หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สถานการณ์น้ำท่วม

อัพเดตสถานการณ์น้ำท่วม  3 ตุลาคม 54
News Mthai

17.05 น. กรมอุตุฯ : ขณะนี้พายุโซนร้อนนาลแกอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะไหหลำ ประเทศจีนแล้ว และคาดว่ากำลังจะขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม จะ ส่งอิทธิพลให้เกิดฝนตกหนักในประเทศไทยตั้งแต่เย็นวันนี้ต่อเนื่องไปจนถึงวัน ที่ 8 ตุลาคม ในเขตภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคเหนือตอนล่าง เช่นที่จังหวัดสุโขทัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน
16.50 น. อยุธยา : น้ำท่วมหลากตามทุ่งนาในเขต อ.มหาราช ได้บ่าข้ามทุ่งในในเขต ต.บ้านขล้อ อ.บางปะหัน สูงกว่า 3 ม.
- ยังมีน้ำหลากจากแม่น้ำป่าสักมาทางต.บางพระครู น้ำท่วมจากแม่น้ำลพบุรีมาจาก ต.ทางกลาง อ.บางปะหัน และจากคลองบางพระครู ที่เชื่อมแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรี ไหลมาจ่อล้อมนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนครทุกด้าน ส่งผลให้สาวโรงงานที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว ต้องขนข้าวของหนีน้ำท่วมสูงกว่า 1 ม. ออกมาที่ถนนใหญ่

16.25 น. กระทรวงเกษตร ฯ : เตือนกรมชลฯ เฝ้าระวังปริมาณน้ำที่ผ่าน อ.บางไทร จ. นครสวรรค์ ในช่วงที่น้ำทะเลจะหนุน สูงในช่วงระหว่างวันที่ 16 – 17 ต.ค. นี้
- เตือน กทม. , นนทบุรี และปทุมธานี เตรียมรับมือสถานการณ์ดังกล่าวด้วย
14.25 น. เชียงใหม่ : อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ ประกาศ สั่งให้อพยพชาวบ้านขึ้นพื้นที่สูงด่วน หลังปริมาณน้ำในเขื่อนผากั๊บใกล้ล้น
11.55 น. ตาก : ระดับ น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เหลืออีกประมาณ 2 เมตรน้ำจะล้นเขื่อน โดยขณะนี้มีน้ำกักเก็บ 12,741 ล้านลูกบาศก์เมตรหรือ 94.64 % และระดับน้ำยังมีมาก และสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้ว่าสั่งอพยพชาวบ้านที่อยู่ใกล้บริเวณเขื่อนแล้ว
10.45 น. เชียงใหม่ : หมู่ที่ 1 บ้านแม่ลอง , หมู่ที่ 2 บ้านท่าข้ามใต้ , หมู่ที่ 9 บ้านห้วยส้มป่อย และหมู่ที่ 12 บ้านหลังกาด ต.หางดง อ.ฮอด ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร ชาวบ้านกว่า 350 ครัวเรือนเดือดร้อนหนัก ชาวบ้านหลาย 10 คน ติดอยู่ในบ้าน ขณะเดียวกัน มีชาย 1 คน ตกน้ำสูญหาย
- ฝนที่ตกหนักทำให้แม่น้ำแม่แจ่มและน้ำปิงทะลักเข้าน้ำท่วมถนนฮอด-เชียงใหม่ บริเวณคอสะพานบ้านท่าข้าม
- ถนนสายฮอด-แม่สะเรียงกิโลเมตรที่ 4, 5, 9, 12, 15 รถยนต์ไม่สามารถผ่านไปมาได้ จึงขอแจ้งไปยังผู้ที่จะเดินทางไปยัง อ.แม่เสรียง จ.แม่ฮ่องสอน ให้ใช้เส้นทาง อ.แม่ริม-แม่มาลัยแทน
น้ำ ป่าจากเทือกเขาได้ไหลลงสู่แม่น้ำแจ่ม ก่อนทะลักเข้าสู่ตัวอำเภอแม่แจ่ม บ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรเสียหาย ระดับน้ำเริ่มทรงและลดลงแล้ว หากไม่มีฝนตกอีกคาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติ
10.30 น. ลำปาง : น้ำท่วมเข้าสู่ สนามบินลำปางแล้ว สั่งยกเลิกเที่ยวบิน จนกว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติ
09.10 น. อยุธยา : โบราณสถานป้อมเพชร ใน ต.หอรัตนไชย อ.เมือง ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ได้เกิดน้ำท่วมทะลักเข้ามา ในตัวโบราณสถานแล้ว
09.00 น. ลำปาง : 6 อำเภอของจังหวัดประกอบด้วย อ.เกาะคา เสริมงาม ห้างฉัตร งาว สบปราบและเมือง ฝนตกหนักต่อเนื่อง จนเกิดน้ำท่วม
- ตำบลพิชัย ตำบลพระบาท และเขตตัวเมืองลำปาง ใน อำเภอเมือง โดยเฉพาะ ชุมชนป่าขาม ชุมชนสุขสวัสดิ์ ชุมบ้านกาดเมฆ หมู่บ้านทองประเสริฐ และบ้านผาลาด
น้ำได้ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนเดือดร้อนกว่า 100 หลังคาเรือน
……………………………………………………………………………………….
2 ตุลาคม 54
19.00 น.  กรุงเทพฯ :ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. พร้อมผู้บริหาร กล่าวภายหลังลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเตียน ท่าราชวรดิษฐ์ ท่าช้าง ว่า ขณะนี้ระดับน้ำอาจเพิ่มสูงขึ้น แต่เชื่อ กทม.จะสามารถรับมือได้ มั่นใจช่วงที่อิทธิพลพายุนาลแก ที่จะเข้าประเทศไทย 4-5 ตุลาคมนี้ เชื่อ กทม.จะรับมือได้เช่นกัน
18.00 น. ปทุมธานี-นนทบุรี :ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติได้ประกาศเตือนภัย โดยระบุว่าในวันที่ 2 ต.ค. 2554 อาจเกิดน้ำล้นตลิ่งในบริเวณเลียบคลองรังสิต จ.ปทุมธานี และบริเวณริมฝั่งแม่น้ำนอกเขตคันกั้นน้ำ จ.นนทบุรี ดังนั้นจึงขอให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชน พื้นที่เฝ้าระวังและติดตาม  ข้อมูลต่อไป
15 .15 น. นครสวรรค์ : แม่น้ำปิงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น ทางเทศบาลจึงเร่งเสริมแนวกระสอบทรายให้สูงขึ้นอีก เตรียมรับมือกับน้ำจำนวนมากที่ไหลลงสู่เจ้าพระยา เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าท่วมชุมชนเศรษฐกิจ
14.30 น. ลพบุรี :นายกรัฐมนตรี บินสำรวจเส้นทางการไหลของน้ำบริเวณพื้นที่ภาคกลาง พบบางจุดมีน้ำเน่าเสีย สั่งนำน้ำยาจุลินทรีย์ไปโปรยในจุดที่น้ำเน่าเสีย โดยเฉพาะที่จังหวัดลพบุรีนายกฯ สั่งโปรยจุลินทรีย์แก้น้ำเน่าเสียลพบุรี
13.54 บุรีรัมย์ : ปภ.บุรีรัมย์ ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้วอีก 6 อำเภอ ได้แก่ อ.พุทไธสง อ.แคนดง อ.สตึก อ.ลำปลายมาศ อ.ละหานทราย และ อ.โนนดินแดง หลังได้มีฝนตกกระจายทั่วทุกพื้นที่ของจังหวัด ติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับน้ำเหนือของ จ.นครราชสีมา และ จ.ชัยภูมิ ได้ไหลมาสมทบกับลำน้ำมูล และลำน้ำมาศ ซึ่งเป็นแหล่งรับน้ำทำให้มีปริมาณหนุนสูงขึ้น และได้เอ่อท่วมถนน นาข้าว ของเกษตรกรที่กำลังออกรวง ใกล้เก็บเกี่ยวในหลายพื้นที่ จึงเตือนให้ราษฎรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ได้ระมัดระวังน้ำท่วมฉับพลัน 
12.41 น. เลย : ในทุกอำเภอของจังหวัดเลย ได้เกิดน้ำท่วมขังตามถนนสายต่างๆ อย่างฉับพลัน โดยเฉพาะเขตอำเภอเมืองเลย ในเขตเทศบาลเมืองตั้งแต่เช้า มีฝนตกหลายชั่วโมง  ทำให้รถเล็กไม่สามารถสัญจรไป-มาได้ ถนนทุกเส้นในเทศบาลเมืองเลยใช้งานไม่ได้
10.00 น. : 4 เขื่อนยักษ์ วิกฤตรับน้ำเกินความจุ สั่งอพยพประชาชนไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย
จากอิทธิพลของพายุเนสาด ส่งผลให้เขื่อนภูมิพล จ.ตาก เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร และเขื่อนอุบล รัตน์ จ.อุบลราชธานี วิกฤตรับน้ำเกินความจุแล้วจำต้องรีบเร่งระบายน้ำออกจากเขื่อนเป็นการด่วน ส่งผลให้หลายจังหวัดซึ่งอยู่ใต้เขื่อนจมน้ำต้องอพยพชาวบ้านหลายหมื่นคนไป อยู่ที่สูงอย่างเร่งด่วน
09.22 น. ลำปาง : น้ำป่าทะลักท่วม 4หมู่บ้าน ในตกาะคา .จ.ลำปางส่งผลให้บ้านเรือน200หลังต้องจมน้ำ ขณะที่กรมทรัพยากรธรณี (ทธ.)ได้ประกาศให้เฝ้าระวังดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคเหนือ 8 จังหวัดได้แก่ จังหวัด ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และพิษณุโลกในช่วง 1-2วันนี้
………………………………………………………………………………………..

1 ต.ค. 54
17.10 น. กำแพงเพชร : จากการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพลลงสู่แม่น้ำแม่ปิง เพิ่มเป็นวันละ 10 ลบ.ซม. ส่งผลให้ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง , อ.โกสัมภีนคร ,อ.คลองขลุง และ อ.ขาณุวรลักษบุรี  และเทศบาลเมืองกำแพงเพชร โดยเฉพาะที่ลุ่ม อาจถูกน้ำท่วมขัง
17.00 น.กรมอุตุฯ : เตือนพายุไต้ฝุ่น “นาลแก” จะเข้าประเทศไทย 5-6 ต.ค. นี้
16.00น. กทม. : เตือนน้ำทะเลหนุนเกือบทั้งเดือน ประกอบกับปริมาณน้ำในเขื่อนปีนี้เต็มเกือบทุกเขื่อน อีกทั้งวันที่ 4 และ 5 ตุลาคมนี้จะมีพายุดีเปรสชั่นนาลแกเข้ามา ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย  กรุงเทพมหานครจึงเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง
11.15 น. ศภช. : เตือน อ.เมือง อ.แม่จัน เชียงราย อ.ปง อ.เชียงคำ พะเยา , อ.ท่าวังผา อ.เมือง น่าน,หนองคาย พังงา เฝ้าระวังดินถล่ม-น้ำป่าไหลหลาก1-3ตุลานี้
11.00 น. ชลบุรี : ประกาศ ให้ 10 อ. ได้แก่ อำเภอเมืองชลบุรี พนัสนิคม เกาะจันทร์ พานทอง บ่อทอง ศรีราชา บ้านบึง บางละมุง สัตหีบ และอำเภอหนองใหญ่ เป็นเขตภัยพิบัติแล้ว (คลิกดูรายละเอียด)
09.45 น. อุตุฯเตือนฉ.9 : พายุโซนร้อน “เนสาด” (NESAT) ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน พายุลูกนี้ส่งผลทำให้ด้านตะวันออกของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเชียงราย น่าน หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน 1-2 วันนี้
………………………………………………………………………………………………………………………………
30 กันยายน 54
17.21 กรมอุตุนิยมวิทยา :เผย พายุเนสาดเคลื่อนเข้าเวียดนามแล้ววันนี้ ประกาศเตือน 1-2วันนี้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น สั่งประชาชนพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังภัยน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 30 กันยายน -1 ตุลาคม นี้
14.44 น. ลพบุรี :
กรมชลฯ เตือน ลพบุรี – อยุธยา เตรียมรับมือน้ำท่วม เนื่องจากระดับน้ำจะสูงขึ้นอีก ช่วงวันที่ 3-4 ตุลาคมนี้
13.55 น.พิจิตร : แม่ น้ำน่านเอ่อเข้าท่วม พื้นที่ชุมชนราชรถ เขตเทศบาลเมืองพิจิตร และตำบลคลองคะเชนทร์ ในเขตเมืองพิจิตร ระดับน้ำยังคงท่วมสูง และขยายทางน้ำท่วมกินบริเวณกว้างอย่างต่อเนื่อง
09.43 น.  อยุธยา : น้ำจากเจ้าพระยายังเอ่อล้น อำเภอบางไทร เกิดปัญหาทรายกั้นน้ำขาดตลาด
09.40 น. ลำปาง : ผู้ว่าฯเตือน ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา ทางน้ำไหลผ่าน และที่ลุ่มริมแม่น้ำในพื้นที่ทั้ง 13 อำเภอ ระมัดระวังอันตรายจากภาวะฝนตกหนัก
09.30 น. อุตุเตือน ฉ.5
คาดว่าพายุเนสาดนี้จะเคลื่อนตัวขึ้นชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในวันนี้ ขอให้ติดตามข่าวจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดต่อไป
ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้บริเวณ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะบริเวณ จังหวัดนครนายก จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่
………………………………………………………………………………………………………………………………
29 กันยายน 54
16.15 น. ลำปาง : ผู้ว่าฯ ประกาศเขตภัยพิบัติ ใน 7 อำเภอ  คือ อ.เมือง , อ.เถิน , อ.ห้างฉัตร , อ.เมืองปาน , อ.งาว , อ.วังเหนือ และ อ.เกาะคา
16.05 น. ศสอ. : เตือน อาจมีสถานการณ์น้ำหลากที่ ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ บ้านแม่สาย ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย รวมถึงต้องเฝ้าระวังติดตามการเคลื่อนตัวของพายุไต้ฝุ่นเนสาด ที่จะเข้าอ่าวตังเกี๋ย วันพรุ่งนี้ (30 ก.ย.)
14.47 น. น้ำจากคลองรังสิต ทะลักเข้าพื้นที่กรุงเทพแล้ว
น้ำเหนือไหล่บ่าจาก คลองรังสิตไหล่บ่าข้ามกระสอบทราย เข้าพื้นที่ริมถนนโลคัลโรดแล้ว ระดมเจ้าหน้าที่จำนวน 40 นาย และทหารจากปตอ.พัน 7 จำนวน60 นาย มาช่วยเหลือในการป้องกันน้ำเข้าท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร
12.39 น. ตาก : เขื่อนภูมิพลใกล้ล้น รับน้ำได้อีกแค่ 7.76 เปอร์เซ็นต์  ประชาชนที่อาศัยอยู่ใต้เขื่อน เริ่มกังวลในความมั่นคงของเขื่อนภูมิพล ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เตรียมจัดซ้อมแผนอพยพและเตือนภัยประชาชนที่อาศัยบริเวณใต้เขื่อน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน
11.24 น. เตือน 9 จังหวัดฝนตกหนัก 29-30 ก.ย.
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เตือน 9 จังหวัด ในภาคตะวันออกและภาคใต้ ประกอบด้วย นครนายก จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ระวังอันตรายจากภาวะฝนตกหนัก 29-30 กันยายนนี้
11.00 น. กาฬสินธุ์ : น้ำจากลำน้ำพานและปาวหลงทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรกว่า 80 หลังคาเรือน นายอำเภอเมืองเร่งอพยพชาวบ้านมาอาศัยในที่สูง
09.31 น. ชัยนาท : ชัยนาทยังท่วมหนัก ฝนตกต่อเนื่อง ทำน้ำระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีพื้นที่ จ.ชัยนาท รับผลกระทบหนัก รวมทั้งสิ้น 8 อำเภอ
09.20 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัย พายุเนสาด ฉบับที่ 1
เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (29 ก.ย. 54) พายุไต้ฝุ่นเนสาด (NESAT) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 19.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 113.2 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 120 กม./ชม. พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือ ด้วยความเร็วประมาณ 18 กม./ชม. คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยในวันที่ 30 ก.ย. 54 ขอให้ติดตามข่าวจาก กรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดต่อไป
ส่วนมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้บริเวณ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดนครนายก จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าว ระมัดระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่อาจเกิดขึ้น สำหรับคลื่นลมในทะเล
อันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
09.00 น. เชียงใหม่ : จ.เชียงใหม่ยังวิกฤติแม่น้ำปิงยังเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ และขยายวงกว้าง ทั้งย่านถนนเจริญประเทศ ถนนช้างคลาน ย่านการค้าตลาดไนน์บาร์ซ่า ระดับน้ำบางจุดสูงเกือบ 2 เมตร สูงในรอบ 110 ปี
………………………………………………………………………………………………………………………………
28 กันยายน 54
17.55 น. กรมอุตุฯ : ขณะ นี้พายุ “ไห่ถาง”เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ประกอบมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ซึ่งจะทำให้ภาคเหนือด้านตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะยังมีฝนตกหนักต่อไป
17.20 น. ชัยนาท : ลือ!! เขื่อนเจ้าพระยาแตก กรมชลยันแข็งแรงดี
กรมชลประทาน ได้ออกมาชี้แจงว่า เขื่อนเจ้าพระยา มีความมั่นคงแข็งแรงดีและยังใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ [อ่านรายละเอียด]
14.43 น. เชียงใหม่ : ระดับน้ำปิงทะลุจุดวิกฤติ 4.20 เมตร เอ่อล้นบางจุดในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ชาวบ้านแห่ขนกระสอบทรายกั้นพื้นที่ ทหารส่งกำลังเข้าข่วยเหลือแล้ว
14.10 น. ปิดทางหลวงหมายเลข 117 พิจิตร-พิษณุโลกทั้งขาขึ้นขาล่อง หลังน้ำท่วมสูงเกือบ 60 ซม.
13.35 น. บุรีรัมย์ : ชาวบ้าน ต.หายโศก อ.พุทไธสง เร่งเกี่ยวข้าวที่กำลังออกรวงน้ำเอ่อท่วมถนนสูงกว่า1ม.ระยะทางกว่า3ก.ม.ชาวบ้านถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
13.32 น. อุตรดิตถ์ : ระดับน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ อยู่ที่161.5 ม.จากที่เก็บกักสูงสุด162ม.คิดเป็น 98.65%
13.30 น. สิงห์บุรี : ปิดทางหลวงหมายเลข 1 หลังน้ำท่วมทำคอสะพานคลองเชียงรากขาดยาว 30ม.
13.19 น. ชัยภูมิ : อิทธิพลพายุไห่ถาง ฝนตกในพื้นที่มาต่อเนื่องไม่หยุดตลอด 3 วัน ทำน้ำในน้ำชีทะลักเข้าท่วมพื้นที่ อ.หนองบัวระเหว,บ้านเขว้า,จัตุรัส,เนินสง่า และเขตรอยต่อในต.ชีลอง,ต.หนองนาแซง และเขตรอยต่อเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ อ.เมืองชัยภูมิ
11.50 น. พบแล้ว 4 ศพ!! น้ำป่าที่ แม่แตง จ.เชียงใหม่
ความคืบหน้าการค้นหาผู้สูญหายจากเหตุน้ำป่าถล่ม ต.เมืองก๋าย อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ซึ่งล่าสุด เจ้าหน้าที่ค้นหาบริเวณลำห้วยก๋ายน้อย พบแล้ว 4 ศพ เป็นชาย 3 ศพ หญิง 1 ศพ ยังสูญหายอีก 1 ศพ เป็นเด็กหญิงวัย 9 ขวบ
11.32 น. ระนอง : อิทธิพลพายุหมุนเขตร้อนไห่ถาง ทำให้ฝนตกหนักน้ำป่าจากเทือกเขาพระนารายณ์ ไหลเข้าท่วมในพื้นที่ อ.กะเปอร์ ท่วมสวนปาล์มกว่าพันไร่
11.30 น. ลำปาง : นายธรรมรักษ์ เชียงพรม นายกอบต. ไหล่หิน อ.เกาะคา ได้ประกาศแจ้งเตือน ให้ชาวบ้าน ใน 4 ตำบล คือ ต.ไหล่หิน ต.ท่าผา ต.ใหม่พัฒนา ต.เกาะคา ที่มีบ้านเรือนอยู่ใกล้ ลำน้ำแม่ยาวที่ไหลผ่าน เตรียมพร้อมรับมือ น้ำท่วมฉับพลัน
11.27 น. สุโขทัย : ชาวสุโขทัยขนของหนีน้ำโกลาหล ใน ต.บ้านแก่ง และ ต.แม่สิน อ.ศรีสัชนาลัย หลังฝนตกหนัก จนทำให้น้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ท่าแพไหลไปรวมกับน้ำป่า ทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วม เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา
10.20 น. อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร  : อิทธิพลของพายุเนสาดจะส่งผลถึงประเทศไทย ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน
- ขณะนี้ ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศ ทรัพยากรน้ำและการเกษตร คาดการณ์เช่นกันว่า อิทธิพลของพายุไต้ฝุ่นเนสาดจะทำให้เกิดฝนตกหนักมากในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน ถึงวันที่ 2 ตุลาคม ซึ่งจะทำให้สถานการณ์น้ำท่วมรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดน้ำท่วมในฝั่งตะวันออก และเขตธนบุรี
09.50 น. ลพบุรี : ถนนสายบ้านแพรก -ลพบุรี ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ถูกน้ำจากแม่น้ำลพบุรีไหลเข้าท่วมได้รับความเสียหาย ระดับน้ำเพิ่มสูงอีก 20 ซ.ม. ส่งผลให้การจราจรตั้งแต่ ต.โรงช้าง อ.มหาราช ไปจนถึง ต.โพธิ์เก้าต้น อ.เมือง จ.ลพบุรี ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ถูกน้ำท่วมตลอดสาย
- ตั้งแต่ ต.สำพะเนียง อ.บ้านแพรก ไปจนถึงเขตติดต่อ จ.ลพบุรี มีน้ำท่วมสูงกว่า 40 เซนติเมตรแล้ว
09.25 น. เชียงใหม่ : น้ำป่าไหลท่วมบ้านก่ายน้อย หมู่ 1 ต.เมืองก๋าย อ.แม่แตง มีผู้สูญหาย 5 คน
- อ.สันทราย อ่างเก็บน้ำแม่แฝกและห้วยแก้ว ได้เกิดน้ำล้นไหลทะลักเข้าท่วม 7 หมู่บ้าน จำนวน 200 ครัวเรือน
- ถนน สายขุนแจ๋เวียงป่าเป้า เขตติดต่อ อำเภอดอยสะเก็ดเชียงใหม่ และ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย รถก็ไม่สามารถผ่านไปได้เช่นกัน
- น้ำท่วมบริเวณบ้านป่าไม้จนไปถึงสายแม่แฝก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ทำให้รถไม่สามารถผ่านไปได้
- กรมชลฯ แจ้ง น้ำอาจล้นแม่น้ำแม่ปิง ท่วมเชียงใหม่ เที่ยงนี้ 
สำนักงานชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ประกาศเตือนปชช.ในเขตเมืองเชียงใหม่เตรียมการรับมือแม่น้ำปิงล้น ตลิ่ง ล่าสุดระดับน้ำที่ p1 สะพานนวรัฐวัดได้ที่ 3.63 ม.จากจุดวิกฤต 3.70 ม. คาดเที่ยงวันนี้น้ำจากอ.เชียงดาว-อ.แม่แตงจะหนุนให้น้ำในแม่น้ำปิงทะลุจุด วิกฤตที่ 3.70ม.และเริ่มล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ชุมชนป่าพร้าวนอก ต.ป่าแดด ต.ช้างคลานในเชียงใหม่ เร่งนำกระสอบทรายเพิ่มสร้างแนวกำแพงในจุดที่ลุ่ม ย่านเศรษฐกิจไนท์บาร์ซาร์ ช้างคลานรวมถึงจัดเตรียมกระสอบทรายแจ้งจ่ายให้กับประชาชน รับมือน้ำปิงล้นตลิ่งในช่วงบ่ายวันนี้ โรงเรียนพหฤทัยเชียงใหม่ประกาศแจ้งผู้ปกครองกลับมารับบุตรหลานกลับบ้าน
……………………………………………………………………………………………………………………………
27 กันยายน 54 
18.20 น. ตราด - นายฉลอง พันธุนาคิน  หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานที่ กช.4 น้ำตกคลองพลู  อ.เกาะช้าง จ.ตราด  กล่าวว่า ได้ประกาศปิดการท่องเที่ยว ภายในบริเวณน้ำตกคลองพลูชั่วคราวก่อน เพราะอาจจะมีการเกิดกระแสน้ำป่าไหลหลาก จากบนภูเขา ลงมาสู่ด้านล่างโดยฉับพลัน  ในช่วงที่มีฝนตกลงมาติดต่อกันหลายวัน
14.30 น. อุตุประกาศเตือนภัย ฉบับที่ 5 พายุไห่ถาง
เมื่อ เวลา 10.00 น. วันนี้ (27 ก.ย. 54) พายุดีเปรสชัน“ไห่ถาง” (Haitang) บริเวณเมืองเว้ ชายฝั่งประเทศเวียดนาม มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 16.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 107.5 องศาตะวันออก หรือทางด้านตะวันออกของจังหวัดมุกดาหาร ห่างประมาณ 300 กิโลเมตร มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ คาดว่า พายุนี้จะอ่อนกำลังลงอีกและจะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศลาวและภาคตะวันออกเฉียง เหนือของประเทศไทยในวันนี้ (27ก.ย.54) บริเวณจังหวัดมุกดาหารและอำนาจเจริญ
ลักษณะ เช่นนี้ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนหนาแน่นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่กับมีลมแรง
จึง ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา ที่ราบลุ่มและใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ระมัดระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้
- วันที่ 27 กันยายน 2554 ในบริเวณจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก เลย นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี สระบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
- วันที่ 28 กันยายน 2554 ในบริเวณจังหวัดลำปาง ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี สระบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ชาวเรือ ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 27- 29 กันยายน 2554
14.20 น. อยุธยา : วิกฤตหนักแม่น้ำทุกสายไหลบ่าถล่มบ้านเรือน วัดโรงเรียน ถนน จมน้ำ ส่วนคลองชลประทานขาดทะลักท่วมทุ่งข้าวนาปี
13.30 น. ปทุมธานี : บ้าน 4 หลัง ในหมู่บ้านชวนอยู่ ถ.เลียบคลองแปด ม.8 อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ทรุดตัว และพบอีก 8 หลัง มีรอยร้าว ประกาศเป็นเขตพื้นที่เสี่ยงภัย ห้ามเข้าโดยเด็ดขาด
11.00 น. เชียงใหม่ : เกิดเหตุดินถล่ม ในพื้นที่หมู่ 5 บ้านม่อนเงาะ ต.เมืองก๋าย อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 3-4 จุด 3-4 จุด ปิดเส้นทางสัญจรโดยแต่ละจุดยาว 50-60 เมตร สาเหตุเกิดจากฝนตกหนักมากตลอดทั้งคืน ดินจึงอ่อนตัวและทรุดลงมา ถือเป็นเหตุการณ์ดินถล่มหนักที่สุดในรอบ 20 ปี
10.30 น. อ่างทอง : น้ำทะลักใต้ถนนเข้าชุมชนศาลากลางอ่างทอง
นายฉัตรชัย เย็นทรวง ปลัดอาวุโสอำเภอเมืองอ่างทอง ระดมกำลังสามล้อเครื่องขนกระสอบทรายจากถนนใหญ่เข้ามาในซอยบ้านรอซึ่งติดอยู่ กับศาลากลางจังหวัดอ่างทอง เพื่ออุดน้ำทะลักลอดใต้ถนนคอนกรีตไหลเข้าบ้านเรือนประชาชนและมุ่งหน้าสู่ ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง
09.15 น. ลพบุรี – น้ำท่วม หนัก 3  อำเภอ คือ อ.เมือง อ.ท่าวุ้น และ อ.บ้านหมี่ สูงเฉลี่ยกว่า 1 เมตรครึ่ง และไม่สามารถระบายออกได้ โดยมีปริมาณเพิ่มขึ้นวันละ 10-40 ซ.ม.
09.05 น. กทม. - ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มล้นตลิ่ง ท่วมบ้านเรือนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำแล้ว
09.00 น. นครสวรรค์ - น้ำท่วมรางรถไฟปากน้ำโพธิ์ ถึงบึงบอระเพด ข.9 กรุงเทพ-เชียงใหม่ สูง 25 ซ.ม. จึงปิดให้บริการแต่คาดว่าจะเปิดให้ใช้ได้ตามปกติ ภายในเวลาเที่ยงวันนี้ (27 ก.ย.)
08.55 น. อุตุฯเตือนฉบับ 4
พายุ โซนร้อน “ไห่ถาง” (Haitang) มีศูนย์กลางที่ละติจูด 16.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 107.5 องศาตะวันออก หรืออยู่ทางด้านตะวันออกของจังหวัดมุกดาหาร ประมาณ 300 กิโลเมตร ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลัง แรงขึ้นทำให้บริเวณด้านตะวันออกและตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกเป็นบริเวณกว้างและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่กับมีลม แรง
……………………………………………………………………………………………………………………………
26 ก.ย.54
18.40 น. สิงห์บุรี - ที่ตลาดปากบาง ต.พรหมบุรี ระดับน้ำยังสูงถึง 2.30 เมตร ขณะที่ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ของสิงห์บุรี ยังทรงตัว
18.35 น. นครสวรรค์ - อ.พยุหะคีรี ต้องทนกับสภาพน้ำท่วมขังมากว่า 1 สัปดาห์แล้ว
- อ.ชุมแสง สถานการณ์ก็ยังวิกฤติ โดยเฉพาะที่ ต.ทับกฤช น้ำยังท่วมสูงมิดหลังคาบ้าน
17 40 น. เตือน 25 จว.รับมือฝนตกหนัก 26-28 ก.ย.นี้
ศูนย์ เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เตือน 26-28 ก.ย.นี้ จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากกับจะมีพายุลมแรง โดยเฉพาะ จ.มุกดาหาร จ.ยโสธร จ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี จ.นครพนม จ.หนองคาย จ.บึงกาฬ จ.ขอนแก่น จ.ชัยภูมิ จ.นครราชสีมา จ.กาฬสินธุ์ จ.มหาสารคาม จ.ร้อยเอ็ด จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ จ.บุรีรัมย์ จ.ระยอง จ.จันทบุรี จ.ตราด จ.ระนอง จ.พังงา จ.ภูเก็ต จ.กระบี่ จ.ตรัง และจ.สตูล จึงขอให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังในพื้นที่เสี่ยงภัยและ ติดตามข้อมูลจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง
14.00 น. ศูนย์เตือนภัยพิบัติ : เตือน!! พายุจ่อเข้าอีก 2 ลูก
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ประกาศเตือนให้เฝ้าระวังพายุโซนร้อนไห่ถาง ซึ่งจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนวันพรุ่งนี้ ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และ พายุไต้ฝุ่นเนสาด อาจเคลื่อนตัวถึงไทยในอีก 3-4 วันข้างหน้า จึงขอให้ระวังอันตรายจากน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม
11.00น. ร้อยเอ็ด - น้ำจากลำน้ำชีไหลก้อนใหญ่พังพนังกั้นน้ำรอบหมู่บ้านดินแดง หมู่ 4 ตำบลดงสิงห์ อำเภอจังหาร ขาดเป็นทางยาว 2 ช่วงๆละ 40 เมตร ท่วมทั้งหมู่บ้าน 124 หลังคาเรือน ระดับน้ำสูง 1-2 เมตร ชาวบ้านหนีตายขนของหนีน้ำจ้าละหวั่น
09.35 น. พิจิตร - เมื่อคืนที่ผ่านมาน้ำป่าจากเทือกเขาวังทองและเทือกเขาเพชรบูรณ์ไหลมาบรรจบ กัแม่น้ำน่านที่ล้นตลิ่ง ส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 1.30 ม. ส่งผลให้น้ำไหลท่วม 4 ตำบล ของ อ.เมืองพิจิตร ประกอบด้วย ต.ท่ารอด ต.ป่ามะค่า ต.ท่าหลวง และหมู่บ้านจัดสรร ในเขตเทศบาลเมืองพิจิตร ซึ่งถนนถูกตัดขาด ประชาชน เกือบ 1,000 ครัวเรือน ต่างต้องเร่งรีบขนย้ายสัตว์สิ่งของหนีน้ำกันอย่างอลหม่าน
09.30 น. ชัยนาท – อ.สรรพยา อ.เมือง อ.วัดสิงห์ และ อ.มโนรมย์น้ำยังท่วมขัง ผู้ว่าฯห่วง น้ำเหนือไหลสมทบแม้จะเปิดประตูระบายน้ำทั้ง 16 บานแล้วก็ตาม
08.25 น. พายุไห่ถางเข้าเวียดนาม เตือนอีสานฝนตกหนัก
ศูนย์ เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ประกาศเตือนพายุโซนร้อนไห่ถาง ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ห่างจาก จ.นครพนม ประมาณ 800 กม. จะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งเวียดนามตอนบนวันที่ 27 ก.ย.นี้ ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้แก่ จ.นครพนม มุกดาหาร สกลนคร หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี และหนองบัวลำภู
……………………………………………………………………………………………………………………………
25 ก.ย. 54
22.45น. กาฬสินธุ์ : น้ำ ท่วมหนัก 8 อำเภอ บ้านเรือนกว่า 1,500 หลังคาเรือนถูกน้ำท่วมสูง 2 เมตร ถนนหลายสายถูกตัดขาดประชาชนเดือดร้อนและต้องการความช่วยเหลือ โดยเฉพาะในเขตรอยต่อตำบลหนองสรวง ตำบลหนองบัว ตำบลเสาเล้า อ.หนองกุงศรี และ ตำบลบึงนาเรียง อ.ห้วยเม็ก และตำบลโนนศิลา ต.โนนแหลมทอง อ.สหัสขันธ์
18.24 น. ปราจีนบุรี : น้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้ไหลทะลักเข้าท่วมถนนเอเชียหมายเลข 1 หรือ 33 สุวรรณศร หลักกิโลเมตรที่ 174 -177  อยู่ในพื้นที่เทศบาลตำบลโพธิ์งาม อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี สูงราว 50-70 ซม. ส่งผลให้รถยนต์สัญจรผ่านได้อน่างลำบาก และทำให้การจราจรติดขัดเป็นระยะทางยาวกว่า 3 กม.
17 .30 น. นครสวรรค์ : รางรถไฟสานเหนือระหว่างสถานีรถไฟปากน้ำโพ-สถานีรถไฟบึงบอระเพ็ด และระหว่างสถานีทับกฤษ-คลองปลากด ถูกน้ำจากบึงบอระเพ็ดไหลเข้าท่วมรางสูง 10 เซนติเมตรเป็นระยะทางยาว 300-500 เมตรทั้ง 2 จุด ส่งให้ขบวนรถไฟทั้งรถโดยสารและรถขนส่งสินค้าทุกขบวน ต้องใช้ความเร็วต่ำได้เพียง 5 กิโลเมตร/ชั่วโมงเท่านั้น ส่งผลให้การเดินทางล่าช้าไปกว่ากำหนดอย่างน้อย 1-3 ชั่วโมง ขณะที่สถานีรถไฟนครสวรรค์เผย หากน้ำท่วมสูงกว่า 15 เซนติเมตรก็จะปิดการเดินรถไฟทันที เนื่องจากคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นหลัก

14.00 น. กรมชลฯ :
กรม ชลประทานออกประกาศประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักให้ระวังภัยน้ำ ท่วมเชื่อมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นใน 1-2 วันนี้ ขณะที่นายกรัฐมนตรีรุดดูน้ำท่วมที่ลพบุรีบอกเสียใจเห็นประชาชนเดือดร้อน เล็งขออนุมัติงบเพิ่ม วอนร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรคไปด้วยกัน
11.31 น. ลพบุรี :ผู้ ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ประกาศเตือนชาวบ้านเตรียมรับน้ำก้อนใหญ่ท่วมตัวอำเภอบ้านหมี่ หลังจากแนวคันดินมโนรมพัง และไม่สามารถหยุดหรือชะลอน้ำจากประตูบางโฉมศรีได้  คาดระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอีก สั่งเพิ่มคันดินล้อมรอบ
09.30 น. กรมอุตุฯ : เผยอีสานตอนล่าง-ตะวันออกฝนตกชุก
กรมอุตุฯ เผยภาคอีสานตอนล่างและตะวันออกมีฝนตกชุกกับมีฝนตกหนักมากได้บางพื้นที่ 11จว.ระวังน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าหลาก กทม.ฝนคะนอง 70%
……………………………………………………………………………………………….
24 ก.ย. 54
18.40 น.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.)
เตือนอ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และ อ.เถิน จลำปาง เสี่ยงน้ำป่าดินถล่ม24-25ก.ย.นี้
14.00 น. ลำปาง -  ลำห้วยแม่มอญไหลหลากท่วมบ้านเรือนราษฎร บ้านศรีดอนมูล ม.2 และ บ้านหลวง ม.5 ต.แจ้ซ้อน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง หลังจากเมื่อกลางอึก เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง จนถึงช่วงเช้าวันนี้  ระดับน้ำ สูงประมาณ 50 เซนติเมตร และยังไหลท่วมโรงเรียนบ้านหลวง ด้วย
12.15 น. : ประกาศจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.)
- เตือนจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครนายก และปราจีนบุรี เสี่ยงอุทกภัย และระดับน้ำยังไม่ลด
- จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด เสี่ยงต่อน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม
- ในระยะ 1-2 วันนี้(24-25 ก.ย.) ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปอาจจะมีปริมาณฝนตกหนักให้ระวังน้ำ ท่วมฉับพลันหรือน้ำท่วมขัง
 10.15  น. เชียงใหม่ : น้ำป่าทะลัก ดินถล่ม เด็กตาย 1คน สูญหายอีก 3 คน
09.40 น.ชัยนาท- 4 อำเภอติดเจ้าพระยา น้ำท่วมหนัก  เพราะว่า จ.นครสวรรค์ และอุทัยธานี ยังคงระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง ในเขตเทศบาลตอนนี้ ต้องตั้งคันกั้นน้ำสูงถึง 2 เมตร เพื่อป้องกันน้ำทะลักเข้าท่วมตัวเมือง
…………………………………………………………………………………………………………
23 ก.ย. 54 
17.50 น. อุทัยธานี - น้ำท่วมหนักในตำบลเกาะเทโพ และ ตำบลท่าซุง ชาวบ้านต้องใส่ชูชีพ
15.15 น. ศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.)
รอง ผอ. ศอส. เตือนประชาชนว่า ในช่วงวันที่ 23-25 ก.ย. ให้รับมือฝนตกหนัก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม ในบริเวณอาศัยใกล้พื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ราบลุ่ม ใน 47 จังหวัด ได้แก่
แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี หนองบัวลำภู เลย หนองคาย อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง
15.12 น. มหาสารคาม :  ได้ประกาศเขตภัยพิบัติน้ำท่วมเพิ่มขึ้นอีก 3 อำเภอ คือ ที่ อ.ชื่นชม บรบือ และ อ.กุดรัง รวมประกาศเขตภัยพิบัติน้ำท่วมแล้ว 9 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง กันทรวิชัย โกสุมพิสัย เชียงยืน นาเชือก พยัคฆภูมิพิสัย ชื่นชม บรบือ และ อ.กุดรัง  รวม 71 ตำบล 639 หมู่บ้าน 30 ชุมชน ราษฎรเดือดร้อน 145,145 คน 40,178 ครัวเรือน
15.00 น.ปภ. : เตือน47จังหวัด เหนือ และอิสาน ระวัง ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มในช่วงวันที่ 23-25 ก ก.ย.นี้  หลังมีฝนตกหนัก จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยหมั่นสังเกตสัญญาณผิดปกติทาง ธรรมชาติ
เช่น น้ำในลำธารเปลี่ยนสีเป็นสีเดียวกันกับดินบนภูเขา ฝนตกหนักนานเกินกว่า 6 ชั่วโมง  ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีต้นไม้ขนาดเล็กไหลปนมากับน้ำ เป็นต้น ให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มขึ้นได้ ให้รีบอพยพออกจากพื้นที่ในทันที
14.55น. ลพบุรี :หลาย พื้นที่ยังมีน้ำท่วมหนักอย่างต่อเนื่อง หลังประตูน้ำบางโฉมศรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี พัง ทำให้ประชาชนกว่า 4,000 ครอบครัวไม่มีที่อยู่อาศัยต้องหอบข้าวของขึ้นมาจับจองที่พักบนถนนสาย 3028 หรือถนนสายบางงา-บ้านหมี่ ด้านเจ้าหน้าที่สั่งเร่งช่วนเลือ และอพยพคนป่วย-คนชรา เป็นการด่วน
09.55 น. พิษณุโลก - แม่น้ำน่านช่วงไหลผ่านเมืองพิษณุโลกจะทรงตัวสูงที่ระดับ 10.92 ม.ต่อไปอีก 2-3 วัน และได้ปรับลดอัตรการระบายน้ำแล้ว
- ขณะที่ปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ จ. อุตรดิตถ์ ขณะนี้อยู่ที่ 98% แล้ว แต่จะไม่มีผลกระทบต่อ จ.พิษณุโลก เนื่องจากเป็นการระบายไล่หลังน้ำจากน้ำปาด และคลองตรอน และสภาพโดยรวมของแม่น้ำน่านเมืองพิษณุโลกจึงคงต้องทรงตัวสูงอย่างนี้อีกหลาย วัน
09.30น. พิจิตร – น้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ไหลสะสมในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ทำให้ปริมาณน้ำท่วมสูง จนถึงเส้นทางการเดินทางรถไฟ ด้านทิศตะวันออก ในขณะที่ด้านทิศตะวันตกก็มีน้ำจากแม่น้ำน่าน ล้นตลิ่ง และมาบรรจบกับน้ำป่า
-โดย มีรางรถไฟเป็นแนวกั้นน้ำระหว่างน้ำป่า และน้ำจากแม่น้ำ โดยบางจุด น้ำได้ล้นท่วมเส้นทาง ช่วงระยะทางระหว่าง สถานีตะพานหิน ถึง ห้วยเกตุ ระยะทาง 2 กิโลเมตร ระดับน้ำท่วมถึงหมอนรางรถไฟ และในช่วงระหว่างสถานีพิจิตร ถึงสถานีท่าฬ่อ เป็นระยะทาง 1 กิโลเมตร ส่งผลใหืการเดินรถไฟช้ากว่ากำหนดทราว 15 นาที ทุกขบวน
09.25 น. อุบลราชธานี : น้ำป่าจากเทือกเขาพนมดงรัก ไหลทะลักท่วม 22 หมู่บ้าน ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักระดับน้ำมีความสูงกว่า 1 เมตร
09.20 น. ชัยนาท : น้ำไหลเชี่ยวกัดเซาะถนนเลียบคันคลองมหาราช ต.หาดอาษาอ.สรรพยา ถ.ขาดเป็นระยะ ชาวบ้านต.ตลุกย้ายมาเพิงพักบนถ.บางส่วนย้ายไปบนถ.เอเชีย
09.00น. กาฬสินธุ์ : สถานการณ์น้ำล้นเขื่อนลำปาว เข้าสู่จุดวิกฤติ เขื่อนรับน่ำเต็มความจุ 100% คือ  1,980 ล้านลูกบาศก์เมตร
ส่งผลให้พื้นที่ท้ายน้ำ ฝั่ง อ.เมือง อ.สหัสขันธ์ บ้านเรือนประชาชน รวมถึง สถานที่ท่องเที่ยวถูกน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร และยังขยายวงกว้างไปถึง อ.หนองกุงศรี ซึ่งมีบ้านเรือนประชาชนถูกน้ำท่วม และ 108 หลังคาเรือน ใน 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน
……………………………………………………………………………………………….
22 ก.ย. 54
17.15 น. พิจิตร แม่น้ำแม่น้ำยม ในเขตเทศบาลตำบลโพทะเล ที่สถานีวัดน้ำ Y. 5 ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 3 เซนติเมตร ระดับน้ำอยู่ที่ 8.96 เมตร สูงกว่าจุดวิกฤติอยู่ 2.01 เมตร
- แม่น้ำน่านระดับน้ำแม่น้ำน่าน ที่บ้านราชช้างขวัญในเขต อ.เมืองพิจิตร ที่สถานีวัดน้ำ N. 7A ระดับน้ำ เพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร ระดับน้ำอยู่ที่ 11.53 เมตร สูงกว่าจุดวิกฤติ 1.32 เมตร
17.10 น. ศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและ การบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.)
เตือน ช่วงวันที่ 22 – 23 ก.ย.จะมีฝนตกหนักใน 15 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี เลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด
17.10 น. อ่างทอง เจ้าหน้าที่เร่งป้องเขตเศรษฐกิจ หลังน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นจนเกินจุดวิกฤติ
17.00น. ลพบุรี ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมทั้งจังหวัดแล้ว
15.22 น. ตาก : ระดับน้ำในเขื่อนภูมิพล ขณะนี้อยู่ที่ 89% การระบายน้ำยังทรงตัว
- อุตรดิตถ์ : เขื่อนสิริกิติ์ ระดับน้ำมีมากถึง 97%
- พิษณุโลก : ปริมาณน้ำในเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน อยู่ที่ระดับ 99% แล้ว จากการเร่งระบายน้ำ จึงอาจส่งผลต่ออำเภอวัดโบสถ์ ได้
- ลพบุรี : เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระดับอบุ่ที่ 116% แต่ฝนก็ยังตกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การระบายในครั้งนี้ อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมหนักขึ้นในบริเวณพื้นที่ท้ายเขื่อนทั้งในจังหวัดลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อำเภอท่าเรือ และนครหลวง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
15.20 น. ชัยภูมิ : มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของอำเภอเมือง บ้านเขว้าและอำเภอจัตุรัส ยังคงไม่คลี่คลาย โดยน้ำมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
15.18 น. อุบลราชธานี : ระดับน้ำแม่น้ำมูล ที่จุดวัดระดับน้ำสะพานเสรีประชาธิปไตย สูงกว่าตลิ่งเพิ่มขึ้น ส่งผลให้น้ำที่ท่วมขังชุมชนราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำมูลรวม 22 ชุมชน
- เขตเทศบาลนครอุบลราชธานีและเทศบาลเมืองวารินชำราบ บางชุมชน น้ำสูงกว่า 1.50 เมตร
15.15 น. สิงห์บุรี : เร่งถมหินซ่อมประตูระบายน้ำพระงาม อ.พรหมบุรี แต่น้ำยังคงไหลท่วมบ้านเรือนประชาชนอยู่
15.10 น. อ่างทอง : หลังเปิดประตูระบายน้ำยางมณี น้ำล้นข้ามถนนสายวัดสามประชุม ตำบลบางระกำ อำเภอโพธิ์ทอง เข้าท่วมพื้นที่อย่างรวดเร็ว เพียงไม่ถึงชั่วโมงระดับน้ำเพิ่มน้ำสูงกว่า 1 เมตร
11.10 น. พิษณุโลก : น้ำจากแม่น้ำยมยังไหลผ่านอำเภอบางระกำ จนน้ำล้นตลิ่งสูงเกือบ 4 เมตร
11.05 น. พิจิตร : อำเภอสามง่มน้ำล้นตลิ่ง สูง 76 ซ.ม.
11.00 น. พระนครศรีอยุธยา : ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในอำเภอบางบาล มีน้ำไหลผ่านเพิ่มขึ้น 1,258 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ล้นตลิ่ง 43 ซ.ม.
10.00 น. นครราชสีมา : ปริมาณน้ำในลำน้ำมูลเอ่อล้น ท่วมบ้านเรือนใน ต.สัมฤทธิ์ อ.พิมาย สูงกว่า 60 ซ.ม.
………………………………………………………………………………………………….
21 ก.ย. 54
19.00 น. นครสวรรค์ : ถนนหลายสายไม่สามารถผ่านได้ อาทิ นครสวรรค์ ต่อเขตแขวงการทางฯพิจิตร , ทางเลี่ยงเมือง นครสวรรค์ด้านตะวันตก , สายนครสวรรค์ ชุมแสง ,สายลาดยาว – วังซ่าน , ทางหลวงหมายเลข 1 -บรรพตพิสัย , บรรพตพิสัย ต่อเขตแขวงกำแพงเพชร ,นครสวรรค์ – โกรกพระ , โกรกพระ – อุทัยธานีและช่วงทางแยกเข้าตลาดพยุหะคีรี
- ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้น 3 ซ.ม.
- ที่สถานีวัดน้ำ C 2 ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง มีหลายแห่งที่น้ำเริ่มล้นคันกั้น
14.20 น. พระนครศรีอยุธยา
- น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก ลพบุรี และแม่น้ำน้อย เพิ่มสูงขึ้น 5-10 ซ.ม.
- ชาวบ้านใน อ.บางปะอิน , อ.บางบาล ,อ.ผักไห่ และอำเภอเสนา ที่อศัยริมแม่น้ำ ระดับน้ำสูงขึ้น 2-4 ม. เจ้าหน้าที่เร่งนำประสอบทรายมากั้น
- น้ำเหนือไหลมาถุงส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น กรมศิลปากรเตรียมรับมือ ป้องกันโบราณสถาน
- หน้าวัดพนัญเชิง ระดับน้ำสูงกว่าด้านในวัน 1.50 ม.
 14.00 น.ประกาศจากกรมอุตุฯ ฉบับที่ 9
- ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ในช่วงวันที่ 21-23 กันยายน นี้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัด ปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย
- ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีฝนหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากได้บางพื้นที่
โดย เฉพาะบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี เลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด
-สำหรับทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือในระยะ
10.25 น.อุทัยธานี : ต.เกาะเทโพ อ.เมือง พื้นที่ 14,000 ไร่ ประสบภาวะน้ำท่วมหมด ผู้ว่าฯแจง อำเภอเมือง ทั้งหมด ถูกน้ำท่วมไปแล้วกว่า 80%
10.10 น. ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.)
แจ้งว่า ในวันที่ 21-22 กันยายนนี้ อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยรวม 14 อำเภอ ประกอบด้วย
อ.หล่มสัก อ.หล่มเก่า อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์
อ.ด่านซ้าย จ.เลย
อ.ชาติตระการ อ.วังทอง อ.เนินมะปราง อ.นครไทย จ.พิษณุโลก
อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น
อ.ขลุง อ.มะขาม อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี
และอ.เขาสมิง อ.บ่อไร่ จ.ตราด

10.00 น. ชัยนาท : พนังกั้นน้ำบ้านดักคะนนพังน้ำทะลักเข้าท่วม ต.ธรรมามูล-เขาท่าพระ-เสือโฮก อ.เมือง
………………………………………………………………………………………………..
20 กันยายน 54
18.00 น. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)
เตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ราบลุ่ม รวม 36 จังหวัด ได้แก่
แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี หนองบัวลำภู เลย หนองคาย อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่นมหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์ และบุรีรัมย์
เตรียมพร้อมรับมือภาวะฝนตกหนัก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มในช่วงวันที่ 20-25 ก.ย.นี้
- ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย และดินถล่มสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784
16.39 ลพบุรี : รองผอ. ศอส. ได้สั่งเตือนประชาชนในพื้นที่ท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ฯ  และชุมชนริมฝั่งแม่น้ำ ให้ระมัดระวังและเตรียมสิ่งของหนีน้ำ เหลังกรมชลฯ เตรียมปล่อยน้ำออกจากเขื่อนป่าสักฯ เนื่องจากขณะนี้ปริมาณน้ำได้มีมากเกินความจุของเขื่อนแล้ว โดยอยู่ที่ร้อยละ 111   ส่วนสถานการณ์น้ำจากเขื่อนต่างๆ ทั่วประเทศนั้น เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำร้อยละ 88 ของความจุอ่างฯ,เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำร้อยละ 96 และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีปริมาณน้ำร้อยละ 99 เป็นต้น
15.55 น. อยุธยา : ตำรวจตระเวนชายแดนกว่า 100 นาย ช่วยกันจัดนำกระสอบทราบจำนวนกว่า 100,000 ใบมาเสริมบนสันเขื่อนดินหน้าวัดพนัญเชิงวรวิหาร ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อป้องกันน้ำท่วม แม้ระดับน้ำสูงกว่าพื้นวัดเกือบ 1 เมตร แต่น้ำยังไม่เข้าท่วมพื้นที่วัด เพราะว่าเขื่อนดินหน้าวัดที่สูงกว่า 1 เมตร ยาวเกือบ 800 เมตร สามารถทำหน้าที่ป้องกันน้ำได้
 15.15 น.   น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ดินโคลนถล่ม และภัยแล้ง เพื่อป้องกันและแก้ไขอย่างบูรณาการ
15.05 น. อุบลราชธานี : น้ำในลำน้ำมูลเริ่มเอ่อเข้าท่วมในที่ราบลุ่ม ทำให้ราษฎรที่อาศัยอยู่ต่ำกว่าตลิ่งได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับการสัญจรไป มา ที่อยู่อาศัย และเครื่องอุปโภค-บริโภค ขณะนี้ระดับน้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งสูงกว่าระดับตลิ่งและระดับเตือนภัยอยู่ 2.27 เมตร
ส่วนแม่น้ำโขงระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและระดับต่ำกว่าตลิ่งอยู่ เพียง 0.26 เมตร ส่งผลกระทบให้การระบายน้ำจากแม่น้ำมูลลงสู่แม่น้ำโขงไม่สะดวก
14.25 น. พิษณุโลก : ระดับน้ำแม่น้ำน่าน ได้มีระดับสูงถึง 10.89 เมตร และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดระดับน้ำน่าน ได้ทะลักเข้าท่วมบ้านชาวบ้านหมู่ที่ 7 ต.วัดจันทร์ อ.เมือง บางจุดระดับน้ำสูงกว่า 70 ซม. ทำให้ชาวบ้านต้องใช้เรือพาย ออกมาบนที่สูง มีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนกว่า 20 หลังคาเรือน
13.50 น.ศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.)
- สรุปสถานการณ์อุทกภัยใน 25 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี อุบลราชธานี ยโสธร เลย ขอนแก่น มหาสารคาม ศรีสะเกษ ฉะเชิงเทรา นครนายก ตาก และปราจีนบุรี
- ผู้เสียชีวิต 132 ราย สูญหาย 2 ราย
11.25 น. น่าน : ระดับน้ำหน้าที่ว่าการอำเภอเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานพัฒนาชุมชน กศน. สำนักงานท้องถิ่น และ งานผ่านแดน เริ่มลดระดับลง แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังชั้นล่างของตัวอาคารและยังมีน้ำป่าจากเทือกเขาไหลเข้า สมทบอย่างช้าๆ ตลอดทั้งวัน ขณะนี้ต้องสั่งปิดสถานที่ดังกล่าว
11.20 น. กาฬสินธุ์ : ขณะนี้ระดับน้ำในเขื่อยลำปาวอยู่ที่ 92% หรือ 1,820 ล้าน ลบ.ม. จึงต้องเร่งระบายน้ำออกถึงวันละ 7 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งได้ส่งผลให้เกิดน้ำเอ่อล้นทั้งจากแม่น้ำปาว ด้าน อ.ยางตลาด อ.เมือง อ.กมลาไสย และแม่น้ำชีด้าน อ.ฆ้องชัย อ.ร่องคำ มีพื้นที่นาข้าวเสียหายกว่า 5.5 หมื่นไร่ และน้ำบางส่วนได้เริ่มไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ราบลุ่ม
09.55 น. ปภ.ชลบุรี : จะ มีร่องมรสุมพัดผ่านประเทศไทย ขอให้ประชนระมัดระวังฝนตกหนักในระยะนี้ เตรียมพร้อมรับมือภาวะฝนตกหนัก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มในช่วงนี้ โทร 038-278031-2หรือสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง 
09.25 น. อุทัยธานี : ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสะแกกรัง เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง 4 ตำบล ในเขตอำเภอเมืองอุทัยธานียังวิกฤต  ผู้ว่าราชการจังหวัด เตรียมลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนใน ต.หาดทนง อ.เมือง
07.30 น. อุตุฯ : ประกาศเตือนภัยฉบับที่ 5 ฝนตกหนักช่วง 20-23 ก.ย.
ประกาศเตือนภัย “ฝนตกหนักบริเวณประเทศไทย ” ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 20 กันยายน 2554
บริเวณ ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศไทยตอนบนทำ ให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดตอนกลางของประเทศไทยในช่วงวันที่ 20-23 กันยายน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนเพิ่มมากขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากได้บาง พื้นที่ จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา ที่ราบลุ่ม และใกล้ทางน้ำไหล ระมัดระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่เกิดขึ้นได้ สำหรับทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือขนาดเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะ2-4 วันนี้
……………………………………………………………………………………………..
19 กันยายน 2554
17.40 น. ตาก : เขื่อนภูมิพลรับน้ำได้อีกแค่ 11% ขณะนี้มีระดับน้ำ 11,870 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถจุน้ำได้อีก 1,586 ล้านลูกบาศก์เมตร
17.35 น.ศูนย์สนับสนุนการอำนวยการ และการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.)
- ขณะนี้ยังมีน้ำท่วม 26 จังหวัด ยอดเสียชีวิต 112 ศพ สูญหาย 2 ราย
- สำหรับสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำต่างๆ ที่ยังต้องเฝ้าระวังระดับน้ำอย่างใกล้ชิด ได้แก่
ลุ่มน้ำน่าน ที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
ลุ่มน้ำปราจีนบุรี ที่อ.กบินทร์ จ.ปราจีนบุรี
ลุ่มน้ำมูล ที่อ.พิมาย จ.นครราชสีมา / อ.เมือง จ.อุบลราชธานี / อ.สตึก อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ และอ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
ลุ่มน้ำชี ที่อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
ลุ่มน้ำโขง ที่อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร
ลุ่มน้ำสะแกกรัง ที่อ.เมือง จ.อุทัยธานี
ลุ่มน้ำท่าจีน อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี และอ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
- ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีปริมาณน้ำไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ 3,935 ลบ.ม./วินาที เขื่อนเจ้าพระยาปริมาณน้ำไหลผ่าน 3,706 ลบ.ม./วินาที
ส่งผลให้มีน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณ 8 จังหวัดได้รับผลกระทบ ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนนทบุรี
16.00 น. นนทบุรี :  แม่น้ำเจ้าพระยา เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมชุมชนเกาะเกร็ด จ.นนทบุรี สูง 50 ซ.ม. ส่งผลให้เด็กนักเรียนเดือดร้อน ผอ.โรงเรียน ขอรับบริจาคสิ่งของ
15.30 น. น่าน : พบรอยดินแยก เตือนชาวบ้านพร้อมอพยพ
เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบรอยดินแยก ที่บริเวณสันเขา ในพื้นที่ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง  จังหวัดน่าน  ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1.5 กิโลเมตร / เป็นรอยแยกกว้างเกือบ 1 เมตร เป็นแนวยาวติดต่อกันเกือบ 100 เมตร  และขณะที่เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ ยังเกิดฝนตกหนักและมีการเคลื่อนตัวของดิน จึงต้องรีบออกจากพื้นที่ทันที พร้อมเตือนชาวบ้านเฝ้าระวังดินถล่ม และเตรียมพร้อมอพยพ
14.30 น. สุโขทัย : ยังคงมีภาวะน้ำท่วมหนักอยู่ในหลายตำบลของเขต อ.เมืองและ อ.กงไกรลาสโดยเฉพาะที่ลุ่มต่ำ บางหมู่บ้านระดับน้ำท่วมพื้นที่สูงกว่า 2 เมตรเช่นที่บ้านสามหมื่น , บ้านวังสะพาน ต.ปากพระ อ.เมือง และ หลายหมู่บ้านในตำบลบ้านใหม่สุขเกษม อ.กงไกรลาส
โรงเรียนและสถานศึกษาต้องประกาศหยุดเรียนเป็นเวลา 3 วัน คือตั้งแต่วันนี้ (19 ก.ย.) ถึง วันพุธที่ 21 ก.ย.
14.25 น. พิษณุโลก : แม่น้ำน่านเมืองพิษณุโลกอยู่ระดับ 10.88 เมตร สูงกว่าระดับตลิ่ง 10.54 เมตร
ส่วนที่ ม.6 ต.หอกลอง อ.พรหมพิราม น้ำยังล้นตลิ่งอยู่ และซ่อมแนวตลิ่งได้ยาก ทำให้น้ำไหลล้นเข้าไปคลองสระโคล่ คลองโคกช้าง ต.อรัญญิก จนเกิดน้ำท่วมขังอยู่
14.00 น. นนทบุรี : น้ำท่วมชุมชนเกาะเกร็ด ระดับน้ำอยู่สูงถึง 50 ซ.ม. โรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียงเดือดร้อน นักเรียนเดินทางมาสอบไม่ได้
11.30 น. : น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  สั่ง ระดมกำลังเจ้าหน้าที่เสริมแนวกั้นน้ำ
11.00 น. อุตรดิตถ์ : ผอ.เขื่อนสิริกิตื์เผย น้ำในเขื่อนยังจุได้อีก 4% ขณะยี้มีระดับน้ำอยู่ที่ 9,100 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเท่ากับ 95.75 %
10.50 น. สิงห์บุรี :  หลัง ประตูน้ำพระงาม และประตูน้ำกระทุ่มโทง อ.พรหมบุรี คอนกรีตข้างสันเขื่อนพังลงมา น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไหลลงสู่แม่น้ำน้อยอย่างรวดเร็ว ทำให้บ้านเรือนประชาชนที่อยู่สองฝั่ง ถูกน้ำท่วมเสียหาย ตั้งแต่ อ.โพธิ์ทอง ถึง อ.วิเศษไชยชาญ จ.อ่างทอง และบางตำบลใน อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา
10.30 น. อุบลราชธานี :
- แม่น้ำมูลบริเวณสะพานประชาธิปไตยสูงกว่าระดับเตือนภัย 2.19 เมตร
- แม่น้ำโขงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและหนุนเข้ามายังบริเวณแม่ น้ำสองสี ซึ่งเป็นปากทางออกของแม่น้ำมูล ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมตัวเมือง ระดับน้ำสูงอย่างต่อเนื่องวันละ 10 เซนติเมตร ชาวบ้านต้องอพยพมาอยู่ริมฝั่งถนน จนเกิดปัญหาเดือดร้อนหนักเรื่องสุขา
10.20 น. ชัยภูมิ  : ระดับ แม่น้ำชียังคงทรงตัว หลังเข้าท่วม 3 อำเภอที่อยู่ติดกับแม่น้ำชี ได้แก่ อ.เมือง อ.บ้านเขว้า และอ.จัตุรัส ล่าสุด มีรายงานผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย
09.15 น. ชัยนาท : 4 อำเภอที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาน้ำทักลักท่วมหนัก น้ำเพิ่มสูงขึ้น 10 ซ.ม.ขณะนี้ได้มีการแจ้งให้อพยพประชาชนในพื้นที่ ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ ไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย
09.10 น. อ่างทอง : ได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยทั้งจังหวัดแล้ว น้ำได้ไหลเข้าท่วมทั้งสถานที่ราชการสำคัญ ตลาดสด รวมถึงพื้นที่การเกษตร ได้รับผลกระทบจำนวน 11 อำเภอ 100 ตำบล 799 หมู่บ้าน
09.05 น. ลพบุรี : ยังมีน้ำท่วมทั้งจังหวัด ทั้งหมด11 อำเภอ เช้าวันนี้ระดับน้ำในแม่น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ยังทรงตัว แต่จากข้อมูลพบว่า จะมีน้ำระลอกใหม่ไหลมาสบทบ
09.00 น. กรมอุตุฯ : ประกาศจากกรมอุตุฯ ฉบับที่ 2
  •  ร่อง มรสุมที่พาดผ่านประเทศพม่าและประเทศลาวตอนบนเริ่มเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่
  •  ร่องมรสุมนี้จะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างประมาณวันที่ 20-23 ก.ย.
  • มรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนเพิ่มมากขึ้นขอให้ประชาชนระมัดระวังฝนตก หนักในระยะนี้
…………………………………………………………………………………………………..………………………………..
18 กันยายน 54
13.15 น. ศอส. : ศอ สย้ำ 8 จังหวัด ได้แก่  อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนนทบุรี เตรียมรับน้ำล้นตลิ่งที่เพิ่มสูงขึ้นในวันที่ 19-20 กันยายน 2554 นี้ พร้อมสั่งการให้จังหวัดเร่งเสริมคันกั้นน้ำให้สูงขึ้น และจัดเจ้าหน้าที่ชี้แจงทำความเข้าใจแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่นอกแนวคันกั้น น้ำ เพื่อลดความขัดแย้งและเหตุทะเลาะวิวาทด้วย
12.28 น. : อุทัยธานี :กรมทางหลวง จ.อุทัยธานีประกาศปิดเส้นทางการเดินรถบนทางหลวงหมายเลข333 จากสายเอเชียหลังระดับน้ำท่วมสูงทั้ง4เลนยาวกว่า16กม.รถเล็กสัญจรไม่ได้
11.30 น. นครสวรรค์  : ในวันที่18-20 ก.ย.นี้ คาดว่า ระดับน้ำที่จ.นครสวรรค์ จะขึ้นสูงสุดที่ 3,800 – 3,900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่หากเป็นไปตามที่คาดก็จะทำให้น้ำที่ชัยนาทเพิ่มขึ้นถึง 30 เซนติเมตร เบื้องต้นทางกรมชลประทานได้เตือนให้ประชาชนอพยพเคลื่อนย้ายสิ่งของให้พ้นน้ำ แล้ว
09.31 น. นครราชสีมา : โคราชใกล้วิกฤต 4 เขื่อนน้ำใกล้เต็ม
4 เขื่อนที่โคราชวิกฤตหลังมีปริมาณน้ำเกือบเต็มความจุแล้ว ด้านผู้ว่ายันต้องผันลงสู่ลำน้ำสาขาใต้เขื่อนเพื่อรองรับมรสุมลูกใหม่ที่ เข้ามาในวันระหว่าง 18-20 ก.ย. ทำให้พื้นที่ลุ่มในหลายพื้นที่ใน จ.นครราชสีมาถูกน้ำท่วมขังแล้ว
อย่างไรก็ดีได้ประชาสัมพันธ์ให้ชาว บ้านเร่งเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตร พร้อมทั้งประกาศพื้นที่ของ อ.ปากช่อง สีคิ้ว สูงเนิน ขามทะเลสอ เมืองนครราชสีมา วังน้ำเขียว ปักธงชัย โชคชัย และอ.เฉลิมพระเกียรติ เป็นเขตภัยพิบัติในส่วนที่ถูกน้ำท่วมแล้ว
…………………………………………………………………………………………………..………………………………..
 17 กันยายน 54

19.40 น. สิงห์บุรี : หน้าโรงพยาบาลอินทร์บุรี หมู่ 1 ต.ทับยา อ.อินทร์บุรี น้ำไหลกัดเซาะคันดิน จนพังทลาย ส่งผลกระทบให้น้ำไหลเข้าท่วมทุ่งทับยา ทุ่งบางพระนอน ทุ่งปากแรด ซึ่งเป็นพื้นที่นาข้าวเนื้อที่กว่า 10,000 ไร่
17.45 น. พิจิตร : น้ำจากภาคเหนือ และจาก จ.พิษณุโลก ที่ไหลลงสู่แม่น้ำน่าน ทำให้วันนี้ระดับน้ำมีปริมาณสูงขึ้น 5-10 ซ.ม. ทำให้ 664หมู่บ้าน ต้องถูกตัดขาดจากโลกภายนอก แต่ยังสามารถเข้าออกหมู่บ้านได้ ด้วยการเดินทางด้วยเรือท้องแบน
17.40 น. เพชรบูรณ์ : ต.สะเดียง ต.นาป่า ต.ดงมูลเหล็ก และ ต.ระวิง ระดับน้ำท่วมสูงตั้งแต่ 50 ซ.ม. จนถึง 1 เมตร จนทำให้ถนนที่ใช้สัญจรผ่านไปมาถูกตัดขาด ซึ่ง ทางกองพลทหารม้าที่ 1 ได้จัดส่งรถบรรทุกยีเอ็มซี และกำลังพล ออกช่วยรับส่งชาวบ้านที่จำเป็น
12.25 น. กาฬสินธุ์ ระดับน้ำในเขื่อนลำปาวสูงถึง 90% ปัจจุบันระดับน้ำอยู่ที่ 8.55 ม.
ขณะที่พื้นที่น้ำล้นตลิ่งได้ขยายกว้างออกเป็น 5 อำเภอ ที่ประกอบด้วยอ.เมือง อ.ยางตลาด อ.ร่องคำ อ.ฆ้องชัย และอ.กมลาไสย
12.20 น.กรุงเทพฯ  ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นอีกครั้ง บางจุดอยู่ห่างจากแนวคันกั้นน้ำเพียง 60 เซนติเมตร
ส่วนพื้นที่ที่อยู่นอกเหนือแนวคันกั้นน้ำของกรุงเทพ เจ้าหน้าที่ได้นำกระสอบทรายจำนวน 1 คันรถ มาเสริมแนวคันกั้นน้ำ
10.40 น. อ่างทอง : ที่อ.วิเศษชัยชาญ ปริมาณน้ำในแม่น้ำน้อย เพิ่มสูงกว่าตลิ่ง 27 ซ.ม.แล้ว หลังประตูระบายน้ำพระงามพัง
10.30 น. พิษณุโลก : แม่น้ำน่านไหลทะลักเข้าภายในตำบลหัวรอ อ.เมือง กัดเซาะด้านล่างของแนวกั้น บริเวณหน่วยพัฒนาทหารเคลื่อนที่ที่ 34 หรือ โรงทอเก่า ด้านใต้วัดตาปะชาวหาย
…………………………………………………………………………………………………..
 16 กันยายน 54
13.40 น. ชัยภูมิ : สะพานที่เชื่อมอำเภอบ้านเขว้าและอำเภอบัวระเหวถูกน้ำชีไหลเข้าท่วมอย่าง รุนแรง  ส่งผลให้สะพาน ถูกน้ำพัดพังเสียหายทั้งหมด น้ำท่วมสูงกวา 1 เมตร เจ้าหน้าที่ ได้สั่งปิดถนนทุกสาย โดยเฉพาะเส้นทางจากอำเภอบ้านเขว้า ไปยังจังหวัดนครสวรรค์ ระยะทางยาวกว่า 29 กิโลเมตร ซึ่งประชาชน จะต้องเลี่ยงไปใช้เส้นทางผ่านอำเภอจัตุรัส เพื่อความปลอดภัย
11.40 น. เพชรบูรณ์ : เขตเทศบาลเมืองหล่มสัก อ.หล่มสัก ระดับน้ำที่ท่วมขังได้ลดระดับลงจนแทบเป็นปกติแล้ว แต่ในพื้นที่ในตำบลรอบนอกของ อ.หล่มสัก ยังตกอยู่ในสภาพถูกน้ำท่วมหนัก ชาวบ้านบ้านนครเดิด ต.บ้านกลาง เริ่มได้รับความเดือดร้อน เพราะขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม
10.30 น. ปทุมธานี : ชุมชนหลังวัดบางหลวง ม.4 ต.บ้านฉาง อ.เมือง กลายสภาพเป็นเกาะกลางน้ำจมอยู่ในน้ำลึกกว่า 1เมตร  หลังแม่น้ำเจ้าพระยาทะลัก  ชาวบ้านในชุมชนเกือบ 200 หลังคาเรือนต้องช่วยเหลือตัวเองโดยขนย้ายข้าวของขึ้นที่สูง
10.15 น. ปภ. นครราชสีมา: เตือน ประชาชนในจังหวัด นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์ ที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ราบลุ่ม ระมัดระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากน้ำล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่มที่จะเกิดขึ้น ในระหว่างวันที่ 18 -21 ก.ย. นี้ 
09.25 น. พิษณุโลก : ระดับน้ำของแม่น้ำน่านที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้อยู่ที่ระดับ 10.88 เมตร คาดการณ์ว่าอาจจะเพิ่มระดับถึง 11 เมตร ชาวบ้านจึงต้องเร่งทำแนวกระสอบทรายหน้าวัดใหญ่ให้แข็งแรง 

09.20 น. ชัยภูมิ : พนังกั้นน้ำชีช่วงไหลผ่านเขตเทศบาลตำบลหนองบัวระเหว ขาดยาวกว่า 3 กิโลเมตร ท่วมบ้านเรือนราษฎรจมสูงกว่า 1.5 เมตร ใน 3 หมู่บ้านเดือดร้อนหนักกว่า 150 หลังคาเรือน ระดับน้ำยังคงสูงขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ยชั่วโมงละกว่า 10 ซม.
ชาวบ้านผวาฟาร์มจระเข้ 5 ตัวยาวกว่า 4 เมตร หลุดโผล่ใกล้บึง
…………………………………………………………………………………………………………
15 กันยายน 54 
17.45 น. พิษณุโลก : แนวกระสอบทรายใต้สะพานข้ามแม่น้ำน่าน ตำบลพลายชุมพล พังทลาย น้ำไหลทะลักเข้าท่วมเขตชุมชนฝั่งตะวันตกของตัวเมือง
17.40 น.จ.อุตรดิตถ์ :  สถานการณ์ น้ำในเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ล่าสุดมีปริมาณน้ำร้อยละ 85 ของความจุ ขณะที่เขื่อนสิริกิต์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาณร้อยละ 95
17.30 น. นครสวรรค์ : น้ำจากแม่น้ำปิงที่ไหลมาจากจังหวัดกำแพงเพชร ล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่เศรษฐกิจของอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ระดับน้ำสูง 50-150 เซนติเมตร ทำให้ร้านค้าต่างๆต้องเร่งเก็บของหนีน้ำขึ้นที่สูงเพื่อป้องกันความเสียหาย ในขณะที่บางส่วนต้องนำกระสอบทรายวางเป็นแนวกั้นน้ำกันเป็นจำนวนมาก
16.30 น. ชัยภูมิ : น้ำป่าจากเทือกเขาพังเหย และเทือกเขาภูเขียวทะลักลงสู่แม่น้ำชีเข้าท่วมหมู่บ้านโนนเปลือย ต.ตลาดแร้ง และต.ภูแลนคา อ.บ้านเขว้า กระแสน้ำที่เชี่ยวกรากไหลผ่านถนน ทำให้รถโดยสารปรับอากาศ 2 ชั้น  ทะเบียน 30-1835  นครสวรรค์ ซึ่งพาผู้โดยสารมาเต็มคันกว่า 40 คน มุ่งหน้าสู่ตัวเมืองชัยภูมิเกือบตกถนน จนท.ช่วยไว้ได้อย่างปลอดภัย
16.10 น. อยุธยา : ระดับ น้ำเจ้าพระยามีระดับน้ำสูงกว่าแผ่นดินของวัดไชยวัฒนารามกว่า 170 ซม. ต้องเพิ่มตัวล็อคคานเหล็กและเพิ่มเสริมเสาค้ำยันตลอดแนวป้องกันน้ำท่วม
15.45 น. เพชรบูรณ์ : น้ำในแม่น้ำป่าสัก ไหลทะลักท่วมบ้านเรือนราษฎรในเขตพื้นที่ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ประชาชนกว่า 1,000 คนอพยพมาศัยอยู่บนถนน
15.40 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) :  เตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่เสี่ยงภัย บริเวณที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ราบลุ่มรวม 16 จังหวัดได้แก่ เลย ชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และยโสธร ให้พร้อมรับมือภาวะฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มในวันที่ 15-16 ก.ย.นี้
14.00 น. สุพรรณบุรี : เมื่อกลางดึกของคืนที่ผ่านมา เขื่อนกั้นน้ำ แม่น้ำท่าจีนที่ จ.สุพรรณบุรี พัง น้ำทะลักท่วมตลาดเก้าห้อง และบ้านเรือนในตำบลบางปลาม้า อ.บางปลาม้า สูงกว่า 1 เมตร ชาวบ้านขนของไม่ทันวิ่งหนีกันจ้าละหวั่น

12.20 น. อยุธยา : ผู้ว่าฯ อยุธยาเตือน 17-18 ก.ย. น้ำมาอีกระลอก ส่งผลให้ระดับน้ำสูงขึ้นอีก 50 เซนติเมตร ให้ประชาชนเตรียมขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง

12.00 น. ลำพูน : น้ำป่าไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนกว่า 200 หลังคาเรือน ใน ต.ป่าสัก ต.เวียงยอง อ.เมืองลำพูนสูงกว่า 1 เมตร เนื่องจากฝนตกหนักตลอด 2 วันที่ผ่านมา
11.30 น. น่าน : ระดับน้ำในแม่น้ำน่านได้ขึ้นไปถึง 10.80 เมตรแล้ว ปริมาณน้ำไหลผ่านยังแรงและเร็วที่ 1,673 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่อ วินาที
10.40 น. กรุงเทพ : กรมชลฯ เตือนกรุงเทพ เตรียมรับมือน้ำท่วมกรุง เผยน้ำก้อนใหญ่จากเหนือถึงแน่ 19-20 ก.ย.นี้ ชี้สถานการณ์รุนแรงสุดรอบ 5 ปี
10.30 น. ขอนเเก่น : ประกาศให้พื้นที่ 15 อำเภอ จากทั้งหมด 26 อำเภอ เป็นที่ประสบภัยน้ำท่วม หลังปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่อง และแรงน้ำหนุนจากแม่น้ำเชิญ และน้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนของประชาชน
10.00 น. พิษณุโลก : ระวังวิกฤติสูงสุด จัดเวรยามเฝ้าจุดเสี่ยงตลอด 24 ชั่วโมง แม่น้ำน่านได้เพิ่มระดับสูงมากทุกชั่วโมง จนทำระดับสูงสุด 10.78 เมตร
09.40 น. พิจิตร : สถานการณ์น้ำท่วมใน จ.พิจิตร ทวีความรุนแรง และขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่อง หลังจากในพื้นที่เกิดฝนตกสะสมกันอย่างหนักรวมถึงเขื่อนขนาดใหญ่ทางภาคเหนือ พร่องถ่ายน้ำลงสู่แม่น้ำน่านในพื้นที่ท้ายเขื่อน อีกทั้งยังมีน้ำป่าจาก จ.พิษณุโลก ไหลหลากลงมาสมทบ ทำให้ทั้งน้ำฝน น้ำในแม่น้ำน่านและน้ำป่าไหลหลากลงผสมกันและทะลักเข้าท่วมพื้นที่ทั้ง 15 ตำบลเกือบ 100 หมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองพิจิตร บ้านเรือนประชาชนถูกน้ำท่วมสูง 1-2 เมตร
09. 35 น. ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.): ทุกจังหวัดลุ่มน้ำยังต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากฝนตกต่อเนื่องหลายพื้นที่ ส่งผลให้น้ำล้นตลิ่งใน 6 จังหวัด คือ สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานีที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
09.40 น. สิงห์บุรี : สถานการณ์ น้ำท่วมล่าสุดใน จ.สิงห์บุรี หลังจากที่ประตูระบายน้ำบางโฉมศรีแตก ขณะนี้ระดับน้ำริมคลองเชียงรากท่วมสูงประมาณ 2.5 เมตร และยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพมาอาศัยอยู่บนถนนสายเอเชีย  ซึ่งชาวบ้านบางส่วนได้ตัดพ้อว่ายังไม่เห็นเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือ โดยมีชาวบ้านกว่า 600หลังคาเรือนเดือดร้อนหนัก อย่างไรก็ดีเชื่อว่าน้ำก้อนดังกล่าวได้ส่งผลกระทบถึง อ.ท่าวุ้ง และ อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรีแล้ว
09.14 น. กรมอุตุ : อุตุฯ เผยบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนยังมีฝนเกือบทั่วไปและมีฝน ตกหนักบางพื้นที่ ส่วนทะเลทั้ง 2ฝั่งมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร เตือนประชาชนเฝ้าระวังภัย และติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง
09.11 น. จันทบุรี : น้ำป่าจากเทือก เขาคิชฌกูฎ ได้เข้าท่วมพื้นที่นายายอาม ระดับน้ำสูง 1 – 2 เมตร ส่งผลให้ 2 ตำบล คือ ตำบลวังใหม่ และตำบลวังโตนด ของอำเภอนายายอาม รวม 10 หมู่บ้าน ถูกน้ำท่วม ชาวบ้านกว่า 100 หลังคาเรือน ได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถออกมาจากบ้านได้ ขณะนี้ทางหน่วยงานบรรเทาสาธารณภัย ได้รุดนำเรือท้องแบนเข้าช่วยเหลือแล้ว
…………………………………………………………………………………………………………………………………………….
14 กันยายน 2554

17.30 น. ศอส.: เตือนให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริ เวณจ.นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร เสริมแนวคันกั้นน้ำให้สูงขึ้น รวมทั้งให้ขนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นที่สูง และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด
15.05 น. สิงห์บุรี : เขื่อนบางโฉมศรี อำเภออินทร์บุรี แตกทำให้น้ำเริ่มไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดลพบุรี
15.00 น. สุรินทร์ : อ่างเก็บน้ำในสุรินทร์ยังรองรับได้ แต่แม่น้ำชีและแม่น้ำมูล มีปริมาณสูงขึ้น เหลือเพียง 50- 80 เซนติเมตร จะล้นตลิ่ง
12.00น. อุตรดิตถ์ : ขณะนี้ ได้ระดมเจ้าหน้าที่ค้นหาเหยื่อดินโคลนถล่ม พร้อมเร่งให้เจ้าหน้าที่ อบจ.บรรจุเครื่องอุปโภคบริโภคจำนวน 500 ชุด นำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยดินโคลนถล่มที่ ต.น้ำไผ่ , ต.บ้านด่านนาขาม และ ต.น้ำริด
 11.00 น. ลำพูน :  ระดับน้ำลำน้ำกวงขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 5 เมตร และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เริ่มเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนในพื้นที่ ต.บ้านแป้น ต.เวียงยอง และ ต.ต้นธง ของ อ.เมือง แล้ว
10.55 น. อ่างทอง : น้ำล้นตลิ่งท่วมผิวการจราจรบนถนนหลักหลายสาย เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ  บางจุดน้ำสูงกว่า 50 ซม. ต้องปิดการจราจรสองช่องทางทำให้การจราจรติดข้ด
09.40 น. ปทุมธานี : น้ำท่วมตลาดสดศิริวัฒนา เขตเทศบาลเมืองปทุมธานี ต.บางปรอก อ.เมือง รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองปทุมธานี ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่เทศบาลนำกระสอบทราย มาช่วยกันกั้นน้ำแล้ว
ลพบุรี : ประตูน้ำพัง น้ำทะลักท่วม อ.บ้านหมี่ อ.ท่าวุ้ง ผู้ว่าฯ สั่งอพยพคนและสัตว์เลี้ยงแล้ว
09.35 น. เพชรบูรณ์ : ระดับน้ำในอ่างเก็บกักน้ำของกรมชลประทานทั้ง 4 แห่ง มีระดับสูงเกินกว่าปริมาณเก็บกัก ทำให้ล้นออกทางช่องระบายฉุกเฉิน
นอกจากนี้ ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ และพื้นที่โดยรอบ น้ำจากแม่น้ำป่าสัก และน้ำที่ถูกระบายออกจากอ่างป่าแดง ทำให้พื้นที่ชุมชนใกล้แม่น้ำตกอยู่ในภาวะน้ำท่วมเช่นกัน
09.30 น. ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ : แจ้งเตือนว่า วันนี้ (14 ก.ย.) ถึงวันที่ 20 กันยายน อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง เนื่องจากมวลน้ำลูกใหญ่ ซึ่งมีปริมาณน้ำมากกว่าปีที่แล้ว ไหลผ่านลุ่มน้ำเจ้าพระยาบริเวณ จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………….
13 กันยายน 54
18.00 น. ศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.)
ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ราบลุ่มรวม 11 จังหวัด ได้แก่ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ให้เตรียมพร้อมรับมือภาวะฝนตกหนัก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มในวันที่ 13-14 กันยายน 2554
17.40 น. แพร่ : ฝนตกหนักในพื้นที่ อ.เด่นชัย น้ำป่าไหลตามลำน้ำห้วยไร่ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนเสียหายกว่า 50 หลังคาเรือน
17.30 น. นครสวรรค์ : ผู้ว่าฯ เตือน ประชาชนที่อาศัยอยู่ 2 ริมฝั่งแม่น้ำปิง บริเวณ อ.บรรพตพิสัย อ.เก้าเลี้ยว และ อ.เมืองนครสวรรค์ ให้เตรียมขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง เนื่องจากมวลน้ำขนาดใหญ่จากฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ จ.ตาก และกำแพงเพชร จะไหลถึงจังหวัดช่วงเที่ยงคืนวันนี้
16.00 น. กรุงเทพ : กรมชลประทาน เตือน กรุงเทพ วันที่ 19- 20 ก.ย เจอน้ำเหนือก้อนใหญ่ ซึ่งมาจากแม่น้ำปิงในจังหวัดกำแพงเพชร และปริมาณน้ำจากลุ่มน้ำป่าสัก และในส่วนเจ้าพระยาตอนล่างคือ ปทุมธานีและนนทบุรี จะได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำที่มากขึ้น ดังนั้นให้แต่ละจังหวัดเร่งเสริมคันกั้นน้ำให้สูงในระดับที่ไม่ต่ำกว่า 2 เมตรขึ้นไป
15.26 น. แนวเขื่อนกั้นแม่น้ำเจ้าพระยาที่นครสวรรค์พัง บ้านเรือนกว่า 800หลังจมน้ำิมิด
แนว เขื่อนกั้นแม่น้ำเจ้าพระยาที่นครสวรรค์ ได้พังลง หลังน้ำได้กัดเซาะแนวด้านล่างของพนังเขื่อน จนเป็นเหตุให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาทะลักท่วมชุมนุนติดแม่น้ำ เช่นชุมชนสะพานเดชาติวงศ์ ชุมชนเทวดาสร้าง ชุมชนวัดเขาจอมคีรีนาคพรต อย่างรวดเร็ว จนบ้านเรือนประชาชนกว่า 800 หลังคาเรือนจมอยู่ใต้น้ำทันที  ทำให้ประชาชนต่างเร่งขนของหนีน้ำเป็นการด่วน เบื้องต้นระดับน้ำได้สูงขึ้นกว่า 3เมตรแล้ว ด้าน กองพันทหารช่างที่ 4 ค่ายจิระประวัติ จังหวัดนครสวรรค์ ได้นำเรือท้องแบนกว่า 20 ลำ พร้อมทั้งระดมกำลังช่วยอพยพชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ และขนย้ายข้าวของกันอย่างเร่งด่วนแล้ว
14.10 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย :เตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ราบลุ่มรวม 11 จังหวัด ได้แก่ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ให้เตรียมพร้อมรับมือภาวะฝนตกหนัก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มในวันที่ 13-14 ก.ย.นี้
12.55 น. กาฬสินธุ์ : เตรียมอพยพประชาชน หลังปริมาณน้ำในเขื่อนลำปาวเพิ่มต่อเนื่อง หวั่นพื้นที่ราบลุ่มเกิดน้ำท่วมใหญ่
12.25 น. เชียงใหม่-ตาก-แม่ฮ่องสอน : กรม ทรัพย์เตือน 3 จังหวัดภาคเหนือ เชียงใหม่-ตาก-แม่ฮ่องสอน ระวังดินถล่ม-น้ำป่าไหลหลากในระยะ 1-2 วันนี้ โดยขอให้ประชาชนพื้นที่เสี่ยงภัยทางภาคเหนือ 3 จังหวัด ได้แก่ อ.แม่แจ่ม อมก๋อย ฮอด จ.เชียงใหม่, อ.แม่สะเรียง สบเมย ขุนยวม แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน และบางพื้นที่ของ จ.ตาก เตรียมการรับมือภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นหลังพบปริมาณน้ำฝนสูง
11.35 น. กรมชลประทาน : ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลรองรับน้ำไปแล้วกว่า 82%  ขณะที่เขื่อนสิริกิติ์จุน้ำแล้ว 96%
11.30 น. พิจิตร : บางจุดน้ำท่วมสูง 2-3 เมตร ล่าสุดน้ำท่วมแล้ว 664 หมู่บ้าน จากทั้งหมด 888 หมู่บ้าน ต้องปิดโรงเรียนแล้ว 84 แห่ง
ราง รถไฟสายเหนือช่วงสถานีพิจิตร-วังกลด ถูกน้ำท่วมรางรถไฟ เนื่องจากน้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ น้ำจากการระบายของเขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนภูมิพล รวมถึงเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก ส่งผลให้น้ำก้อนใหญ่ไหลมาท่วม จ.พิจิตร
11.10 น. พระนครศรีอยุธยา : ประกาศให้ชาวบ้านท้ายเขื่อนพระราม 6 ขนของขึ้นที่สูง เนื่องจากจะมีการระบายน้ำท้ายเขื่อนมากขึ้น ทำให้ชาวบ้านในตลาด อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมขยายวงกว้าง
10.50 น. นครสวรรค์ : น้ำล้นและขยายวงกว้าง เป็น 8 อำเภอn เขตเทศบาลเมืองชุมแสง/เมืองนครสวรรค์ หวั่นน้ำปิงมาเพิ่ม
10.20 น. ตาก : เขตเทศบาลนครแม่สอดเริ่มถูกน้ำท่วมแล้วเช่นกัน บางจุดรถเล็กไม่สามารถผ่านได้
นครสวรรค์ : น้ำในบึงบอระเพ็ดไหลเข้าท่วมถนนสายนครสวรรค์-ชุมแสง รวมทั้งจุดที่ชาวบ้านบางกลุ่มอพยพมาตั้งเต็นท์
10.15 น. สิงห์บุรี : น้ำที่ไหลผ่านเพิ่มสูง 30 ซ.ม.ปิดถนนเส้นสิงห์-อ่างทอง/แนวคันดินพังทำน้ำท่วมนาในอ.ท่าช้าง900 ว่าไร่
10.10 น. กรมทรัพยากรธรณี : ประกาศเตือนว่า ให้ 6 จังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งประกอบด้วย จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ระยอง และจันทบุรี เฝ้าระวังดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากในระยะ 1-2 วันนี้ เนื่องจากมีฝนตกหนักต่อเนื่อง
10.00 น. พิษณุโลก : ระดับทรงตัว 10.50 เมตร แต่พื้นที่ทางเหนือ อ.เมืองพิษณุโลก ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม แม่น้ำน่านล้นตลิ่ง ท่วมเส้นทาง สายพิษณุโลก – พรหมพิราม บริเวณ ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จำนวน 2 จุด
09.50 น. จันทบุรี : ระดับน้ำเริ่มทรงตัว จุดวัดน้ำที่สะพานวัดจันทนาราม ระดับน้ำอยู่ที่ 4 เมตร 40 เซนติเมตร ส่วนในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี ตลาดน้ำพุ ตลาดสวนมะม่วง น้ำยังท่วมสูงประมาณ 40 เซนติเมตร ขณะที่ถนนสายพระยาตรัง-เขาคิชฌกูฏ น้ำยังท่วมสูง รถไม่สามารถผ่านไปมาได้
……………………………………………………………………………..

ช่องทางช่วยเหลือ ผู้ประสบอุกภัย น้ำท่วม

- ครอบครัวข่าว3 : บัญชี “ครอบครัวข่าว 3 ช่วยผู้ประสบอุทกภัย 2554″
เลขที่บัญชี 014-3004-448 ธนาคารกรุงเทพ บัญชีกระแสรายวัน สาขาอาคารมาลีนนท์
- สำนักนายกรัฐมนตรี : บัญชี “กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี”
ธ.กรุงไทย สาขาทำเนียบรัฐบาล ออมทรัพย์ เลขที่ 067-0-06895-0 ลดหย่อนภาษีได้
- ธนาคารไทยพาณิชย์
บัญชี “มูลนิธิสยามกัมมาจล-ไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย”
สาขา ATM & SCB Easy เลขที่ 111-3-90911-5
- MCOT
บัญชี “อสมท รวมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม” ธ.กรุงไทย สาขาอโศก ออมทรัพย์ เลขที่ 015-015-999-4
- มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก
ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเทเวศร์ ออมทรัพย์ เลขที่ 020-2-53333-8
หรือ ธ.กสิกรไทย สาขาถนนหลังสวน เลขที่ 082-2-66600-0
……………………………………………………………………………..

จุดรับบริจาคสิ่งของช่วยน้ำท่วม


 เบอร์ศูนย์อุทกฯ ภาคเหนือ : 053-248925, 053-262683 
- กองปราบฯเปิดรับบริจาคสิ่งของช่วยผู้ประสบอุทกภัย
บริจาคได้ที่กองปราบปราม ถ.พหลโยธิน สอบถามสายด่วน1195
- กทม.ตั้งศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต
บัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาถนนข้าวสาร
ชื่อบัญชีกองทุนกทม.ช่วยผู้ประสบภัย เลขที่บัญชี 027-0-17081-2
- มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก บริจาคสิ่งของอุปโภคบริโภค สภากาชาดไทย ปทุมวัน กรุงเทพฯ
โทร 0-2256-4583-4, 0-2256-4427-9, 0-2251-0385
http://bit.ly/psfe5U
- อาสาดุสิต: ศูนย์รับบริจาค หอสมุดเทศบาลนครพิษณุโลก
http://www.arsadusit.com/6242
- อาสาดุสิต: (10 ก.ย.) เปิดรับบริจาค ที่ ธ.กรุงไทย สนง.ใหญ่ เพื่อช่วยพื้นที่ จ.อยุธยา
http://www.arsadusit.com/6796
- โรงแรมดุสิตธานี สีลม (ทุกวัน-2 ต.ค.)
ข้าวสารถุง 5 กก น้ำตาล น้ำปลา น้ำมันพืช อาหารแห้ง ไปอยุธยาอ่างทองสิงห์บุรี (via @V_Victory1)
- 96.75 เมกะเฮิร์ตซ
เปิดศูนย์รับบริจาคสิ่งของที่จำเป็น ข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ฯลฯ สอบถามที่ 0-5581-7716-7
http://ow.ly/6r1sS

ไม่มีความคิดเห็น: