หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ฟุตบอลโลก

......ฟุตบอลโลกทำการแข่งครั้งแรกในปี 1930 โดยฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) โดยประเทศอุรุกวัยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน

ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกมีทั้งหมด 13 ประเทศ ตอนนั้นยังไม่มีการแข่งขันรอบคัดเลือก ที่อุรุกวัยประเทศเจ้าภาพได้ส่งจดหมายเชิญประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมการแข่งขัน

เพราะระยะทางที่ไกล ทำให้มีเพียงประเทศจากยุโรป 4 ประเทศเท่านั้นที่ตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ โดยส่วนมากปฏิเสธที่จะเดินทางโดยเรือหลายอาทิตย์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก

ที่มอนเตวิเดโอ เจ้าภาพได้สร้างสนามแข่งขันที่สวยงามสนามหนึ่ง ซึ่งจุผู้ชมได้ถึง 95,000 คน โครงการสร้างสนามดังกล่าวต้องเลื่อนกำหนดสร้างเสร็จออกไป เนื่องจากมีฝนตกหนัก ซึ่งทำให้สนามแข่งขันเสร็จก่อนหน้าการแข่งขันเพียง 5 วันเท่านั้น

แต่ด้วยเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้อุรุกวัยเหมาะสมสำหรับการจัดการแข่งขันครั้งนี้ พวกเขาเป็นแชมป์โอลิมปิกสองสมัยแรก ที่ช่วยสร้างชื่อเสียงให้กับพวกเขา นอกจากนั้นเดือนกรกฎาคม 1930 ยังเป็นเดือนที่ประเทศกำลังเฉลิมฉลอง 100 ปีแห่งการเป็นอิสระ ที่ทำให้ช่วงสองสัปดาห์ของการแข่งขันฟุตบอลโลก ที่แทบจะทั้งทัวร์นาเมนท์แข่งขันกันที่เมืองหลวงของอุรุกวัยแห่งนี้ มีเทศกาลคาร์นิวัลฉลองเอกราชอยู่ด้วย

4 ทีมเท่านั้นที่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก และไม่มีทีมไหนเลยที่ได้รับการคาดหมายว่าจะคว้าแชมป์ไปครอง ประเทศมหาอำนาจอย่างอิตาลี, เยอรมัน, ฮอลแลนด์, อังกฤษ และสเปน พากันอยู่ที่บ้าน หนึ่งในประเทศที่ส่งทีมเข้าร่วมอย่างโรมาเนีย ที่แม้ว่าจะมีกษัตริย์คิง แคโรล เป็นผู้จัดการทีม แต่โรมาเนียก็ไม่ประสบความสำเร็จ

ฝรั่งเศส และเม็กซิโก ลงเล่นฟุตบอลโลกนัดแรกในประวัติศาสตร์ และทีมตราไก่เป็นฝ่ายชนะ 4-1 โดยลูเซียน โลรองต์ ของฝรั่งเศสยิงประตูแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลก แต่สองทีมที่แข็งแกร่งในทัวร์นาเมนต์นี้คืออาร์เจนติน่า และอุรุกวัย ที่ทั้งสองทีมเป็นแชมป์ของกลุ่มอย่างง่ายดาย

สตาบิเล่ ได้รับเลือกให้เป็นนักเตะยอดเยี่ยมของทัวร์นาเมนท์ จากจุดเริ่มต้นคือผู้เล่นสำรอง เขาลงสนาม และซัดแฮตทริกนัดเตะกับเม็กซิโก

ในรอบรองชนะเลิศอาร์เจนติน่าถล่มสหรัฐ อเมริกา 6-1 และอุรุกวัยชนะด้วยสกอร์เดียวกันในการเตะกับยูโกสลาเวีย ตอนนั้นไม่มีการแข่งขันชิงอันดับสาม ทำให้สหรัฐ และยูโกสลาเวียได้ครองอันดับสามร่วมกัน

รอบชิงชนะเลิศมีขึ้นเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 1930 ณ สนามเอสตาดิโอ เซนเตนาริโอ ที่อุรุกวัยเจ้าภาพพบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอาร์เจนติน่า

ถ้วยรางวัล World Cup

ฟีฟ่า เวิลด์ คัพ โทรฟี่


ความเป็นมาของถ้วยฟุตบอลโลกที่นับเป็นแรงบันดาลใจให้นักเตะทีมต่างๆต่อสู้เพื่อพิสูจน์ฝีมือและศักดิ์ศรีของประเทศนั้นมีด้วยกันสองรุ่น โดยรุ่นล่าสุดนี้เป็นถ้วยรางวัลที่มีน้ำหนักถึง 4,970 กรัม ทำด้วยทองแท้ 18 กะรัต สูง 36 เซนติเมตร เรียกว่าถ้วยฟีฟ่าเวิลด์คัพ (FIFA World Cup Trophy) ออกแบบโดยประติมากรรมชาวอิตาเลียน ซิลวิโอ กาซซานิก้า ในปีค.ศ.1971 โดยเส้นของรูปปั้นบิดขึ้นมาจากฐานเป็นรูปนักกีฬาสองคนยืนหันหลังยกโลก ดูมีพลังเคลื่อนไหวในตัวเพื่อเป็นจังหวะแห่งการฉลองชัยชนะ

ถ้วยเวิลด์คัพใบนี้เริ่มใช้ครั้งแรกในการแข่งขันปีค.ศ.1974 ที่ประเทศเยอรมนีเป็นเจ้าภาพ และเยอรมนีก็คว้าถ้วยใบนี้สำเร็จครอบครองไว้นาน 4 ปี จากนั้นจึงลงไปอยู่อเมริกาใต้ แล้วกลับขึ้นมายุโรป สลับกัน 2 ทวีป อย่างนี้ในทุก 4 ปี เพราะประเทศที่ได้แชมป์จากเยอรมนีก็คือ อาร์เจนตินา (1978) อิตาลี (1982) เยอรมนี (1990) แล้วก็ล่าสุดคือบราซิล (1994)

แต่ถ้วยฟีฟ่าไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง เพราะฟีฟ่า หรือสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ถือว่าถ้วยนี้จะต้องอยู่ถาวรกับฟีฟ่า ผู้ชนะจะได้รับถ้วยจำลองที่ทำจากทองผสม ส่วนที่ฐานซึ่งมีแหวนคาดสองเส้น มีพื้นที่ไว้สลักชื่อผู้ชนะ 17 ช่อง ซึ่งเมื่อถึงปีค.ศ.2038 ชื่อก็จะเต็มช่องเหล่านี้ จากนั้นจะทำอย่างไรต่อไป ฟีฟ่าก็คงต้องปรึกษากัน


ถ้วย ชูลส์ ริเมต์


สำหรับถ้วยเดิมชื่อถ้วยจูลส์ ริเมต์ ซึ่งเป็นชื่อของประธานฟีฟ่าชาวฝรั่งเศสที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกสำเร็จในปีค.ศ.1930 ถ้วยแรกทำจากเงินและทองหนัก 3.8 กิโลกรัม สูง 38 เซนติเมตร ฐานทำด้วยหินล้ำค่าสีฟ้า หรือไพฑูรย์ (Lapislazule) เป็นรูปเทพธิดาแห่งชัยชนะ (Goddess of Victory) ตรงเหลี่ยม 4 ด้านของฐาน สลักชื่อประเทศที่ได้แชมป์ที่ 9 ราย ชื่อนับตั้งแต่ปี 1930-1970

ถ้วยจูลส์ ริเมต์ หายไปถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกในปีค.ศ.1966 ช่วงที่อังกฤษได้แชมป์ มีคนมาพบว่าถูกฝังอยู่ที่ต้นไม้ต้นหนึ่ง โดยฝีมือการดมหาของเจ้าสุนัขตัวเล็กชื่อพิกเกิ้ลส์ แต่ถ้วยมาหายจริงๆในปีค.ศ.1983 ช่วงบราซิลได้สิทธิ์ครอบครองถ้วยนี้อย่างถาวร หลังจากคว้าแชมป์ 3 สมัยได้สำเร็จ โดยขโมยมือดีฉกจากที่เก็บในนครริโอ เดอจาเนโร

ทำเนียบบอลโลก
ครั้งที่ ปี เจ้าภาพ คู่ชิง แชมป์
1 1930 อุรุกวัย อาร์เจนตินา อุรุกวัย
2 1934 อิตาลี เชโกสโลวะเกีย อิตาลี
3 1938 ฝรั่งเศส ฮังการี อิตาลี
4 1950 บราซิล บราซิล อุรุกวัย
5 1954 สวิตเซอร์แลนด์ ฮังการี เยอรมันตะวันตก
6 1958 สวีเดน สวีเดน บราซิล
7 1962 ชิลี เชโกสโลวะเกีย บราซิล
8 1966 อังกฤษ เยอรมันตะวันตก อังกฤษ
9 1970 เม็กซิโก อิตาลี บราซิล
10 1974 เยอรมันตะวันตก ฮอลแลนด์ เยอรมันตะวันตก
11 1978 อาร์เจนตินา ฮอลแลนด์ อาร์เจนตินา
12 1982 สเปน เยอรมันตะวันตก อิตาลี
13 1986 เม็กซิโก เยอรมันตะวันตก อาร์เจนตินา
14 1990 อิตาลี อาร์เจนตินา เยอรมัน
15 1994 สหรัฐอเมริกา อิตาลี บราซิล
16 1998 ฝรั่งเศส บราซิล ฝรั่งเศส
17 2002 เกาหลีใต้/ญี่ปุ่น เยอรมัน บราซิล

ที่มา : สยามสปอร์ต,ผู้จัดการออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น: