หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

อะไรกันนี่โลกเรา ฝนตก น้ำท่วม ดินถล่ม หิมะถาโถม!!!

ช่วงนี้เปิดข่าวไปตามทีวีช่องไหน หนังสือพิมพ์ฉบับใด วิทยุคลื่นอะไร สื่ออินเตอร์เน็ตเว็บใดก็เจอแต่ข่าวมหันตภัยธรรมชาติกันมาโดยตลอด


จะว่าไป ข่าวเหล่านี้ก็มาให้เราได้รับทราบกันตลอดทั่วทุกทวีป ทุกมุมโลกทั้งปีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่า นับวันๆ ภัยธรรมชาติมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น อาจเนื่องความวิปริตผิดแผกจากเดิม จะด้วยภาวะโลกร้อน ปรากฏการณ์เอลนินโญ่-ลานินญ่า หรือเป็นความเพราะชะตาฟ้าลิตขิตอะไรก็แล้วแต่ ผู้ที่ได้รับผลกระทบก็ล้วนเป็นสิ่งมีชีวิตนับหมื่น ล้านล้านๆ บนโลกใบนี้นี่ล่ะ โดยเฉพาะมนุษย์ ซึ่งสูญเสียชีวิต ทมรัพย์สิน




เพื่อสอดรับกับสถานการณ์มหันตภัยที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย มติชนออนไลน์ จึงรวบรวมภาพถ่ายจากสำนักข่าวต่างประเทศ ซึ่งนำเสนอข่าวภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในหลายๆ ทวีป ทั่วโลก


เริ่มต้นที่ประเทศไทย ซึ่งต้องเรียกว่า อากาศของสยามเมืองยิ้มตอนนี้ มีครบทุกฤดู ใน 1 ประเทศ ใน 1 ภูมิภาคแล้วก็ว่าได้ เริ่มต้นที่ความหนาวเย็นของภาคเหนือและอีสาน ที่ยิ่งสูงเท่าไหน่ยิ่งหนาว ตามยอดดอยก็มีผู้ได้รับผลกระทบจากความหนาวเย็นต้องทนทุกข์ทรมานแสวงหาความ อบอุ่น กันไปถ้วนหน้า ส่วนอากาศในภาคพื้นดิน ลามเรื่อยมาถึงกรุงเทพฯ และเขตจังหวัดโดยรอบก็พลอยได้รับอานิสงส์กะเขาไปด้วย ให้พอหนาวๆ เย็นๆ พอเป็นกษัย หลังจากที่วันก่อนๆ ต้องพบเจอกับอากาศมืดครึ้ม ฝนปรอย กลางวันร้อน กลางคืนหนาวงถ้วนหน้ากันไป


ส่วนที่ภาคใต้ตอนล่างของไทย ยังคงเผชิญกับฝนตกหนัก น้ำท่วม ซึ่งตอนนี้ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบหนักและยังคงต้องซับน้ำตากันต่อไปเป็นทอดๆ ทั้ง พัทลุง สตูล ยะลา ฯลฯ แม้จะสถานการณ์ดีขึ้นแล้ว แต่ทุกฝ่ายก็คงต้องช่วยกันฟื้นฟูให้กำลังใจคนไทยเลือดไทยหัวใจเดียวกันต่อไป


ข้ามไปที่ออสเตรเลีย จัดว่าเสียหายอย่างหนัก เมื่อเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ใน รัฐควีนส์แลนด์ โดยพื้นที่ 3 ใน 4 ของรัฐถูกประกาศให้เป็นเขตภัยพิบัติหลังจากเกิดฝนตกลงมาอย่างหนักซ้ำเติมภาวะน้ำท่วมครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 37 ปี สร้างความเสียหายให้กับเมืองบริสเบน เมืองหลวงของรัฐอย่างมาก ทั้งน้ำยังจะเริ่มท่วมเข้าไปถึงรัฐนิวเซ้าท์เวลส์ ที่อยู่ใกล้เคียงแล้ว


ถึงขนาดที่มุขมนตรีรัฐควีนแลนด์ ปาดน้ำตาไปพร้อมกับการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ถึงสถานการณ์น้ำท่วมรัฐควีนแลนด์ในขณะนี้ ซึ่งถือว่าเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ คล้ายกับเกิดภาวะหลังสงคราม ความเสียหายที่เกิดขึ้นคิดมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงหลายพันล้านดอลลา ห์สหรัฐ ประชาชนนับแสนๆ คนต้องได้รับความเดือดร้อน ไร้ที่อยู่อาศัย และถูกตัดขาดจากระบบสาธารณูปโภค โดยน้ำท่วมออสเตรเลียครั้งนี้ครอบคลุมพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศฝรั่งเศสและ เยอรมนีรวมกัน และต้องใช้เวลาหลายเดือนถึงจะฟื้นฟูให้กลับสู่สภาวะปกติ


ข้ามไปที่อเมริกาใต้ ที่นครริโอเด เจเนโร ของ บราซิล ก็ต้องมีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ ซึ่งเสี่ยงต่อเกิดน้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม ที่อาจจะเกิดขึ้นซ้ำรอยเหตุการณ์แผ่นดินถล่ม ในหลายเขตชุมชนที่อยู่บนเชิงเขา หลังจากที่เกิดฝนตกลงมาอย่างหนักติดต่อกัน คร่าชีวิตประชาชนเป็น 229 คน เมื่อเดือนที่แล้ว


เช่นเดียวกับที่โคลอมเบียซึ่ง ก็เกิดภาวะน้ำท่วมขนาดใหญ่ กินพื้นที่เป็นนวงกว้างเกือบทั่วประเทศ จากภาวะฝนตกหนักต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่แล้ว คร่าไปแล้วหกลายร้อยชีวิต และผู้คนกว่า 2 ล้านต้องเดือดร้อน


โศกเศร้ากับภาวะฝนตกน้ำท่วม ดินถล่ม กันไปมากพอควร ข้ามไปฝั่ง ยุโรป อเมริกาเหนือ ที่ให้ความรู้สึกหนาวจับขั้วหัวใจเมื่อต้องผจญกับพายุหิมะถล่มหนักสุด โดยเฉพาะรัฐภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ ทำ ให้การจราจรทางอากาศ รถไฟ และรถยนต์ตามท้องถนน กลายเป็นอัมพาตในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น บอสตัน ,แมสซาชูเสส วอชิงตัน เซาท์ คาโรไลน่า เป็นต้น ด้วยบางแห่งหิมะหนาแทบท่วมบ้าน


กลับมาที่ประเทศจีน ยังต้องเผชิญกับอากาศหนาวที่สุดต่อไป ทั้งยังมีลมหนาวและหิมะตกในบางพื้นที่ โดยเมื่อปลายปี2010 มณฑลเหยหลงเจียง ที่เมืองโมเฮในมณฑลเดียวกันมีอุณหภูมิติดลบ 43.5 องศาเซลเซียส ขณะที่สำนักอุตุนิยมวิทยาจีนกล่าวเตือนด้วยว่า จีนจะตกอยู่ในสภาพหนาวเย็นอย่างนี้ต่อไป และจะทำให้มีหิมะตกอีกครั้งหนึ่งทางตอนใต้ของประเทศ ทั้งในมณฑลหูหนาน และนครเซี่ยงไฮ้ด้วย


จะเห็นได้ว่า มหันตภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป้น ฝนตก น้ำท่วม ดินถล่ม แผ่นดินไหว ภุเขาไฟระเบิด ฯลฯ ล้วนให้โทษกับมนุษย์อย่างมหันต์ ประหนึ่งเอาคืนจากความเหยียบย่ำและไม่รู้จักธำรงรักษาทรัพยากรธรรมชาติเมื่อ ก่อนหน้ากันเอาไว้เป็นร้อยๆ ปี แม้เราจะหยุดยั้งความโกรธา หรือความเป็นไปของธรรมชาติ ไม่ได้ แต่สิ่งที่ต้องฟื้นฟูและบำบัดอย่างเร่งด่วนคือ "จิตสำนึก" ในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่เช่นนั้นเคราะห์กรรมที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่เราก่อ ก็อาจตกอยู่กับตัวเอง คนในครอบครัว คนรัก เพื่อนฝูง คนรู้จัก หรือคนอื่นๆที่ไม่รู้เรื่องใดๆ ที่ต้องมารับกรรมจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความเห็นแก่ตัว ซึ่งเมื่อเวลาถูกเอาคืน เราอาจจะไม่เหลืออะไรเลยแม้แต่ชีวิต 

ที่มา : มติชนออนไลน์
-----------------------------
เห็นด้วยกับบทความนี้อย่างแรง 

ไม่มีความคิดเห็น: