หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สตีฟ จ็อบส์

Steve Jobs
1955-2011


วันนี้มีแถลงการณ์การเสียชีวิตของสตีฟ จ็อบส์ ที่หน้าเว็บไซต์ของแอปเปิ้ล




อำลาโลก


สตีฟ จ็อบส์ ผู้ก่อตั้งแอ๊ปเปิ้ล อิงค์ เสียชีวิตแล้วในวัย 56 ปี หลังต้องต่อสู้กับโรคมะเร็งมานานหลายปี

สตีฟ จ็อบส์ ผู้ร่วมก่อตั้งแอ๊ปเปิ้ล อิงค์ เกิดเมื่อปี 2497 ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย มีมารดาเป็นชาวอเมริกัน และบิดาเป็นชาวซีเรีย มารดามอบให้คนอื่นเลี้ยง หลังมีอายุได้เพียงสัปดาห์เดียวเท่านั้น


บ้านของครอบครัวบิดามารดาบุญธรรม ตั้งอยู่ใกล้กับซิลิคอน วัลเลย์ ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว กำลังเริ่มเฟื่องฟูในฐานะศูนย์กลางเทคโนโลยี โดยจ็อบส์ ได้งานแรกตั้งแต่อายุ 12 ปี จากการโทรศัพท์หาบิล ฮิวเลตต์ ผู้ก่อตั้งฮิวเลตต์ แพคการ์ด ที่บ้านพักของเขา

ในวัยเด็ก จ็อบส์ได้เรียนข้ามชั้น เพราะมีไอคิวสูง แต่ต่อมาต้องโดนไล่ออก เพราะก่อเรื่องหลายครั้ง อาทิ นำงูไปปล่อยในห้องเรียน

จ็อบส์เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้เทอมเดียว ก็ออก และไปทำงานกับอาตาริ บริษัทวิดีโอเกม ที่เพิ่งเปิดได้ไม่นานนัก จนกระทั่งเก็บเงินได้มากพอ สำหรับการเดินทางไปเรียนรู้ในเรื่องจิตวิญญาณที่อินเดีย

หลังกลับจากอินเดีย ในปี 2513 จ็อบส์ได้ชักจูงสตีฟ วอซเนียก ให้ลาออกจากงาน มาเปิดบริษัทร่วมกัน ขายคอมพิวเตอร์ที่วอซเนียกเป็นคนออกแบบ ซึ่งจ็อบส์ก็ใช้เวลาไม่นาน สามารถขายคอมพิวเตอร์ให้กับร้านค้าท้องถิ่นได้ 50 เครื่อง และแอ๊ปเปิ้ลก็เริ่มต้นธุรกิจขึ้น โดยมีวอซเนียก เป็นผู้ออกแบบสินค้า ส่วนจ็อบส์ ทำหน้าที่นักการตลาด

ความสำเร็จของจ็อบส์ มักทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในโลกบ่อยครั้ง เช่นเดียวกับความล้มเหลวของเขาด้วย ในจำนวนนี้รวมถึง การเปิดตัว "ลิซ่า" คอมพิวเตอร์ที่จ็อบส์ตั้งชื่อตามลูกสาว เมื่อปี 2526 ปีเดียวกับที่ว่าจ้างจอห์น สคูลลี อดีตผู้บริหารเป็ปซี่โค เข้ามาบริหารจัดการแอ๊ปเปิ้ล ให้เป็นมืออาชีพมากขึ้น

ลิซ่า ที่มีราคาแพง ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในด้านพาณิชย์ แต่ก็เป็นจุดกำเนิดให้กับกับแม็คอินทอช คอมพิวเตอร์ยอดนิยมเครื่องแรกที่ใช้กราฟฟิกอินเตอร์เฟซ

สคูลลี ไล่จ็อบส์ออกเมื่อปี 2528 และเกือบทำให้บริษัทล้มละลาย ก่อนที่จ็อบส์จะกลับเข้ามากอบกู้สถานการณ์ในปี 2540

การโดนไล่ออก ทำให้จ็อบส์หมดความมั่นใจลงไปมากพอดู แต่ระยะเวลาที่อยู่ห่างจากแอ๊ปเปิ้ล เขาก็สร้างผลงานได้อย่างดีเยี่ยมเช่นกัน

จ็อบส์ทุ่มเงิน 10 ล้านดอลลาร์ เข้าซื้อกิจการหน่วยงานด้านดิจิทัล แอนิเมชั่น มาจากจอร์จ ลูคัส ผู้สร้างภาพยนตร์ ในปี 2529 นำมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นพิกซาร์ และสร้างให้เป็นบริษัทสตูดิโอภาพยนตร์แอนิเมชั่น ที่ประสบความสำเร็จมากสุดของโลก ก่อนจะขายให้วอลท์ ดิสนีย์ ในราคา 7,400 ล้านดอลลาร์

จ็อบส์ยังก่อตั้ง เน็กซ์ คอมพิวเตอร์ส์ เพื่อตระหนักถึงวิสัยทัศน์อันกว้างใหญ่ของเขาในด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แต่ก็ยังล้มเหลวในแง่พาณิชย์อยู่ดี ซึ่งทอม เบอร์เนอร์ส ลี นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ได้นำหนึ่งในแนวคิดของจ็อบส์ มาต่อยอดจนสร้าง เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www.) ขึ้นมา

หลังจากนั้นจ็อบส์ก็ได้ขายบริษัทให้กับแอ๊ปเปิ้ล ซึ่งเทคโนโลยีของเน็กซ์ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบปฏิบัติการที่แอ๊ปเปิ้่ลใช้อยู่ในทุกวันนี้

@กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


ย้อนประวัติ "สตีฟ จ็อบส์" ซีอีโอผู้เปลี่ยนแปลงโลกไอที


กว่าที่แอ๊ปเปิ้ลจะมาเป็นบ.เทคโนโลยีที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกหรือราว 350,000 ล้านดอลลาร์ "สตีฟ จ็อบส์" คือผู้มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโลก


สตีฟ จ็อบส์ เกิดเมื่อวันที่ 24 ก.พ.1955 โดยเขาออกจากวิทยาลัยก่อนที่จะเรียนจบ เพื่อมาก่อตั้งบริษัทที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขาในฐานะผู้คิดค้นนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีด้วยวัยเพียง 21 ปี โดยเขาร่วมกับเพื่อนคือนายสตีฟ วอซเนียค ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทที่ใช้ชื่อว่า "แอ๊ปเปิ้ล คอมพิวเตอร์ อิงค์" ในโรงรถของครอบครัวเมื่อปี 1976 โดยนายจ็อบส์เป็นผู้ตั้งชื่อดังกล่าว เนื่องจากตัวเขาเองเป็นแฟนคลับของวงเดอะ บีตเทิล และชื่นชอบค่ายเพลงแอ๊ปเปิ้ล


ก่อนที่ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมานายจ็อบส์ได้เผชิญกับโรคร้าย และได้ผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนตับอ่อนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาเขาตัดสินใจขอลงจากตำแหน่งซีอีโอของบริษัท และส่งไม้ต่อให้ทิม คุก เป็นผู้ดูแลแทน ก่อนจะจากไปและมีแถลงการณ์จากบริษัทออกมาอย่างเป็นทางการในเช้าตรู่ของวันที่ 5 ต.ค. หรือ 1 วันให้หลังจากงานเปิดตัวไอโฟน 4เอส รวมเป็นเวลาที่เขาอยู่ในแวดวงของอุตสาหกรรมไอทีราว 35 ปี

โดยนายคุกได้ส่งสารถึงพนักงานว่า "แอ๊ปเปิ้ลได้สูญเสียอัจฉริยะผู้มีวิชั่น และความคิดสร้างสรรค์ ในขณะที่โลกก็ได้สูญเสียบุคคลากรผู้สร้างความมหัศจรรย์ให้กับโลกใบนี้ ดังนั้นเราจะยังคงสานต่อภารกิจดังกล่าวด้วยการทุ่มเทเพื่อทำงานที่เขารักมากที่สุด"

@กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ทั่วโลกอาลัย!'สตีฟ จ็อบส์'เสียชีวิตแล้ว!


แอ๊ปเปิ้ล ออกแถลงการณ์'สตีฟ จ็อบส์'ผู้ก่อตั้งบริษัทเสียชีวิตแล้ว หลังต่อสู้โรคร้ายมายาวนาน พร้อมเชิดชู"โลกดีขึ้นอย่างมากเพราะการมีจ็อบส์"

แอ๊ปเปิ้ลออกแถลงการณ์วันนี้ (5 ต.ค.)ว่า นายสตีฟ จ็อบส์ ผู้ก่อตั้งบริษัท และอดีตหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) เสียชีวิตแล้ว ในวัย 56 ปี หลังจากต่อสู้กับโรคมะเร็งมาหลายปี และเป็นการเสียชีวิตหลังจากที่แอ๊ปเปิ้ล พึ่งเปิดตัว ไอโฟน 4เอส ได้เพียงวันเดียว


แถลงการณ์จากคณะกรรมการบริหาร ยังกล่าวยกย่องนายจ็อบส์ว่าเป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด และเต็มไปด้วยพลัง ซึ่งทำให้เขาเป็นบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา และว่า โลกดีขึ้นอย่างมากเพราะการมีนายจ็อบส์

ขณะเดียวกันบุคคลสำคัญและผู้นำทั่วโลก ต่างแสดงความไว้อาลัยต่อการจากไปของเขา

นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจ พร้อมทั้งกล่าวชื่นชมว่า นายจ็อบส์ เป็นหนึ่งในนวตกรผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของประเทศ

นางสาวจูเลีย กิลลาร์ด นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย กล่าวสรรเสริญว่าจ็อบส์ เป็นอัจฉริยะและเป็นนวตกร ผู้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่โลกใบนี้

นายมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก กล่าวว่า รู้สึกอาลัยต่อการจากไปของสตีฟ จ็อบส์ พร้อมทั้งขอบคุณความช่วยเหลือด้านต่างๆที่จ็อบส์มีให้กับเขาตลอดระยะเวลาของการเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน และหากเปรียบไปแล้ว จ็อบส์ถือเป็นที่ปรึกษาคนสนิทที่ไว้ใจได้คนหนึ่งของเขาด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้สตีฟ จ็อบส์ ผู้ร่วมก่อตั้งแอ๊ปเปิ้ล อิงค์ เกิดเมื่อปี 2497 ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย มีมารดาเป็นชาวอเมริกัน และบิดาเป็นชาวซีเรีย มารดามอบให้คนอื่นเลี้ยง หลังมีอายุได้เพียงสัปดาห์เดียวเท่านั้น


บ้านของครอบครัวบิดามารดาบุญธรรม ตั้งอยู่ใกล้กับซิลิคอน วัลเลย์ ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว กำลังเริ่มเฟื่องฟูในฐานะศูนย์กลางเทคโนโลยี โดยจ็อบส์ ได้งานแรกตั้งแต่อายุ 12 ปี จากการโทรศัพท์หาบิล ฮิวเลตต์ ผู้ก่อตั้งฮิวเลตต์ แพคการ์ด ที่บ้านพักของเขา


ในวัยเด็ก จ็อบส์ได้เรียนข้ามชั้น เพราะมีไอคิวสูง แต่ต่อมาต้องโดนไล่ออก เพราะก่อเรื่องหลายครั้ง อาทิ นำงูไปปล่อยในห้องเรียน


จ็อบส์เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้เทอมเดียว ก็ออก และไปทำงานกับอาตาริ บริษัทวิดีโอเกม ที่เพิ่งเปิดได้ไม่นานนัก จนกระทั่งเก็บเงินได้มากพอ สำหรับการเดินทางไปเรียนรู้ในเรื่องจิตวิญญาณที่อินเดีย

หลังกลับจากอินเดีย ในปี 2513 จ็อบส์ได้ชักจูงสตีฟ วอซเนียก ให้ลาออกจากงาน มาเปิดบริษัทร่วมกัน ขายคอมพิวเตอร์ที่วอซเนียกเป็นคนออกแบบ ซึ่งจ็อบส์ก็ใช้เวลาไม่นาน สามารถขายคอมพิวเตอร์ให้กับร้านค้าท้องถิ่นได้ 50 เครื่อง และแอ๊ปเปิ้ลก็เริ่มต้นธุรกิจขึ้น โดยมีวอซเนียก เป็นผู้ออกแบบสินค้า ส่วนจ็อบส์ ทำหน้าที่นักการตลาด
ความสำเร็จของจ็อบส์ มักทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในโลกบ่อยครั้ง เช่นเดียวกับความล้มเหลวของเขาด้วย
ในจำนวนนี้รวมถึง การเปิดตัว "ลิซ่า" คอมพิวเตอร์ที่จ็อบส์ตั้งชื่อตามลูกสาว เมื่อปี 2526 ปีเดียวกับที่ว่าจ้างจอห์น สคูลลี อดีตผู้บริหารเป็ปซี่โค เข้ามาบริหารจัดการแอ๊ปเปิ้ล ให้เป็นมืออาชีพมากขึ้น

ลิซ่า ที่มีราคาแพง ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในด้านพาณิชย์ แต่ก็เป็นจุดกำเนิดให้กับกับแม็คอินทอช คอมพิวเตอร์ยอดนิยมเครื่องแรกที่ใช้กราฟฟิกอินเตอร์เฟซ

สคูลลี ไล่จ็อบส์ออกเมื่อปี 2528 และเกือบทำให้บริษัทล้มละลาย ก่อนที่จ็อบส์จะกลับเข้ามากอบกู้สถานการณ์ในปี 2540

การโดนไล่ออก ทำให้จ็อบส์หมดความมั่นใจลงไปมากพอดู แต่ระยะเวลาที่อยู่ห่างจากแอ๊ปเปิ้ล เขาก็สร้างผลงานได้อย่างดีเยี่ยมเช่นกัน

จ็อบส์ทุ่มเงิน 10 ล้านดอลลาร์ เข้าซื้อกิจการหน่วยงานด้านดิจิทัล แอนิเมชั่น มาจากจอร์จ ลูคัส ผู้สร้างภาพยนตร์ ในปี 2529 นำมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นพิกซาร์ และสร้างให้เป็นบริษัทสตูดิโอภาพยนตร์แอนิเมชั่น ที่ประสบความสำเร็จมากสุดของโลก ก่อนจะขายให้วอลท์ ดิสนีย์ ในราคา 7,400 ล้านดอลลาร์

จ็อบส์ยังก่อตั้ง เน็กซ์ คอมพิวเตอร์ส์ เพื่อตระหนักถึงวิสัยทัศน์อันกว้างใหญ่ของเขาในด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แต่ก็ยังล้มเหลวในแง่พาณิชย์อยู่ดี ซึ่งทอม เบอร์เนอร์ส ลี นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ได้นำหนึ่งในแนวคิดของจ็อบส์ มาต่อยอดจนสร้าง เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www.) ขึ้นมา

หลังจากนั้นจ็อบส์ก็ได้ขายบริษัทให้กับแอ๊ปเปิ้ล ซึ่งเทคโนโลยีของเน็กซ์ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบปฏิบัติการที่แอ๊ปเปิ้่ลใช้อยู่ในทุกวันนี้

@กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
-------------------------------------------------------

'สตีฟ จ๊อบ'CEOแอปเปิลตายแล้ว


แอปเปิลยืนยันการเสียชีวิตของสตีฟ จ็อบส์ ปิดตำนานผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดแห่งซิลิคอน แวลลีย์

บริษัทแอปเปิล อิงค์ ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองคิวเปอร์ทิโน่ รัฐแคลิฟอร์เนีย แถลงยืนยันเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า สตีฟ จ็อบส์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 56 ปี โดยในแถลงการณ์ของบริษัท ระบุว่า " เรารู้สึกเศร้าใจอย่างลึกซึ้งที่ต้องประกาศว่า สตีฟ จ็อบส์ ได้จากเราไปแล้วในวันนี้ " " สตีฟเป็นบุคคลที่ฉลาดหลักแหลม มีความรักในสิ่งที่เขาทำและมีพลังอันเป็นแหล่งของการผลิตนวัตกรรมที่มากมายนับไม่ถ้วน ที่เสริมสร้างและปรับปรุงให้ชีวิตของพวกเราทุกคนดีขึ้น โลกดีขึ้นกว่าเดิมอย่างไม่อาจวัดได้ก็เพราะสตีฟ "

แถลงการณ์ ระบุอีกว่า ความรักที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขา คือความรักที่มีต่อ ลอรีน ภรรยา และครอบครัวของเขา ดวงใจทุกดวงของพวกเราอุทิศเพื่อพวกเขา และทุกคนที่ได้รับการสัมผัสจากพรสวรรค์อันพิเศษของเขา

การเสียชีวิตของจ็อบส์มีขึ้นเพียงวันเดียว หลังจากแอปเปิลเปิดตัวสมาร์ทโฟนตัวใหม่ ไอโฟนโฟร์เอส ที่สำนักงานใหญ่ในคิวเปอทิโน่ ในช่วงท้ายของชีวิตที่เขาต้องต่อสู้กับโรคมะเร็ง เขาได้รามือจากการบริหารงานในบริษัท แต่ยังคงรั้งตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหาร

สตีฟ จ็อบส์ หรือชื่อจริงว่า สตีเฟ่น พอล " สตีฟ " จ็อบส์ เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ปี 1955เป็นบุตรบุญธรรมของนายพอล และนางคลาร่า จ็อบส์ ส่วนบิดาที่แท้จริงของเขาเป็นชาวซีเรียชื่อ อับดุลฟัตตะห์ จันดาลี เป็นนักศึกษา ก่อนจะทำงานเป็นอาจารย์สอนในคณะรัฐศาสตร์ มารดาเป็นนักศึกษาอเมริกัน ชื่อ โจแอนน์ ซิมป์สัน ที่ต่อมาทำงานเป็นวิทยากรด้านการบำบัดเขามีน้องสาวร่วมสายเลือดชื่อ โมนา ซิมป์สัน นักเขียนนวนิยาย

จ็อบส์จบการศึกษาจาก โฮมสตีดไฮสกูล ในเมืองคิวเปอร์ทิโน่ และสมัครเรียนต่อที่รีด คอลเลจ ในเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน แต่เรียนได้ภาคการศึกษาเดียวก็พักการเรียน หลายปีต่อมาเขาได้รับเชิญไปปาฐกถาในพิธีสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งเขาบอกว่า เพราะการที่เขาพักการเรียนที่รีด คอลเลจ ทำให้เขามีเวลาไปเข้าเรียนเกี่ยวกับตัวอักษร" ถ้าผมไม่ได้เรียนวิชานั้นที่วิทยาลัยรีด เครื่องแม็คอินทอชคงจะไม่มีรูปแบบอักษรหลากหลายและปราศจากฟอนต์ ที่มีการแบ่งระยะห่างอย่างถูกสัดส่วนเช่นนี้ "

ปี 1976 จ็อบส์ ในวัน 21 ปี กับสตีฟ วอซเนียก วัย 26 ปี ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ ขึ้น ภายในโรงรถของครอบครัวจ็อบส์ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่นำออกสู่สายตาชาวโลก คือ Apple I ตั้งราคาไว้ที่ 666.66 ดอลล่าร์ โดยเอามาจากหมายเลขโทรศัพท์เครื่องตอบรับเล่าเรื่องตลกขบขันของวอซเนียก ที่ลงท้ายด้วยหมายเลข -6666


ปี 1977 ทั้งคู่ก็ปล่อย Apple II ออกมา ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่เมื่อวางจำหน่ายApple III ในปีเดียวกัน กลับได้รับความสำเร็จน้อยกว่าเดิม

ปี 1984 ได้มีการเปิดตัว แม็คอินทอช เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรก ที่มีส่วนประสานงานผู้ใช้แบบกราฟฟิก หรือ วิธีการใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านทางสัญลักษณ์หรือภาพนอกเหนือจากตัวอักษร ทำให้แอ๊ปเปิลประสบความสำเร็จทางการค้าอย่างมาก

แต่ในขณะที่จ็อบส์กลายเป็นผู้มีบุคลิกโดดเด่น และมีส่วนผลักดันโครงการต่าง ๆ ของแอปเปิลเขาก็ถูกนักวิจารณ์ กลับมองว่า เขาเป็นคนที่มีบุคลิกแปลกแยกและโมโหร้าย หลังเกิดปัญหาขัดแย้งภายใน จ็อบส์ได้ลาออกจากแอ๊ปเปิล ในปี 1985 เขาไปตั้งบริษัทใหม่ชื่อว่า เน็กซ์ (NeXT) ออกคอมพิวเตอร์ลิซ่า ด้วยเทคโนโลยีล้ำยุค แต่ไม่เข้ากระแสหลักเพราะราคาสูงลิ่วจ็อบส์เจาะกลุ่มตลาดของเน็กซ์ไปที่สาขาวิทยาศาสตร์และสถาบันการศึกษา

แต่พรหมลิขิตก็ขีดให้จ็อบส์ต้องหวนคืนไปหาแอปเปิล ที่อาจเรียกว่า เป็นลูกที่เขาเป็นผู้ให้กำเนิด เมื่อแอปเปิลเข้าซื้อกิจการของเน็กซ์ ในปี 1996 ในวงเงิน 402 ล้านดอลล่าร์ ทำให้เขากลายเป็นผู้บริหารระดับสูงชั่วคราวของแอปเปิลในปี 1997 และเขาเรียกตำแหน่งของเขาว่า" ไอซีอีโอ " การกลับมาของจ็อบส์ ทำให้เครื่องเล่นดนตรีพกพา " ไอพอด " ถือกำเนิดตามาด้วย

ซึ่งตอนนั้น แอปเปิลภายใต้การบริหารงานของจ็อบส์ ต้องการยึดหัวหาดด้านอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ส่วนบุคคล และร้านขายดนตรีออนไลน์ ด้วยแรงผลักดันด้านนวัตกรรม แต่เขามักจะเตือนพนักงานว่า " ศิลปินที่แท้จริงต้องส่งงาน " ซึ่งหมายความว่า การจัดส่งผลิตภัณฑ์ให้ตรงเวลานั้น มีความสำคัญพอ ๆ กับนวัตกรรมและการออกแบบที่โดนใจผู้ใช้

จ็อบส์ทำงานที่แอปเปิลด้วยค่าตอบแทนเพียงปีละ 1 ดอลล่าร์ ทำให้เขาถูกบันทึกไว้ในกินเนสส์ บุ๊คส์ว่า เป็นผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับค่าจ้างต่ำที่สุดในโลก และแม้ว่าจะได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ CEO อย่างเต็มตัวแล้ว เขาก็ยังรับค่าจ้างเท่าเดิม แต่เขาก็ได้รับของขวัญจากคณะผู้บริหารเพื่อเป็นการตอบแทนความสำเร็จ อันได้แก่ เครื่องบินเจ็ตส่วนตัว Gulfsteam V  มูลค่า 90 ล้านดอลล่าร์ และมูลค่าหุ้นอีกจำนวนมหาศาล

จ็อบส์เป็นมังสวิรัต ที่รับประทานปลา ในปี 2004 ได้เข้ารับการผ่าตัดเอาเนื้องอกมะเร็งออกจากตับอ่อน มะเร็งตับอ่อนที่เขาเป็น เป็นแบบที่พบน้อยมาก ที่เรียกว่า เนื้องอกในเซลล์ที่ผลิตอินซูลินอันส่งผลต่อระบบประสาท ที่ควบคุมการทำงานของร่างกายและไม่ต้องใช้เคมีหรือรังสีบำบัดซึ่งก่อนที่เขาจะเสียชีวิต เขาได้ลาพักไปเป็นระยะ ๆ และภาพสุดท้ายที่หลายคนได้เห็นคือ ผู้ชายผอมโกรกคนหนึ่ง ที่กำลังยืนกล่าวเปิดตัวไอโฟน 4

ในวันที่เปิดตัว ไอโฟน โฟร์เอส เป็นวันที่ไร้เงาของสตีฟ จ็อบส์ และเป็นหน้าที่ของทิม คุก ซีอีโอคนใหม่ การจากไปของสตีฟ จ็อบส์ ได้กลายเป็นการปิดตำนานของบุคคลที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของนิคมอุตสาหกรรมมัลติมีเดีย หรือ ซิลิคอล แวลลีย์ และได้ชื่อว่าเป็นบิดาผู้ให้กำเนิดนวัตกรรมที่ครองใช้คนรุ่นใหม่ อย่าง ไอโฟน ไอพอดและไอแพด

บารัค โอบาม่า กล่าวไว้อาลัยสตีฟ จ็อบส์

ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ของสหรัฐ ได้แสดงความเสียใจต่อการจากไปของสตีฟ จ็อบส์ บุรุษผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลแห่งแอ๊ปเปิล โดยยกย่องว่าเขาเป็นหนึ่งในนวัตกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก และยังทำให้ผู้คนจำนวนมากได้รู้ข่าวการเสียชีวิตของเขาผ่าอุปกรณ์ที่เขาเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้น

ผู้นำสหรัฐระบุในแถลงการณ์ที่เขาเขียนไว้อาลัยต่อการจากไปของจ็อบส์ว่า " เขาเป็นผู้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของพวกเรา ทำให้เกิดนิยามใหม่ในวงการอุตสาหกรรมทุกแขนง และประสบความสำเร็จในการทำหนึ่งในสิ่งที่ยากที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เขาเปลี่ยนแนวทางในการมองโลกของพวกเรา "

ผู้นำสหรัฐยังกล่าวถึงบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของ แม็คคอมพิวเตอร์ , ไอพอดและไอแพด ด้วยว่า "สตีฟเป็นหนึ่งในนวัตกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอเมริกา -- กล้าพอที่จะคิดต่าง -- แกร่งพอที่จะเชื่อว่า เขาสามารถเปลี่ยนโลกได้ และมีพรสวรรค์พอที่จะลงมือทำ ด้วยการสร้างหนึ่งในบริษัทที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของโลกจากโรงรถของเขา และเป็นตัวอย่างของความเฉลียวฉลาดของคนอเมริกัน ด้วยการทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเตอร์เน็ต ลงไปอยู่ในกระเป๋าได้อย่างสบายทำให้เด็กหลายล้านคนอยากเป็นอย่างเขาเมื่อเติบโตขึ้น "

ผู้นำสหรัฐ กล่าวด้วยว่า เขาและนางมิเชล ผู้เป็นภรรยา ได้ส่งความระลึกถึงและสวดมนตร์อำนวยพรไปยังนางลอรีน ภรรยาของจ็อบส์ , ครอบครัวของเขา และทุกคนที่รักเขา

ประธานาธิบดีโอบาม่า เคยพบปะกับจ็อบส์ ที่อยู่ระหว่างการลาพักจากการทำงานที่แอ๊ปเปิลเพื่อรักษาอาการป่วย ในงานเลี้ยงของบรรดายักษ์ใหญ่ในซิลิคอน แวลลีย์ ที่แคลิฟอร์เนีย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และปรากฎภาพถ่ายขณะทั้งคู่นั่งอยู่ด้วยกัน และเมื่อวันจันทร์ ผู้นำสหรัฐเพิ่งจะเปิดเผยต่อเอบีซี นิวส์ และยาฮูว่า เขาได้รับไอแพดรุ่นใหม่จากแอ๊ปเปิล ก่อนที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ประธานาธิบดีโอบาม่าใช้งานไอแพดอยู่ และเคยถ่ายรูปขณะถือไอแพด 2 ที่วางจำหน่ายไปเมื่อเดือนมีนาคม

ไม่มีความคิดเห็น: