หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

อันตราย 'แป้งพัฟฟ์' ปนเปื้อน!

โดย : ทีมวาไรตี้ @เดลินิวส์



สวยไม่เสี่ยง...เลี่ยงได้?

ไม่เพียงเฉพาะความปลอดภัยทางด้านอาหารที่มีการแจ้งเตือนภัยผู้บริโภค อันตรายจากเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐานปนเปื้อนสารเคมีที่ผ่านมาก็มักมี ข่าวความเคลื่อนไหวปรากฏให้ติดตามกันอยู่เนือง ๆ

แป้งผัดหน้าชนิดอัดแข็ง หรือที่คุ้นชินใช้กันอย่างกว้างขวางที่เรียกกันว่า แป้งพัฟฟ์ เครื่องสำอางที่ใช้สำหรับผิวหน้าโดยตรงสิ่งนี้ ก็อาจทำให้ผู้ใช้ได้รับโทษพิษภัย ได้ง่าย หากมีการปนเปื้อนสารที่เป็นอันตรายเช่น โลหะหนัก ตะกั่ว สารหนู ปรอท แคดเมียม โดยสามารถก่อให้ เกิดพิษเรื้อรังแม้จะได้รับในปริมาณน้อยแต่ค่อย ๆ สะสม


จากการนำเสนอผลงาน วิจัยเรื่อง การปนเปื้อนโลหะหนักในแป้งผัดหน้าชนิดอัดแข็ง (แป้งพัฟฟ์) ในการประชุมวิทยาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขจัดขึ้น ในความอันตราย กันยารัตน์ ชลสิทธิ์ เภสัชกรชำนาญการงานยา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 (เชียง ใหม่) ให้ความรู้ถึงงานวิจัยรวมทั้งอันตรายของแป้งพัฟฟ์ปนเปื้อนว่า การปนเปื้อนโลหะหนักในแป้งผัดหน้าชนิดอัดแข็งที่พบมีการปนเปื้อนโลหะหนักใน ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ ส่วนเหตุที่ศึกษาวิจัยการปนเปื้อนในแป้งพัฟฟ์ ก็เพราะเป็นเครื่องสำอางที่ ใช้กันทั่วไปใช้เป็นประจำทุกวัน และที่ผ่านมายังไม่มีการทด สอบการปนเปื้อนโลหะหนัก

ในปีที่ผ่านมาทางศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 ได้ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั่วประเทศเก็บตัวอย่างแป้งผัดหน้าชนิด ดังกล่าวที่วางจำหน่ายในแหล่งต่าง ๆ 393 ตัวอย่าง โดยส่วนใหญ่ตัวอย่างที่เก็บจากเขตชายแดนผลการสำรวจการตรวจวิเคราะห์พบโลหะ หนักการปนเปื้อนสารที่เป็นอันตราย

“โลหะหนักเป็นสารห้ามใช้ตัวหนึ่งที่มีอยู่ในหลายรายการของสารห้ามใช้ใน เครื่องสำอาง ประกอบกับการทำงานที่เกี่ยวเนื่องกับการตรวจโลหะหนักซึ่งรับผิดชอบงาน เครื่องสำอาง อีกทั้งในเรื่องของแป้งนั้นยังไม่มีการศึกษาจึงวิจัยในเรื่องดังกล่าวซึ่งก็ ยังต้องนำมาเปรียบเทียบกับการศึกษาด้านอื่น ในครั้งนี้เพิ่งเป็นระยะเริ่มแรกยังคงต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อ”

อีกทั้งการวิจัยในเรื่อง ดังกล่าวก็เพราะแป้งอัดแข็งเป็นเครื่องสำอางที่ใช้กับผิวหน้ามีโอกาสจะดูด ซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย การทาแป้งก็มี เกิดขึ้นหลายครั้งในแต่ละวันโอกาสจะสัมผัสกับผิวหน้านาน ถ้าผลิตภัณฑ์มีการปนเปื้อนโอกาสที่ผู้ใช้จะได้รับผลกระทบจึงมีมากก็เป็นอีก เหตุที่ทำให้มีการศึกษาในเรื่องนี้ โดยแป้งอัดแข็งที่นำมาศึกษาครั้งนี้มีทั้งแป้งอัดแข็งธรรมดา แป้งอัดแข็งผสมรองพื้น แป้งอัดแข็งผสมสารควบคุมความมัน ฯลฯ เก็บตัวอย่างแป้ง ที่มีตามตลาดนัดชายแดน ฯลฯ ไม่ใช่แป้งที่มีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า

การตรวจวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนัก 4 ตัว สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท พบว่ามีโลหะหนักปนเปื้อน บางตัวอย่างพบการปนเปื้อนโลหะหนัก 2-3 ชนิดร่วมกันและบางตัวอย่างก็มีปริมาณที่สูงมากอย่างในกลุ่มสินค้าลอกเลียน แบบ

“เครื่องสำอางที่ปน เปื้อนอันตรายของโลหะหนักนั้นแม้จะได้รับในปริมาณน้อย แต่ถ้าสะสมนานก็มีต่อผลการทำงาน ของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายไม่ว่าจะเป็นไต สมอง ไขกระดูก ระบบประสาท หรืออาจเป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดมะเร็งได้

ส่วนถ้ามีอยู่บนผิวหน้า ก็มีโอกาสที่จะดูดซึมผ่านผิวหนัง นอกจากนี้ในการปนเปื้อนของเครื่องสำอางที่พบก็มีในเรื่องเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งที่ ผ่านมากรมฯ ก็มีการศึกษาเก็บตัวอย่างตรวจ”

ส่วนการผลิตแป้งส่วน ประกอบหลักคือ ทัลคัม ซึ่งก็มีด้วยกันหลายเกรดตั้งแต่วัสดุที่นำมาใช้ในเซรามิก ตุ๊กตาดินเผา รวมถึงเกรดที่ผลิตเครื่องสำอาง ซึ่งในเกรดที่ใช้ทำแป้งนั้นต้องมีความบริสุทธิ์สูง นอกจากนี้ส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือสี ซึ่งสีที่นำมาใช้ควรต้องเป็นเกรดที่มีความปลอดภัยสูงมีความบริสุทธิ์ ในขั้นตอนที่พบ แม้จะเป็นขั้นต้นแต่เชื่อว่ามีความหมายแจ้งเตือนให้ผู้บริโภคได้เพิ่มความ ระมัดระวังก่อนเลือกนำมาใช้ อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ติดตามเฝ้าระวังเกิดองค์ความรู้ช่วยกัน ป้องกันดูแล นอกจากนี้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ยังพบว่าสินค้าในประเทศ มีความปลอดภัยกว่าของลอกเลียนแบบ

นอกจากแป้งพัฟฟ์ความอันตรายของเครื่องสำอางที่มักมีความเคลื่อนไหวให้ติดตาม ชัยพัฒน์ ธิตะจารี เภสัชกรชำนาญการพิเศษหัวหน้างานยาศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 เพิ่มเติมอีกว่า ในเรื่องของการปนเปื้อนปลอมปนนั้นมีพบอยู่อย่างต่อเนื่องซึ่งในเรื่องของ เครื่องสำอางก็เช่นเดียวกัน ในความเป็นอันตรายการ ก่อเกิดโทษซึ่งถ้าจะพูดถึงอันตรายที่พบอยู่ในเครื่องสำอางอาจจะแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือจากเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งถ้าพบการปนเปื้อนก็คงพอจะคาดเดากันได้ว่าอาจมีการ ติดเชื้อทางผิวหนังหรือไม่ก็ ปะปนเข้าสู่ร่างกาย

แต่ถ้าเป็นเรื่องของสารเคมีเป็นเรื่องของสารห้ามใช้ทั้งหลายทั้งในเรื่องของ ไฮโดรควิโนน ปรอท ตะกั่ว แคด เมียม ฯลฯ ในกลุ่มเหล่านี้เป็นเรื่องของโลหะหนัก ซึ่งตามกฎหมายจะห้ามใช้ในส่วนผสมของเครื่องสำอาง

“วัตถุดิบในขบวนการผลิตเครื่องสำอางจะต้องเป็นเกรดที่มีความบริสุทธิ์สูง อย่างสีที่ใช้ก็ต้องเป็นเกรดเดียวกับอาหาร ฯลฯ ในการปลอมปนอย่างที่เป็นสาร ห้ามใช้อย่างเช่น กรดวิตามิน ไฮโดรควิโนนจะเห็นผลอย่างรวดเร็ว การเลือกซื้อจึงควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าเชื่อถือโดยอาจดูได้จาก ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นของลอกเลียนแบบหรือไม่ดูรูปลักษณ์ ผลิตภัณฑ์ ดูสิ่งที่ระบุในฉลาก ถ้าเขียนไม่ชัดเจน ไม่มีรายละเอียดในเรื่องของวันผลิต ระบุสถานที่ผลิต ลอตนัมเบอร์ ฯลฯ ถ้าเขียนไม่ครบถ้วนก็อาจแสดงให้เห็นถึงความไม่น่าเชื่อถือซึ่งก็น่าจะเป็น การช่วยผู้บริโภคสังเกตผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้”

ขณะที่เครื่องสำอางมีความหมายครอบคลุม หลายอย่างในกลุ่มผู้ใช้ควรมี ความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังฝากมุมมอง ให้ความรู้เพิ่มอีกว่า โดย ทั่วไปเครื่องสำอางจะได้รับมาตรฐานอยู่แล้ว ปริมาณสารเคมีต้องได้ตามค่ามาตรฐานไม่ต่ำเกินไปหรือสูงเกินไป ในกระบวนการผลิตก็จะต้องมีความสะอาดไม่มีปริมาณเชื้อโรคเชื้อจุลินทรีย์เกิน กว่าที่กำหนดไว้

สารบางชนิดมีโทษมาก กว่าประโยชน์เช่น สารพวกปรอท กรดวิตามินเอหรือสารพวกฟอกหน้าขาว บางตัวมีโทษรุนแรงอาจทำให้ขาวถาวร ลิปสติกหรือ เจลทาปาก ในสีทั้งหลายที่สวยสดก็อาจมีส่วนผสมของโลหะหนัก ฯลฯ การเฝ้าระวังและเตือนภัยผู้บริโภคซึ่งในการ เฝ้าระวังคุณภาพผลิตภัณฑ์ จากที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมกับคณะกรรมการอาหารและยาใน การวางแผนเก็บตัวอย่าง เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐานทุกปี

ในตัวอย่างที่น่าสงสัย ไม่สามารถจะตรวจสอบแหล่งผลิตได้ กรมฯ ก็ได้เก็บตัวอย่างมาประเมินอันตราย เพื่อสื่อสารความเสี่ยงให้ประชาชนรับทราบ มีการแจ้งเตือนการซื้อเครื่องสำอางที่น่าสงสัยไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งผู้บริโภคไม่ควรคำนึงแต่เพียงเรื่องของการโฆษณาชวนเชื่อหรือคำนึงแต่ เพียงราคาที่ถูกอยากให้คำนึงถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นร่วมด้วย.

ไม่มีความคิดเห็น: