หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เกณฑ์การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในแถบแปซิฟิกเหนือ

ช่วงนี้บ้านเรามีน้ำท่วมจากการที่ฝนตกหนัก จากอิทธิพลของพายุที่เกิดขึ้นในปีนี้ ทั้งไหหม่า นกเตน หมุ่ยฟ้า ไห่ถาง เนสาด และที่กำลังจะมาก็นาลแก มาดูกันค่ะ ว่าการตั้งชื่อพายุ มีกฎเกณฑ์อย่างไร

การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน ตามหลักการ เดิมพายุเฮอร์ริเคนที่เกิดในแถบทะเลแคริบเบียนนั้นจะตั้งชื่อนักบุญเป็นภาษา สเปน แต่ต่อมาราวปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษที่ 20 ก็มีนักพยากรณ์อากาศชาวออสเตรเลียชื่อ คลีเมนต์ แรกกี (Clement Wragge) เกิดความคิดในการตั้งชื่อพายุโดยใช้ชื่อคนทั่วไป โดยมี 2 แบบ แบบที่ 1 ใช้ชื่อสตรี ซึ่งเข้าใจว่าต้องการให้ฟังดูอ่อนโยน ส่วนแบบที่ 2 ใช้ชื่อนักการเมือง เพื่อเปรียบเปรยว่านักการเมืองคนนั้นนำความหายนะมาให้เช่นเดียวกับพายุหมุน


เมื่อถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บรรดานักอุตุนิยมวิทยาในกองทัพอเมริกันซึ่งชอบใจวิธีตั้งชื่อพายุหมุนเขต ร้อนตามชื่อสตรี ด้วยความคิดถึงก็นำชื่อของคู่รักหรือภรรยาของตนมาใช้เป็นชื่อพายุ แต่ภายหลังก็มีนักสิทธิสตรีในสหรัฐฯออกมาประท้วงว่าการตั้งชื่อพายุทำให้ภาพ ลักษณ์ของผู้หญิงโหดร้าย ภายหลังจึงมีการตั้งชื่อผู้ชายด้วย



จนกระทั่ง พ.ศ. 2543 ประเทศและดินแดนต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 14 แห่งที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) ลุกขึ้นมาจัดระบบการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในแถบนี้ใหม่  โดยแต่ละประเทศ (หรือดินแดน) ได้ส่งชื่อพายุในภาษาของตนมาให้ประเทศละ 10 ชื่อ รวมทั้งสิ้นได้ 140 ชื่อ กำหนดให้ใช้ภาษาท้องถิ่นในแต่ละประเทศในการตั้งชื่อพายุ   ได้แก่ กัมพูชา จีน เกาหลีเหนือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม    

สำหรับ ชื่อพายุจะแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ  เรียงตามชื่อประเทศของลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ เริ่มจากกัมพูชา เรื่อยไปจนถึงเวียดนามซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย โดยไทยเราอยู่อันดับที่ 12 เมื่อใช้หมด 1 กลุ่มก็จะขึ้นชื่อแรกในกลุ่มที่ 2 เรียงกันเรื่อยไปจนครบทุกกลุ่ม แล้วจึงกลับมาใช้ชื่อแรกของกลุ่มที่ 1 ใหม่อีกครั้ง


ด้วยเหตุนี้ ทางกรมอุตุนิยมวิทยาจึงได้ตั้ง "คณะกรรมการพิจารณารายชื่อและความหมายของชื่อ" ขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนเสนอชื่อพายุในภาษาไทยที่ที่ประชุมของ "ศูนย์เตือนภัยพายุไต้ฝุ่นร่วม" (Joint Typhoon Warning Center (JTWC) ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะกวม ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก โดยมีสมาชิกอีก 14 ประเทศในโซนเดียวกันมาร่วมประชุม จนได้ชื่อพายุของไทยตามลำดับได้แก่ พระพิรุณ ทุเรียน วิภา รามสูร เมขลา มรกต นิดา ชบา กุหลาบและขนุน

ชุดที่ 1
ชุดที่ 1
ชื่อพายุ
ความหมาย
ที่มา (ประเทศ)
ดอมเรย
Damrey
ช้าง กัมพูชา
ไห่คุ้ย
Haikui
ดอกไม้ทะเล จีน
ไคโรจิ
Kirogi
ห่านป่า (ฝูงนกที่อพยพมาเกาหลีในฤดูใบไม้ร่วงและอพยพจากไปทางตอนเหนือในต้นฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายกับพายุไต้ฝุ่น) เกาหลีเหนือ
ไคตั๊ก
Kai-tak
ชื่อสนามบินเก่าของฮ่องกง ฮ่องกง (จีน)
เทมบิง
Tembin
คันชั่ง; กลุ่มดาวคันชั่ง ญี่ปุ่น
โบลาเวน
Bolaven
ชื่อที่ราบสูงทางภาคใต้ของลาว ลาว
ซานปา
Sanba
ชื่อสถานที่ในมาเก๊า มาเก๊า (จีน)
เจอลาวัต
Jelawat
ชื่อปลาน้ำจืด มาเลเซีย
เอวิเนียร์
Ewiniar
ชื่อเทพเจ้าแห่งพายุ (ภาษาพื้นเมืองของเกาะชุก) ไมโครนีเซีย
มาลิกซี
Maliksi
คำคุณศัพท์ในภาษาฟิลิปิโน แปลว่า "เร็ว" ฟิลิปปินส์
เกมี
Gaemi
มด เกาหลีใต้
พระพิรุณ
Prapiroon
ชื่อเทพเจ้าแห่งฝน ไทย
มาเรีย
Maria
ชื่อผู้หญิงในภาษาชามอร์โร (ภาษาพื้นเมืองเกาะกวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา) สหรัฐอเมริกา
เซินติญ
Son Tinh
เทพเจ้าแห่งขุนเขาในเทวตำนานของเวียดนาม เวียดนาม
โบพา
Bopha
ชื่อดอกไม้; ชื่อเด็กหญิง กัมพูชา
หวู่คง (หงอคง)
Wukong
ชื่อลิงในตำนานที่เดินทางไปกับพระถังซัมจั๋งและคณะ เพื่อไปอัญเชิญพระไตรปิฎกที่อินเดีย จีน
โซนามุ
Sonamu
ต้นสน เกาหลีเหนือ
ซานซาน
Shanshan
ชื่อหญิงสาว ฮ่องกง (จีน)
ยางิ
Yagi
แพะ; กลุ่มดาวแพะทะเล ญี่ปุ่น
หลี่ผี
Leepi
ชื่อน้ำตกที่สวยที่สุดทางตอนใต้สุดของลาว ลาว
เบบินคา
Bebinca
ชื่อขนมพุดดิงของมาเก๊า มาเก๊า (จีน)
รุมเบีย
Rumbia
ปาล์มสาคู มาเลเซีย
ซูลิก
Soulik
ตำแหน่งหัวหน้าเผ่าโบราณของเกาะโปนเป ไมโครนีเซีย
ซิมารอน
Cimaron
วัวป่าในฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
เชบี
Jebi
นกนางแอ่น เกาหลีใต้
มังคุด
Mangkhut
ชื่อผลไม้ ไทย
อูตอร์
Utor
แนวพายุฝนฟ้าคะนอง (ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาร์แชลล์) สหรัฐอเมริกา
จ่ามี
Trami
ชื่อดอกไม้ชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์กุหลาบ เวียดนาม

ชุดที่ 2
ชุดที่ 2
ชื่อพายุ
ความหมาย
ที่มา (ประเทศ)
กองเรย
Kong-rey
ชื่อสาวงามในตำนาน; ชื่อภูเขา กัมพูชา
ยู่ทู่
Yutu
กระต่ายในตำนาน จีน
โทราจิ
Toraji
ชื่อต้นไม้ มีดอกสวยงาม พบในหุบเขาของเกาหลี รากใช้ทำอาหารและยา เกาหลีเหนือ
มานหยี่
Man-yi
ชื่อช่องแคบ ปัจจุบันใช้เป็นอ่างเก็บน้ำ ฮ่องกง (จีน)
อุซางิ
Usagi
กระต่าย; กลุ่มดาวกระต่ายป่า ญี่ปุ่น
ปาบึก (ปลาบึก)
Pabuk
ชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ ลาว
หวู่ติ๊บ
Wutip
ผีเสื้อ มาเก๊า (จีน)
เซอปัต
Sepat
ปลาน้ำจืดซึ่งมีครีบเล็ก ๆ สำหรับคลาน มาเลเซีย
ฟิโทว์
Fitow
ชื่อดอกไม้สวย มีกลิ่นหอม (ภาษาพื้นเมืองของเกาะยาป) ไมโครนีเซีย
ดานัส
Danas
ประสบ; รู้สึก ฟิลิปปินส์
นารี
Nari
ดอกไม้ เกาหลีใต้
วิภา
Wipha
ชื่อผู้หญิง ไทย
ฟรานซิสโก
Francisco
ชื่อผู้ชายในภาษาชามอร์โร (ภาษาพื้นเมืองเกาะกวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา) สหรัฐอเมริกา
เลกีมา
Lekima
ชื่อผลไม้ เวียดนาม
กรอซา
Krosa
ปั้นจั่น กัมพูชา
ไห่เยี่ยน
Haiyan
ชื่อนกทะเล จีน
โพดอล
Podul
ต้นหลิว (ต้นไม้ที่มักพบในเกาหลี) เกาหลีเหนือ
เหล่งเหลง
Lingling
ชื่อหญิงสาว ฮ่องกง (จีน)
คะจิกิ
Kajiki
ชื่อปลาทะเลที่เกล็ดจะเปลี่ยนสีเมื่อพ้นน้ำ; กลุ่มดาวปลากระโทงแทง ญี่ปุ่น
ฟ้าใส
Faxai
ชื่อผู้หญิง ลาว
เพผ่า
Peipah
ชื่อปลาสวยงามชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงในมาเก๊า มาเก๊า (จีน)
ตาปาห์
Tapah
ชื่อปลาน้ำจืด มาเลเซีย
มิแทก
Mitag
ชื่อผู้หญิง (ภาษาพื้นเมืองของเกาะยาป); "ดวงตาของฉัน" ไมโครนีเซีย
ฮากิบิส
Hagibis
รวดเร็ว; ว่องไว ฟิลิปปินส์
โนกูรี
Noguri
สุนัขพันธุ์ราคูน เกาหลีใต้
รามสูร
Rammasun
ชื่อยักษ์ในเทพนิยายไทย ไทย
มัตโม
Matmo
ฝนตกหนัก สหรัฐอเมริกา
หะลอง
Halong
ชื่ออ่าวที่สวยงามแห่งหนึ่งในเวียดนาม เวียดนาม

ชุดที่ 3

ชุดที่ 3
ชื่อพายุ
ความหมาย
ที่มา (ประเทศ)
นากรี
Nakri
ชื่อดอกไม้ กัมพูชา
ฟงเฉิน
Fengshen
ชื่อเทพเจ้าแห่งลม จีน
คัลเมจิ
Kalmaegi
นกนางนวล (สัญลักษณ์แห่งท้องทะเล) เกาหลีเหนือ
ฟองวอง
Fung-wong
ชื่อยอดเขา แปลว่า "นกฟีนิกซ์" ฮ่องกง (จีน)
คัมมุริ
Kammuri
มงกุฎ; กลุ่มดาวมงกุฎเหนือ ญี่ปุ่น
พันฝน
Phanfone
สัตว์ ลาว
หว่องฟง
Vongfong
ตัวต่อ (แมลง) มาเก๊า (จีน)
นูรี
Nuri
นกแก้วชนิดหนึ่ง มาเลเซีย
ซินลากอ
Sinlaku
ชื่อเทพธิดาในนิยายของชาวเกาะคอสไร ไมโครนีเซีย
ฮากุปิต
Hagupit
เฆี่ยนตี ฟิลิปปินส์
ชังมี
Jangmi
กุหลาบ เกาหลีใต้
เมขลา
Mekkhala
ชื่อเทพธิดาในเทพนิยายไทย ไทย
ฮีโกส
Higos
มะเดื่อ (ภาษาพื้นเมืองเกาะกวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา) สหรัฐอเมริกา
บาหวี่
Bavi
ชื่อทิวเขาในภาคเหนือของเวียดนาม เวียดนาม
ไม้สัก
Maysak
ชื่อต้นไม้ กัมพูชา
ไห่เฉิน
Haishen
ชื่อเทพเจ้าแห่งท้องทะเล จีน
โนอุล
Noul
แสงวาบ; ท้องฟ้าสีแดง เกาหลีเหนือ
ดอลฟิน
Dolphin
โลมาขาวที่อาศัยอยู่ในน่านน้ำฮ่องกงและเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของฮ่องกง ฮ่องกง (จีน)
คุจิระ
Kujira
วาฬ; กลุ่มดาววาฬ ญี่ปุ่น
จันหอม (จันทน์หอม)
Chan-hom
ชื่อไม้หอมชนิดหนึ่ง ลาว
หลิ่นฟ้า
Linfa
ดอกบัว มาเก๊า (จีน)
นังกา
Nangka
ขนุน มาเลเซีย
เซาเดโลร์
Soudelor
ชื่อหัวหน้าเผ่าในเทพนิยายของชาวเกาะโปนเป ไมโครนีเซีย
โมลาเว
Molave
ไม้เนื้อแข็งชนิดหนึ่ง นิยมใช้ทำเครื่องเรือน ฟิลิปปินส์
โคนี
Goni
หงส์ เกาหลีใต้
มรกต
Morakot
มรกต ไทย
เอตาว
Etau
เมฆพายุ (ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะปาเลา) สหรัฐอเมริกา
หว่ามก๋อ
Vamco
ชื่อแม่น้ำในภาคใต้ของเวียดนาม เวียดนาม

 

ชุดที่ 4

ชุดที่ 4
ชื่อพายุ
ความหมาย
ที่มา (ประเทศ)
กรอวาญ (กระวาน)
Krovanh
ชื่อต้นไม้ กัมพูชา
ตู้เจี้ยน
Dujuan
ชื่อไม้ดอก จีน
มูจิแก
Mujigae
รุ้ง เกาหลีเหนือ
ฉอยหวั่น
Choi-wan
เมฆซึ่งมีสีสันสวยงาม ฮ่องกง (จีน)
คอบปุ
Koppu
ถ้วย; กลุ่มดาวถ้วย ญี่ปุ่น
กิสนา (กฤษณา)
Ketsana
ชื่อไม้หอมชนิดหนึ่ง ลาว
ป้าหม่า
Parma
อาหารชนิดหนึ่งของมาเก๊า ประกอบด้วยแฮม ตับไก่ และเห็ด มาเก๊า (จีน)
เมอโลร์
Melor
ดอกมะลิ มาเลเซีย
เนพาร์ตัก
Nepartak
นักรบผู้มีชื่อเสียงชาวเกาะคอสไร ไมโครนีเซีย
ลูปีต
Lupit
ความโหดร้ายทารุณ ฟิลิปปินส์
มีรีแน
Mirinae
ทางช้างเผือก เกาหลีใต้
นิดา
Nida
ชื่อผู้หญิง ไทย
โอไมส์
Omais
การเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ (ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะปาเลา) สหรัฐอเมริกา
โกนเซิน
Conson
ชื่อสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เวียดนาม
จันทู
Chanthu
ชื่อดอกไม้ กัมพูชา
เตี้ยนหมู่
Dianmu
เจ้าแม่สายฟ้า จีน
มินดอลเล
Mindulle
แดนดิไลออน ดอกไม้เล็ก ๆ สีเหลือง บานในฤดูใบไม้ผลิ สื่อถึงจิตใจที่อ่อนโยนและบริสุทธิ์ของสาวเกาหลี เกาหลีเหนือ
ไลออนร็อก
Lionrock
ชื่อหินบนเขาแห่งหนึ่งในฮ่องกง รูปร่างคล้ายสิงโตหมอบ ฮ่องกง (จีน)
คอมปาซุ
Kompasu
วงเวียน; กลุ่มดาววงเวียน ญี่ปุ่น
น้ำเทิน
Namtheun
ชื่อแม่น้ำสายหนึ่ง เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง ลาว
หม่าโหล
Malou
หินโมรา มาเก๊า (จีน)
เมอรันตี
Meranti
ชื่อต้นไม้ มาเลเซีย
ฟานาปี
Fanapi
หมู่เกาะปะการัง (อะทอลล์) เล็ก ๆ ไมโครนีเซีย
มาลากัส
Malakas
แข็งแกร่ง; เต็มไปด้วยพลัง ฟิลิปปินส์
เมกี
Megi
ปลาดุก เกาหลีใต้
ชบา
Chaba
ชื่อดอกไม้; ชื่อผู้หญิง ไทย
แอรี
Aere
ลมพายุ (ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาร์แชลล์) สหรัฐอเมริกา
ซงด่า
Songda
ชื่อแม่น้ำในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำแดง เวียดนาม

ชุดที่ 5

ชุดที่ 5
ชื่อพายุ
ความหมาย
ที่มา (ประเทศ)
สาลิกา
Sarika
ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง กัมพูชา
ไหหม่า
Haima
ม้าน้ำ จีน
มิอะริ
Meari
เสียงสะท้อน (หมายถึง ทันทีที่เกิดพายุไต้ฝุ่น คำประกาศแจ้งของคณะกรรมการไต้ฝุ่นก็จะสะท้อนก้องไปสู่ประเทศสมาชิก) เกาหลีเหนือ
หมาง้อน
Ma-on
ชื่อยอดเขา แปลว่า "อานม้า" ฮ่องกง (จีน)
โทะคาเงะ
Tokage
สัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งจก ตุ๊กแก; กลุ่มดาวกิ้งก่า ญี่ปุ่น
นกเตน (นกกระเต็น)
Nock-ten
ชื่อนก ลาว
หมุ่ยฟ้า
Muifa
ดอกบ๊วย มาเก๊า (จีน)
เมอร์บุก
Merbok
ชื่อนกชนิดหนึ่ง มาเลเซีย
นันมาดอล
Nanmadol
โบราณสถานที่มีชื่อเสียงบนเกาะโปนเป ได้ชื่อว่าเป็น "เวนิสแห่งแปซิฟิก" ไมโครนีเซีย
ตาลัส
Talas
ความแหลม; ความคม ฟิลิปปินส์
โนรู
Noru
กวาง เกาหลีใต้
กุหลาบ
Kulap
ชื่อดอกไม้ ไทย
โรคี
Roke
ชื่อผู้ชายในภาษาชามอร์โร (ภาษาพื้นเมืองเกาะกวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา) สหรัฐอเมริกา
เซินกา
Sonca
ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง เวียดนาม
เนสาด
Nesat
การทำประมง กัมพูชา
ไห่ถาง
Haitang
ชื่อผลไม้ของจีน จีน
นาลแก
Nalgae
ปีก (หมายถึงการโบยบิน เคลื่อนที่ เคลื่อนไหวอย่างมีอิสระ) เกาหลีเหนือ
บันยัน
Banyan
ชื่อต้นไม้ ฮ่องกง (จีน)
วาชิ
Washi
นกอินทรี; กลุ่มดาวนกอินทรี ญี่ปุ่น
ปาข่า
(ปลาข่า)
Pakhar
โลมาอิรวดีที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงตอนล่าง ลาว
ซันหวู่
Sanvu
หินปะการัง มาเก๊า (จีน)
มาวาร์
Mawar
กุหลาบ มาเลเซีย
กูโชล
Guchol
ขมิ้น (ภาษาพื้นเมืองของเกาะยาป) ไมโครนีเซีย
ตาลิม
Talim
แหลมคมหรือด้านคมของใบมีด ฟิลิปปินส์
ทกซุริ
Doksuri
นกอินทรี เกาหลีใต้
ขนุน
Khanun
ชื่อผลไม้ ไทย
วีเซนเต
Vicente
ชื่อผู้ชายในภาษาชามอร์โร (ภาษาพื้นเมืองเกาะกวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา) สหรัฐอเมริกา
ซาวลา
Saola
วัวป่าชนิดหนึ่งที่เพิ่งค้นพบในจังหวัดห่าติ๋งของเวียดนาม เวียดนาม


กฎน่ารู้

 สำหรับชื่อพายุลูกใดที่มีความรุนแรงมากจนสร้างความเสียหายในบริเวณกว้างจะถูกยกเลิกไป และตั้งชื่อใหม่

ข้อตกลง  พายุลูกถัดไปจะมีชื่อตามลำดับที่ตั้งไว้ เช่น พายุลูกปัจจุบันคือ นกเตน  ลูกต่อไปก็จะชื่อ หมุ่ยฟ้า, เมอร์บุก, ... ไล่ไปตามลำดับ หากชื่อในชุดที่ 1 หมดก็ให้เริ่มที่ชื่อแรกในชุดที่ 2 ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมดชื่อสุดท้ายในชุดที่ 5 จากนั้นนำชื่อพายุในชุดที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 กลับมาใช้ซ้ำอีก

ที่มา : วิกิพีเดีย
มติชนออนไลน์

วันที่ 02 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ไม่มีความคิดเห็น: