หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

2 วันฝนตกไหลท่วมหาดใหญ่เร็วกว่าปี 43

โดย : Reseach&Rewriter

น้ำท่วมภาคใต้ ตอนล่างอิทธิพลดีเปรสชัน ส่วนอ.หาดใหญ่น้ำท่วมปีนี้ร้ายแรงที่สุด เพราะน้ำฝนที่ตกลงมา2วันกว่า 500มม. ส่งผลให้น้ำไหลบ่าเข้าท่วม ที่ผ่านมาหลังจากที่ภาคอีสาน ภาคกลาง แลถภาคตะวันออกบางส่วนต้องเผชิญกับอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติการณ์ อันเนื่องมาจากฝนที่ตกหนักติดต่อกันตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2553 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหนักใน 38 จังหวัด

พื้นที่ภาคใต้ตั้งแต่จ.สุราษฎร์ธานี ลงไป ก็ต้องเผชิญกับอุทกภัยครั้งร้ายแรงอีกครั้งหนึ่ง เมื่อฝนที่ตกหนักจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นในอ่าวไทยตอนล่าง พัดเข้าถล่มหลายพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2553 ด้วยปริมาณน้ำฝนที่วัดได้สูงถึง 500 ม.ม. ส่งผลให้น้ำป่าจากเทือกเขาด้านบนไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่หลายจังหวัด

จังหวัดสงขลาน้ำป่าจากเทือกเขาเริ่มไหลเข้าท่วมถนนและบ้าน เรือนประชาชนในที่ลุ่ม ต.ทุ่งตำเสา และต.ฉลุง อ.เมืองสงขลา ทันทีในคืนวันที่ 1 พ.ย.2553 ขณะที่เทศบาลนคร อ.หาดใหญ่ ย่านธุรกิจสำคัญบนถนนนิพัฒน์อุทิศ 1 นิพัฒน์อุทิศ 2 และ นิพัฒน์อุทิศ 3 ถนนเสน่หาอนุศร ถนนธรรมนูญวิถี ถนนเพชรเกษตร บริเวณหน้าหอนาฬิกา ใกล้กับวงเวียงน้ำพุ ตลาดกิมหยง และตลาดสันติสุข ถูกน้ำท่วมสูงถึง 1.20 เมตร

นายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ จ.สงขลา บอกว่าน้ำท่วมครั้งนี้ถือว่าหนักกว่าปี 2543 และอาจจะเรียกถือว่าหนักที่สุดในประวัติศาสตร์ของ อ.หาดใหญ่เลยก็ว่าได้ เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ได้ตกลงในช่วง2วันที่ผ่านมามีปริมาณกว่า 500 มม. ในขณะนี้ประชาชนในหลายพื้นที่ และในอีกหลายจุดมีความต้องการความช่วยเหลือย่างมาก


จังหวัดนราธิวาส ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในพื้นที่เป็นเวลา 3 วันติดต่อกันทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลัก 3 สาย คือ แม่น้ำสุไหงโก-ลก บางนราและแม่น้ำสายบุรี มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นและบางจุดล้นตลิ่ง เข้าท่วมบ้านเรือนของของชาวบ้านสันติ สุข ม.2 ต.บาตง อ.รือเสาะ ได้รับความเดือดร้อน

จังหวัดสตูล น้ำป่าไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน พื้นที่ อ.ควนโดน ระดับน้ำสูงสุดประมาณ1.50 เมตร พื้นที่ อ.มะนังน้ำได้เข้าท่วมถนนในพื้นที่ ม.5 ต.ปาล์มพัฒนา อ.มะนัง อ.ควนกาหลงเฝ้าระวังน้ำท่วม

จังหวัด ปัตตานี น้ำในแม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำสายบุรี มีระดับเพิ่มสูงขึ้น และเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรหลายพื้นที่ถนนหลายสายทั้งสายหลักและสาย รองจมอยู่ใต้น้ำ ถนนสายเอเชีย ช่วงพัทลุง - หาดใหญ่ ทั้งขาขึ้นและขาล่องมีน้ำไหลผ่านเป็นช่วง

ส่วนถนนสายเพชรเกษม พัทลุง - ตรัง ช่วงขาขึ้น จากบ้านนาท่อม - บ้านคลองลำยูง อ.ศรีนครินทร์ มีน้ำท่วมสูงยาวกว่า 1 กม รถเล็กไม่สามารถสัญจรได้

จังหวัดยะลา น้ำป่าหลากเข้าท่วม อ.บันนังสตา อ.กรงปินัง และ อ.เมือง อย่างรวดเร็ว ถนนสายรามัน-ยะลา ถูกน้ำท่วมผิวการจราจรเป็นระยะ

จังหวัดตรัง ระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองที่เพิ่งสูงขึ้นเอ่อล้นเข้าท่วมใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง มีพื้นที่ได้รับความเสียหาย 3 ตำบล อำเภอห้วยยอด มีพื้นที่ได้รับความเสียหาย 2 ตำบล อำเภอรัษฎา มีพื้นที่ได้รับความเสียหาย 2 ตำบล อำเภอย่านตาขาว มีพื้นที่ได้รับความเสียหาย 8 ตำบล และอำเภอนาโยง มีพื้นที่ได้รับความเสียหาย 5 ตำบล

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานเมื่อวันที่ 2 พ.ย.2553ว่าฝนที่ตกหนักต่อเนื่องจากอิทธิพลพายุดีเปรสชั่น เคลื่นตัวพาดผ่านภาคใต้ทำให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยใน 7 จังหวัด 34 อำเภอ 96 ตำบล 425 หมู่บ้าน ได้แก่ สงขลา สตูล ตรัง นราธิวาส ยะลา ปัตตานี และพัทลุง ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 6,831 ครัวเรือน 20,423 คน

น้ำท่วมอำเภอหาดใหญ่ พ.ศ. 2543 วันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2543 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เกิดฝนตกหนัก 3 วัน 3 คืน ทำให้น้ำจากเขตเทือกเขาสันกาลาคีรี บริเวณพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย ซึ่งปกติจะระบายผ่านคลองอู่ตะเภา ผ่านเขต อ.หาดใหญ่ ไหลออกสู่อ่าวไทยบริเวณทะเลสาบสงขลา แต่ในปี พ.ศ.2543 การระบายน้ำทำได้ไม่ดี เนื่องจากคูคลองตื้นเขิน และมีแนวคันกีดขวางทางเดินของน้ำ คือถนนลพบุรีราเมศวร์ ที่สร้างเสร็จเมื่อปี 2533 ถนนสายสนามบิน-ควนลัง และทางรถไฟ ทำให้ไหลบ่าเข้าท่วมตัวเมืองชั้นในซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกะทะอย่างรวดเร็ว และถือเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมมือครั้งที่เลวร้ายที่สุด สร้างความเสียหายเป็นมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท จำนวนผู้เสียชีวิตตามประกาศจากทางราชการ 35 คน แต่จำนวนผู้เสียชีวิตจริง ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ สูงถึง 233 คน ไม่รวมชาวต่างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น: