หน้าเว็บ

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร


“โลหะปราสาท” แห่งเดียวในโลก พุทธศิลป์สถาปัตย์รัตนโกสินทร์ แรกสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ แต่เสร็จสมบูรณ์ในรัชกาลปัจจุบัน ยอดแทนความหมายของโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ หลักธรรมอันเป็นเครื่องนำสู่การหลุดพ้น

ปริศนาธรรม ณ โลหะปราสาท
โดย : ปิ่นปัก @กรุงเทพธุรกิจ



นับแต่นี้ไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน ขอเชิญยลพุทธสถาปัตยกรรมที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น 1 ใน 3 ของโลหะปราสาทในโลกหล้า

เรืองรองยามค่ำคืน งามสง่ายามตะวันฉาย

นับแต่นี้ไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน ขอเชิญยลพุทธสถาปัตยกรรมที่ ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น 1 ใน 3 ของโลหะปราสาทในโลกหล้า ปัจจุบันยังคงมีความงดงามปรากฏให้เห็นเพียงแห่งเดียวในโลก ในกิจกรรม ร้อยนิทรรศน์ยลรัตนโกสินทร์ ชุด เรืองรองราชนัดดา หนึ่งในหล้าโลหะปราสาท


นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กล่าวถึงการจัดนิทรรศการในครั้งนี้ว่า “เราตั้งใจจัดกิจกรรมในครั้งนี้อย่างน่าประทับใจ อยากให้ทุกคนมาร่วมชื่นชมกับคุณค่าและตระหนักถึงความสำคัญของโลหะปราสาทซึ่ง เป็นแห่งเดียวของโลกที่ยังคงดำรงอยู่ในปัจจุบัน เพราะโลหะปราสาทมีเพียง 3 แห่งเท่านั้น คือ

มิคารมาตุปราสาท ที่ประเทศอินเดีย ซึ่งนางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างขึ้นในสมัยพุทธกาล ปัจจุบันไม่เหลือร่องรอยให้เห็นแล้ว

แห่งที่ 2 อยู่ที่ประเทศศรีลังกา สร้างประมาณ พ.ศ. 382 โดยพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย กษัตริย์แห่งอนุราธปุระ ภายหลังถูกไฟไหม้และถูกทำลาย แต่ยังคงเหลือซากให้เห็นเป็นหลักฐาน

ส่วนแห่งที่ 3 นั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างแทนการสร้างเจดีย์ที่วัดราชนัดดารามวรวิหาร วัดที่ทรงสร้างพระราชทานเป็นเกียรติยศแก่พระราชนัดดากำพร้า คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี หรือสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี อัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4



โลหะปราสาทของไทยเริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2389 โดยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้ใช้เค้าโครงเดิมของ ศรีลังกา และประยุกต์ให้เป็นศิลปกรรมแบบไทย แต่ยังไม่แล้วเสร็จในรัชสมัยของพระองค์ จึงมีการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมในรัชกาลที่ 5 และ 6 เสร็จสมบูรณ์ในรัชกาลปัจจุบัน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุ เมื่อคราวฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อ พ.ศ. 2538”

คำว่า โลหะปราสาท (Lohaprasada) เป็นชื่อดั้งเดิมของอินเดีย เรียกมาแต่ครั้งพุทธกาล สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงประทานความหมายว่า ตึกที่มียอดเป็นโลหะ


ลักษณะทางด้านสถาปัตยกรรมของโลหะปราสาท ที่วัดราชนัดดารามวรวิหารนี้ มีการออกแบบให้เป็นอาคารทรงปราสาท 3 ชั้น โดยแฝงหลักธรรมสำคัญที่เป็นปัจจัยนำไปสู่การหลุดพ้นหรือพระนิพพานเอาไว้ อย่างแยบยล อาทิเช่น ยอดอาคาร 37 ยอด หมายถึงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรค 8


ในกิจกรรม ร้อยนิทรรศน์ยลรัตนโกสินทร์ ชุด เรืองรองราชนัดดา หนึ่งในหล้าโลหะปราสาท ระหว่าง 15 - 30 กันยายน ศกนี้ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมกับ บมจ. ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ นำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโลหะปราสาทผ่านการนำเสนอรูปแบบโดยเทคนิคมัลติมี เดียสมบูรณ์แบบ ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนินกลาง พร้อมนำชมโลหะปราสาท ในวัดราชนัดดารามวรวิหาร
เปิดให้ชมทุกวัน วันละ 3 รอบ เวลา 17.00 น., 18.00 น. และ 19.00 น.

นอกจากนี้ขอเชิญร่วม ฟังเทศน์ ฟังธรรม การบรรยายธรรมโดยพระเถระจากวัดราชนัดดารามวรวิหาร จัดในวันเสาร์ - อาทิตย์ 18 - 19 และ 25 - 26 กันยายน วันละ 1 รอบ เวลา 15.00 น. ณ ศาลาอเนกประสงค์ วัดราชนัดดารามวรวิหาร

ในวันอุดมมงคล ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน จะเปิดให้สวดมนต์ ฟังเทศน์ นั่งสมาธิเสริมบารมีมหามงคลใต้พระบรมสารีริกธาตุที่โลหะปราสาทเป็นครั้งแรก เพียง 2 รอบ เวลา 17.00 น. และ 18.30 น. สำรองที่นั่งได้ที่ โทร. 080-913-3600 หรือลงทะเบียนที่ห้องนิทรรศการหมุนเวียน อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์

สำหรับเด็กและเยาวชนพบกับกิจกรรม ศิลปะสุขใจ มางานนี้กับญาติผู้ใหญ่ ผู้จัดงานเตรียมเสื้อยืด พร้อมแผ่นกระดานสำหรับรอง และอุปกรณ์สำหรับระบายสี ให้วาดภาพในหัวข้อ โลหะปราสาทของฉัน ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ 16.00 -18.00 น. ทุกกิจกรรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
-------------------------------------------------------
หนึ่งในหล้าโลหะปราสาท นิทรรศการที่ไม่ควรพลาด
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


เหลือเวลาอีกเพียงอาทิตย์เดียว สำหรับนิทรรศการร้อยนิทรรศน์ยลรัตนโกสินทร์ ชุด "เรืองรองราชนัดดา หนึ่งในหล้าโลหะปราสาท"


เหลือเวลาอีกเพียงอาทิตย์เดียว สำหรับนิทรรศการร้อยนิทรรศน์ยลรัตนโกสินทร์ ชุด "เรืองรองราชนัดดา หนึ่งในหล้าโลหะปราสาท" ที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมกับ บมจ.ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ จัดขึ้นเพื่อนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโลหะปราสาทที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลกอย่างครบครัน


นิทรรศการดังกล่าวนอกจากจะนำชมสถาปัตยกรรมพุทธศิลป์ชั้นเลิศที่แฝงธรรมะ สู่พระนิพพานอย่างลึกซึ้ง ทรงคุณค่า ผ่านการนำเสนอรูปแบบโดยเทคนิคมัลติมีเดียสมบูรณ์แบบ ยังเปิดให้ผู้ชมมีส่วนร่วมด้วยเทคนิคทัชสกรีน ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนินกลางและวัดราชนัดดารามวรวิหาร


สุภาภรณ์ ตรีแสน หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมธุรกิจ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กล่าวว่า "การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ นับเป็นกิจกรรมหมุนเวียนที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่สอง หลังจากที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้มีการเปิดตัวอาคารนิทร รศน์รัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนินกลาง ให้ประชาชนได้เข้าชมไปเมื่อต้นปีแล้วนั้น

สำหรับครั้งนี้ชื่อชุดว่า "เรืองรองราชนัดดา หนึ่งในหล้าโลหะปราสาท" มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนคนไทยได้ทราบเรื่องราวความเป็นมาของโลหะปราสาท และวัดราชนัดดารามวรวิหาร ซึ่งเป็นความอัศจรรย์ งดงาม และมีคุณค่าแห่งแก่นธรรม อยากให้ทุกคนมาร่วมชื่นชมกับคุณค่าและตระหนักถึงความสำคัญของโลหะปราสาทซึ่งเป็นแห่งเดียวของโลกที่ยังคงดำรงอยู่ในปัจจุบัน"

ด้าน อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ วิทยากรกิตติมศักดิ์ กล่าวถึงความสำคัญของโลหะปราสาทว่า "โลหะปราสาทมี เพียง 3 แห่งเท่านั้น คือมิคารมาตุปราสาท ที่ประเทศอินเดีย ปัจจุบันไม่เหลือร่องรอยให้เห็นแล้ว แห่งที่ 2 อยู่ที่ประเทศศรีลังกา สร้างประมาณ พ.ศ. 382 ภายหลังถูกไฟไหม้และถูกทำลาย แต่ยังคงเหลือซากปรักหักพังให้เห็น


ส่วนแห่งที่ 3 นั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างแทนการสร้างเจดีย์ที่วัดราชนัดดารามวรวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ทรงสร้างพระราชทานเป็นเกียรติยศแก่พระราชนัดดากำพร้าคือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี หรือสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี อัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4


จุดเด่นของโลหะปราสาทก็คือ เป็นอาคารที่มีส่วนหลังคาทั้งหมดหล่อด้วยโลหะล้วนๆ ได้แก่ ทองเหลือง ทองแดง สัมฤทธิ์ และรมดำเพื่อให้สีโลหะกลมกลืนกันทั้งหมด โลหะปราสาทและ วัดราชนัดดารามวรวิหาร ล้วนมีประวัติความเป็นมาและรายละเอียดต่างๆ ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาปัตยกรรมพุทธศิลป์ที่ออกแบบให้เป็นปราสาท 3 ชั้น มี 37 ยอด ซึ่งหมายถึงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรค 8 อันเป็นหลักธรรมสำคัญที่เป็นปัจจัยนำไปสู่การหลุดพ้นหรือพระนิพพาน


โลหะปราสาทของ ไทยเริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2389 โดยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้ใช้เค้าโครงเดิมของ ศรีลังกา และประยุกต์ให้เป็นศิลปกรรมแบบไทย แต่ยังไม่แล้วเสร็จในรัชสมัยของพระองค์ จึงมีการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมในรัชกาลที่ 5 และ 6 เสร็จสมบูรณ์ในรัชกาลปัจจุบัน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุ เมื่อคราวฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อ พ.ศ.2538


สำหรับความโดดเด่นของนิทรรศการที่จัดขึ้นภายในอาคารครั้งนี้ คือการนำเทคนิคพิเศษมานำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ ประชาชนสามารถชมเรื่องราวต่างๆ ด้วยความเพลิดเพลิน โดยการนำเทคนิควีดิโออิงค์เจ็ทมาใช้เป็นครั้งแรกของเมืองไทย เพื่อนำเสนอประวัติความเป็นมาของโลหะปราสาท นอกจากนี้ยังใช้เทคนิคพิเศษอื่นๆ ได้แก่ เทคนิคคาไลโดวิชั่น เทคนิควีดิโอสามมิติ เทคนิคโฮโลแกรม และเทคนิคทัชสกรีน เพื่อสร้างมุมมองน่าสนใจในการชมเรื่องราว

ส่วนกิจกรรมภายนอกอาคาร ได้แก่ การนำเที่ยวชมโลหะปราสาท เปิดให้ชมทุกวัน วันละ 3 รอบ เวลา 17.00 น., 18.00 น. และ 19.00 น. รอบละ 45 นาที พร้อมผู้นำชม

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม "ฟังเทศน์ ฟังธรรม" ในวันเสาร์ - อาทิตย์ที่ 25 - 26 กันยายน วันละ 1 รอบ เวลา 15.00 น. รอบละ 60 นาที ที่ศาลาอเนกประสงค์ วัดราชนัดดารามวรวิหาร ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และสำรองที่นั่งทุกกิจกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ที่ โทร. 08-0913-3600 หรือลงทะเบียนที่ห้องนิทรรศการหมุนเวียน อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนินกลาง

ไม่มีความคิดเห็น: