจำนวนนับพันคน แต่อีกไม่นานเชื่อว่ามันจะเพิ่มขึ้นเป็น 15,000 คนได้แน่ เพราะประเพณีนี้กำลังได้รับความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ” ซอราฟ ปราทานานกา นักเรียนจากกาฐมัณฑุที่เดินทางขึ้นมาชมการแข่งขันที่นี่คาดการณ์.

เจอร์นีแมน@เดลินิวส์

ไม่มีความคิดเห็น: